หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ภาค ๑  ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

Can. 840 The sacraments of the New Testament were instituted by Christ the Lord and entrusted to the Church. As actions of Christ and of the Church, they are signs and means by which faith is expressed and strengthened, worship is offered to God and our sanctification is brought about. Thus they contribute in the most effective manner to establishing, strengthening and manifesting ecclesiastical communion. Accordingly, in the celebration  of the sacraments both the sacred ministers and the other members of Christ’s faithful must show the greatest reverence and due care.

Can. 841 Since the sacraments are the same throughout the universal Church, and belong to the divine deposit of faith, only the supreme authority on the Church can approve or define what is needed for their validity. It belongs to the same authority, or to another competent authority in accordance with Can. 838 $$3 and 4, to determine what is required for their lawful celebration, administration and reception and for the order to be observe in their celebration.

Can. 842 $1.  A person who has not received baptism cannot validly be admitted to the other sacraments.

$2.  The sacraments of baptism, confirmation and the blessed Eucharist so  complement one  another that all three are required for full christian initiation.

Can. 843 $1.  Sacred ministers may not deny the sacraments to those who opportunely ask for them, are properly disposed and are not prohibited by law from receiving them.

$2.  According to their respective roles in the Church, both pastors of souls and the other members of Christ’s faithful have a duty to ensure that those who ask for the sacraments are prepared for their reception. This should be done through proper evangelisation and catechetical instruction, in accordance with the norms laid down by the competent authority.

Can. 844 $1. Catholic ministers may lawfully administer the sacraments only to Catholic members of Christ’s faithful, who equally may lawfully receive them  only from catholic ministers, except as provided in $$2, 3 and 4 of this canon and in Can. 861 $2.

$2.  Whenever necessity requires   or   a    genuine      spiritual advantage commends it, and provided the danger of error or indifferentism is avoided, Christ’s faithful for whom it is physically or morally impossible to approach a catholic minister, may lawfully receive the sacraments of penance, the Eucharist and anointing of the sick from non-catholic ministers in whose Churches these sacraments are valid.

$3.  Catholic ministers may lawfully administer the sacraments of penance, the Eucharist and anointing of the sick to members of the eastern Churches not in full communion with the catholic Church, if they spontaneously  ask  for them and are properly disposed. The same applies to members of other Churches which the Apostolic See judges to be in the same position as the aforesaid eastern Churches so far as the sacraments are concerned.

$4.  If there is a danger of death or if, in the judgement of the diocesan Bishop or of the Bishops’ Conference, there is some other grave and pressing need, catholic ministers may lawfully administer these same sacraments to other christians not in full communion with the catholic Church, who cannot approach a minister of their own community and who spontaneously ask for them, provided that they demonstrate the catholic faith in respect of these sacraments and are properly disposed.

$5.  In respect of the cases dealt with in $$2, 3 and 4, the diocesan Bishop or the Bishops’ Conference is not to issue general norms except after consultation with the competent authority, at least at the local level, of the non-catholic Church or community concerned.

Can. 845 $1.  Because they imprint s character, the sacraments of baptism, confirmation and order cannot be repeated.

$2.  If after diligent enquiry a prudent doubt remains as to whether the sacraments mentioned in $1 have been conferred at all, or conferred validly,   they  are  to   be   conferred conditionally.

Can. 846 $1.  The liturgical books, approved by the competent authority, are to be faithfully followed in the celebration of the sacraments. Accordingly, no one may on a personal initiative add to or omit or alter anything in those books.

$2. The ministers are to celebrate the sacraments according to their own rite.

Can. 847 $1.  In administering sacraments in which holy oils are to be used, the minister must use oil made from olives or other plants, which, except as provided in Can. 999 n.2, has recently been consecrated or blessed by a Bishop. Older oil is not to be used except in a case of necessity.

$2.  The parish priest is to obtain the holy oils from his own Bishop and keep them carefully in fitting custody.

Can. 848 For the administration of the sacraments the minister may not ask for anything beyond the offerings which    are    determined     by      the competent authority, and he must always ensure that the needy are not deprived of the help of the sacraments by reason of poverty

๘๔๐ ศีลศักดิ์สิทธิ์ในพันธสัญญาใหม่ ได้รับการสถาปนาขึ้นจากพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้า และทรงมอบแก่พระ    ศาสนจักร ในฐานะที่เป็นกิจกรรมของพระเยซูคริสต์ และของพระศาสนจักร ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเป็นเครื่องหมาย และเครื่องมือ ซึ่งทำให้ความเชื่อของคริสตชนปรากฎออกมา และเข้มแข็ง การถวายคารวกิจแด่พระเจ้า และความศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ก็เกิดขึ้น และดังนี้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้ชุมชนพระศาสนจักรตั้งขึ้น เข้มแข็ง และแสดงตัวออกมา เพราะฉะนั้น ในการเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งศาสนบริกรและบรรดาคริสตชนต้องให้ความเคารพอย่างสูงสุดและความเอาใจใส่ที่คู่ควรด้วย

๘๔๑ เนื่องจากศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นศีลเดียวกันสำหรับพระศาสนจักรสากล และเป็นส่วนหนึ่งในคลังความเชื่อของพระเจ้า จึงเป็นอำนาจสูงสุดแต่อำนาจเดียวของพระศาสนจักรเท่านั้น ที่จะรับรองหรือกำหนดว่ามีอะไรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความถูกต้อง และเป็นอำนาจเดียวกันนี้เอง หรืออำนาจอื่นตามมาตรา ๘๓๘ วรรค ๓ และ๔ ที่จะแยกแยะและกำหนดว่าอะไรที่ต้องการเพื่อการเฉลิมฉลอง การบริการ และการรับศีลเหล่านั้นได้โดยชอบ และกำหนดขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติในการเฉลิมฉลอง

๘๔๒ วรรค ๑ บุคคลผู้ซึ่งไม่ได้รับศีลล้างบาป ไม่สามารถรับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ได้อย่างมีผล

วรรค ๒ ศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลมหาสนิท เสริมกันและกัน จนว่าจำเป็นต้องรับศีลเหล่านั้น เพื่อให้การเริ่มต้นเป็น คริสตชนสมบูรณ์

๘๔๓ วรรค ๑ ศาสนบริกร ไม่สามารถปฏิเสธศีลศักดิ์สิทธิ์ แก่ผู้มาขอรับตามโอกาสอันควร อยู่ในสภาพพร้อมและไม่ถูกห้ามรับศีลเหล่านั้นโดยกฎหมาย

วรรค ๒ ตามตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคน ทั้งผู้อภิบาลวิญญาณ และบรรดาคริสตชนต่างมีหน้าที่เอาใจใส่ เตรียมผู้มาขอรับศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยรับข่าวดีและเรียนคำสอน โดยถือตามกฎเกณฑ์ซึ่งผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจกำหนดไว้

๘๔๔ วรรค ๑ ศาสนบริกรคาทอลิกบริการศีลศักดิ์สิทธิ์ได้โดยชอบแก่คริสตชนคาทอลิกเท่านั้น เช่นเดียวกัน คริสตชนคาทอลิกจะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ได้โดยชอบจากศาสนบริกรคาทอลิกเท่านั้น โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดใน วรรค ๒ ๓ และ๔ ของมาตรานี้ และมาตรา ๘๖๑ วรรค ๒

วรรค ๒ เมื่อมีความจำเป็น หรือผลประโยชน์จริงๆ ฝ่ายวิญญาณเรียกร้อง อนุญาตให้สัตบุรุษที่ไม่สามารถเข้าหา  ศาสนบริกรคาทอลิกได้ เพราะเหตุทางกายหรือใจ โดยหลีกเลี่ยงอันตรายของความผิดหลง หรือลัทธิไร้ความแตกต่างแล้ว ก็รับศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท ศีลเจิมคนไข้ ได้โดยชอบจากศาสนบริกรที่ไม่ใช่คาทอลิก ซึ่งในวัดของศาสนบริกรเหล่านี้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวมีผล

วรรค ๓ ศาสนบริกรคาทอลิก บริการศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท และศีลเจิมคนไข้ได้โดยชอบแก่สมาชิกของศาสนจักรตะวันออก ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับพระศาสนจักรคาทอลิก ถ้าพวกเขามาขอรับศีลด้วยความสมัครใจ และอยู่ในสภาพพร้อมที่เหมาะสม เช่นเดียวกัน เรื่องนี้ประยุกต์ใช้กับสมาชิกศาสนจักรอื่นๆ ซึ่งสันตะสำนักวินิจฉัยแล้วว่า อยู่ในฐานะเที่ยบเท่าศาสนจักรตะวันออกดังที่กล่าวมาในเรื่องเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์

