หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๑ การประกอบศีลบรรพชา และศาสนบริกร
 

Can.1010 An ordination is to celebrated during Mass, on a Sunday or holyday of obligation. For pastoral reason, however, it may take place on other days also, even on ferial days.

Can.1011$1 An ordination is normally to be celebrated in the cathedral church. For pastoral reason, however, it may be celebrated in another church or oratory.

$2     Clerics   and     other members of Christ’s faithful are to be invited to attend an ordination, so that the greatest possible number may be present at the celebration.

Can.1012 The minister of sacred ordination is a consecrated Bishop.Can.1013 No Bishop is permitted to consecrate anyone as Bishop, unless it is first established that a pontifical mandate has been issued.

Can 1014 Unless a dispensation has been granted by the Apostolic See, the principal consecrating Bishops with him. It is, however, entirely appropriate that all the Bishops present should join with these in consecrating the Bishop-elect.

Can.1015 $1 Each candidate is to be ordained to the priesthood or to the diaconate by his proper Bishop, or with lawful dimissorial letters granted by that Bishops.

$2 If not impeded from doing so by a just reason, a Bishop is himself to ordain his own subject of an oriental rite.

$3 Anyone who is entitled to give dimissorial letters for the reception of orders may also himself confer these order, if he is a Bishop.

Can.1016 In what concerns the ordination to the diaconate of those who intend to enrol themselves in the secular clergy, the proper Bishop is the Bishop of the diocese in which the aspirant has a domicile or the Bishop of the diocese to which he intends to devote himself. In what concerns the priestly ordination of the secular clergy, it is the Bishop of the diocese in which the aspirant was incardinated  by the diaconate.

Can.1017 A Bishop may not confer orders outside his own jurisdiction except with the permission of the diocesan Bishop.

Can.1618 $1 The following can give dimissorial letters for the secular clergy:

1. the proper Bishop mentioned in Can.1016;

2.the apostolic Administrator; with the consent of the college of consultors, the diocesan Administrator; with the consent of the council mentioned in Can.495 $2, the Pro-vicar and Pro-prefect apostolic.$2 The diocesan Administrator, the Pro-Vicar and Pro-prefect apostolic are not to give dimissorial letters to those to whom admission to orders was refused by the diocesan Bishop or by the Vicar so Prefect apostolic.

Can.1019 $1 It belongs to the major Superior of a clerical religious institute of pontifical right or of a clerical society of apostolic life of pontifical right to grant dimissorial letters for the diaconate and for the priesthood to his subjects who are, in accordance with the constitution, perpetually or definitively enrolled in the institute or society.

$2 The ordination of all other candidates of whatever institute or society, is governed by the law applying to the secular clergy, any indult whatsoever granted to Superiors being revoked.

Can.1020 Dimissorial letters are not to be granted unless all the testimonials and documents required by the law in accordance with Cann.1050 and 1051 have first been obtained.Can.1021Dimissorial letters may be sent to any Bishop in communion with the Apostolic See. But not to a Bishop of a rite other than that of the ordinand, unless there is an apostolic induly.

Can.1022 When the ordaining Bishop has received the prescribed dimissorial letters, he may proceed to the ordination only when the authenticity of these letters is established beyond any doubt whatever.

Can.1023 Dimissorial letters can be limited or can be  revoked by the person granting them or by his successor; once granted, they do not lapse on the expiry of the grantor’s authority.Can.1024 Only a baptised man can validly receive sacred ordination.

๑๐๑๐ ต้องประกอบศีลบรรพชาในระหว่างการถวายบูชามิสซาอย่างสง่า ในวันอาทิตย์หรือวันฉลองต้องบังคับ แต่ด้วยเหตุผลด้านอภิบาล จะประกอบศีลบรรพชาในวันอื่นๆ ก็ได้ ไม่เว้นแม้วันธรรมดา

๑๐๑๑ วรรค ๑ โดยปกติให้ประกอบศีลบรรพชาในอาสนวิหาร แต่ด้วยเหตุผลด้านอภิบาล จะประกอบในวัดอื่นหรือวัดน้อยก็ได้

วรรค ๒ ต้องเชิญบรรดาสมณะ และคริสชน เข้าร่วมในการบรรพชานี้ เพื่อให้มีผู้ร่วมพิธีมากที่สุด

๑๐๑๒ศาสนบริกรประกอบศีลบรรพชา คือพระสังฆราชผู้ได้รับการอภิเษกแล้ว

๑๐๑๓ ไม่อนุญาตให้พระสังฆราชองค์ใด อภิเษกใครเป็นพระสังฆราช เว้นแต่แจ้งชัดเกี่ยวกับคำสั่งของพระสันตะปาปาก่อน

๑๐๑๔   เว้นไว้แต่ได้รับการยกเว้นจากสันตะสำนัก พระสังฆราชผู้เป็นประธานในการอภิเษก ต้องเชิญพระสังฆราชอีกอย่างน้อยสององค์ ร่วมพิธีอภิเษกพระสังฆราช แต่เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่พระสังฆราชที่อยู่ที่นั่นทุกองค์ ร่วมกับพระสังฆราชเหล่านั้น อภิเษกผู้ที่ได้รับเลือกด้วย

