หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การขับสมาชิกออกจากสถาบัน

Can. 694 $1. A member is to be held to be ipso facto dismissed from the institute who:

1. has notoriously abandoned the Catholic faith;

2. has contracted marriage or has attempted it, even only civilly.

$2. In these instances the major superior with the council without any delay and after having collected proofs should issue a declaration of the fact so that the dismissal is established juridically.

Can. 695 $1. A member must be dismissed for the offenses in cann. 1397, 1398 and 1395, unless in the delicts mentioned in can. 1395,

$2, the superior judges that dismissal is not entirely necessary and that the correction of the member and restitution of justice and reparation of scandal can be sufficiently assured in some other way.

$2. In these cases the major superior, having collected proofs about the facts and imputability, is to make known the accusation and the proofs to the member who is about to be dismissed, giving the member the opportunity of self-defense. All the acts, signed by the major superior and a notary, along with the written and signed responses of the member, are to be transmitted to the supreme moderator.

Can. 696 $1. A member can also be dismissed for other causes, provided that they are grave, external, imputable and juridically proven, such as: habitual neglect of the obligations of consecrated life; repeated violations of the sacred bonds; pertinacious disobedience to lawful prescriptions of superiors in a serious matter; grave scandal arising from the culpable behavior of the member; pertinacious upholding or spreading of doctrines condemned by the magisterium of the Church; public adherence to ideologies infected by materialism or atheism; unlawful absence mentioned in

]can. 665, $2 lasting six months; other causes of similar seriousness which may be determined by the proper law of the institute.

$2. Even causes of lesser seriousness determined in proper law suffice for the dismissal of a member in temporary vows.

Can. 697 In the cases mentioned in can. 696, if the major superior, after having heard the council, believes the process of dismissal is to be begun:

1. The major superior is to collect or complete proofs;

2. The major superior is to warn the member in writing or before two witnesses with an explicit threat of subsequent dismissal unless the member reforms, the cause of the dismissal is to be clearly indicated and the member is to be given the full opportunity of self-defense; but if the warning is in vain the superior is to proceed to a second warning, after an intervening time of at least fifteen days;

3. If this warning also has been in vain and the major superior with the council believes that there is sufficient proof of incorrigibility and that the defenses of the member are insufficient, and fifteen days have elapsed since the last warning without any effect, the major superior is to transmit to the supreme moderator all acts, signed by the major superior and a notary, along with the signed response of the member.

Can. 698 In all cases mentioned in cann. 695 and 696, the right of a member to communicate with and offer a defense directly to the supreme moderator

Can. 699 $1. With the council, which must have at least four members for validity, the supreme moderator is to proceed collegially to the careful weighing of the proofs, arguments and defenses; if it has been so decided by a secret ballot, the supreme moderator is to issue the decree of dismissal, with the motives in law and in fact expressed at least in summary fashion for validity.

$2. In autonomous monasteries mentioned in can. 615 the decision on dismissal pertains to the diocesan bishop, to whom the superior is to submit the acts examined by the council.

Can. 700 A decree of dismissal does not take effect unless it has been confirmed by the Holy See to whom the decree and all the acts are to be transmitted; if it is a question of an institute of diocesan right, the confirmation belongs to the bishop of the diocese where the house to which the religious is assigned is situated.

The decree, for validity, must indicate the  right which the dismissed religious enjoys to have recourse to competent authority within ten days from receiving the notification. The recourse has a suspensive effect.

Can. 701 Vows, rights and  obligations derived from profession cease ipso facto by legitimate dismissal. However, if the member is a cleric, he cannot exercise sacred orders until he finds a bishop who receives him after a suitable probationary period in the diocese according to can. 693 or at least allows him to exercise sacred orders.

Can. 702 $1. Those who have legitimately left a religious institute or have been legitimately dismissed from one can request nothing from it for any work done in it.

$2.The institute however is to observe equity and evangelical charity toward the member who is separated from it..

Can. 703 In the case of serious exterior scandal or very grave imminent harm to the institute a member can be immediately expelled from the religious house by the major superior, or, if there is a danger in delay, by the local superior with the consent of the council. If it is necessary the major superior should see that the process of dismissal is begun according to the norm of law or refer the matter to the Apostolic See

Can. 704 The report to be sent to the Apostolic See referred to in canon 592, $1 is to mention members separated from the institute in any way whatsoever.๖๙๔ วรรค ๑

 สมาชิกผู้ซึ่งต้องถูกขับออกจากสถาบันโดยพฤติกรรม ได้แก่

๑. บุคคลที่ได้ละทิ้งความเชื่อคาทอลิกอย่างโจ่งแจ้งเลื่องลือ

๒. บุคคลที่ได้ทำพิธีสมรส หรือได้พยายามทำการสมรสแม้เพียงตามกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้นก็ตาม

