หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บทที่ ๓  ศาลต่างๆ ของสันตะสำนัก

Can.1442 The Roman Pontiff is the supreme judge for the entire Catholic world; he tried cases either personally or through the ordinary tribunals of the Apostolic See or through judges delegated by himself.

Can.1443The ordinary tribunal established by the Roman Pontiff to receive appeals is the Roman Rota.

Can.1444$1. The Roman Rota tries:

1.in second instance, cases which have been adjudicated by ordinary tribunals of first instance and brought before the Holy See by means of legitimate appeal;

2.in third and further instance, cases already tried by the Roman Rota itself or by any other tribunals whatsoever, unless the case is considered resiudicata.

$2. This tribunal also tries in first instance the cases mentioned in  can.1405, $3 and others cases which the Roman Pontiff has summoned to his own tribunal and has entrusted to the Roman Rota of his own accord or at the request of the parties; unless other provisions are made in the rescript of commission, the Rota tries these cases in second and further instance as well.

Can.1445 $1. The Supreme Tribunal of the Apostolic Signatura adjudicates:

1.complaints of nullity, petitions for restitutio in integrum, and other recourses against rotal sentences;

2.recourses in cases involving the status of persons which the Roman Rota refuses to admit to a new examination;

3.exceptions of suspicion and other cases against the auditors of the Roman Rota because of acts in the exercise of their function;
4.conflicts of competence mentioned in can.1416.

$2. This same tribunal deals with contentions legitimately referred to it which arise from an act of ecclesiastical administrative power, with other administrative controversies which are referred to it by the Roman Pontiff or by the dicasteries of the Roman Curia, and with conflicts of competence among these dicasteries.

$3. Furthermore it is the task of this Supreme Tribunal:

1.to exercise its vigilance over the correct administration of justice and to discipline advocates or procurators, if necessary;

2.to extend the competence of tribunals;

3.to promote and approve the erection of the tribunals mentioned in cann.1423 and 1439.

มาตรา ๑๔๔๒ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นผู้พิพากษาสูงสุดสำหรับโลกคาทอลิกทั้งหมด พระองค์ทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง หรือโดยทางศาลปกติต่างๆ ของสันตะสำนัก หรือโดยทางผู้พิพากษาที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน

มาตรา ๑๔๔๓ ศาลปกติที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตั้งขึ้น เพื่อรับการอุทธรณ์ต่างๆ คือ ศาลโรมันโรตา (Roman Rota)

มาตรา ๑๔๔๔ วรรค ๑ ศาลโรมันโรตา   พิจารณาคดี:

๑.ในศาลชั้นที่สอง สำหรับคดีที่ศาลปกติชั้นต้นได้ตัดสินแล้ว และได้นำขึ้นสู่สันตะสำนักโดยการอุทธรณ์ที่ชอบตามกฎหมาย

๒.ในศาลชั้นที่สาม และชั้นที่สูงขึ้นไป สำหรับคดีที่ศาลโรมันโรตาเอง หรือศาลอื่นๆ ได้ดำเนินการแล้ว เว้นแต่คดีนั้นถือว่าถึงที่สุดแล้ว

วรรค ๒ ศาลนี้ทำหน้าที่เป็นศาลชั้นต้นด้วยสำหรับคดีต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๔๐๕ วรรค ๓ และคดีอื่นๆ ที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเรียกมาสู่ศาลของพระองค์ด้วยพระองค์เอง หรือเมื่อคู่ความร้องขอ และมอบให้ศาลโรมันโรตาและศาลโรมันโรตาตัดสินคดีเหล่านี้ในศาลชั้นที่สอง และชั้นที่สูงขึ้นไปด้วย เว้นแต่มีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น ในสารมอบหมายงาน

มาตรา ๑๔๔๕ วรรค ๑ ศาลสูงสุด อาโปสโตลีกา ซียาตูรา (Apostolica Signatura) พิจารณาคดี:

๑.คำร้องค้านความเป็นโมฆะ คำร้องขอให้ชดใช้อย่างสาสมกับความเสียหาย และการร้องเรียนอื่นๆ คัดค้านการตัดสินของศาลโรมันโรตา

๒.การร้องเรียนในคดีเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคล ซึ่งศาลโรมันโรตา ปฏิเสธที่จะพิจารณาคดีใหม่

๓.การคัดค้านด้วยเหตุสงสัย  และด้วยเหตุอื่นๆ ต่อผู้สอบคดีของศาลโรมันโรตา จากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของเขาเอง

๔.ข้อขัดแย้งต่างๆ เกี่ยวกับการมีอำนาจ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๔๑๖

วรรค ๒ ศาลนี้เอง พิจารณาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจบริหารแห่งพระศาสนจักร ที่เสนอขึ้นมายังศาลนี้โดยชอบด้านกฎหมาย และยังพิจารณาข้อขัดแย้งทางการบริหารอื่นๆ ที่สมเด็จพระสันตะปาปาหรือหน่วยงานต่างๆ ของโรมันคูเรียนำขึ้นมายังศาลนี้ และยังพิจารณาข้อขัดแย้งเรื่องการมีอำนาจระหว่างหน่วยงานต่างๆ นี้

วรรค ๓ นอกนั้น ศาลสูงสุดนี้ ยังมีหน้าที่:

๑.เฝ้าดูแลการบริหารความยุติธรรมให้ถูกต้อง และตักเตือนทนาย หรืออัยการ หากจำเป็น

๒.ขยายขอบข่ายการมีอำนาจของศาล

๓.ส่งเสริม และรับรองการจัดตั้งศาลต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๔๒๓ และ ๑๔๓๙