หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ส่วน ๓ ทรัพย์สินฝ่ายโลกและการบริหาร

Can. 634 $1. Institutes, provinces and houses, insofar as they are juridic persons by the law itself, are capable of acquiring, possessing, administering and alienating temporal goods, unless this capacity has been excluded or restricted in the constitutions.

$2. Nevertheless, they are to avoid all appearance of luxury, immoderate wealth and amassing of goods.

Can. 635 $1. The temporal goods of religious institutes, since they are ecclesiastical goods, are regulated by the prescriptions of Book V, The Temporal Goods of the Church, unless it is expressly stated otherwise.

$2. Nevertheless, each institute is to determine appropriate norms for the use and administration of goods so that the poverty appropriate to the institute is fostered, protected and expressed.

Can. 636$1. In each institute and likewise in each province which is governed by a major superior there is to be a finance officer, distinct from the major superior and constituted according to the norm of proper law, who carries out the administration of goods under the direction of the respective superior. Even in local comunities there is to be a finance officer distinct from the local superior to the extent that it is possible.

$2. At the time and in the manner determined by proper law finance officers and other administrators are to render an account of their administrative actions to the competent authority.

Can. 637 Autonomous monasteries mentioned in can. 615 must render an account of their administration once a year to the local ordinary; moreover, the local ordinary has the right to know about the financial reports of religious houses of diocesan right.

Can. 638 $1. It is for proper law, within the scope of universal law, to determine acts which exceed the limit and manner of ordinary administration and to determine those things which are necessary to place an act  of extraordinary administration validly.

$2. Besides superiors, officials who are designated for this purpose in the proper law can validly incur expenses and perform juridic acts of ordinary administration within the limits of their office.

$3. For the validity of alienation and any other business transaction in which the patrimonial condition of a juridic person can be affected adversely, there is required the written permission of the competent superior with the consent of the council. If, moreover, it concerns a business transaction which exceeds the highest amount defined for a given region by the Holy See, or items given to the Church in virtue of a vow, or items of precious art or of historical value, the permission of the Holy See is also required.

$4. For the autonomous monasteries mentioned in can. 615 and for institutes of diocesan right it is additionally necessary to have the written consent of the local ordinary.

Can. 639 $1. A juridic person which has contracted debts and obligations even with the permission of the superior is bound to answer for them.

$2. If a member with permission of the superior has made a contract concerning personal goods, the member must answer for it, but if the business of the institute was conducted by order of the superior, the institute must answer.

$3. A religious who has made a contract without any permission of superiors must answer for it , but  not the juridic person.

$4. It shall be a fixed rule, nevertheless, that an action can always be brought against one who has profited from the contract entered into.

$5. Religious superiors are to be careful that they do not permit debts to be contracted unless it is certain that the interest on the debt can be paid from ordinary income and that the capital sum con be paid off through legitimate amortization within a time that is not excessively long.

Can. 640 Taking into account local conditions institutes are to strive to give, as it were, collective witness of charity and poverty and are to contribute what they can of their own goods for the needs of the Church and the sustenance of the poor

๖๓๔ วรรค ๑ สถาบัน แขวง และบ้านต่างๆ ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีความสามารถในอันที่จะได้มาครอบครอง จัดการ และจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินฝ่ายโลกได้ เว้นไว้แต่ว่า ความสามารถดังกล่าว ถูกกีดกันออกไป หรือถูกจำกัดในธรรมนูญของสถาบัน

วรรค ๒ อย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยงการปรากฎภายนอกใดๆ ถึงความหรูหราฟุ้งเฟ้อ การหากำไรและการสะสมทรัพย์สินเกินควร

๖๓๕ วรรค ๑ ทรัพย์สินฝ่ายโลกของสถาบันนักพรตเนื่องจากเป็นทรัพย์สินของพระศาสนจักรย่อมอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของบรรพ ๕ ที่ว่าด้วย “ทรัพย์สินฝ่ายโลกของพระศาสนจักร” เว้นไว้แต่ว่าจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นอย่างแจ้งชัด

วรรค ๒ กระนั้นก็ดี แต่ละสถาบันต้องกำหนดกฎเกณฑ์อันเหมาะสมเพื่อการใช้ และการบริหารทรัพย์สิน เพื่อว่าความยากจนอันเหมาะสมกับสถาบันนักพรตจะได้รับการสนับสนุนปกป้องและแสดงออกมาให้ปรากฎ

