หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๔ พินัยกรรมศรัทธาโดยทั่วไปและกองทุนมูลนิธิศรัทธา

Can.1299 $1. Those who in virtue of natural and canon law are free to dispose of their own goods can leave goods for pious causes through an act which becomes effective during life orat death.

$2. If it is possible, the formalities of civil law are to be observed in the dispositions made for the good of the Church on the occasion of death; if such formalities have been neglected, the heirs must be advised of the obligation by which they are bound to fulfill the will of the testator.

Can.1300 The legitimately accepted wills of the faithful who give or leave their resources to pious causes, whether through an act which becomes effective during life or at death, are to be fulfilled with the greatest diligence even as regards the manner of the administration and distribution of the goods, with due regard for the prescription of can.1301, $3.

Can.1301 $1. The ordinary is the executor of all pious wills whether they be made during life or on the occasion of death.

$2. In virtue of this right the ordinary can and must exercise vigilance, even through visitation, so that pious wills are fulfilled; other executors must render him an account concerning the performance of their duty.

$3. Stipulations added to last wills and contrary to this right of the ordinary are to be considered non-existent.

Can.1302 $1. A person who accepts the role of trustee for goods bequeathed for pious causes either through an act made during life or through a last will and testament must inform the ordinary of this trust and also indicate all such goods, whether immovable or movable, along with the obligations attached to them; if; however, the donor expressly and completely prohibits this, the person is not to accept the trust.

$2. The ordinary must demand that the goods held in trust be safeguarded and must exercise vigilance on behalf of the execution of the pious will in accord with the norm of can.1301.

$3. When goods committed in trust to some member of a religious institute or a society of apostolic life have been designated for the assistance of a place or diocese or their inhabitants or pious causes, the ordinary mentioned in $$1 and 2 is the local ordinary; otherwise, it is the major superior  in   a   clerical   institute   of pontifical right and in a clerical society of apostolic life of pontifical right or the proper ordinary of a member in other religious institutes.

Can.1303 $1. In the law under the title of pious foundations are included:

1.autonomous pious foundations, that is, aggregates of things destined for all the purposes mentioned in can.114, $2 and erected as a juridic person by competent ecclesiastical authority;

2.non-autonomous pious foundations, that is, temporal goods given in some manner to a public juridic person with the obligation for a long time, to be determined by particular law, to arrange from the annual income for the celebration of Masses or other specified ecclesiastical functions or otherwise to pursue the purposes mentioned in can.114, $2.

$2. If the goods of a non-autonomous pious foundation are entrusted to a juridic person subject to a diocesan bishop, they are to be remanded to the institute mentioned in can.1274, $1 when the specified period of  time  is completed  unless  another

intention of the founder was expressly manifest; otherwise they belong to the juridic person itself.

Can.1304 $1. In order for a foundation to be validly accepted by a juridic person the written permission of the ordinary is required; and he is not to grant that permission until he ligitimately determines that the juridic person can fulfill the new obligation as well as those already accepted; he should most specially take care that the income entirely corresponds to the attached obligations in accord with the customs of the place or region.

$2. Further conditions for constituting and accepting foundations are to be defined in particular law.

Can.1305 Money and movable goods assigned to an endowment are immediately to be deposited in a safe place to be approved by the ordinary so that the money or the value of the movable goods will be safeguarded; as soon as possible, these goods are to be invested cautiously and profitably for the benefit of the foundation with express and specific mention made of the burdens attached to the endowment; this investment is to be made   in  accord   with  the  prudent

judgement of the ordinary who is to consult the interested parties as well as his finance council on this matter.

Can.1306 $1. Foundations, even if made orally, are to be put into writing.

$2. A copy of the terms of the foundation is to be securely filed in the curial archive and another copy is to be securely filed in the archive of the juridic person to whom the foundation pertains.

Can.1307 $1. With due regard for the prescriptions of cann.1300-1302 and can.1287, a list of obligations arising from pious foundations is to be drawn up and retained in an obvious place lest the obligations to be fulfilled be neglected.

$2. Besides the book referred to in can.958, $1, another book is to be kept by the pastor or rector in which the individual obligations, their fulfillment and the offerings are noted.

Can.1308 $1. The reduction of Mass obligations, to be done only for a just and necessary reason, is reserved to the Apostolic See with due regard for the following prescriptions.

$2. If it is expressly provided for in the articles of the foundation, the ordinary is empowered to reduce Mass obligations because of diminished imcome.

$3. The diocesan bishop has the power, when income diminishes, of reducing Masses from independent legacies or foundations of any kind to conform to the level of the offering legitimately established in the diocese for as long as the reason for this reduction continues, provided that there is no one who is bound by the obligation of increasing the offering and can be successfully induced to do so.

$4.The same authority has the power of reducing the obligations or legacies for Masses which bind ecclesiastical institutes if the income proves insufficient to pursue successfully the proper goal of the ecclesiastical institute.

$5. These same powers mentioned in $$3 and 4 are also enjoyed by the supreme moderator of clerical institutes of pontifical right.
Can.1309 The same authorities mentioned in can.1308 also enjoy the power of transferring for a suitable reason  Mass   obligations   to   day,

churches or altars different from those determined in the foundation.

Can.1310 $1.The ordinary, only for a just and necessary reason, may reduce, moderator or commute the wills of the faithful for pious causes provided such power has been expressly granted him by the founder.

$2. If, through no fault of the administrator, the fulfillment of the obligations becomes impossible due to diminished income or some other reason, the ordinary can diminish them equitably after consulting the interested parties and his finance council, with due regard for the will of the founder as much as possible; this is not true for Mass obligations, whose reduction is governed by the prescriptions of can.1308.

$3. In other cases recourse is to be made to the Apostolic See.

 มาตรา ๑๒๙๙ วรรค ๑ บุคคลซึ่งตามกฎหมายธรรมชาติ และกฎหมายพระ    ศาสนจักรสามารถจัดการทรัพย์สินของตนได้อย่างอิสระ สามารถอุทิศทรัพย์นั้นเพื่อการกุศล โดยทำพินัยกรรม  ซึ่งมีผลขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเมื่อสิ้นชีพแล้ว

วรรค ๒ พินัยกรรมซึ่งมีผลเมื่อสิ้นชีพแล้ว   เพื่อยกทรัพย์สินให้พระศาสนจักร ถ้าทำได้ต้องทำตามรูปแบบของกฎหมายบ้านเมือง ถ้ามิได้ทำ ต้องเตือนผู้รับมรดกถึงพันธะที่ผูกมัดเขาให้ปฏิบัติตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม

มาตรา ๑๓๐๐ เจตนาของสัตบุรุษที่อุทิศหรือสละทรัพย์สินเพื่อการกุศลโดยพินัยกรรมซึ่งมีผลขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเมื่อสิ้นชีพแล้ว เมื่อเจตนานั้นได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องแล้ว ต้องปฏิบัติตามอย่างขะมักเขม้น แม้ในเรื่องวิธีการบริหาร และการจำหน่ายทรัพย์สินด้วย โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๓๐๑ วรรค ๓

มาตรา ๑๓๐๑ วรรค ๑ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปฏิบัติตามพินัยกรรมศรัทธาทุกฉบับ ทั้งที่มีผลขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเมื่อสิ้นชีพแล้ว

วรรค ๒ โดยสิทธินี้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถ และต้องดูแล แม้โดยวิธีการไปเยี่ยมด้วย ให้มีการปฏิบัติอย่างครบถ้วนตามพินัยกรรมศรัทธา และบรรดาผู้ปฏิบัติอื่นๆ เมื่อได้ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ต้องรายงานให้ท่านทราบ

วรรค ๓ เงื่อนไขที่เพิ่มต่อท้ายพินัยกรรม ซึ่งขัดกับสิทธิข้อนี้ของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ ให้ถือประหนึ่งว่าไม่มี

มาตรา ๑๓๐๒ วรรค ๑ บุคคลซึ่งได้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์สินเพื่อการกุศล ไม่ว่าโดยนิติกรรม ซึ่งมีผลขณะมีชีวิตอยู่หรือโดยพินัยกรรม ต้องแจ้งให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจทราบเกี่ยวกับภาระนี้ และต้องแสดงทรัพย์สินทุกอย่าง ทั้งสังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับพันธะติดพันด้วย ถ้าหากผู้บริจาคห้ามเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง และเด็ดขาด ก็ต้องไม่ยอมรับหน้าที่นี้

วรรค ๒ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ ต้องเรียกร้องให้ทรัพย์สินที่รับไว้ในความดูแล เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกัน ท่านต้องดูแลให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมศรัทธา ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายมาตรา ๑๓๐๑