วรรค ๒ ในกรณีเหล่านี้ อธิการชั้นผู้ใหญ่ร่วมกับคณะที่ปรึกษาหลังจากได้รวบรวมหลักฐานพิสูจน์แล้ว ต้องออกประกาศถึงพฤติกรรมนั้นโดยมิชักช้า เพื่อทำให้การขับออกเป็นไปตามกฎหมาย

๖๙๕ วรรค ๑ สมาชิกต้องถูกขับออกเพราะความผิดตามมาตรา ๑๓๙๗, ๑๓๙๘ และ ๑๓๙๕ เว้นแต่ว่า เป็นความผิดที่ระบุในมาตรา ๑๓๙๕ วรรค ๒ อธิการพิจารณาตัดสินว่า การขับออกยังไม่เป็นสิ่งจำเป็นทีเดียว และอาจจะใช้วิธีอื่นที่เหมาะสมเพียงพอ เพื่อสมาชิกผู้นั้นจะได้ปรับปรุงแก้ไข มีการชดเชยตามความยุติธรรม และมีการแก้ไขในเรื่องที่ทำให้เป็นที่สะดุด

วรรค ๒ ในกรณีเหล่านี้ อธิการชั้นผู้ใหญ่ หลังจากได้รวบรวมหลักฐานพิสูจน์เกี่ยวกับข้อเท็จจริง และข้อกล่าวหา ต้องแจ้งการกล่าวโทษและหลักฐานพิสูจน์ให้สมาชิกที่กำลังจะถูกขับออกโดยให้สมาชิกผู้นั้นมีโอกาสป้องกันตัวเอง เอกสารทั้งหมดซึ่งลงลายมือชื่อของอธิการชั้นผู้ใหญ่และของนิติกรพร้อมด้วยคำตอบที่เขียนและลงลายมือชื่อของสมาชิกผู้นั้นต้องส่งไปยังอธิการสูงสุด

๖๙๖ วรรค ๑ สมาชิกอาจถูกขับออกเพราะสาเหตุอื่นๆ ด้วย เพียงแต่ว่าสาเหตุนั้นเป็นเรื่องหนัก ภายนอก เอาผิดได้ และได้พิสูจน์แล้วทางกฎหมาย เช่น การละเลยหน้าที่ชีวิตที่ถวายแล้วเป็นนิจ

การละเมิดต่อพันธะอันศักดิ์สิทธิ์ซ้ำซาก การไม่นบนอบอย่างดื้อดึงต่อคำสั่งอันชอบของอธิการในเรื่องหนัก การเป็นที่สะดุดร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการประพฤติผิดของสมาชิก ยึดถือหรือเผยแพร่คำสอนที่ได้ถูกประฌามโดยอำนาจสอนของ พระศาสนจักรอย่างดื้อดึง การยึดติดกับอุดมการณ์ที่มีเชื้อวัตถุนิยม หรืออเทวนิยมอย่างเปิดเผย การออกจากบ้านโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๖๕ วรรค ๒ เป็นเวลา ๖ เดือน สาเหตุอื่นๆ ที่มีความผิดหนักคล้ายๆ กัน ซึ่งอาจมีกำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะของสถาบัน

วรรค ๒ แม้สาเหตุที่หนักน้อยกว่าที่มีกำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะ ก็เพียงพอที่จะขับสมาชิกซึ่งปฏิญาณตน  ชั่วคราวออกจากสถาบันได้

๖๙๗ ในกรณีที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๙๖ หากอธิการชั้นผู้ใหญ่เมื่อได้ฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษาแล้วเห็นว่าต้องเริ่มขบวนการขับออก

๑. อธิการชั้นผู้ใหญ่ต้องรวบรวม หรือทำให้หลักฐานพิสูจน์ครบถ้วน

๒. อธิการชั้นผู้ใหญ่ต้องเตือนสมาชิกผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร  หรือเตือนต่อหน้าพยานสองคน   พร้อมกับสำทับอย่างชัดแจ้ง ถึงการขับออกที่จะตามมา เว้นแต่ว่าสมาชิกผู้นั้นจะปรับปรุงตัวเอง สาเหตุของการขับออกต้องระบุอย่างชัดแจ้ง และต้องให้สมาชิกมีโอกาสเต็มที่ที่จะป้องกันตัวเอง แต่ถ้าการเตือนไร้ผล อธิการต้องเตือนอีกเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากเวลาได้ล่วงไปแล้วอย่างน้อย ๑๕ วัน