วรรค ๔ หากมีอันตรายใกล้ตายหรือ มีความจำเป็นอื่นๆ ที่รุนแรงและเร่งรัดตามคำตัดสินของพระสังฆราชสังฆมณฑล หรือของสภาพระสังฆราช ศาสน บริกรคาทอลิกบริการศีลศักดิ์สิทธิ์เดียวกันนั้นได้โดยชอบแก่คริสตชนอื่นๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับพระศาสนจักรคาทอลิก ผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าหาศาสนบริกรของชุมชนของตนได้ และมาขอรับด้วยตนเอง เพียงแต่ให้แสดงความเชื่อคาทอลิก เกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ และอยู่ในสภาพพร้อมที่เหมาะสม

วรรค ๕ ในกรณีที่เกี่ยวกับ วรรค ๒ ๓ และ๔ พระสังฆราชสังฆมณฑล หรือสภาพระสังฆราช ต้องไม่ออกกฎทั่วไปไว้ เว้นแต่ว่าจะได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของศาสนจักร หรือชุมชนที่มิใช่คาทอลิกที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยในระดับท้องถิ่นเสียก่อน

๘๔๕ วรรค ๑ เนื่องด้วยศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลบรรพชา เป็นศีลที่ประทับตรา จึงไม่อาจรับซ้ำได้

วรรค ๒ ถ้าได้สอบถามอย่างแข็งขันแล้ว ยังมีความสงสัยที่รอบคอบอยู่ว่าได้มีการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ตามวรรค ๑ แล้วหรือยัง หรือได้รับอย่างมีผลหรือไม่ ให้โปรดศีลดังกล่าวนั้นได้ ภายใต้เงื่อนไข

๘๔๖ วรรค ๑ ในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ให้ถือตามหนังสือพิธีกรรม ซึ่งผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจได้รับรองแล้วอย่างซื่อสัตย์ ฉะนั้นใครก็ตามไม่อาจเพิ่ม ตัด หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในหนังสือนั้นโดยพลการ

วรรค ๒ ศาสนบริกร ต้องประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ตามจารีตเฉพาะของตน

๘๔๗ วรรค ๑ ในการบริการศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งต้องใช้น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ศาสนบริกรต้องใช้น้ำมันที่สกัดจากผลมะกอก หรือจากผลพืชชนิดอื่น โดยคำนึงถึงข้อกำหนดในมาตรา ๙๙๙ ข้อ ๒ ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้รับการอภิเสกหรือเสกใหม่ โดยพระสังฆราชต้องไม่ใช้น้ำมันเก่า เว้นแต่ในกรณีจำเป็น

วรรค ๒ เจ้าอาวาส ต้องขอน้ำมันศักดิ์สิทธิ์จากพระสังฆราชของตน และเก็บรักษาไว้อย่างเอาใจใส่ในที่ที่เหมาะสม

๘๔๘ ในการบริการศีลศักดิ์สิทธิ์ ศาสน บริกรต้องไม่ขอของถวายใดๆ นอกเหนือจากสิ่งซึ่งผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจกำหนดไว้แล้ว   พึงระวังเสมออย่าให้คนขัดสนขาดความช่วยเหลือด้านศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยเหตุแห่งความยากจน

๘๔๙ ศีลล้างบาป ประตูสู่ศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ จำเป็นเพื่อความรอด ไม่ว่าจะรับจริงๆ หรืออย่างน้อยรับด้วยความปรารถนา อาศัยศีลนี้ มนุษย์หลุดพ้นจากบาป เกิดใหม่เป็นบุตรพระเจ้าและเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักร มีความคล้ายคลึงกับพระคริสต์ด้วยตราอันมิอาจลบเลือน การประกอบศีลล้างบาปมีผลเมื่อกระทำโดยการล้างด้วยน้ำจริงๆ พร้อมกับการกล่าววาจาตามสูตรที่กำหนดไว้เท่านั้น