หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ส่วน ๒ การมีส่วนร่วมในศีลมหาสนิท

Can. 912.  Any baptised person who is not forbidden by law may and must be admitted to holy communion.

Can. 913 $1.  For holy communion to be administered to children, it is required that they have sufficient knowledge and be carefully prepared, so that according to their capacity they understand what the mystery of Christ means, and are able to receive the Body of the Lord with faith and devotion.

$2.  The blessed Eucharist may, however, be administered to children in danger of death if they can distinguish the Body of Christ from ordinary food and receive communion with reverence.

Can. 914 It is primarily the duty of parents and of those who take their place, as it is the duty of the parish priest, to ensure that children who have reached the use of reason are properly prepared and, having made their sacramental confession, are nourished by this divine food as soon as possible. It is also the duty of the parish priest to see that children who have not reached the use of reason, or whom he has judged to be insufficiently disposed, do not come to holy communion.

Can. 915 Those upon whom the penalty of excommunication or interdict has been imposed or declared, and others who obstinately persist in manifest grave sin, are not to be admitted to holy communion.

Can. 916 Anyone who is conscious of grave sin may not celebrate Mass or receive the Body of the Lord without previously having been to sacramental confession, unless there is a grave reason and there is no opportunity to confess; in this case the person is to remember the obligation to make an act of perfect contrition, which includes the resolve to go to confession as soon as possible.

Can. 917 One who has received the blessed Eucharist may receive it again on the same day only within a eucharistic celebration in which that person participates, without prejudice to the provision of Can. 921 $2.

Can. 918 It is most strongly recommended that the faithful receive holy communion in the course of a eucharistic celebration. If, however, for good reason they ask for it apart from the Mass, it is to be administered to them, observing the liturgical rites.

Can. 919 $1.  Whoever is to receive the blessed Eucharist is to abstain for at least one hour before holy communion from all food and drink with the sole exception of water and medicine.

$2.  A priest who, on the same day, celebrates the blessed Eucharist twice or three times may consume something before the second or third celebration, even though there is not an hour’s interval.

$3.  The elderly and those who are suffering from some illness, as well as those who care for them, may receive the blessed Eucharist even if within the preceding hour they have consumed something.

Can. 920 $1.  Once admitted to the blessed Eucharist, each of the faithful is obliged to receive holy communion at least once a year.

$2.  This precept must be fulfilled during paschal time, unless for a good reason it is fulfilled at another time during the year.

Can. 921 $1.  Christ’s faithful who are in danger of death, from whatever cause, are to be strengthened by holy communion as Viaticum.

$2.  Even if they have already received holy communion that same day, it is nevertheless strongly recommended that in danger of death they should communicate again.

$3.  While the danger of death persists, it is recommended that holy communion be administered a number of times, but on separate days.

Can. 922 Holy Viaticum for the sick is not to be unduly delayed. Those who have the care of souls are to take assiduous care that the sick are strengthened by it while they are in full possession of their faculties.

Can. 923 Christ’s faithful may participate in the eucharistic Sacrifice and receive holy communion in any catholic rite, without prejudice to the provisions of Can. 844.

๙๑๒ ผู้ได้รับศีลล้างบาปใดๆ ซึ่งไม่ต้องข้อห้ามโดยกฎหมาย สามารถรับและต้องให้รับศีลมหาสนิท

๙๑๓ วรรค ๑ เพื่อให้เด็กรับศีลมหาสนิท จำเป็นต้องให้เด็กมีความรู้อย่างเพียงพอ และได้รับการเตรียมตัวอย่างเอาใจใส่จนกว่า เขาสามารถเข้าใจตามภูมิปัญญาของเขา เกี่ยวกับรหัสธรรมของพระคริสต์ และสามารถรับพระวรกายของพระเจ้าด้วยความเชื่อ และความศรัทธา

วรรค ๒ เด็กที่อยู่ในอันตรายใกล้ตาย สามารถให้รับศีลมหาสนิทได้ ถ้าเขาสามารถแยกแยะได้ว่าพระวรกายของพระคริสต์แตกต่างจากอาหารธรรมดา และสามารถรับศีลมหาสนิทด้วยความเคารพ

๙๑๔ ก่อนใครหมด บิดามารดาและผู้ทำหน้าที่แทนบิดามารดา พร้อมทั้งเจ้าอาวาสด้วย มีหน้าที่เอาใจใส่เด็กซึ่งถึงอายุรู้ความแล้ว ได้เตรียมตัวอย่างเหมาะสม และหลังจากรับศีลอภัยบาปแล้ว ให้รับศีลมหาสนิทโดยเร็วเท่าที่ทำได้ เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสด้วยที่จะคอยสอดส่อง มิให้เด็กที่ยังไม่ถึงอายุรู้ความ หรือคนที่เห็นว่ายังไม่อยู่ในสภาพพร้อม รับศีลมหาสนิท

