หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๒   การเก็บรักษา  และการเคารพศีลมหาสนิท

Can. 934 $1.  The blessed Eucharist:

1.must be   reserved  in  the cathedral church or its equivalent, in every parish church, and in the church or oratory attached to the house of a religious institute or society of apostolic life.

2.may  be   reserved  in   a Bishop’s chapel and, by permission of the local Ordinary, in other churches, oratories and chapels.

$2.  In sacred places where the blessed Eucharist is reserved there must always be someone who is responsible for it, and as far as possible a priest is to celebrate Mass there at least twice a month.

Can. 935 It is not lawful for anyone to keep the blessed Eucharist in personal custody or to carry it around, unless there is an urgent pastoral need and the prescriptions of the diocesan Bishop are observed.

Can. 936 In a house of a religious institute or other house of piety, the blessed Eucharist is to be reserved only in the church or principal oratory attached to the house. For a just reason, however, the Ordinary can permit it to be reserved also in another oratory of the same house.

Can. 937 Unless there is a grave reason to the contrary, a church in which the blessed Eucharist is reserved is to be open to the faithful for at least some hours every day, so that they can pray before the blessed Sacrament.

Can. 938 $1.  The blessed Eucharist is to be reserved habitually in only one tabernacle of a church oratory.

$2.  The tabernacle in which the Most Holy Eucharist is reserved should be placed in a part of the church that is prominent, conspicuous, beautifully decorated, and suitable for prayer.

$3. The tabernacle in which the Eucharist is regularly reserved is to be immovable, made of solid and opaque material, and locked so that the danger of profanation may be entirely avoided.

$4.  For a grave reason, especially at night, it is permitted to reserve the blessed Eucharist in some other safer place, provided it is fitting.

$5.  The person in charge of a church or oratory is to see to it that the key of the tabernacle in which the blessed Eucharist is reserved, is in maximum safe keeping.

Can. 939 Consecrated hosts, in a quantity sufficient for the needs of the faithful, are to be kept in a pyx or ciborium, and are to be renewed frequently, the older hosts having been duly consumed.

Can. 940 A special lamp is to burn continuously before the tabernacle in which the blessed Eucharist is reserved, to indicate and to honour the presence of Christ.

Can. 941 $1.  In churches or oratories which are allowed to reserve the blessed Eucharist, there may be exposition, either with the ciborium or liturgical books.

$2.  Exposition of the blessed Sacrament may not take place while Mass is being celebrated in the same of the church or oratory.

Can. 942 It is recommended that in these churches or oratories, there is to be each year a solemn exposition of the blessed Sacrament for an appropriate time, even if it be not continuous, so that the local community may more attentively meditate on and adore the eucharistic mystery. This exposition is to take place only if a fitting attendance of the faithful is foreseen, and the prescribed norms are observed.

Can. 943 The minister of exposition of the blessed Sacrament and of the eucharistic blessing is a priest or deacon. In special circumstances the minister of exposition and deposition alone, but without the blessing, is an acolyte, an extraordinary minister of holy communion, or another person deputed by the local Ordinary, in accordance with the regulations of the diocesan Bishop.

Can. 944 $1.  Wherever in the judgement of the diocesan Bishop it can be done, a procession through the streets is to be held, especially on the solemnity of Corpus Christi, as a public witness of veneration of the blessed Eucharist.

$2.  It  is   for   the   diocesan Bishop to establish such regulations about processions as will provide for participation in them and for their being carried out in a dignified manner

๙๓๔ วรรค ๑ ศีลมหาสนิท

๑. ต้องเก็บรักษาไว้ในอาสนวิหาร หรือในวัดเทียบเท่าในวัดปกครองทุกแห่ง และในวัด หรือวัดน้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของบ้านสถาบันนักพรต หรือคณะชีวิตแพร่ธรรม

๒. อาจเก็บรักษาไว้ในวัดส่วนบุคคลของพระสังฆราช และโดยการอนุญาตของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น อาจเก็บรักษาไว้ในวัดอื่นๆ ในวัดน้อย และในวัดส่วนบุคคล

วรรค ๒ ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งเก็บรักษาศีลมหาสนิท ต้องมีผู้ดูแลรักษาเสมอ และเท่าที่เป็นได้ ต้องมีพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาที่นั่น อย่างน้อยเดือนละ

๙๓๕ ไม่อนุญาตให้ใคร เก็บรักษาศีลมหาสนิทไว้ที่บ้านของตน หรือนำติดตัวไปในการเดินทาง เว้นแต่มีความจำเป็นด้านอภิบาลเร่งรัด และโดยได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของพระสังฆราชสังฆมณฑล

๙๓๖ ในบ้านสถาบันนักพรต หรือบ้านแห่งความศรัทธาอื่น ศีลมหาสนิทต้องเก็บรักษาไว้ในวัด หรือในวัดน้อยหลักที่เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อมีเหตุอันชอบ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถอนุญาตให้เก็บรักษาไว้ในวัดน้อยอีกแห่งหนึ่งของบ้านเดียวกันด้วย

๙๓๗ เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักขัดขวาง วัดซึ่งเก็บรักษาศีลมหาสนิท ต้องเปิดอย่างน้อยสองสามชั่วโมงทุกวัน เพื่อให้สัตบุรุษสามารถภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท

๙๓๘ วรรค ๑ ศีลมหาสนิทต้องเก็บไว้เป็นประจำในตู้ศีลเพียงแห่งเดียวของวัดหรือของวัดน้อย

วรรค ๒ ตู้ศีลซึ่งเก็บรักษาศีลมหาสนิท ต้องตั้งไว้ในส่วนที่เด่นของวัด หรือของวัดน้อย เป็นส่วนที่มองเห็นชัด ประดับอย่างสมพระเกียรติและชวนให้ภาวนา

วรรค ๓ ตู้ศีลซึ่งใช้เก็บรักษาศีลมหาสนิทเป็นประจำ ต้องยึดติดตายกับที่ ทำด้วยวัตถุแข็งทนทาน ไม่โปร่งแสงปิดกุญแจแน่นหนา อย่างที่ว่าปลอดภัยจากการลบหลู่มากที่สุด

วรรค ๔ ถ้ามีเหตุผลอันหนัก อนุญาตให้เก็บรักษาศีลมหาสนิทในที่แห่งอื่นซึ่งปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามค่ำคืน
วรรค ๕ ผู้มีหน้าที่ดูแลวัดหรือวัดน้อย ต้องดูแลให้มีการเก็บรักษากุญแจตู้ที่เก็บรักษาศีลมหาสนิท อย่างเอาใจใส่ที่สุด

๙๓๙ แผ่นศีลที่เสกแล้ว ที่มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของสัตบุรุษ ต้องเก็บไว้ในผอบศีล หรือภาชนะเล็กๆ และต้องมีการเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ ด้วยการรับแผ่นศีลเก่าให้หมดไปอย่างเหมาะสม

๙๔๐  ต้องจุดตะเกียงพิเศษตลอดเวลา ต่อหน้าตู้ที่เก็บรักษาศีลมหาสนิท เพื่อบ่งบอก และเทิดพระเกียรติการประทับอยู่ของพระคริสตเจ้า

๙๔๑ วรรค ๑ ในวัดหรือวัดน้อย ซึ่งมีอนุญาตให้เก็บรักษาศีลมหาสนิทไว้ สามารถมีการตั้งศีลมหาสนิทได้ โดยใช้ผอบศีล หรือรัศมี ทั้งนี้โดยถือตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือพิธีกรรม

วรรค ๒ ขณะที่มีการถวายบูชามิสซา ต้องไม่มีการตั้งศีลมหาสนิทในห้องโถงเดียวกันนั้นของวัด หรือของวัดน้อย

๙๔๒ ขอเสนอแนะให้มีการตั้งศีลมหาสนิท อย่างสง่าในวัดหรือวัดน้อยเหล่านี้ เป็นประจำทุกปี โดยใช้เวลาที่เหมาะสม แม้จะไม่ทำแบบต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นที่นั่นได้รำพึง และนมัสการด้วยความศรัทธาลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อรหัสธรรมศีลมหาสนิท การตั้งศีลมหาสนิทลักษณะนี้ควรทำต่อเมื่อคาดหวังได้ว่า จะมีสัตบุรุษมาร่วมมากพอสมควร รวมทั้งมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้

๙๔๓ ศาสนบริกรตั้งศีลมหาสนิท และอวยพรศีลมหาสนิท คือพระสงฆ์หรือสังฆานุกร  ในกรณีแวดล้อมพิเศษ ศาสนบริกรที่ทำหน้าที่เพียงตั้งศีล และเก็บศีลเท่านั้น โดยไม่มีการอวยพรศีลมหาสนิท คือผู้ช่วยพิธีกรรม ศาสนบริกรพิเศษสำหรับบริการศีลมหาสนิท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนี้ จากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของพระสังฆราชสังฆมณฑล

๙๔๔ วรรค ๑ ที่ใดที่ พระสังฆราชสังฆมณฑล ตามวิจารณญาณของตนเห็นว่า สามารถทำได้ ที่จะให้มีการแสดงความเคารพสาธารณะต่อศีลมหาสนิท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแห่ไปตามทางสาธารณะในโอกาสสมโภชพระกาย และพระโลหิตของพระคริสตเจ้า

วรรค ๒ เป็นหน้าที่ของพระสังฆราชสังฆมณฑล ที่จะออกระเบียบว่าด้วยการแห่ศีล เพื่อให้มีการเข้าร่วม และการแห่เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี