หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๑ การได้มาซึ่งทรัพย์สิน

Can.1259 The Church can acquire temporal goods by every just means of natural or positive law permitted to others.

Can.1260 The Church has an innate right to require from the Christian faithful whatever is necessary for the ends proper to it.Can.1261 $1. The Christian faithful may freely give temporal goods to the Church.

$2. The diocesan bishop is bound to admonish the faithful concerning the obligation mentioned in can.222, $1 and to urge its observance in an appropriate manner.

Can.1262 The faithful are to contribute to the support of the Church by collections and according to the norms laid down by the conference of bishops.

Can.1263 The diocesan bishop has the right to impose a moderate tax on public juridic persons subject to his authority; this tax, which should be proportionate to their income, is for diocesan needs and may be imposed only after hearing the diocesan finance council and the presbyteral council; he can impose an extraordinary and moderate tax on other physical and juridic persons only in cases of grave necessity and under the same conditions with due regard for particular laws and customs attributing even more significant rights to him.

Can.1264 Unless the law has provided otherwise, it is the responsibility of a meeting of the bishops of a province:

1.to fix the amounts of the tax for acts of discretionary executive power or for the execution of rescripts of the Apostolic See, to be approved by the Apostolic See;

2.to set a limit on the offerings given on the occasion of administering the sacraments and sacramentals.

Can.1265 $1. With due regard for the right of religious mendicants private persons whether physical or juridic are forbidden to raise funds for any pious or ecclesiastical institution or purpose without the written permission of their own ordinary and that of the local ordinary.

$2. The conference of bishops can determine norms on fund-raising, which must be observed by everyone including those who are called and really are mendicants by their foundation.

Can.1266 The local ordinary may prescribe the taking up of a special collection for specific parochial, diocesan, national or universal projects in all the churches and oratories which are, in fact, habitually open to the Christian faithful, including those belonging to religious institutes; this collection is to be diligently transmitted afterwards to the diocesan curia.

Can.1267 $1. Unless the contrary is established, the offerings given to the superiors or administrators of any ecclesiastical juridic person, even to a private one, are presumed to be given to that juridic person.

$2. The offerings mentioned in $1 may not be refused without a just cause and, in matters of greater importance, without the permission of the ordinary if it is a question of a public juridic person; with due regard for the prescription of can. 1295, the permission of the same ordinary is required to accept those gifts to which are attached a condition or a modal obligation.

$3. The offerings given by the faithful for a definite purpose can be applied only for that same purpose.

Can.1268 Prescription as a means of acquiring property and freeing oneself from an obligation is admitted by the Church in regard to temporal goods according to the norm of can.197–199.

Can.1269 If sacred objects are privately owned, they may be acquired even by private persons by means of prescription; but it is not lawful to employ them for profane uses unless
they have lost their dedication or blessing; if, however, they belong to a public ecclesiastical juridic person, they can be acquired only by another public ecclesiastical juridic person.

Can.1270 Immovable properties, precious movable objects, and the personal or real rights and claims which belong to the Apostolic See are subject to a prescription period of one hundred years; those which belong to another public ecclesiastical juridic person are subject to a prescription period of thirty years.

Can.1271 In view of their bond of unity and charity and in accord with the resources of their dioceses, bishops are to assist in procuring those means whereby the Apostolic See can properly provide for its service of the universal Church according to the conditions of the times.

Can.1272 In regions where benefices in the strict sense still exist, it is the responsibility of the conference of bishops to supervise the management of such benefices through appropriate norms which are agreeable to and approved by the Apostolic See; this is to be accomplished in such a way that the income from and to the extent that it is possible even the original endowment of these benefices are gradually bestowed upon the institute mentioned in can.1274, $1.

มาตรา ๑๒๕๙ พระศาสนจักรสามารถได้ทรัพย์สินฝ่ายโลกมาด้วยวิธีการที่ชอบธรรมทุกอย่าง ตามกฎธรรมชาติ และกฎหมายที่ตราขึ้น ซึ่งกฎหมายเหล่านั้นให้สิทธิ์แก่บุคคลอื่นๆ

มาตรา ๑๒๖๐ พระศาสนจักรมีสิทธิโดยกำเนิดที่จะเรียกร้องจากคริสตชน สิ่งซึ่งจำเป็นสำหรับจุดประสงค์เฉพาะของตน

มาตรา ๑๒๖๑ วรรค ๑ คริสตชนมีสิทธิครบถ้วนที่จะถวายทรัพย์สินฝ่ายโลก  เพื่อสนับสนุนพระศาสนจักร

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆมณฑลมีหน้าที่เตือนสัตบุรุษถึงพันธะที่กล่าวถึงในมาตรา ๒๒๒ วรรค ๑ และกระตุ้นเตือนด้วยวิธีการที่เหมาะสม

มาตรา ๑๒๖๒ สัตบุรุษพึงให้ความช่วยเหลือแก่พระศาสนจักร ตามการขอร้อง  และตามกฎเกณฑ์ที่สภาพระสังฆราชกำหนด

มาตรา ๑๒๖๓ พระสังฆราชสังฆมณฑล  เมื่อได้รับฟังที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ และคณะสงฆ์แล้ว มีสิทธิกำหนดภาษีที่พอประมาณและได้สัดส่วนกับรายได้แก่นิติบุคคลสาธารณะ ที่อยู่ใต้ปกครองของท่าน เพื่อใช้ในความจำเป็นของสังฆมณฑล สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอื่นๆ ท่านสามารถกำหนดภาษีพิเศษและพอประมาณได้ เมื่อมีความจำเป็นหนักเท่านั้น และภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน โดยคงไว้ซึ่งกฎหมายและธรรมเนียมเฉพาะ ซึ่งให้สิทธิที่ดีกว่าแก่ท่าน