๙๑๕ ต้องไม่แจกศีลมหาสนิทให้แก่ผู้ที่ต้องโทษตัดขาดจากพระศาสนจักร ทั้งแก่ผู้ต้องโทษข้อห้าม หลังจากมีการสั่งลงโทษหรือประกาศโทษแล้ว หรือแก่บุคคลอื่นๆ ที่ดื้อดึงอยู่ในบาปหนักอย่างเปิดเผย

๙๑๖ บุคคลที่สำนึกว่าตนอยู่ในบาปหนัก ต้องไม่ถวายบูชามิสซา หรือรับพระวรกายของพระเจ้า โดยมิได้รับศีลอภัยบาปก่อน เว้นแต่มีเหตุผลหนัก และไม่มีโอกาส สารภาพบาป  ในกรณีเช่นนี้ บุคคลนั้นต้องไม่ลืมว่า ตนต้องเป็นทุกข์ถึงบาปอย่างสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงความตั้งใจจะไปสารภาพบาปโดยเร็วที่สุด

๙๑๗ บุคคลที่รับศีลมหาสนิทแล้ว สามารถรับศีลมหาสนิทได้อีกในวันเดียวกัน แต่ต้องรับในบูชามิสซาที่ตนมีส่วนร่วมด้วย โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๙๑๒ วรรค ๒

๙๑๘ จงเสนอแนะอย่างที่สุด ให้สัตบุรุษรับศีลมหาสนิทในระหว่างบูชามิสซา อย่างไรก็ดี ถ้าเขาขอรับศีลมหาสนิทนอกบูชามิสซา ด้วยเหตุผลอันชอบ ก็ต้องให้เขารับ แต่ต้องปฏิบัติตามจารีตพิธีกรรม

๙๑๙ วรรค ๑ ก่อนรับศีลมหาสนิทอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ผู้จะรับศีลมหาสนิทต้อง อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำและยาเท่านั้น

วรรค ๒ พระสงฆ์ซึ่งถวายมิสซา สองหรือสามครั้งในวันเดียวกัน สามารถรับประทานได้บ้าง ก่อนบูชามิสซาที่สอง หรือที่สาม แม้ช่วงเวลาอดจะไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็ตาม

วรรค ๓ ผู้สูงอายุ หรือผู้ไม่สบาย เพราะความเจ็บป่วยพร้อมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นด้วย รับศีลมหาสนิทได้ แม้ว่าระหว่างหนึ่งชั่วโมงก่อนนั้น จะได้รับประทานบ้างแล้ว

๙๒๐ วรรค ๑ คริสตชนทุกคน เมื่อได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรกแล้ว มีพันธะต้องรับศีลมหาสนิทอย่างน้อยปีละครั้ง

วรรค ๒ บัญญัติประการนี้ ต้องปฏิบัติภายในกำหนดปาสกา แต่ถ้ามีเหตุอันชอบ อาจปฏิบัติในเวลาอื่นใดของปีก็ได้

๙๒๑ วรรค ๑ คริสตชนซึ่งอยู่อันตรายใกล้ตาย ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ต้องบำรุงให้เข้มแข็งด้วยศีลมหาสนิทในรูปของศีลเสบียง

วรรค ๒ แม้ในวันเดียวกัน    คริสตชนได้รับศีลมหาสนิทมาแล้ว ถ้าตกอยู่ในอันตรายใกล้ตาย ควรอย่างยิ่งให้ได้รับศีลมหาสนิทอีกครั้ง

วรรค ๓ ตลอดเวลาที่ยังคงอยู่ในอันตรายใกล้ตาย ขอแนะนำให้รับศีลมหาสนิทหลายครั้ง แต่ต่างวันกัน

๙๒๒ อย่าประวิงการส่งศีลเสบียงให้แก่ผู้ป่วยเนิ่นนานเกินไป ผู้มีหน้าที่ดูแลวิญญาณต้องเอาใจใส่อย่างแข็งขัน ให้ผู้ป่วยได้รับการบำรุงให้เข้มแข็งด้วยศีลเสบียง  ในเวลาที่ยังมีสติดี

๙๒๓ คริสตชน จะร่วมถวายบูชามิสซา และรับศีลมหาสนิทในจารีตคาทอลิกใดก็ได้ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๘๔๔