หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ตอน  ๒ คณะชีวิตแพร่ธรรม

Can. 731 $1. Comparable to institutes of consecrated life are societies of apostolic life whose members without religious vows pursue the particular apostolic purpose of the society, and leading a life as brothers or sisters in common according to a particular manner of life, strive for the perfection of charity through the observance of the constitutions.

$2. Among these there are societies in which the members embrace the evangelical counsels by some bond defined in the constitutions.

Can. 732 whatever is determined in cann. 578-597 and 606 is applicable to societies of apostolic life, with due regard for the nature of each society; in addition, cann. 598-602 are applicable to the societies mentioned in can. 731, $2.

Can. 733 $1. A house is erected and a local community is established by the competent authority of the society with the prior written consent of the diocesan bishop, who must also be consulted for its suppression.

$2. Consent to erect a house entails the right of having at least an oratory in which the Most Holy Eucharist is celebrated and reserved

Can. 734 The governance of a society is determined by the constitutions, with due regard for cann. 617-633, according to the nature of each society.

Can. 735 $1. The admission, probation, incorporation and training of members are determined by the proper law of each society.
$2. In respect to admission into the society, the conditions established in cann. 642-645 are to be observed.

$3. Proper law must determine especially the doctrinal, spiritual and apostolic method of probation and training suited to the purpose and character of the society, in such a way that the members, recognizing their divine vocation, may be fittingly prepared for the mission and life of the society.

Can. 736 $1. In clerical societies the clerics are incardinated in the society itself, unless the constitutions provide otherwise.

$2. In those matters which pertain to the course of studies and the reception of orders the norms for secular clerics are to be observed with due regard however for $1.

Can. 737 Incorporation entails obligations and rights for the members defined in the constitutions as well as a concern on the part of the society to lead the members to the end of their particular vocation, according to the constitutions.

Can. 738 $1. All the members are subject to their particular moderators according to the norm of the constitutions in those matters which affect the internal life and discipline of the society.

$2. They are subject also to the diocesan bishop in those matters which affect public worship, the care of souls and other works of the apostolate, with due regard for cann. 679-683.

$3. The relations of a member incardinated in a diocese with his proper bishop are defined by the constitutionsor particular agreements.

Can. 739 Besides the obligations which they have as members according to the constitutions the members are bound by the common obligations of clerics, unless something else is evident from the nature of the matter or from the context.

Can. 740 Members must live in a house or community legitimately established and observe common life according to the norm of proper law, by which absences from a house or community are also governed.

Can. 741 $1. Societies and, unless the constitutions state otherwise, their parts and houses are juridic persons, and, as such, capable of acquiring, possessing, administering and alienating temporal goods according to the norm of the prescriptions of Book V, The Temporal Goods of the Church, cann. 636, 638 and 639 and the norm of proper law.

$2. According to the norm of proper law the members are also capable of acquiring, possessing, administering and disposing of temporal goods, but whatever comes to them in consideration of the society belongs to the society.

Can. 742 The departure and dismissal of a member not yet definitively incorporated is governed by the constitutions of each society.

Can. 743 A member definitively incorporated can obtain an indult of departure from the society from the supreme moderator with the consent of the council, unless it is reserved to the Holy See by the constitutions; the rights and obligations flowing from incorporation cease, with due regard for the prescription of can. 693.

Can. 744 $1. It is reserved to the supreme moderator also with the consent of the council to grant permission to a member definitively incorporated to transfer to another society of apostolic life; in the meantime the rights and obligations associated with the prior
society are suspended, and the member has the right to return before definitive incorporation into the new society.

$2.  In order to transfer to an institute of consecrated life or from that to a society of apostolic life, the permission of the Holy See is required and its mandates must be observed.

Can. 745 The supreme moderator with the consent of the council can grant to a definitively incorporated member an indult of living outside the society, not however beyond three years, with the rights and obligations which are not suitable for the new condition being suspended; the member remains however under the care of the moderators. If it is a question of a cleric there is required in addition the permission of the ordinary of the place in which he must dwell, under whose care and dependency he also remains.