มาตรา ๑๒๖๔ เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ที่ประชุมบรรดาพระสังฆราชแขวง มีหน้าที่

๑. กำหนดภาษี สำหรับกิจการ  บริหารอำนาจในการให้พระคุณ หรือสำหรับการปฏิบัติตามหนังสือตอบของสันตะสำนัก ข้อกำหนดนี้ ต้องได้รับการเห็นชอบจากสันตะสำนัก

๒. กำหนดเงินถวาย โอกาสให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งคล้ายศีล

มาตรา ๑๒๖๕ วรรค ๑ โดยคงไว้ซึ่งสิทธิของนักพรตภิกขาจาร ห้ามปัจเจกบุคคลไม่ว่าบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ทำการรณรงค์หาทุน เพื่อสถาบัน หรือจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับการกุศล หรือ เกี่ยวกับพระ    ศาสนจักรใดๆ โดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของตน และผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น

วรรค ๒ สภาพระสังฆราช สามารถออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรณรงค์หาทุน ซึ่งทุกคนต้องถือ ไม่ยกเว้นแม้พวกที่มีชื่อและเป็นภิกขาจารโดยสถาบัน

มาตรา ๑๒๖๖ ในวัดและวัดน้อยทุกแห่งแม้ที่ขึ้นกับสถาบันนักพรต ซึ่งตามความเป็นจริง เปิดรับคริสตชนเป็นประจำอยู่แล้ว ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นสามารถสั่งให้มีการเก็บทานพิเศษสำหรับโครงการระดับวัดปกครอง, ระดับสังฆมณฑล, ระดับชาติ หรือระดับสากลที่กำหนดไว้แล้ว เงินทานนี้ภายหลังต้องส่งไปยังสำนักสังฆมณฑลด้วยความเอาใจใส่

มาตรา ๑๒๖๗ วรรค ๑ เว้นแต่เป็นที่แจ้งชัดว่าเป็นตรงกันข้าม ของถวายทั้งหลายที่ให้แก่อธิการ หรือผู้บริหารของนิติบุคคลฝ่ายพระศาสนจักรใดไม่ว่า แม้เป็นนิติบุคคลปัจเจก ให้สันนิษฐานว่า เป็นของถวายให้แก่นิติบุคคลนั้นเอง

วรรค ๒ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิติบุคคลสาธารณะ ของถวายที่กล่าวถึงในวรรค ๑ ปฏิเสธไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุอันชอบ และในเรื่องใหญ่จะปฏิเสธไม่ได้ เว้นแต่มีอนุญาตของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ ต้องมีอนุญาตของผู้ใหญ่คนเดียวกัน เพื่อรับของถวายที่มีภาระหรือเงื่อนไขติดพัน โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๑๒๙๕

วรรค ๓ ของถวายจากสัตบุรุษ  เพื่อจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ สามารถใช้เฉพาะกับจุดประสงค์นั้นเท่านั้น

มาตรา ๑๒๖๘ พระศาสนจักร ยอมรับการครอบครองปรปักษ์ เป็นวิธีการ เพื่อได้มา และเพื่อปลดเปลื้องภาระในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายโลก ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๙๗–๑๙๙

มาตรา ๑๒๖๙ วัตถุศักดิ์สิทธิ์ ถ้าอยู่ในการครอบครองของปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลสามารถได้มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในทางไม่ศักดิ์สิทธิ์ เว้นแต่วัตถุศักดิ์สิทธิ์นั้นได้สูญเสียการเสก ถวาย หรือการเสกอวยพรแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าวัตถุศักดิ์สิทธิ์เป็นของนิติบุคคล สาธารณะฝ่ายพระศาสนจักร นิติบุคคลสาธารณะฝ่ายพระศาสนจักรอื่น สามารถครอบครองเท่านั้น

มาตรา ๑๒๗๐   อสังหาริมทรัพย์สังหาริมทรัพย์ที่มีค่า สิทธิ และการเรียกร้องทางกฎหมาย ไม่ว่าเกี่ยวกับบุคคลหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นของสันตะสำนัก ระยะครอบครองปรปักษ์ คือ ๑๐๐ ปี ถ้าเป็นของนิติบุคคลสาธารณะฝ่ายพระศาสนจักรอื่น ระยะครอบครองปรปักษ์ คือ ๓๐ ปี

มาตรา ๑๒๗๑ ด้วยเหตุผลแห่งความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน และความรัก         พระสังฆราชตามความสามารถของสังฆมณฑลของตน ต้องบริจาคเพื่อหาจัดปัจจัย ซึ่งสันตะสำนักมีความต้องการตามสภาพแห่งกาลเวลา เพื่อสามารถบริการพระ  ศาสนจักรสากลได้อย่างที่ควร

มาตรา ๑๒๗๒ ในเขตที่สิทธิประโยชน์ ตามความหมายเฉพาะของคำยังมีอยู่ เป็นหน้าที่ของสภาพระสังฆราชที่จะควบคุมดูแลสิทธิประโยชน์นี้ด้วยกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม จากการตกลงและรับรองโดยสันตะสำนัก จุดหมายของกฎเกณฑ์เหล่านี้ คือ เพื่อให้รายได้และยิ่งกว่านั้นเท่าที่เป็นไปได้ ให้ทุนเดิมของสิทธิประโยชน์นี้ ถูกย้ายไปทีละน้อยเข้ากองทุนที่กล่าวถึง   ในมาตรา ๑๒๗๔ วรรค ๑