หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะที่ ๓  บุคคลผู้ที่อยู่ใต้บทลงโทษทางอาญา

seriously  imputable to that person by reason of malice of culpability.

$2. A person who has deliberately violated a law or a precept is bound by the penalty stated in that law or that precept; unless a law or a precept provides otherwise, a person who has violated that law or that precept through a lack of necessary diligence is not punished.

$3. Unless it is otherwise evident, imputability is presumed whenever an external violation has occurred.

Can.1322 Persons who habitually lack the use of reason are considered incapable of an offense even if they have violated a law or a precept while appearing to be sane.

Can.1323 The following are not subject to penalties when they have violated a law or precept:

1. a person who has not yet completed the sixteenth year of age;

2. a person who without any fault was unaware of violating a law or precept; however, inadvertence and error are equivalent to ignorance;

3. a person who acted out of physical force or in virtue of a mere accident    which   could    neither   be foreseen nor prevented when foreseen;4. a person who acted out of grave fear, even if only relatively grave, or out of necessity or out of serious inconvenience unless the act is intrinsically evil or verges on harm to souls;

5. a person who for the sake of legitimate self-defense or defense of another acted against an unjust aggressor with due moderation;

6. a person who lacked the use of reason with due regard for the prescriptions of cann.1324, $1, n.2 and 1325;

7. a person who without any fault felt that the circumstances in nn.4 or 5 were verified.

Can.1324 $1. One who violates a law or precept is not exempt from a penalty but the penalty set by law or precept must be tempered or a penance substituted in its place if the offense was committed:

1.by a person with only the imperfect use of reason:

2.by a  person who lacked the use of reason due to drunkenness or another similar mental disturbance which was culpable;

3. in the serious heat of passion which did not precede and impede all deliberation of mind and consent of will as long as the passion itself had not been voluntarily stirred up or fostered;

4. by a minor who has completed the age of sixteen years;

5. by a person who was forced through grave fear, even if only relatively grave, or through necessity or serious inconvenience, if the offense was intrinsically evil or verged on harm to souls;

6. by a person who for the sake of legitimate self-defense or defense of another acted against an unjust aggressor but without due moderation;

7.against one gravely and unjustly provoking it ;

8.by one who erroneously yet culpably thought one of the circumstances in can.1323, nn.4 and 5 was verified;

9.by one who without any fault was unaware that a penalty was attached to the law or precept;

10.by one who acted without full imputability provided there was grave imputability.

$2. A judge can act in the same manner if any other circumstance exists which would lessen the seriousness of the offense.

$3. An accused is not bound by an automatic penalty (latae sententiae) in the presence of any of the circumstances enumerated in $1.

Can.1325 Crass, supine or affected ingnorance can never be considered in applying the prescriptions of cann.1323 and 1324; the same is true for drunkenness and other mental disturbances if they are deliberately induced to commit or excuse the offense; this is also true for passion which is deliberately aroused or fostered.

Can.1326 $1. A judge can punish more severely than a law or a precept has stated:

1.a person who after condemnation or after a declaration of a penalty still commits an offense so as to be prudently presumed to be in continuing bad will in light of the circumstances;

2. a person who has been given some dignified position or who has abused authority or office in order to commit the offense;

3. an accused who although a penalty has been established against a culpable offense, foresaw what was to happen yet nonetheless did not take the precautions which any diligent person would have employed to avoid it.

$2. If the penalty established is an automatic one (latae sententiae), another penalty or a penance can be added in those cases mentioned in $1.

Can.1327 Particular law can determine other exempting, mitigating or aggravating circumstances besides the cases in cann.1323-1326 either by general norm or for individual offenses. Furthermore, circumstances can be determined in a precept which exempt or mitigate or increase the penalty determined in a precept.

Can.1328 $1. A person who has done or omitted something in order to commit an offense but, unwittingly, has not completed it, is not bound by the penalty stated for a completed delict unless the law or precept provides otherwise.

$2. But if such acts or omissions are of their nature conducive to the execution of an offense, their author can be subjected to a penance or a penal remedy unless the authspontaneously ceased from the execution of the offense which had been begun. If, however, scandal or some serious injury or danger has occurred, the author can be punished with a just penalty even if he or she had ceased spontaneously; but it is to be lighter than that which is established for a completed offense.