วรรค ๓ เมื่อทรัพย์สินที่มอบไว้ในความดูแลแก่สมาชิกคนหนึ่งของสถาบันนักบวช หรือของคณะชีวิตแพร่ธรรม โดยมีจุดประสงค์มอบให้แก่สถานที่หนึ่งโดยเฉพาะ กล่าวคือสังฆมณฑล หรือแก่ผู้อาศัยในสังฆมณฑล หรือเพื่อการกุศล ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจที่ระบุไว้ในวรรค ๑ และ ๒ ได้แก่ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น      มิฉะนั้น ถ้าผู้ได้รับมอบให้ดูแลเป็นสมาชิก

ในสถาบันสมณะสิทธิสันตะสำนัก ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ คือท่านอธิการใหญ่ หรือถ้าเป็นสมาชิกในสถาบันนักบวช ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ คือ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจเฉพาะของสมาชิกนั้นเอง

มาตรา ๑๓๐๓ วรรค ๑ กองทุนมูลนิธิศรัทธา ในกฎหมายได้แก่

๑.กองทุนมูลนิธิศรัทธาอิสระ กล่าวคือ ทรัพย์สินทุกชนิดที่รวมเป็นกองทุนเพื่อจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๑๔ วรรค ๒ และตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล โดยผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักร

๒.กองทุนมูลนิธิศรัทธาไม่อิสระ กล่าวคือทรัพย์สินฝ่ายโลก ที่ให้แก่นิติบุคคลสาธารณะบางแห่ง ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ พร้อมกับภาระเป็นระยะเวลานาน ซึ่งกำหนดโดยกฎหมายเฉพาะที่จะต้องถวายบูชามิสซา จากรายได้ประจำปี และกระทำหน้าที่ฝ่ายพระศาสนจักรตามที่กำหนดไว้ หรือมิฉะนั้น เพื่อจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๑๔ วรรค ๒

วรรค ๒ ทรัพย์สินของกองทุนมูลนิธิศรัทธาที่ไม่อิสระ ถ้ามอบให้แก่นิติบุคคลที่ขึ้นกับพระสังฆราชสังฆมณฑล เมื่อสิ้นสุดเวลาแล้ว ทรัพย์สินนั้นต้องมอบให้แก่สถาบันที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๒๗๔ วรรค ๑ เว้นแต่ผู้บริจาคแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น   มิฉะนั้น ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของนิติบุคคลนั้นเอง

มาตรา ๑๓๐๔ วรรค ๑ เพื่อให้นิติบุคคลสามารถรับกองทุนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จำเป็นต้องมีอนุญาตของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใหญ่ดังกล่าวต้องไม่ให้อนุญาตก่อนที่จะเห็นโดยชอบด้วยกฎหมายว่า นิติบุคคลนั้นสามารถปฏิบัติทั้งพันธะใหม่ที่จะรับ และพันธะเก่าที่รับมาแล้ว ยิ่งกว่านั้น ต้องระวังเป็นพิเศษให้รายได้ตอบสนองอย่างเพียงพอทีเดียวต่อพันธะที่ติดมาตามประเพณีของท้องที่ หรือของแขวงแต่ละแห่ง

วรรค ๒ เงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับธรรมนูญ และการรับกองทุนต้องกำหนด โดยกฎหมายเฉพาะ

มาตรา ๑๓๐๕ เงินและสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดเป็นสินสอด จะต้องเก็บทันทีในที่ปลอดภัยซึ่งรับรองโดยผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เงินหรือค่าของสังหาริมทรัพย์ได้รับการปกปักรักษาอย่างปลอดภัย ทรัพย์สินนี้โดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ต้องนำไปลงทุนอย่างระมัดระวัง และอย่างประโยชน์ เพื่อผลประโยชน์ของกองทุนตามที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้ง และเฉพาะถึงภาระที่ติดมากับกองทุน การลงทุนนี้ต้องทำตามการวินิจฉัยที่รอบคอบของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจคนเดียวกัน ซึ่งได้ปรึกษาผู้มีส่วนได้เสีย          และคณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของท่าน

มาตรา ๑๓๐๖ วรรค ๑ กองทุน แม้ตั้งขึ้นโดยปากเปล่า ต้องบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

วรรค ๒ สำเนาเอกสารกองทุนฉบับหนึ่ง ต้องเก็บไว้อย่างปลอดภัยในตู้เอกสารของสำนักสังฆมณฑล และอีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ในตู้เอกสารของนิติบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับกองทุน

มาตรา ๑๓๐๗ วรรค ๑ โดยถือตามข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๓๐๐-๑๓๐๒ และ ๑๒๘๗ ต้องทำบัญชีภาระที่เกิดขึ้นจากกองทุนมูลนิธิศรัทธา ซึ่งต้องติดตั้งไว้ในที่เปิดเผย เพื่อมิให้หลงลืมภาระที่ต้องปฏิบัติ

วรรค ๒ นอกจากหนังสือที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตรา ๙๕๘ วรรค ๑ แล้ว ต้องมีหนังสืออีกเล่มหนึ่ง และเก็บไว้ที่บ้านของเจ้าวัด หรืออธิการโบสถ์ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ ต้องบันทึกภาระแต่ละเรื่อง ภาระที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว และเงินทานที่ได้รับ

มาตรา ๑๓๐๘ วรรค ๑ การปรับลดภาระมิสซา ต้องทำเฉพาะเมื่อมีเหตุชอบธรรมและจำเป็นเท่านั้น การปรับลดนี้สงวนไว้แก่สันตะสำนัก โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

วรรค ๒ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถปรับลดภาระมิสซาลงได้ เพราะรายได้ลดลง ถ้าในเอกสารกองทุนได้คาดการเรื่องนี้ไว้ก่อนแล้วอย่างแจ้งชัด

วรรค ๓ เมื่อรายได้ลดลง พระสังฆราชสังฆมณฑล มีอำนาจปรับลดจำนวนมิสซาจากกองมรดก หรือจากกองทุนทุกชนิดที่เป็นกองทุนอิสระเพื่อให้เหมาะสมกับระดับค่ามิสซาปัจจุบัน ที่ได้กำหนดอย่างถูกต้องตามกฎหมายในสังฆมณฑล ตลอดระยะเวลาที่เหตุการณ์ที่จำต้องปรับนั้นยังคงอยู่ ขอแต่ว่าไม่มีใครที่ต้องมีภาระ และถูกบีบบังคับอย่างได้ผลให้ต้องเพิ่มเงินถวายมิสซา

วรรค ๔ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจคนเดียวกัน มีอำนาจปรับลดภาระ หรือมรดกมิสซา ซึ่งผูกมัดสถาบันฝ่ายพระศาสนจักร ถ้ารายได้ลดลงจนไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตามจุดประสงค์เฉพาะของสถาบันนั้นอย่างเหมาะสม

วรรค ๕ ผู้บริหารสูงสุดของสถาบันนักบวช สมณะ สิทธิสันตะสำนัก มีอำนาจเดียวกัน ดังที่ระบุไว้ในวรรค ๓ และ ๔

มาตรา ๑๓๐๙ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจคนเดียวกัน ที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตรา ๑๓๐๘ มีอำนาจด้วยที่จะย้ายเมื่อมีเหตุผลอันเหมาะสม พันธะมิสซาไปยังวัด หรือพระแท่นอื่นที่แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในกองทุน

มาตรา ๑๓๑๐ วรรค ๑ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถปรับลด ปรับให้พอควร หรือปรับเปลี่ยนพินัยกรรมเพื่อการกุศลของสัตบุรุษได้ เฉพาะเมื่อมีเหตุผลชอบธรรมและจำเป็นเท่านั้น ขอแต่ว่า ผู้ตั้งกองทุนให้อำนาจนั้นแก่เขาอย่างชัดแจ้ง

วรรค ๒ ถ้าการปฏิบัติตามพันธะ เป็นไปไม่ได้ เพราะรายได้ลดลง  หรือเพราะสาเหตุอื่นบางประการ โดยมิใช่ความผิดของผู้บริหาร ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถลดพันธะนั้นลงได้อย่างเที่ยงธรรม หลังจากได้ปรึกษากับผู้มีส่วนได้เสีย และคณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของตนแล้ว ทั้งนี้ โดยพยายามทำตามเจตนาของผู้ตั้งกองทุนให้ดีเท่าที่จะทำได้ ยกเว้นการปรับลดมิสซา ซึ่งควบคุมโดยข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๓๐๘

วรรค ๓ ในกรณีอื่นๆ ต้องเสนอเรื่องต่อสันตะสำนัก