Can. 746 For the dismissal of a member definitively incorporated, can.694-704 are to be observed with due adaptations being made

๗๓๑ วรรค ๑ คณะชีวิตแพร่ธรรมเป็นคณะที่เทียบเท่ากับสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว ซึ่งสมาชิกของคณะมุ่งงานแพร่ธรรมโดยเฉพาะของคณะโดยไม่มีการปฏิญาณแบบนักพรต    และเจริญชีวิตร่วมแบบฉันพี่น้อง ตามรูปแบบชีวิตเฉพาะ มุ่งสู่ความสมบูรณ์แห่งความรัก โดยการปฏิบัติตามธรรมนูญของคณะ

วรรค ๒ ในบรรดาคณะดังกล่าว ยังมีคณะซึ่งสมาชิกยึดถือคำแนะนำแห่งพระวรสาร โดยมีพันธะบางประการที่กำหนดไว้ในธรรมนูญ

๗๓๒ สิ่งใดๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๗๘-๕๙๗ และ ๖๐๖ นั้น ใช้ได้กับคณะชีวิตแพร่ธรรม โดยคงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะของแต่ละคณะ นอกนั้น มาตรา ๕๙๘–๖๐๒ ใช้ได้กับคณะที่กล่าวถึงในมาตรา ๗๓๑ วรรค ๒ ด้วย

๗๓๓ วรรค ๑ ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของคณะ เป็นผู้ตั้งบ้านและหมู่คณะท้องถิ่น โดยได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากพระสังฆราชสังฆมณฑลเสียก่อน ในการยุบบ้านดังกล่าวก็จำเป็นต้องปรึกษาพระสังฆราชก่อนเช่นกัน

วรรค ๒ ความเห็นชอบให้ตั้งบ้าน ย่อมรวมถึงสิทธิที่จะมีสถานภาวนาเป็นอย่างน้อย ซึ่งจะเป็นที่ถวายบูชามิสซาและเก็บศีลมหาสนิท

๗๓๔ การปกครองคณะต้องกำหนดไว้ในธรรมนูญ ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคณะ โดยคงไว้ซึ่งมาตรา ๖๑๗–๖๓๓

๗๓๕ วรรค ๑ การรับเข้า การทดลอง การเข้าสังกัด และการอบรมสมาชิก ต้องกำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะของแต่ละคณะ

วรรค ๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับเข้าในคณะ ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๔๒–๖๔๕

วรรค ๓ ต้องกำหนดวิธีการทดลอง และการอบรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคำสอน ด้านวิชาการ ด้านชีวิตจิตและด้านการแพร่ธรรมที่เหมาะสมกับเป้าหมายและลักษณะเฉพาะของคณะ อย่างที่ว่าสมาชิกผู้ซึ่งตระหนักถึงกระแสเรียกของพระเป็นเจ้าจะได้รับการเตรียมตัวอย่างเหมาะสมเพื่อพันธกิจและชีวิตของคณะ

๗๓๖ วรรค ๑ ในคณะที่เป็นสมณะ บรรดาสมณะเข้าสังกัดในคณะนั้นเอง เว้นไว้แต่ว่าธรรมนูญจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

วรรค ๒ ในเรื่องอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวกับแผนการศึกษา และการรับศีลบรรพชาให้ถือตามกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดไว้สำหรับสมณะสังฆมณฑล อย่างไรก็ดี ยังคงไว้ซึ่งวรรค ๑

๗๓๗ การเข้าสังกัด หมายรวมถึงหน้าที่และสิทธิสำหรับสมาชิก ดังที่กำหนดไว้ในธรรมนูญ  และรวมถึงความเอาใจใส่ ในส่วนของคณะที่จะนำสมาชิกไปยังเป้าหมายของกระแสเรียกเฉพาะของตนตามธรรมนูญ

๗๓๘ วรรค ๑ สมาชิกทุกคนขึ้นต่ออธิการเฉพาะของตน ตามกฎเกณฑ์ของธรรมนูญ ในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตภายในและระเบียบวินัยของคณะ

วรรค ๒ พวกเขายังขึ้นต่อพระ-สังฆราชสังฆมณฑล     ในเรื่องเกี่ยวกับคารวกิจสาธารณะ การอภิบาลวิญญาณและงานแพร่ธรรมอื่นๆ ด้วย โดยคงไว้ซึ่งมาตรา ๖๗๙–๖๘๓

วรรค ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่เข้าสังกัดในสังฆมณฑลกับพระสังฆราชของตน มีกำหนดไว้ในธรรมนูญ หรือในข้อตกลงเฉพาะ

