หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บท ๑ ศาลชั้นต้น

ส่วน ๑ ผู้พิพากษา

Can.1419 $1. The diocesan bishop is the judge of first instance in each diocese and for all cases not expressly excepted by law; he can exercise his judicial power personally or through others in accord with the following canons.

$2. But if the action concerns the rights or the temporal goods of a juridic person represented by the bishop, the appellate tribunal judges in first instance.

Can.1420 $1. Each diocesan bishop is bound to appoint a judicial vicar or officialis with ordinary power to judge, distinct from the vicar general unless the smallness  of  the diocese  or thesmall number of cases suggests otherwise.

$2. The judicial vicar constitutes one tribunal with the bishop but he cannot judge cases which the bishop reserves to himself.

$3. The judicial vicar can be given assistants whose title is adjutant judicial vicars or vice-officiales.

$4. Both the judicial vicar and the adjutant judicial vicars must be priests of unimpaired reputations, holding doctorates or at least licentiates in canon law and not less than thirty years of age.

$5. When the see is vacant, they do not cease from their office and they cannot be removed by the diocesan administrator; when the new bishop arrives, however, they need confirmation.

Can.1421 $1. The bishop is to appoint diocesan judges in the diocese who are clerics.

$2. The conference of bishops can permit lay persons to be appointed judges; when it is necessary, one of them can be employed to form a collegiate tribunal.

$3. The judges are to be of unimpaired reputation and possess doctorates, or at least licentiates, in canon law.

Can.1422The judicial vicar, the adjutant judicial vicars and the other judges are to be appointed for a definite period of time with due regard for the prescription of can.1420, $5; they cannot be removed except for legitimate and serious cause.

Can.1423 $1. With the approval of the Apostolic See, several diocesan bishops may agree to establish for their dioceses a single tribunal of first instance in place of the diocesan tribunals mentioned in cann.1419-1421; in this case the group of bishops or a bishop designated by them has all the powers which a diocesan bishop has over his own tribunal.

$2. The tribunals mentioned in $1 can be established either for any case whatsoever or only for some types of cases.

Can.1424 In any trial a single judge can make use of two assessors, who are clerics or lay persons of upright life, to serve as his consultors.

Can.1425 $1. Every contrary custom being reprobated, the following cases are reserved to a collegiate tribunal of three judge:

1.contentious cases: a) concerning the bond of sacred ordination; b) concerning the bond of marriage with due regard for the prescriptions of cann.1686 and 1688;

2.penal cases: a) concerning offences which can entail the penalty of dismissal from the clerical state; b)concerning the imposition or declaration of excommunication.

$2. The bishop can entrust more difficult cases or cases of greater importance to the judgement of three or five judges.

$3. Unless the bishop has determined otherwise for individual cases, the judicial vicar is to assign the judges in order by turn to adjudicate the individual cases.

$4. If it happens that a collegiate tribunal cannot be established for a trial of first instance, the conference of bishop can permit the bishop to entrust cases to a single clerical judge as long as the impossibility of establishing a college perdures; he is to be a cleric and is to

employ an assessor and an auditor where possible.

$5. The judicial vicar is not to appoint substitutes for judges once they are assigned unless for a most serious reason, expressed in a decree.

Can.1426 $1. A collegiate tribunal must proceed as a collegial body and pass its sentences by majority vote.

$2. The judicial vicar or the adjutant judicial vicar must preside over a collegiate tribunal insofar as this is possible.

Can.1427 $1. If there is a controversy between religious or houses of the same clerical religious institute of pontifical right, the judge of first instance is the provincial superior unless the constitutions provide otherwise; if it is an autonomous monastery, it is the local abbot.

$2. With due regard for the different prescriptions of the constitutions, if it is a contentious cases between two provinces, the supreme moderator himself personally or through a delegate shall be the judge in first instance; if the contention is between two monasteries, it shall be the abbot superior of the monastic congregation.