Can.1329 $1. If the penalties established against the principal author are inflicted ones (ferendae sententiae), then those who collaborate to commit an offense through a common conspiracy but who are not expressly named in a law or a precept are subject to the same penalties or to other penalties of the same or lesser severity.

 

$2. Accomplices who are not named in a law or in a precept incur an automatic penalty (latae sententiae) attached to an offense if it would not have been committed without their efforts and the penalty is of such a nature that it can punish them; otherwise, they can be punished by inflicted penalties (ferendae sententiae).

Can.1330 An offense which consists of some declaration or of some other manifestation of will, doctrine or knowledge is not to be considered or

มาตรา ๑๓๒๑ วรรค ๑ ไม่มีใครต้องโทษ  เว้นแต่บุคคลผู้นั้นทำการละเมิดภายนอกต่อกฎหมาย      หรือต่อบัญญัติ     โดยที่การละเมิดนั้นถือเอาเป็นความผิดหนักได้เพราะเจตนาชั่วหรือเพราะมีความผิด

วรรค ๒ บุคคลซึ่งละเมิดกฎหมายหรือบัญญัติโดยเจตนา ต้องโทษตามที่กฎหมายหรือบัญญัตินั้นกำหนดไว้  ส่วนบุคคลซึ่งละเมิดกฎหมายหรือบัญญัติ เพราะละเลยความเอาใจใส่ที่พึงมี ไม่ต้องโทษ เว้นแต่กฎหมายหรือบัญญัตินั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

วรรค ๓ เมื่อมีการละเมิดภายนอก ให้สันนิษฐานว่ามีความผิด เว้นแต่จะปรากฏเป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๓๒๒ บุคคลที่ขาดสติสัมปะชัญ-ญะเป็นอาจิณ แม้ละเมิดกฎหมายหรือบัญญัติ ขณะที่ดูเหมือนว่าเป็นคนปกติ ถือว่าเขาไม่สามารถกระทำความผิด

มาตรา ๑๓๒๓ บุคคลซึ่งไม่ต้องโทษใดๆ  เมื่อละเมิดกฎหมายหรือบัญญัติ

๑. บุคคลผู้มีอายุไม่ครบ ๑๖ ปีบริบูรณ์

๒. บุคคลผู้ที่ไม่ทราบโดยไม่มีความผิด ว่าตนละเมิดกฎหมายหรือบัญญัติ ส่วนความพลั้งเผลอ และความหลงผิด เทียบเท่ากับความไม่รู้

๓.บุคคลผู้กระทำเพราะถูกบังคับทางกาย หรือเพราะอุบัติเหตุ ซึ่งไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ หรือแม้รู้ล่วงหน้าก็ไม่สามารถป้องกันได้

๔.บุคคลผู้กระทำ เพราะถูกบังคับด้วยความกลัวหนัก แม้ความกลัวหนักนั้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลเท่านั้น หรือเพราะความจำเป็น หรือเพราะความไม่สะดวกอย่างหนัก เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ชั่วในตัวเอง หรือมุ่งไปทางทำความเสียหายแก่วิญญาณ

๕. บุคคลผู้กระทำ เพื่อป้องกันโดยชอบ ต่อต้านผู้บุกรุกที่ไม่เป็นธรรมต่อตัวเอง หรือต่อผู้อื่น โดยการกระทำที่พอประมาณอันควร

๖. บุคคลที่ขาดสติสัมปะชัญญะ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๓๒๔ วรรค ๑ ข้อ ๒ และ ๑๓๒๕

๗.บุคคลผู้ที่คิดโดยไม่มีความผิดว่ามีบางประการในกรณีต่างๆ ดังกล่าวในข้อ ๔ และ ๕ เกิดขึ้นจริง

มาตรา ๑๓๒๔ วรรค ๑ ผู้ละเมิด ไม่พ้นการต้องโทษ แต่โทษที่กฎหมายหรือบัญญัติกำหนด ต้องมีการลดหย่อนผ่อนปรนลง หรือทำกิจใช้โทษแทน ถ้าความผิดนั้นกระทำโดย

