หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๗ การแต่งงาน

Can.1055 $1. The matrimonial covenant, by which a man and a woman establish between  themselves a partnership of the whole of life, is by its nature ordered toward the good of the spouses and the procreation and education of offspring; this covenant between baptized persons has been raised by Christ the Lord to the dignity of a sacrament.

$2. For this reason a matrimonial contract cannot validly exist between baptized persons unless it is also a sacrament by that fact.

Can.1056 The essential properties of marriage are unity and indissolubility, which in Christian marriage obtain a special firmness in virtue of the sacrament.

Can.1057 $1. Marriage is brought about through the consent of the parties, legitimately manifested between persons who are capable according to law of giving consent; on human power can replace this consent.

$2. Matrimonial consent is an act of the will by which a man and a woman, through an irrevocable covenant, mutually give and accept each other in order to establish marriage

Can.1058 All persons who are not prohibited by law can contract marriage.

Can.1059 Even if only one party is baptized, the marriage of Catholics is regulated not only by divine law but also by canon law, with due regard for the competence of civil authority concerning the merely civil effects of such a marriage.

Can.1060 Marriage enjoys the favor of the law; consequently, when a doubt exists the validity of a marriage is to upheld until the contrary is proven.

Can.1061 $1. A valid marriage between baptized persons is called ratified only if it has not been consummated; it is called ratified and consummated if the parties have performed between themselves in a human manner the conjugal act which is per se suitable for the generation of children, to which marriage is ordered by its very natureand by which the spouses become one flesh.

$2. After marriage has been celebrated, if the spouses have cohabited consummation is presumed until the contrary is proven.

$3. An invalid marriage is called putative if it has been celebrated in good faith by at least one of the parties, until both parties become certain of its nullity.

Can.1062 $1. A promise of marriage, be it unilateral or bilateral, called an engagement, is regulated by particular law which has been established by the conference of bishops after it has taken into consideration any existing customs and civil laws.

$2. A promise to marry does not give rise to an action to seek the celebration of marriage; an action for reparation of damages, however, does arise if it is warranted.

มาตรา ๑๐๕๕ วรรค ๑ พันธสัญญาการแต่งงาน คือ พันธสัญญาที่ชายและหญิง นำชีวิตทั้งครบของตน มาหลอมเข้าเป็นชีวิตหนึ่งเดียว ธรรมชาติของพันธสัญญานี้มุ่งสู่ความดีของคู่ชีวิต และการให้กำเนิดบุตรหลาน รวมทั้งให้การศึกษาอบรม การแต่งงานระหว่างผู้ได้รับศีลล้างบาป ได้รับการยกขึ้นจากพระคริสตเจ้า ให้มีศักดิ์ศรีเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

วรรค ๒ เพราะเหตุนี้ สัญญาการแต่งงานระหว่างผู้ได้รับศีลล้างบาป ไม่สามารถมีผลทางกฎหมาย โดยไม่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในเวลาเดียวกัน

มาตรา ๑๐๕๖ ลักษณะเฉพาะที่เป็นแก่นแท้ของการแต่งงาน คือ ความเป็นหนึ่งเดียว และการแยกจากกันมิได้ การแต่งงานของคริสตชนมีความมั่นคงพิเศษ โดยเหตุผลของการเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

มาตรา ๑๐๕๗ วรรค ๑ การแต่งงานเกิดขึ้นจากการยินยอมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งแสดงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ระหว่างบุคคลที่สามารถแต่งงานได้ตามกฎหมาย การ   ยินยอมนี้ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยอำนาจของมนุษย์ใดๆ

วรรค ๒ การยินยอมของการแต่งงาน คือ กิจการของอำเภอใจ ซึ่งชายและหญิงมอบและรับตนเองแก่กันและกัน เพื่อทำให้เกิดการแต่งงานด้วยพันธสัญญาอันเรียกคืนไม่ได้

มาตรา ๑๐๕๘ ทุกคนซึ่งกฎหมายไม่ห้าม สามารถทำสัญญาแต่งงานได้

มาตรา ๑๐๕๙ การแต่งงานของคาทอลิก แม้ฝ่ายเดียวเท่านั้นเป็นคาทอลิก ไม่เพียงแต่อยู่ใต้กฎเกณฑ์ของพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังอยู่ใต้กฎเกณฑ์ของพระศาสนจักรด้วย โดยคงไว้ซึ่งอำนาจทางบ้านเมือง เกี่ยวกับผลเพียงทางบ้านเมืองของการแต่งงานเดียวกันนั้น

มาตรา ๑๐๖๐ การแต่งงานได้รับการสนับสนุนจากกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ ในกรณีมีความสงสัย ให้ยืนยันความถูกต้องของการแต่งงานไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นเป็นตรงกันข้าม

มาตรา ๑๐๖๑ วรรค ๑ การแต่งงานที่ถูกต้องระหว่างผู้ได้รับศีลล้างบาป เรียกว่า การแต่งงานที่ได้รับสัตยาบันเท่านั้น หากยังไม่มีการทำให้สมบูรณ์ เรียกว่า การแต่งงานที่ได้รับสัตยาบันและสมบูรณ์ หากสามีภรรยาได้มีเพศสัมพันธ์ตามวิสัยมนุษย์ ซึ่งในตัวมันเองเหมาะที่จะทำให้เกิดบุตรหลานโดยธรรมชาติ การแต่งงานมีจุดประสงค์เพื่อการมีเพศสัมพันธ์นี้  และโดยการมีเพศสัมพันธ์นี้ สามีภรรยากลายเป็นเนื้อเดียวกัน

วรรค ๒ ถ้าสามีภรรยามีชีวิตร่วมกัน หลังพิธีแต่งงาน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การแต่งงานนั้นสมบูรณ์แล้ว จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นเป็นตรงกันข้าม

วรรค ๓ การแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า การแต่งงานสมมุติ หากการแต่งงานมีขึ้นโดยสุจริตใจอย่างน้อยจากฝ่ายหนึ่ง จนกว่าทั้งสองฝ่ายแน่ใจว่า การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา ๑๐๖๒ วรรค ๑ การสัญญาจะแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายเดียว หรือจากทั้งสองฝ่าย เรียกว่า การหมั้น การสัญญานี้ควบคุมด้วยกฎหมายเฉพาะ ซึ่งสภาพระสังฆราชตั้งขึ้น  หลังจากได้พิจารณาประเพณีการหมั้น และกฎหมายบ้านเมือง หากมี

วรรค ๒ การหมั้นไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องการแต่งงาน แต่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องการชดเชยค่าเสียหาย หากมี