หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ส่วน ๑ ศาสนบริกรศีลมหาสนิท

Can. 900 $1.  The only minister who, in the person of Christ, can bring into being the sacrament of the Eucharist, is a validly ordained priest.

$2.  Any priest who is not debarred by canon law may lawfully celebrate the Eucharist, provided the provisions of the following canons are observed.

Can. 901 A priest is entitled to offer Mass for anyone, living or dead.

Can. 902 Unless the benefit of Christ’s faithful requires or suggests other wise, priests may concelebrate the Eucharist; they are, however, fully entitled to celebrate the Eucharist individually, but not while a concelebration is taking place in the same Church or oratory.

Can. 903 A priest is to be permitted to celebrate the Eucharist, even if he is not known to the rector of the church, provided either that he presents commendatory letters, not more than a year  old,  from  his own  Ordinary  or Superior, or that it can be prudently judged that he is not debarred from celebrating.

Can. 904 Remembering always that in the mystery of the eucharistic Sacrifice the work of redemption is continually being carried out, priests are to celebrate frequently. Indeed, daily celebration is earnestly recommended, because, even if it should not be possible to have the faithful present, it is an action of Christ and of the Church in the carrying out of which priests fulfil their principal role.

Can. 905 $1.  Apart from those cases in which the law allows him to celebrate or concelebrate the Eucharist a number of times on the same day, a priest may not celebrate more than once a day.

$2.  If there is a scarcity of priests, the local Ordinary may allow priests, for a good reason, to celebrate twice in one day or even, if pastoral need requires it, three times on Sundays or holydays of obligation.Can. 906  A priest may not celebrate the  eucharistic  Sacrifice without  the participation of at least one of the faithful, unless there is a good and reasonable cause for doing so.

Can. 907 In the celebration of the Eucharist, deacons and lay persons are not permitted to say the prayers, especially the eucharistic prayer, nor to perform the actions which are proper to the celebrating priest.

Can. 908 Catholic priests are forbidden to concelebrate the Eucharist with priests or ministers of Churches or ecclesial communities which are not in full communion with the catholic Church.

Can. 909 A priest is not to omit dutifully to prepare himself by prayer before the celebration of the Eucharist, nor afterwards to omit to make thanksgiving to God.

Can. 910 $1.  The ordinary minister of holy communion is a Bishop, a priest or a deacon.

$2.  The extraordinary minister of holy communion is an acolyte, or another of Christ’s faithful deputed in accordance with Can. 230

$3.Can. 911  $1. The duty and right to bring the blessed Eucharist to the sick as Viaticum belongs to the parish priest, to assistant priests, to chaplains and, in respect of all who are in the house, to the community Superior in clerical religious institutes or societies of apostolic life.

$2.  In a case of necessity, or with the permission at least presumed of the parish priest, chaplain or Superior, who must subsequently be notified, any priest or other minister of holy communion must do this.

๙๐๐ วรรค ๑ ศาสนบริกร ผู้สามารถเสกศีลมหาสนิทในฐานะเป็นพระบุคคลของพระคริสต์ คือพระสงฆ์ ซึ่งได้รับการบวชอย่างถูกต้องเท่านั้น

วรรค ๒ พระสงฆ์ ผู้ไม่ถูกห้ามโดยกฎหมายพระศาสนจักร สามารถเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทได้โดยชอบ แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตราต่อไปนี้

๙๐๑ พระสงฆ์จะถวายบูชามิสซา เพื่อใครก็ได้ ทั้งผู้เป็นและผู้ตาย

๙๐๒ เว้นไว้แต่ว่า ผลประโยชน์ของสัตบุรุษเรียกร้องหรือชี้ชวนไว้เป็นอย่างอื่น พระสงฆ์สามารถร่วมกันถวายบูชามิสซา  แต่อย่างไรก็ดี พระสงฆ์แต่ละองค์ยังคงไว้ซึ่งอิสระภาพในการถวายบูชามิสซาเป็นการส่วนตัว แต่ไม่ใช่เวลาที่มีการถวายบูชามิสซาร่วมกันในวัด หรือในโรงสวดเดียวกันนั้น

