หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๖ การสิ้นสุดของโทษ

Can.1354 $1. Besides the persons enumerated in cann.1355-1356, all who can dispense from a law which includes a penalty and all who can exempt one from a precept which threatens a penalty can also remit that penalty.

$2. Furthermore, a law or a precept which establishes a penalty can also give the power of remission to other persons.

$3. If the Apostolic See reserves to itself or to another the remission of a penalty, such a reservations is to be interpreted strictly.

Can.1355 $1. Unless it is reserved to the Apostolic See, the following can remit an imposed or declared penalty established by law:

1. the ordinary who set in motion the trial in order to impose or declare the penalty or who imposed or declared it by decree personally or through another;

2. the ordinary of the place where the offender lives, after consulting with the ordinary mentioned in n.1, unless this is impossible due to extraordinary circumstances.

 $2.Unless it is reserved to the Apostolic See an ordinary can remit an automatic (latae sententiae) penalty established by law but not declared for his own subjects and those who are living in his territory or who committed an offense there; any bishop, however, can also do this in the act of sacramental confession.

Can.1356 $1.The following can remit an inflicted (ferendae sententiae) or automatic (latae sententiae) penalty established by a precept not issued by the Holy See:

1. the ordinary of the place where the offender lives;

2. if the penalty has been imposed or declared, the ordinary who set in motion the trial in order to impose or declare the penalty or who imposed or declared it by decree personally or through another.

$2. Before such a remission occurs, the author of the precept is to be consulted unless this is impossible due to extraordinary circumstances.

Can.1357 $1. With due regard for the prescriptions of cann.508 and 976, any confessor can remit in the internal sacramental forum an automatic (latae sententiae) censure of excommunication or interdict which has not been declared if it would be hard on the penitent to remain in a state of serious sin during the time necessary for the competent superior to provide.

$2. In granting a remission, the confessor is to impose on the penitent the burden of having recourse within a month to a superior or a priest endowed with faculties and obeying his mandates under pain of reincidence of the penalty; in the meantime he should impose an appropriate penance and the reparation of  any scandal or damage to the extent that it is imperative; recourse can also be  made  by  the  confessor  without mentioning any names.

$3. After they have recovered, those absolved in accord with can.976 from an imposed or declared censure or one reserved to the Holy See are bound by the same obligation of recourse.

Can.1358 $1. A remission of a censure cannot be granted unless an offender has withdrawn from contumacy in accord with the norm of can.1347, $2; remission cannot be denied, however, to a person who withdraws from contumacy.

$2. A person who remits a censure can act in accord with the norm of can.1348 or even impose a penance.

Can.1359 If a person is bound by many penalties, the remission has force only for those penalties expressly mentioned in the remission; a general remission, however, takes away all penalties with the exception of those about which the guilty party kept silent in the petition in bad faith.

Can.1360 If the remission of a penalty was extorted through grave fear, it is invalid.

Can.1361 $1. A remission can be granted even to a person who is not present or even under a condition.

$2. A remission in the external forum is to be given in writing unless a serious cause persuades otherwise.

$3. Care should be taken that a petition for remission or the remission itself not be made public, except to the extent that it would be advantageous to protect the reputation of the guilty party or necessary to repair scandal.
Can.1362 $1. A criminal action is extinguished by prescription in three years unless it is a question of:

1. offenses reserved to the Sacred Congregation for the Doctrine of the Faith;

2. an action due to offenses mentioned in cann.1394, 1395, 1397 and 1398, which have a prescription of five years;

3. offenses which are not punished in common law if particular law has stated another term of prescription.

$2. Prescription starts on the day the offense was committed or on the day when it ceased if the offense is continuous or habitual.

Can.1363 $1. An action to execute a penalty is extinguished by prescription if the guilty party has not been notified of the judge’s executive decree mentioned in can.1651 within the time limits indicated in can.1362 which are to be computed from the day on which the condemnatory sentence became a finally judged matter (res iudicata).

$2. All other things being observed that are to be observed, the same holds true if the penalty was imposed through an extra-judicial decree.