๑.บุคคลซึ่งมีเพียงสติสัมปะชัญญะที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น

๒.บุคคลซึ่งขาดสติสัมปะชัญญะเพราะความมึนเมา หรือเพราะความปั่นป่วนอื่นๆ ทางด้านสติปัญญาที่คล้ายคลึงกัน   ซึ่งเอาเป็นความผิดได้

๓.บุคคลซึ่งกระทำเพราะความรุ่มร้อนของตัณหา ซึ่งกระนั้นก็ดี ไม่ได้เกิดขึ้นก่อนและไม่ขัดขวางการยับยั้งชั่งใจ และความยินยอมของจิตใจทั้งหมดเลยทีเดียว ขอแต่อย่าจงใจปลุกเร้า หรือส่งเสริมตัณหานั้นเอง

๔.ผู้เยาว์ที่มีอายุครบ ๑๖ ปีบริบูรณ์

๕.บุคคลที่ถูกบีบบังคับด้วยความกลัวหนัก แม้ความกลัวนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลเท่านั้น หรือเพราะความจำเป็น หรือความไม่สะดวกอย่างหนัก ถ้าการกระทำนั้นชั่วร้ายในตัวมันเอง หรือมุ่งไปทางทำความเสียหายแก่วิญญาณ

๖.บุคคลซึ่งกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบต่อต้านผู้รุกรานที่ไม่เป็นธรรมต่อตัวเอง หรือต่อผู้อื่น แต่ว่าไม่รักษาความพอประมาณอันควร

๗.บุคคลที่กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่ง ที่ยั่วยุอย่างรุนแรงและไม่ยุติธรรม

๘.บุคคลซึ่งคิดผิด แต่ยังมีความผิดอยู่ ว่ามีบางประการในกรณีต่างๆ ที่กล่าวถึงในกฎหมายมาตรา ๑๓๒๓ ข้อ ๔ และ ๕ เกิดขึ้นจริง

๙.บุคคลซึ่งไม่รู้โดยไม่มีความผิดว่า มีโทษติดอยู่กับกฎหมาย หรือบัญญัตินั้น

๑๐.บุคคลซึ่งกระทำโดยเอาผิดได้แต่ไม่เต็มที่ ขอแต่ว่า ความผิดนั้นยังคงเป็นเรื่องหนักอยู่

วรรค ๒ ตุลาการสามารถทำเช่นเดียวกัน ถ้ามีกรณีแวดล้อมบางอย่าง ซึ่งลดความผิดให้หนักน้อยลง

วรรค ๓ ในกรณีแวดล้อมที่กล่าวในวรรค ๑ ผู้กระทำผิดไม่ต้องโทษแบบไม่ต้องมีคำพิพากษา

มาตรา ๑๓๒๕ ความไม่รู้เพราะไม่ขวน ขวาย หรือเพราะเกียจคร้าน หรือเพราะไม่อยากรู้ ไม่สามารถนำมาพิจารณาใช้กับข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๓๒๓ และ ๑๓๒๔ เช่นเดียวกัน ความมึนเมา หรือความปั่นป่วนอื่นๆ ทางด้านสติปัญญา ถ้าจงใจทำให้มีขึ้นเพื่อทำความผิด หรือเพื่อเป็นข้อแก้ตัว และตัณหาที่จงใจปลุกเร้า หรือส่งเสริมให้มีขึ้น ก็ไม่นำมาพิจารณาเช่นกัน

มาตรา ๑๓๒๖ วรรค ๑ ตุลาการสามารถลงโทษหนักกว่าที่กฎหมาย หรือบัญญัติกำหนด แก่ 

๑.บุคคลที่หลังการตัดสินลงโทษ หรือการประกาศโทษแล้ว ยังคงทำผิดต่อไป  ในลักษณะที่ว่า  ความดื้อดึงในเจตนาชั่วของเขา สามารถสรุปได้อย่างรอบคอบจากกรณีแวดล้อมต่างๆ

๒.บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่มีเกียรติ หรือบุคคลซึ่งใช้อำนาจ หรือหน้าที่ในทางที่ผิด เพื่อกระทำความผิด