๖๓๖ วรรค ๑ ในแต่ละสถาบัน และเช่นเดียวกันในแต่ละแขวงซึ่งปกครองโดยอธิการใหญ่ต้องมีเจ้าหน้าที่การเงินที่ไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับอธิการใหญ่ และได้รับการแต่งตั้งขึ้นตามกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายเฉพาะ เจ้าหน้าที่การเงินมีหน้าที่บริหารทรัพย์สินภายใต้การนำของอธิการของตน      แม้ในหมู่คณะท้องถิ่นก็ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินที่ไม่เป็นบุคคลเดียวกับอธิการท้องถิ่นเท่าที่สามารถ

วรรค ๒ ตามเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะของสถาบันให้เจ้าหน้าที่การเงินและผู้บริหารคนอื่นๆ จัดทำรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพย์สินต่อผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ

๖๓๗ อารามสิทธิปกครองตนเอง ดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑๕ ต้องทำรายงานการบริหารทรัพย์สินต่อผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นปีละครั้ง ยิ่งกว่านั้น ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นมีสิทธิ์รู้รายงานการเงินของบ้านนักพรตสิทธิสังฆมณฑล

๖๓๘ วรรค ๑ เป็นเรื่องของกฎหมายเฉพาะของคณะ ภายในขอบข่ายของกฎหมายสากลที่จะกำหนดการกระทำที่อยู่เหนือขอบเขต และวิธีการบริหารสามัญ และกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อกระทำกิจบริหารวิสามัญอย่างมีผลตามกฎหมาย

วรรค ๒ นอกจากอธิการแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเพื่อจุดประสงค์นี้ ตามกฎหมายเฉพาะของสถาบันสามารถใช้จ่ายและกระทำนิติกรรมอย่างมีผลตามกฎหมายในการบริหารสามัญภายในขอบเขตของหน้าที่ของตน

วรรค ๓ เพื่อให้การจำหน่ายจ่ายโอนและการดำเนินธุรกิจใดๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพมรดกตกทอดของนิติบุคคลในทางลบ มีผลตามกฎหมาย  จำเป็นต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากอธิการผู้มีอำนาจ พร้อมด้วยความเห็นชอบจากคณะที่ปรึกษา ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีจำนวนเงินเกินกว่าที่สันตะ-สำนักกำหนดไว้ สำหรับภูมิภาคนั้นๆ หรือถ้าเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่ถวายแก่พระ-ศาสนจักรโดยการบนบาน   หรือเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีค่าศิลปะหรือประวัติศาสตร์ ต้องได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักด้วย

วรรค ๔     สำหรับอารามสิทธิปกครองตนอง ดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑๕ และสถาบันสิทธิสังฆมณฑล เป็นการจำเป็นเพิ่มขึ้น ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น

๖๓๙ วรรค ๑ หากนิติบุคคลก่อหนี้และพันธะใดๆ แม้โดยได้รับอนุญาตจากอธิการ ก็ยังต้องรับผิดชอบการกระทำเหล่านั้น

วรรค ๒ หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเอง โดยได้รับอนุญาตจากอธิการ สมาชิกผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการดำเนินธุรกิจของสถาบันตามคำสั่งของอธิการ สถาบันนั้นต้องรับผิดชอบ

วรรค ๓ ถ้านักพรตผู้หนึ่งทำสัญญาโดยมิได้รับอนุญาตใดๆ จากอธิการ นักพรตผู้นั้นต้องรับผิดชอบเอง หาใช่นิติบุคคลไม่

วรรค ๔ อย่างไรก็ดีให้ถือเป็นกฎที่แน่นอนว่า อาจมีการดำเนินคดีได้เสมอกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากสัญญาที่เขากระทำนั้น

วรรค ๕ อธิการนักพรตทั้งหลายต้องระมัดระวังที่จะไม่อนุญาตให้มีการก่อหนี้ เว้นไว้แต่จะแน่ใจว่า จะสามารถจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จากรายได้ปกติและตัวเงินกู้เองก็จะสามารถใช้คืนได้ โดยการผ่อนชำระหนี้ตามกฎหมายภายในเวลาที่ไม่นานเกินควร

๖๔๐ โดยคำนึงถึงสภาพท้องถิ่น สถาบันทั้งหลายต้องพยายามที่จะแสดงออกประหนึ่งเป็นพยานร่วมกันถึงเมตตาธรรมและความยากจน และต้องบริจาคทรัพย์สินบางส่วนของสถาบันเท่าที่สามารถกระทำได้     เพื่อสนองความต้องการของพระศาสนจักรและเพื่อค้ำจุนคนยากจน