๗๓๙ นอกเหนือจากหน้าที่ ซึ่งสมาชิกมีในฐานะสมาชิกตามธรรมนูญ สมาชิกยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติทั่วไปของสมณะ เว้นไว้แต่ว่าจะปรากฏชัดเป็นอย่างอื่นจากลักษณะเฉพาะของเรื่อง หรือจากบริบท

๗๔๐ สมาชิกต้องดำเนินชีวิตในบ้านหรือในหมู่คณะที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและต้องดำเนินชีวิตรวมตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะ ซึ่งควบคุมการไม่อยู่บ้านหรือไม่อยู่ในหมู่คณะด้วย

๗๔๑ วรรค ๑ คณะทั้งหลาย รวมทั้งส่วนต่างๆ และบ้านของคณะ เป็นนิติบุคคล เว้นไว้แต่ว่า ธรรมนูญกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และในฐานะเป็นนิติบุคคล ก็สามารถ ได้มา ครอบครอง จัดการ และจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินฝ่ายโลก ตามกฎเกณฑ์แห่งข้อกำหนดของบรรพ ๕ อันว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินฝ่ายโลกของพระศาสนจักร มาตรา ๖๓๖, ๖๓๘และ๖๓๙ และกฎเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะ

วรรค ๒ ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะ สมาชิกก็สามารถ ได้มา ครอบครอง บริหารและจัดการทรัพย์สินฝ่ายโลกเหล่านี้ได้ แต่สิ่งใดก็ตามที่พวกเขาได้มาในนามของคณะ ย่อมเป็นของคณะ

๗๔๒ การออกและการให้ออกจากคณะ ของสมาชิกที่ยังไม่ได้เข้าสังกัดเป็นสมาชิกอย่างเด็ดขาด ให้อยู่ภายใต้ธรรมนูญของแต่ละคณะ

๗๔๓ อธิการสูงสุดพร้อมด้วยความเห็นชอบของคณะที่ปรึกษา      สามารถให้เอกสิทธิพิเศษออกจากคณะแก่สมาชิกที่เข้าสังกัดเด็ดขาดแล้ว เว้นไว้แต่ว่า ในธรรมนูญ การให้นั้นสงวนไว้แก่สันตะ-สำนัก สิทธิและหน้าที่อันเนื่องมาจากการเข้าสังกัดก็สิ้นสุดลงด้วย  โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดแห่งมาตรา ๖๙๓

๗๔๔ วรรค ๑ เช่นเดียวกันเป็นสิทธิสงวนไว้แก่อธิการสูงสุด พร้อมกับความเห็นชอบของคณะที่ปรึกษาที่จะให้อนุญาตแก่สมาชิกที่เข้าสังกัดอย่างเด็ดขาดแล้ว ที่จะย้ายไปยังคณะชีวิตแพร่-ธรรมอื่น ในระหว่างนั้นให้ระงับสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวพันกับคณะเดิมไว้ก่อน และสมาชิกผู้นั้นมีสิทธิ์ที่จะกลับ ก่อนเข้าสังกัดอย่างเด็ดขาด ในคณะใหม่

วรรค ๒ ในการย้ายเข้าไปสู่สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว หรือย้ายจากสถาบันดังกล่าวไปสู่คณะชีวิตแพร่ธรรม จำเป็นต้องขออนุญาตจากสันตะสำนัก และปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมา

๗๔๕ อธิการสูงสุด พร้อมกับความเห็นชอบของคณะที่ปรึกษาสามารถให้เอก-สิทธิพิเศษแก่สมาชิกที่ได้เข้าสังกัดอย่างเด็ดขาดแล้ว ดำเนินชีวิตอยู่นอกคณะได้ อย่างไรก็ตาม ต้องไม่เกิน ๓ ปี โดยให้ระงับสิทธิและหน้าที่ที่ไม่เหมาะกับสภาพใหม่ไว้ อย่างไรก็ตามสมาชิกยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของอธิการ นอกนั้นถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสมณะยังต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจของท้องที่ที่เขาต้องอาศัยอยู่ โดยอยู่ภายใต้การดูแลและการปกครองของท่านด้วย

๗๔๖ เพื่อให้สมาชิกที่ได้เข้าสังกัดอย่างเด็ดขาดแล้วออกจากคณะ ให้นำมาตรา ๖๙๔–๗๐๔ มาปรับใช้ตามความเหมาะสม