๓.ผู้ต้องหาซึ่งแม้เมื่อมีการกำหนดโทษสำหรับการกระทำที่มีความผิดแล้ว ทั้งๆ ที่ได้มองเห็นล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น กระนั้นก็ดี ยังไม่ใช้ความระมัดระวัง ที่ผู้เอาใจใส่ทุกคนควรใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำความผิด

วรรค ๔ ในกรณีที่กล่าวถึงในวรรค ๑ ถ้าโทษที่กำหนดนั้น เป็นโทษแบบไม่ต้องมีคำพิพากษา ก็สามารถเพิ่มโทษ หรือกิจใช้โทษอื่นๆ ได้

มาตรา ๑๓๒๗ กฎหมายเฉพาะสามารถกำหนดเงื่อนไขแวดล้อม ซึ่งยกเว้น ลดหย่อน หรือเพิ่มโทษให้หนักขึ้น นอกเหนือไปจากกรณีที่กล่าวไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๓๒๓–๑๓๒๖ นั้นได้ ด้วยกฎเกณฑ์ทั่วไป หรือสำหรับความผิดแต่ละอย่าง เช่นเดียวกัน ในบัญญัติสามารถตั้งเงื่อนไขแวดล้อมที่ยกเว้น บรรเทา หรือเพิ่มโทษ ซึ่งมีกำหนดไว้ในบัญญัติ

มาตรา ๑๓๒๘ วรรค ๑ บุคคลซึ่งทำการหรือละเว้นทำการ เพื่อกระทำความผิด แต่ทำความผิดไม่สำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ ไม่ต้องโทษซึ่งมีกำหนดไว้สำหรับความผิดที่ทำสำเร็จ เว้นแต่กฎหมาย หรือบัญญัติกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

วรรค ๒ ถ้าการกระทำ หรือการละเว้นกระทำ โดยธรรมชาติของมันเอง นำไปสู่การกระทำความผิด ผู้เป็นต้นเหตุสามารถถูกบังคับทำกิจใช้โทษ หรือต้องโทษเยียวยา  เว้นแต่เขาเองจะได้ยุติการกระทำ

ความผิดที่ได้เริ่มแล้วนั้น กระนั้นก็ดี ถ้ามีการเป็นที่สะดุด หรือความเสียหายหนัก หรืออันตรายอื่นเกิดขึ้น ผู้เป็นต้นเหตุ แม้จะได้ยุติการกระทำเอง สามารถต้องโทษที่เหมาะสม แต่กระนั้นก็ดี ยังเป็นโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ทำสำเร็จ

มาตรา ๑๓๒๙ วรรค ๑ บุคคลผู้ร่วมคิดกระทำความผิด และกฎหมายหรือคำสั่งไม่ได้ระบุผู้สมรู้ร่วมคิดไว้อย่างชัดเจน ถ้าโทษที่กำหนดไว้สำหรับตัวการสำคัญ เป็นโทษชนิดที่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน ผู้สมรู้ร่วมคิดต้องโทษเดียวกันกับตัวการสำคัญ รวมทั้งต้องโทษอื่นๆ ที่มีความหนักหรือเบาเท่ากันด้วย

วรรค ๒ ในกรณีที่กฎหมายหรือคำสั่ง ไม่ได้ระบุผู้สมรู้ร่วมคิด ถ้าปราศจากการร่วมกระทำของพวกเขา  ความผิดนั้นจะไม่เกิดขึ้น ผู้สมรู้ร่วมคิดต้องโทษ แม้เป็นโทษชนิดที่ไม่ต้องมีการพิจารณาตัดสิน แต่โทษที่รับนั้นเป็นโทษที่มีลักษณะที่มีผลถึงเขาด้วย มิฉะนั้น ผู้สมรู้ร่วมคิดสามารถถูกลงโทษ โดยโทษชนิดที่ต้องมีการพิจารณา  ตัดสิน

มาตรา ๑๓๓๐ ความผิดซึ่งเกิดจากการประกาศการแสดงออกของเจตนาคำสอน  หรือวิชาการ ถือว่ายังไม่เป็นความผิดสมบูรณ์   ถ้ายังไม่มีใครทราบการประกาศ หรือการแสดงออกนั้น