๙๐๓ พระสงฆ์ แม้ไม่เป็นที่รู้จักแก่อธิการโบสถ์ ก็อนุญาตให้ถวายบูชามิสซาได้ ขอแต่ให้พระสงฆ์นั้นแสดงหนังสือแนะนำตัว ซึ่งออกให้ไม่เกินหนึ่งปีจากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจหรืออธิการของตน หรือสามารถวินิจฉัยได้อย่างรอบคอบว่า   พระสงฆ์องค์นั้นมิได้ถูกห้ามถวายบูชามิสซา

๙๐๔ ขอให้พระสงฆ์ถวายบูชามิสซาบ่อยๆ โดยสำนึกเสมอว่าในรหัสธรรมของบูชาศีลมหาสนิทนี้ งานไถ่กู้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยิ่งกว่านั้น ขอเสนอแนะอย่างแข็งขันให้ถวายบูชามิสซาทุกวัน เพราะว่า แม้ไม่สามารถมีสัตบุรุษเข้าร่วมก็ตาม การถวายบูชามิสซาก็ยังเป็นกิจการของพระคริสตเจ้า และของพระศาสนจักร พระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่ส่วนสำคัญยิ่งของตนโดยการถวายบูชามิสซา

๙๐๕ วรรค ๑ ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้มากกว่าวันละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ถวาย หรือร่วมถวายมิสซาได้หลายครั้งในวันเดียวกัน

วรรค ๒ ในกรณีที่ขาดแคลนพระสงฆ์ ด้วยเหตุผลอันชอบ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นสามารถอนุญาตให้พระสงฆ์ถวายบูชามิสซาสองครั้งต่อวัน หรือยิ่งกว่านั้น ถ้าความจำเป็นด้านอภิบาลสัตบุรุษเรียกร้อง จะอนุญาตให้ถวายบูชามิสซา สามครั้งในวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับก็ได้๙๐๖ เว้นแต่จะมีเหตุอันชอบ และชอบด้วยเหตุผล พระสงฆ์ต้องไม่ถวายบูชามิสซาโดยไม่มีสัตบุรุษร่วมด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน

๙๐๗ ในการถวายบูชามิสซา ห้ามสังฆานุกร หรือฆราวาสกล่าวคำภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทภาวนาศีลมหาสนิท หรือประกอบกิจกรรมอันเป็นบทบาทเฉพาะของผู้ถวายบูชามิสซา

๙๐๘ ห้ามพระสงฆ์คาทอลิกร่วมถวายบูชามิสซากับพระสงฆ์ หรือศาสนบริกรของ  ศาสนจักร หรือชุมชนศาสนาที่ไม่มีสายสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับศาสนจักรคาทอลิก

๙๐๙ พระสงฆ์ต้องไม่ละเว้นการเตรียมตัวเองที่จำเป็นก่อนการถวายบูชามิสซาด้วยการภาวนา ทั้งไม่ละเลยการขอบคุณพระเจ้า เมื่อถวายบูชามิสซาแล้ว

๙๑๐ วรรค ๑ ศาสนบริกรแจกศีลมหาสนิทปกติคือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร

วรรค ๒ ศาสนบริกรแจกศีลมหาสนิทพิเศษ คือผู้ช่วยพิธีกรรม หรือคริสตชนที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อการนี้ ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๒๓๐ วรรค ๓๙๑๑ วรรค ๑ การเชิญศีลมหาสนิทเป็นศีลเสบียงไปให้ผู้ป่วย เป็นหน้าที่และสิทธิของเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระสงฆ์ ประจำวัดน้อย ส่วนสำหรับผู้ป่วยทุกคนในบ้านของคณะ เป็นหน้าที่และสิทธิของอธิการของสถาบันนักพรตสมณะ หรือของคณะชีวิตแพร่ธรรม

วรรค ๒ ในกรณีจำเป็น หรือด้วยการอนุญาต อย่างน้อยโดยสันนิษฐานจากเจ้าอาวาส จากพระสงฆ์ประจำวัดน้อย หรือจากอธิการ ซึ่งภายหลังต้องแจ้งให้ท่านทราบ พระสงฆ์ใดๆ หรือศาสนบริกรแจกศีลอื่นใด ต้องปฏิบัติหน้าที่นี้