หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๕ การใช้การลงโทษ
 

Can.1341 Only after he has ascertained that scandal cannot sufficiently be repaired, that justice cannot sufficiently be restored and that the accused cannot sufficiently be reformed by fraternal correction, rebuke and other ways of pastoral care is the ordinary then   to  provide  for  a  judicial   or administrative procedure to impose or to declare penalties.

Can.1342 $1. As often as just causes preclude a judicial process a penalty can be imposed or declared by an extra-judicial decree; penal remedies and penances, however, can be applied by a decree in any case whatsoever.

$2. Perpetual penalties cannot be imposed or declared by a decree; neither can penalties be so applied when the law or the precept which established them forbids their application by a decree.

$3. What is said in a law or a precept concerning a judge’s imposing or declaring a penalty in a trial is to be applied to a superior who would impose or declare a penalty by means of an extra-judicial decree, unless the contrary is evident or unless it is a question of prescriptions which deal only with procedural matters.

Can.1343 If a law or a precept gives the judge the power to apply or not to apply a penalty, the judge can also temper the penalty or impose a penance in its place in accord with his own conscience and prudence.

Can.1344 Although a law may employ preceptive words, the judge in accord with his own conscience and prudence can:

1. postpone to a more opportune time the infliction of a penalty if it is foreseen that greater evils will occur from an overly prompt punishment of the accused;

2. refrain from imposing a penalty, or impose a lighter penalty, or employ a penance if the accused has reformed and scandal has been repaired, or if the accused has been or, it is foreseen, will be sufficiently punished by civil authority;

3. suspend the obligation to observe an expiatory penalty if it was the person’s first offense after having led a praiseworthy  life and if the need to repair scandal is not pressing; in such a situation, however, if the accused should again commit an offense within the  time period set by the judge, the person is to pay the penalty required for both offenses unless, in the interim, time had run out for initiating a penal action for the first offense.

Can.1345 As often as the offender had only   an  imperfect use  of  reason  or

committed the offense from fear or necessity or in the heat of passion or in drunkenness or another similar mental disturbance, the judge can also abstain from inflicting any penalty if he judges that reform can be better provided for otherwise.

Can.1346 Whenever the accused has committed several offenses, it is left to the prudent determination of the judge to moderate the penalties within equitable limits if the cumulative burden of the inflicted (ferendae sententiae) penalties appears excessive.

Can.1347 $1. A censure cannot be imposed validly unless the accused has been warned at least once in advance that he or she should withdraw from contumacy and be given a suitable time for repentance.

$2. The guilty party is to be said to have withdrawn from contumacy when he or she has truly repented the offense and furthermore has made suitable reparation for damages and scandal or at least has seriously promised to do so.

Can.1348 When the accused is acquitted of the charge or when no penalty is otherwise imposed on the accused, the ordinary can provide for

the public good and for the person’s own good by means of appropriate admonitions and other ways of pastoral care or even through penal remedies, if circumstances warrant it.

Can.1349 If the penalty is indeterminate and the law does not provide otherwise, the judge is not to impose heavier penalties, especially censures, unless the seriousness of the case clearly demands it; he cannot, however, impose perpetual penalties.

Can.1350 $1. Unless it is a question of dismissal from the clerical state, when penalties are imposed upon a cleric provision must always be made that he does not lack those things which are necessary for his decent support.

$2. In the best manner possible the ordinary is to see to the care of a person dismissed from the clerical state who is truly in need due to the penalty.

Can.1351 Unless express provision is made otherwise, a penalty binds the guilty party everywhere, even when the authority of the one who established or imposed the penalty has lapsed.

Can.1352 $1. If a penalty prohibits the reception of the sacraments or sacramentals, the prohibition is suspended as long as the guilty party is in danger of death.

$2. The obligation to observe an automatic penalty (latae sententiae) which has not been declared and which is not notorious in the place where the offender is living is totally or partially suspended to the extent that the person cannot observe it without danger of serious scandal or infamy.

Can.1353 An appeal or recourse from judicial sentences or from decrees which impose or declare any penalty whatsoever has a suspensive effect.

มาตรา ๑๓๔๑ เมื่อเห็นว่า การเป็นที่สะดุด ไม่สามารถได้รับการแก้ไข ความยุติธรรมไม่สามารถทำให้กลับสู่สภาพเดิม และผู้ผิดไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้อย่างเพียงพอ ด้วยการเตือนฉันท์พี่น้อง ด้วยการตำหนิหรือด้วยวิธีการอื่นใดของความ ห่วงใยด้านอภิบาลแล้ว ให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจจัดกระบวนการพิจารณาทางศาล      หรือทางการบริหารขึ้น เพื่อลงโทษหรือประกาศโทษ

มาตรา ๑๓๔๒ วรรค ๑ ทุกครั้งที่มีเหตุผลอันชอบ เป็นอุปสรรคการใช้กระบวนการทางศาล การลงโทษ หรือประกาศโทษสามารถทำได้โดยการออกคำสั่งนอกขบวนการทางศาล ส่วนการออกคำสั่งลงโทษเยียวยา และทำกิจใช้โทษ สามารถทำได้ในทุกกรณี

วรรค ๒ โทษถาวรไม่สามารถนำไปใช้ หรือประกาศใช้โดยวิธีการออกคำสั่ง และเช่นเดียวกัน โทษซึ่งกฎหมายหรือบัญญัติกำหนดขึ้นมา พร้อมทั้งห้ามนำไปใช้โดยการออกคำสั่ง

วรรค ๓ สิ่งใดที่กล่าวไว้ในกฎหมายหรือในบัญญัติ เกี่ยวกับผู้พิพากษาในเรื่องการลงโทษ หรือการประกาศโทษในการ ตัดสินคดี ใช้ได้กับอธิการด้วย ซึ่งสั่งลงโทษ หรือประกาศโทษ โดยคำสั่งนอกขบวนการทางศาล  เว้นแต่แจ้งชัดว่าเป็นอย่างอื่น หรือเว้นแต่เป็นปัญหาของข้อกำหนดที่เกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินคดีเท่านั้น

มาตรา ๑๓๔๓ ถ้ากฎหมายหรือบัญญัติให้อำนาจแก่ผู้พิพากษา ที่จะใช้การลงโทษ หรือไม่ใช้ ผู้พิพากษาตามมโนธรรมและความรอบคอบของตน สามารถปรับเปลี่ยนการลงโทษให้อ่อนลงหรือกำหนดกิจใช้โทษแทนการลงโทษก็ได้

มาตรา ๑๓๔๔ แม้กฎหมายจะใช้คำพูดในลักษณะเป็นคำสั่ง ผู้พิพากษาตามมโน-ธรรมและความรอบคอบของตน สามารถ :

๑.เลื่อนการลงโทษไปในเวลาที่เหมาะสมกว่า ถ้าเห็นล่วงหน้าว่า การรีบด่วนลงโทษผู้ผิด จะทำให้เกิดความชั่วร้ายแรงมากขึ้น

๒.งดเว้นการลงโทษ หรือลงโทษที่เบากว่า หรือให้กิจใช้โทษแทน ถ้าผู้ผิดได้สำนึกผิด และได้ชดเชยการเป็นที่สะดุด หรือถ้าผู้ผิดได้รับการลงโทษ หรือมองเห็นล่วงหน้าว่า จะได้รับการลงโทษอย่างเพียงพอจากอำนาจทางบ้านเมือง

๓. อาจพักพันธะการปฏิบัติตามโทษชดเชย ถ้าผู้ผิดทำผิดครั้งแรก  หลังจากได้ดำเนินชีวิตที่น่าสรรเสริญมาแล้ว และไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรัดให้ชดเชยการเป็นที่สะดุด กระนั้นก็ดี ถ้าผู้ผิดทำผิดอีก ภายในเวลาที่ผู้พิพากษากำหนดไว้ เขาจะต้องรับโทษทั้งสองกระทง เว้นแต่ ระหว่างการรอลงอาญา  อายุความของความผิดครั้งแรกได้สิ้นสุดลงแล้ว

มาตรา ๑๓๔๕ เมื่อใดก็ตาม ผู้กระทำผิดเพียงใช้สติปัญญาอย่างไม่สมบูรณ์เท่านั้น

หรือทำผิดเพราะความกลัว หรือเพราะความจำเป็น หรือเพราะความรุ่มร้อนของตัณหา หรือเพราะความมึนเมา หรือเพราะความวุ่นวายอื่นๆ ที่คล้ายกันทางจิตใจ ผู้พิพากษาสามารถงดเว้นการลงโทษใดๆ ได้ ถ้าท่านคิดว่าการแก้ไขโดยวิธีอื่น จะได้ผล ดีกว่า

มาตรา ๑๓๔๖ ทุกครั้งที่ผู้ผิด ทำผิดหลายกระทง ถ้าเห็นว่าโทษสะสมที่ต้องตัดสินลงโทษนั้นมากเกินไป ก็สุดแต่ผู้พิพากษาจะใช้ดุลยพินิจอันรอบคอบของตน  ลดหย่อนการลงโทษในรูปแบบที่ถูกที่ควร

มาตรา ๑๓๔๗ วรรค ๑ ไม่สามารถลงโทษทางวินัยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย    เว้นแต่ผู้ผิดจะได้รับคำเตือนก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพื่อให้เขาละทิ้งความดื้อดึง และให้เวลาแก่เขาพอควรเพื่อการสำนึกผิด

วรรค ๒ กล่าวได้ว่า ผู้กระทำผิดได้ละทิ้งความดื้อดึงแล้ว ถ้าเขาได้เสียใจจริงๆ ในความผิด และนอกนั้นยังได้ชดเชยความเสียหาย และการเป็นที่สะดุดอย่างเหมาะสม หรืออย่างน้อยได้สัญญาอย่างจริงจัง

มาตรา ๑๓๔๘ เมื่อจำเลยพ้นข้อกล่าวหาแล้ว หรือเมื่อไม่ต้องโทษใดๆ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ สามารถพิจารณาใช้คำเตือนที่เหมาะสม   หรือใช้วิธีการอื่นๆ  ทางความห่วงใยด้านอภิบาล และถ้ากรณีแวดล้อมเอื้ออำนวย ก็ใช้โทษเยียวยาเพื่อประโยชน์ของเขาเอง และเพื่อความดีส่วนรวม

มาตรา ๑๓๔๙ ถ้าเป็นโทษที่ไม่กำหนดแน่นอน และกฎหมายมิได้ตั้งข้อระวังไว้เป็นอย่างอื่น ผู้พิพากษาต้องไม่ใช้การลงโทษที่หนักขึ้น เป็นต้น โทษทางวินัย เว้นแต่ความหนักของกรณีเรียกร้องจริงๆ ให้ต้องทำเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาไม่สามารถลงโทษถาวรได้

มาตรา ๑๓๕๐ วรรค ๑ ในการลงโทษสมณะ ต้องระวังเสมอ อย่าให้เขาต้องขาดสิ่งจำเป็นสำหรับเลี้ยงตนเองอย่างเหมาะสม เว้นแต่จะเป็นการปลดออกจากสถานภาพสมณะ

วรรค ๒ บุคคล ซึ่งขัดสนมาก เพราะต้องโทษถูกปลดออกจากสถานภาพสมณะ ให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจจัดหาสิ่ง    จำเป็นให้เขาด้วยวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้

มาตรา ๑๓๕๑ โทษติดตัวผู้กระทำผิดไปทุกหนทุกแห่ง แม้ว่าสิทธิของผู้กำหนดโทษหรือลงโทษได้สิ้นสุดลงแล้ว เว้นแต่จะมีข้อให้ระวังไว้เป็นอย่างอื่นอย่างแจ้งชัด

มาตรา ๑๓๕๒ วรรค ๑ ถ้าโทษห้ามผู้กระทำผิด  รับศีลศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งคล้ายศีลข้อห้ามนั้นถูกแขวนตลอดเวลาที่ผู้กระทำผิดอยู่ในอันตรายใกล้ตาย

วรรค ๒ ข้อบังคับให้ปฏิบัติตามโทษชนิดที่ไม่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน ซึ่งยังไม่ได้ประกาศ หรือไม่เป็นที่รู้จักในที่ซึ่งผู้กระทำผิดพำนักอยู่ถูกแขวนทั้งหมดหรือบางส่วน ตราบเท่าที่ผู้กระทำผิดไม่อาจปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นได้ โดยปราศจากอันตรายที่จะเป็นที่สะดุดร้ายแรง หรือเสียชื่อเสียง

มาตรา ๑๓๕๓ การอุทธรณ์ หรือการร้องเรียน คัดค้านคำพิพากษาของศาล หรือคำสั่งลงโทษ หรือการประกาศโทษใดๆ มีผลยับยั้งการลงโทษ