$3. If the controversy arises between religious persons, physical or juridic, of different religious institutes or even of the same clerical or lay institute of diocesan right, or between a religious person and a secular cleric, or a lay person, or a non-religious juridic person, the diocesan tribunal judges in first instance

มาตรา ๑๔๑๙ วรรค ๑ ในแต่ละสังฆมณฑล และสำหรับทุกคดีความที่ไม่ได้รับการยกเว้นอย่างแจ้งชัดจากกฎหมาย ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น คือพระสังฆราชสังฆมณฑล ซึ่งสามารถใช้อำนาจตุลาการโดยตนเอง หรือโดยผู้อื่นตามกฎหมายมาตราต่างๆ ที่ตามมา

วรรค ๒ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ หรือทรัพย์สินฝ่ายโลกของนิติบุคคลที่พระสังฆราชผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้น

มาตรา ๑๔๒๐ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลใดไม่ว่า ต้องแต่งตั้งผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ หรือเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่พร้อมกับอำนาจปกติตามหน้าที่ในการตัดสินคดี ซึ่งต้องแยกจากผู้เป็นผู้แทน

สังฆราชฝ่ายบริหารทั่วไป เว้นไว้แต่ว่า เห็นควรเป็นอย่างอื่นเพราะเป็นสังฆมณฑลเล็ก หรือมีคดีความจำนวนไม่มาก

วรรค ๒ ผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการประกอบเป็นศาลเดียวกันกับพระสังฆราช แต่ไม่สามารถตัดสินคดีที่พระสังฆราชสงวนไว้สำหรับตนเอง

วรรค ๓ ผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ สามารถให้มีผู้ช่วยหลายคน ซึ่งมีชื่อว่า ผู้ช่วยผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ หรือผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่

วรรค ๔ ทั้งผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ และผู้ช่วยผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ ต้องเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงไม่ด่างพร้อย สำเร็จการศึกษาทางกฎหมายพระศาสนจักรในระดับปริญญาเอก หรือปริญญาโทเป็นอย่างน้อย และมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี

วรรค ๕ เมื่อตำแหน่งพระสังฆราชว่างลง ผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ และผู้ช่วยยังต้องทำหน้าที่ต่อไป ทั้งไม่สามารถถูกปลดออกจากหน้าที่โดยผู้บริหารสังฆมณฑล อย่างไรก็ตาม เมื่อพระสังฆราชใหม่มา พวกเขาต้องได้รับการรับรองให้ทำหน้าที่ต่อไป

มาตรา ๑๔๒๑ วรรค ๑ ในสังฆมณฑล พระสังฆราชต้องแต่งตั้งผู้พิพากษาสังฆมณฑล ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์

วรรค ๒ สภาพระสังฆราช สามารถอนุญาติให้แต่งตั้งฆราวาสเป็นผู้พิพากษาด้วย และเมื่อเห็นว่าจำเป็น ก็สามารถเลือกผู้หนึ่งในบรรดาฆราวาส     ให้ประกอบขึ้นเป็นคณะผู้พิพากษา

วรรค ๓ ผู้พิพากษาต้องเป็นผู้มีชื่อเสียงไม่ด่างพร้อย และได้รับปริญญาเอก หรือปริญญาโทเป็นอย่างน้อยในวิชากฎหมายพระศาสนจักร

มาตรา ๑๔๒๒ ผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ ผู้ช่วยผู้แทนสังฆราชฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษาอื่นๆ ต้องได้รับการแต่งตั้งโดยมีเวลากำหนด โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๔๒๐ วรรค ๕; พวกเขาไม่สามารถถูกปลดจากหน้าที่ เว้นแต่มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย และหนัก

มาตรา ๑๔๒๓ วรรค ๑ เมื่อได้รับการเห็นชอบจากสันตะสำนัก พระสังฆราชสังฆมณฑลหลายองค์สามารถร่วมตกลงกัน ในการจัดตั้งศาลชั้นต้นเพียงศาลเดียว แทนศาลสังฆมณฑลดังที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๔๑๙–๑๔๒๑; และในกรณีนี้ คณะพระสังฆราชเอง หรือพระสังฆราชที่ได้รับเลือกจากคณะพระสังฆราชดังกล่าว มีอำนาจทั้งหมดซึ่งพระสังฆราชสังฆมณฑลมีในศาลของตนเอง

วรรค ๒ ศาลที่จัดตั้งขึ้นตามวรรค ๑ สามารถได้รับการจัดตั้งขึ้นสำหรับคดีทุกคดี หรือคดีบางประเภทเท่านั้น

มาตรา ๑๔๒๔ ในการพิจารณาคดีที่มีผู้พิพากษาเพียงผู้เดียว ท่านสามารถใช้ผู้เชี่ยวชาญ ๒ ท่าน เป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองอาจเป็นพระสงฆ์ หรือฆราวาสที่มีประวัติดี

มาตรา ๑๔๒๕ วรรค ๑ คดีต่อไปนี้ สงวนไว้สำหรับศาลที่เป็นองค์คณะ ที่มีผู้พิพากษา ๓ ท่าน โดยยกเลิกประเพณีตรงข้ามทั้งหมด

๑.คดีแพ่ง ก.) ที่เกี่ยวกับพันธะของศีลบวช; ข.) ที่เกี่ยวกับพันธะของการแต่งงาน โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๑๖๘๖ และ ๑๖๘๘

๒.คดีอาญา ก.) เกี่ยวกับความผิดที่มีโทษให้พ้นจากสถานภาพสมณะ; ข.) เกี่ยวกับโทษขับออกจากพระศาสนจักร โดยการลงโทษ หรือโดยการประกาศโทษ

วรรค ๒ พระสังฆราชสามารถมอบคดีที่ค่อนข้างยาก หรือค่อนข้างสำคัญแก่การตัดสินของผู้พิพากษา ๓ หรือ ๕ ท่าน

วรรค ๓ เว้นไว้แต่ว่า พระสังฆราชจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่นในแต่ละคดี ผู้ช่วยพระสังฆราชด้านศาลต้องมอบให้ผู้พิพากษาพิจารณาคดีโดยหมุนเวียนไปตามลำดับ

วรรค ๔ ในการพิจารณาคดีศาลชั้นต้น หากไม่สามารถตั้งผู้พิพากษาเป็นองค์คณะ และตลอดเวลาที่สภาพเช่นนี้ยังคงอยู่ สภาพระสังฆราชสามารถอนุญาตให้พระสังฆราชมอบคดีให้ผู้พิพากษาคนเดียวที่เป็นสมณะ และถ้าเป็นไปได้ ให้มีผู้เชี่ยวชาญ และผู้สอบคดีร่วมพิจารณา

วรรค ๕ เมื่อได้แต่งตั้งผู้พิพากษาแล้ว ผู้ช่วยพระสังฆราชด้านศาลต้องไม่แต่งตั้งผู้อื่นมาแทน เว้นแต่มีเหตุสำคัญมากที่สุด ซึ่งต้องเขียนไว้ในคำสั่ง

มาตรา ๑๔๒๖ วรรค ๑ ศาลที่เป็นองค์คณะ ต้องพิจารณาคดีในรูปขององค์คณะ และตัดสินความโดยใช้เสียงข้างมาก

วรรค ๒ ผู้ช่วยพระสังฆราชด้านศาล หรือรองผู้ช่วยพระสังฆราชด้านศาล ต้องเป็นประธานในศาลที่เป็นองค์คณะ เท่าที่เป็นไปได้

มาตรา ๑๔๒๗ วรรค ๑ เมื่อมีเรื่องโต้แย้งระหว่างนักพรต หรือบ้านของสถาบันเดียวกันที่เป็นนักพรตสมณะสิทธิสันตะสำนัก ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น คือ เจ้าคณะแขวง เว้นไว้แต่ว่า ธรรมนูญกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือในกรณีที่เป็นอารามเอกเทศ ต้องเป็นอธิการประจำสถานที่

วรรค ๒ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดที่แตกต่างของธรรมนูญ ถ้าเกี่ยวกับเรื่องโต้แย้งระหว่าง ๒ แขวง ในศาลชั้นต้น ผู้ใหญ่สูงสุดเป็นผู้ตัดสินโดยตนเอง หรือโดยผู้แทน ถ้าระหว่างอารามนักพรต ๒ แห่ง อธิการใหญ่ของคณะนักพรตเป็นผู้ตัดสิน

วรรค ๓ ในที่สุด ถ้าการโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างนักพรตที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลของสถาบันนักพรตต่างสถาบันกัน หรือแม้ระหว่างบุคคลของสถาบันเดียวกันที่เป็นสมณะสิทธิสังฆมณฑล หรือของสถาบันฆราวาสเดียวกัน หรือระหว่างบุคคลนักพรตกับบุคคลสมณะพื้นเมือง หรือกับฆราวาส หรือกับนิติบุคคลที่ไม่เป็นนักพรตเป็นศาลสังฆมณฑลตัดสินความในชั้นต้น