มาตรา ๑๓๕๔ วรรค ๑ นอกจากบุคคลที่มีกล่าวไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๓๕๕–๑๓๕๖ แล้ว ทุกคนซึ่งสามารถให้การยกเว้นจากกฎหมายที่มีโทษพ่วงติดอยู่ หรือสามารถยกเว้นจากคำสั่งที่คาดโทษไว้  เขาก็สามารถยกโทษนั้นได้ด้วย

วรรค ๒ นอกนั้นกฎหมายหรือคำสั่ง ซึ่งกำหนดโทษสามารถให้อำนาจยกโทษแก่คนอื่นได้ด้วย

วรรค ๓ ถ้าสันตะสำนักสงวนการยกโทษไว้แก่ตนเอง หรือแก่ผู้อื่น การสงวนนั้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด

มาตรา ๑๓๕๕ วรรค ๑  ถ้าไม่มีการสงวนการยกโทษไว้แก่สันตะสำนัก บุคคลต่อไปนี้สามารถยกโทษซึ่งกฎหมายกำหนดเมื่อมีการสั่งหรือประกาศ

๑.ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ ผู้ซึ่งเริ่มขบวนการพิจารณาทางศาลเพื่อสั่งหรือประกาศลงโทษ หรือผู้ซึ่งมีคำสั่งลงโทษ หรือประกาศลงโทษโดยตนเอง หรือโดยบุคคลอื่น

๒. ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจของท้องที่ ซึ่งผู้กระทำผิดพำนักอยู่ อย่างไรก็ตาม โดยได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจที่กล่าวไว้ในข้อ ๑ เสียก่อน เว้นแต่การปรึกษานั้นไม่อาจทำได้ เพราะกรณีแวดล้อมที่ผิดปกติ

วรรค ๒ ถ้าไม่เป็นโทษสงวนไว้แก่สันตะสำนัก ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ  สามารถยกโทษชนิดที่ไม่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ยังไม่ถูกประกาศให้แก่ผู้อยู่ใต้อำนาจการปกครองของตน หรือแก่ผู้ที่พำนักอยู่ในเขตการปกครองของตน หรือแก่ผู้กระทำความผิดในเขตการปกครองของตน ยิ่งกว่านั้น พระสังฆราชองค์ใดไม่ว่า ซึ่งกำลังทำหน้าที่โปรดศีลอภัยบาป ก็สามารถยกโทษดังกล่าวได้

มาตรา ๑๓๕๖ วรรค ๑ โทษที่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน หรือโทษที่ไม่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน ที่กำหนดในบัญญัติซึ่งไม่ได้ออกโดยสันตะสำนัก บุคคลต่อไปนี้สามารถย้ายได้

๑.ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจของท้องที่ ซึ่งผู้กระทำความผิดพำนักอยู่

๒.ถ้าโทษที่ถูกสั่งลงทัณฑ์  หรือถูกประกาศลงทัณฑ์แล้ว ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจด้วย ผู้ซึ่งได้เริ่มขบวนการพิจารณาสั่งลงทัณฑ์ หรือประกาศลงทัณฑ์หรือผู้ที่ได้ลงทัณฑ์ หรือประกาศลงทัณฑ์ด้วยคำสั่งโดยตนเอง หรือโดยบุคคลอื่น

วรรค ๒ ก่อนจะให้การอภัย จะต้องมีการปรึกษากับผู้ออกคำสั่งเสียก่อน เว้นแต่จะทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะกรณีแวดล้อมที่ผิดปกติ

มาตรา ๑๓๕๗ วรรค ๑ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๕๐๘ และ ๙๗๖ ถ้าเป็นที่ทรมานใจสำหรับผู้สำนึกผิดที่จำเป็นต้องอยู่ในสภาพบาปหนัก จนกว่าผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจจะจัดการ ผู้โปรดศีลอภัยบาปภายในขอบเขตของศีลอภัยบาปก็สามารถอภัยโทษอัตโนมัติ (ที่ไม่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน) ซึ่งตัดบุคคลนั้นออกจากพระศาสนจักร หรือทำให้เป็นผู้ต้องห้าม โทษดังกล่าวนี้เป็นโทษที่ไม่ได้ถูกประกาศ

วรรค ๒ ในการให้อภัย ผู้โปรดศีลอภัยบาปต้องเพิ่มภาระให้แก่ผู้สำนึกผิด  ที่จะต้องเข้าหาผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ หรือพระสงฆ์ผู้มีอำนาจปฏิบัติภายในหนึ่งเดือน มิฉะนั้นโทษจะกลับมาอีก และต้องทำตามคำแนะนำของท่าน ในขณะเดียวกัน ผู้โปรดบาปต้องให้กิจใช้โทษที่เหมาะสม และต้องกำหนดการชดเชยการเป็นที่สะดุดและความเสียหายเท่าที่จำเป็นการเข้าหาผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจนี้สามารถทำได้โดยผ่านทางผู้โปรดบาปโดยไม่มีการบ่งชื่อ

วรรค ๓ หลังจากได้ฟื้นกลับสู่สภาพดีแล้ว ภาระเดียวกันนี้ ที่ต้องเข้าหาผู้ใหญ่ผูกมัดผู้รับการอภัยตามกฎหมายมาตรา ๙๗๖ จากโทษที่ถูกสั่งลงทัณฑ์ หรือถูกประกาศลงทัณฑ์ หรือที่สงวนไว้แก่สันตะสำนัก

มาตรา ๑๓๕๘ วรรค ๑ การให้อภัยโทษ ไม่สามารถให้แก่ผู้ทำผิดได้ เว้นแต่เขาจะได้ละจากความดื้อดึงนั้นแล้ว ตามกฎหมายมาตรา ๑๓๔๗ วรรค ๒ อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาละจากความดื้อดึงแล้ว การให้อภัยก็ไม่สามารถปฏิเสธได้

วรรค ๒ ผู้ที่ให้อภัยโทษ สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๓๔๘ หรือสามารถให้กิจใช้โทษได้ด้วย

มาตรา ๑๓๕๙ ถ้าใครต้องโทษหลายกระทง การให้อภัยโทษใช้ได้สำหรับกระทงที่ระบุชัดแจ้งในการให้อภัยโทษนั้นเท่านั้น ส่วนการให้อภัยโทษทั่วไป  ให้อภัยโทษทุกกระทง เว้นแต่โทษกระทงที่ผู้กระทำผิดได้ปิดบังด้วยใจไม่บริสุทธิ์ในคำขอ

มาตรา ๑๓๖๐การให้อภัยโทษที่บีบบังคับเอาโดยความกลัวหนักไม่มีผลทางกฎหมาย

มาตรา ๑๓๖๑ วรรค ๑ การให้อภัยโทษสามารถให้ได้แม้แก่บุคคลที่ไม่อยู่ต่อหน้า หรือโดยมีเงื่อนไข

วรรค ๒ การให้อภัยโทษในขอบ เขตภายนอกต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร  เว้นแต่เหตุผลสำคัญชี้นำให้ทำอย่างอื่น

วรรค ๓ พึงระวังอย่าแพร่งพรายการขออภัยโทษ หรือการให้อภัยโทษนั้นเอง เว้นแต่การปฏิบัติเช่นนั้นมีประโยชน์ เพื่อป้องกันชื่อเสียงของผู้กระทำความผิด หรือจำเป็นเพื่อชดเชยการเป็นที่สะดุด

มาตรา ๑๓๖๒ วรรค ๑  ความผิดทางอาญามีอายุความ ๓ ปี เว้นแต่

๑.ความผิดที่สงวนไว้แก่กระทรวงเกี่ยวกับคำสอนข้อความเชื่อ

๒.ความผิดต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๓๙๔, ๑๓๙๕, ๑๓๙๗, ๑๓๙๘ ซึ่งมีอายุความ ๕ ปี

๓.ความผิดที่กฎหมายสากลไม่  ลงโทษ ซึ่งกฎหมายเฉพาะกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น

วรรค ๒ อายุความเริ่มนับจากวันกระทำความผิด หรือถ้าเป็นความผิด     ต่อเนื่อง หรือที่เป็นประจำ ก็นับจากวันที่ความผิดนั้นหยุดลง

มาตรา ๑๓๖๓ วรรค ๑ ภายในกำหนดอายุความที่กล่าวไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๓๖๒ นับจากวันที่มีคำพิพากษาลงโทษแล้ว ถ้าคำสั่งลงโทษของผู้พิพากษาที่กล่าวไว้ใน กฎหมายมาตรา ๑๖๕๑ ไม่ถูกนำไปแจ้งแก่ผู้กระทำความผิด การดำเนินการลงโทษเป็นอันสิ้นสุดลงโดยอายุความ

วรรค ๒ สิ่งเดียวกันนี้ใช้ได้ ถ้ามีการลงโทษโดยคำสั่งนอกขบวนการพิจารณาความ ทั้งนี้ โดยปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต้องปฏิบัตินั้นเสียก่อน