๑๐๑๕ วรรค ๑ ให้แต่ละคนรับการบวช เป็นพระสงฆ์และสังฆานุกร จากพระสังฆราชของตน หรือโดยมีหนังสือรับรองให้บวชจากพระสังฆราชองค์เดียวกัน

วรรค ๒ ถ้าพระสังฆราชไม่มีเหตุขัดข้องอย่างมีเหตุผล ให้ท่านเป็นผู้ประกอบพิธีบวช ผู้อยู่ใต้ปกครองโดยตนเอง แต่ท่านไม่อาจประกอบพิธีบวชได้โดยชอบตามกฎหมาย แก่บุคคลใต้ปกครองที่ถือจารีตตะวันออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสันตะสำนัก

วรรค ๓ ผู้ใดก็ตามที่สามารถออกหนังสือรับรองให้บวชได้ในฐานันดรใด ย่อมประกอบพิธีบวชฐานันดรเหล่านั้นได้โดยตนเอง หากมีศีลบวชเป็นพระสังฆราช๑๐๑๖ พระสังฆราชเฉพาะเพื่อการบวชสังฆานุกรของผู้ที่ตั้งใจเข้าสังกัดเป็นสมณะสังฆมณฑล คือ พระสังฆราชสังฆมณฑลที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่ หรือพระสังฆราชสังฆมณฑลที่ผู้สมัครตกลงใจอุทิศตนรับใช้ในสังฆมณฑลนั้น ส่วนสังฆราชเฉพาะเพื่อการบวชพระสงฆ์เป็นสมณะสังฆมณฑล คือพระสังฆราชสังฆมณฑล ซึ่งผู้สมัครเข้าสังกัด  เมื่อบวชเป็นสัง-ฆานุกร

๑๐๑๗ พระสังฆราชจะประกอบพิธีบวช นอกเขตปกครองของตนได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพระสังฆราชของสังฆมณฑลนั้นเท่านั้น

๑๐๑๘ วรรค ๑ ผู้ที่สามารถออกหนังสือรับรองให้บวชเป็นสมณะสังฆมณฑลได้แก่

๑. พระสังฆราชเฉพาะดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๐๑๖

๒. ผู้รักษาการในนามสันตะสำนัก และผู้รักษาการสังฆมณฑล พร้อมด้วยความเห็นชอบของคณะที่ปรึกษา, รองผู้ปกครองเขตสันตะสำนัก และรองสังฆรักษ์ พร้อมด้วยความเห็นชอบของสภาดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๙๕ วรรค ๒วรรค ๒ ผู้รักษาการสังฆมณฑล รองผู้ปกครองเขตสันตะสำนัก และรองสังฆรักษ์ ต้องไม่ออกหนังสือรับรองให้บวช แก่ผู้ที่พระสังฆราชสังฆมณฑล หรือผู้ปกครองเขตสันตะสำนัก หรือสังฆรักษ์ปฏิเสธมิให้บวช

๑๐๑๙ วรรค ๑ อธิการชั้นผู้ใหญ่ของสถาบันนักพรต สมณะสิทธิสันตะสำนัก หรืออธิการชั้นผู้ใหญ่ของคณะสมณะแห่งชีวิตแพร่ธรรมสิทธิสันตะสำนัก มีอำนาจออกหนังสือรับรองให้บวช แก่ผู้อยู่ใต้ปกครองของตนที่สังกัดสถาบันหรือคณะแบบตลอดชีพ หรือแบบเด็ดขาด ตามธรรมนูญ

วรรค ๒ การบวชผู้สมัครอื่นๆ ของสถาบันหรือของคณะใดไม่ว่า อยู่ใต้กฎข้อบังคับของคณะสมณะสังฆมณฑล และยกเลิกการอนุญาตพิเศษต่าง ๆ ที่ให้แก่บรรดาอธิการ

๑๐๒๐ ต้องไม่ออกหนังสือรับรองให้บวช เว้นแต่จะมีพยานและเอกสารทั้งหมดก่อน ซึ่งกฎหมายบังคับให้มีตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๐๕๐ หรือ ๑๐๕๑

๑๐๒๑ หนังสือรับรองให้บวชนั้น ส่งไปยังพระสังฆราชได้ทุกองค์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสันตะสำนัก ยกเว้นพระสังฆราชซึ่งมีจารีตแตกต่างจากจารีตของผู้ที่จะรับศีลบรรพชานั้นเท่านั้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ต้องมีอนุญาตพิเศษจากสันตะสำนัก

๑๐๒๒ เมื่อได้รับหนังสือรับรองให้บวชแล้ว พระสังฆราชผู้จะประกอบพิธีบวช ต้องไม่ดำเนินการจนกว่าจะได้แน่ชัดอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า หนังสือรับรองนั้นเป็นของจริง เชื่อถือได้

๑๐๒๓ หนังสือรับรองให้บวชนั้น สามารถมีข้อจำกัดกำกับไว้ หรือเรียกคืนได้ จากผู้ออกหนังสือเอง หรือจากผู้สืบตำแหน่งแทน แต่เมื่อได้ออกให้แล้ว หนังสือนั้นไม่หมดอายุ แม้ผู้ออกหนังสือนั้นได้หมดตำแหน่งหน้าที่ไปแล้ว