๓. ถ้าการเตือนครั้งหลังนี้ ยังไร้ผลอีก และอธิการชั้นผู้ใหญ่พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาเห็นว่า มีข้อพิสูจน์เพียงพอถึงการแก้ไขไม่ได้ และการแก้ตัวของสมาชิกไม่มีเหตุผลพอ และเมื่อเวลาล่วงไปแล้ว ๑๕ วัน หลังจากการเตือนครั้งสุดท้ายโดยไร้ผล    อธิการชั้นผู้ใหญ่ต้องส่งเอกสารทั้งหมดพร้อมลายมือชื่อของอธิการชั้นผู้ใหญ่และของนิติกรณ์ไปยังอธิการสูงสุดพร้อมกับคำตอบของสมาชิก ซึ่งมีลายมือชื่อของเขา

๖๙๘ ในกรณีทั้งหมดที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๙๕ และ ๖๙๖ สมาชิกยังคงไว้เสมอ ซึ่งสิทธิที่จะติดต่อ  และส่งคำแก้ข้อกล่าวหาไปยังอธิการสูงสุดโดยตรง

๖๙๙ วรรค ๑ อธิการสูงสุดพร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ซึ่งต้องประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย ๔ คน เพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ต้องดำเนินการเป็นคณะในอันที่จะพิจารณาหลักฐานพิสูจน์ข้อโต้แย้ง      และคำแก้ข้อกล่าวหาอย่างถี่ถ้วน และหากผลการตัดสิน โดยการลงคะแนนลับว่าให้ขับออก อธิการสูงสุดต้องออกคำสั่งการขับออกพร้อมกับแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้งทั้งในด้านนิตินัยและพฤตินัย อย่างน้อยโดยสรุปเพื่อให้มีผลตามกฎหมาย

วรรค ๒ ในอารามซึ่งปกครองตนเองดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑๕ การตัดสินให้ขับออกเป็นสิทธิ์ของพระสังฆราชสังฆมณฑล ผู้ซึ่งอธิการต้องมอบเอกสารที่คณะที่ปรึกษาได้ตรวจสอบแล้วให้ ๗๐๐ คำสั่งขับออกไม่มีผลบังคับ หากไม่ได้รับการรับรองจากสันตะสำนัก ผู้ซึ่งคำสั่งและเอกสารทั้งหมดต้องถูกส่งไปให้     หากเป็นเรื่องของสถาบันสิทธิสังฆ-มณฑลการรับรองเป็นหน้าที่ของพระ-สังฆราชของสังฆมณฑล    ณ ที่ซึ่งบ้านทำงานของนักพรตผู้นั้นตั้งอยู่ คำสั่งนั้นเพื่อให้มีผลตามกฎหมาย      ต้องแสดงให้

เห็นว่านักพรตผู้ถูกขับออกมีสิทธิ์ที่จะร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจในเรื่องนี้ได้ภายใน ๑๐ วัน นับจากได้รับหนังสือแจ้งให้ทราบ การร้องเรียนนี้มีผลยับยั้งการลงโทษ

๗๐๑ เมื่อมีการขับออกโดยชอบด้วยกฎหมาย คำปฏิญาณ สิทธิและหน้าที่อันเนื่องมาจากการปฏิญาณ สิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม หากสมาชิกผู้นั้นเป็นสมณะเขาจะปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ไม่ได้ จนกว่าเขาจะพบพระสังฆราชผู้ซึ่งรับเขา หลังจากได้ทดสอบในระยะเวลาอันเหมาะสมในสังฆมณฑล ตามมาตรา ๖๙๓ หรืออย่างน้อยก็อนุญาตเขาให้ปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ได้

๗๐๒    วรรค ๑ ผู้ที่ได้ออกจากสถาบันนักพรตหรือถูกขับออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถเรียกร้องสิ่งใด จากสถาบันสำหรับงานที่ทำในสถาบันนั้น

วรรค ๒ อย่างไรก็ตาม สถาบันต้องรักษาหลักความเที่ยงธรรมและความเมตตาตามแบบพระวรสาร ต่อสมาชิกซึ่งออกไปจากสถาบัน

๗๐๓ ในกรณีที่เป็นเรื่องสะดุดอย่างร้ายแรงภายนอก หรือเป็นเรื่องความเสียหาย อย่างรุนแรงที่คุกคามสถาบัน สมาชิกสามารถถูกขับออกทันทีจากบ้านนักพรตโดยอธิการชั้นผู้ใหญ่ หรือถ้ารอช้าจะเกิดอันตราย อธิการท้องถิ่นพร้อมด้วยความยินยอมของคณะที่ปรึกษาก็ขับออกได้ หากเป็นการจำเป็นอธิการชั้นผู้ใหญ่ควรจัดการให้มีกระบวนการการขับออก ตามกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายหรือส่งเรื่องไปยังสันตะสำนัก

๗๐๔ รายงานที่ต้องส่งไปยังสันตะสำนักที่กล่าวถึงในมาตรา ๕๙๒ วรรค ๑ ต้องกล่าวถึงสมาชิกที่ออกไปจากสถาบัน ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม