หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๒ การปกครองสถาบัน

 ส่วน ๑ อธิการและคณะที่ปรึกษา

Can. 617 Superiors are to fulfill their duty and exercise their power according to the norm of universal and proper law.

Can. 618 Superiors are to exercise their power, received from God through the ministry of the Church, in a spirit of service. Therefore, docile to the will of God in carrying out their duty, they are to govern their subjects as children of God and, promoting their voluntary obedience with reverence for the human person, they are to listen to them willingly and foster their working together for the good of the instituteand of the Church, but with the superiors’authority to decide and prescribe what must be done remaining intact.

Can. 619 Superiors are to devote themselves to their office assiduously and, together with the members entrusted to them, they should be eager to build a community of brothers or sisters in Christ in which God is sought after and loved before all else. Therefore, they are to nourish the members frequently with the food of the word of God and lead them to the celebration of the sacred liturgy. They are to be an example to the members in cultivating virtues and in the observance of the laws and traditions of the particular institute; they are to meet the personal needs of the members in an appropriate fashion, look after solicitously and visit the sick, admonish the restless, console the faint of heart, and be patient toward all.

Can. 620 Major superiors are those who govern a whole institute, a province of an institute, some part equivalent to a province, or an autonomous house, as well as their vicars. Comparable to these are the abbot primate and superior of a monastic congregation, who nonetheless do not have all the power which universal law grants major superiors.

Can. 621 The grouping of several houses under the same superior which constitutes an immediate part of the institute and which has been canonically erected by the legitimate authority is called a province.

Can. 622 The supreme moderator holds power over all provinces, houses and members of the institute, which is to be exercised according to proper law; other superiors enjoy power within the limits of their office.

Can. 623 In order that members be validly appointed or elected to the office of superior, a suitable time is required after perpetual or definitive profession, to be determined by proper law, or if it is a question of major superiors, by the constitutions.

Can. 624 $1. Superiors are to be constituted for a certain and appropriate amount of time according to the nature and needs of the institute, unless the constitutions state otherwise for the supreme moderator and for superiors of autonomous houses.

$2. Proper law is to provide in suitable norms that superiors constituted for a definite time do not remain too long in offices of governance without an interruption.

$3. Nevertheless they can be removed from office during their term or transferred to another office for reasons determined in proper law.

Can. 625 $1. The supreme moderator of an institute is to be designated by canonical election according to the norm of the constitutions.

$2. The bishop of the principal seat presides at elections of the superior of an autonomous monastery, mentioned in can. 615, and of the supreme moderator of an institute of diocesan right.

$3. Other superiors are to be constituted according to the norm of the constitutions, but in such a way that if they are elected they need the confirmation of the competent major superior; if they are appointed by the superior, a suitable consultation is to precede.

Can. 626 Superiors in the conferral of offices and members in elections are to observe the norms of universal and proper law, abstain from any abuse or partiality and name or elect those whom they know in the Lord to be truly worthy and suitable having nothing in mind but God and the good of the institute. Moreover, in elections they are to avoid any procurement of votes either directly or indirectly for themselves or for others.

Can. 627 $1. According to the norm of the constitutions, superiors are to have their own council, whose assistance they are to use in carrying out their office.

$2. Besides the cases prescribed in universal law, proper law is to determine cases in which consent or counsel is required in order to act validly, which must be obtained in accord with the norm of can. 127.

Can. 628 $1. Superiors who are designated for this function by the proper law of the institute are to visit the houses and members entrusted to them at the times designated by the norms of this same proper law.

$2. It is the right and the duty of the diocesan bishop to visit even with respect to religious discipline:

1. autonomous monasteries mentioned in can. 615;

2. individual houses of an institute of diocesan right situated in his territory.

$3. Members are to deal in a trusting manner with a visitator, whose legitimate questions they are obliged to answer according to truth in love ; moreover no one is permitted in any way to divert members from this obligation or otherwise to impede the scope of the visitation.

Can. 629 All superiors are to reside in their respective houses and not absent themselves from it, unless according to the norm of proper law.

Can. 630 $1. Superiors are to recognize the due freedom of their members concerning the sacrament of penance and the direction of conscience, with due regard however for the discipline of the institute.

$2.  According to the norm of proper law superiors are to be solicitous that suitable confessors to whom they can confess frequently be available to members.

$3.  In monasteries of nuns, in houses of formation and in more numerous lay communities there are to be ordinary confessors approved by the local ordinary after consultation with the community; members nevertheless have no obligation to approach them.

$4.  Superiors are not to hear the confessions of their subjects unless the latter request it of their own initiative.

$5. Members are to approach superiors with trust, to whom they can express their minds freely and willingly. However, superiors are forbidden to induce their subjects in any way whatever to make a manifestation of conscience to them.๖๑๗ ให้บรรดาอธิการปฏิบัติหน้าที่ และใช้อำนาจของตนตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายสากลและกฎหมายเฉพาะ

๖๑๘ ให้อธิการใช้อำนาจที่ได้รับจากพระเป็นเจ้า โดยผ่านทางศาสนบริการของพระศาสนจักร ด้วยจิตตารมณ์แห่งการรับใช้ ดังนั้นด้วยความนอบน้อมต่อน้ำ-พระทัยของพระเป็นเจ้าในการปฏิบัติหน้าที่ของตน อธิการต้องปกครองสมาชิกของตนเยี่ยงบุตรของพระเจ้า และพร้อมกับส่งเสริมให้เขานอบน้อมเชื่อฟังด้วยความเต็มใจ โดยเคารพต่อความเป็นมนุษย์ของเขา ต้องรับฟังพวกเขาด้วยความเต็มใจ และสนับสนุนให้เขาร่วมมือกันทำงาน เพื่อประโยชน์ของสถาบันและของพระศาสนจักร อย่างไรก็ตาม อธิการยังคงไว้ซึ่งอำนาจที่จะตัดสิน  และออกคำสั่งว่าควรจะทำอะไร

๖๑๙ ให้อธิการอุทิศตนทำหน้าที่อย่างขยันขันแข็ง และร่วมกับสมาชิกในสังกัดของตน พยายามสร้างหมู่คณะฉันพี่น้องในพระคริสตเจ้า ซึ่งแสวงหาและรักพระ-เป็นเจ้าเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นอธิการจึงต้องหล่อเลี้ยงสมาชิกของตนด้วยอาหารแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้า และนำพวกเขาให้ร่วมการเฉลิมฉลองพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เป็นนิจ อธิการต้องเป็นแบบฉบับที่ดีงามแก่สมาชิก ในการปลูกฝังคุณธรรมและในการปฏิบัติตามกฎหมายและประเพณีของแต่ละสถาบัน อธิการต้องสนองความต้องการส่วนตัวของสมาชิกอย่างเหมาะสม ต้องเอาใจใส่และเยี่ยมเยียนผู้ป่วยด้วยความห่วงใย ตักเตือนว่ากล่าวสมาชิกที่วุ่นวาย ปลอบโยนผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอและเพียรทนต่อทุกคน

๖๒๐ อธิการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ที่ปกครองทั้งสถาบัน หรือแขวงของสถาบัน หรือบางส่วนที่เทียบเท่ากับแขวงหรือบ้านที่ปกครองตนเองอย่างอิสระ รองอธิการก็มีอำนาจเช่นเดียวกัน ผู้ที่เทียบเท่ากับอธิการชั้นผู้ใหญ่  ได้แก่  อัคราธิการและอธิการของอารามนักพรต อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้ไม่มีอำนาจทั้งหมดที่กฎหมายสากลให้แก่อธิการชั้นผู้ใหญ่

๖๒๑ การรวมบ้านหลายๆ บ้านให้อยู่ภายใต้อธิการคนเดียวกัน การรวมนี้ประกอบกันขึ้นเป็นส่วนหนึ่งโดยตรงของสถาบันและก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายพระศาสนจักรโดยผู้มีอำนาจอันชอบ เรียกว่า แขวง

๖๒๒ อธิการสูงสุดมีอำนาจปกครองเหนือทุกแขวง ทุกบ้านและสมาชิกทุกคนของสถาบัน และต้องใช้อำนาจนี้ตามกฎหมายเฉพาะ อธิการอื่นๆ มีสิทธิใช้อำนาจภายในขอบเขตตามตำแหน่งหน้าที่ของตน

๖๒๓ เพื่อจะให้สมาชิกได้รับการแต่งตั้ง หรือเลือกตั้งให้รับตำแหน่งอธิการอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องกำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะว่า หลังการปฏิญาณตนตลอดชีพหรืออย่างถาวรแล้วเป็นเวลานานเท่าไร จึงจะเหมาะสมในกรณีที่เกี่ยวกับอธิการชั้นผู้ใหญ่ เวลาที่เหมาะสมนั้นต้องกำหนดไว้ในธรรมนูญ

๖๒๔ วรรค ๑ ให้แต่งตั้งอธิการดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาที่แน่นอนและเหมาะสม ตามลักษณะและความจำเป็นของสถาบัน เว้นไว้แต่ว่าธรรมนูญบัญญัติระบุไว้เป็นอย่างอื่นสำหรับอธิการสูงสุดและอธิการของบ้านที่ปกครองตนเอง อย่างอิสระ
วรรค ๒ ให้กฎหมายเฉพาะกำหนดกฎเกณฑ์อันเหมาะสมว่า อธิการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลาที่กำหนด จะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งปกครองนานเกินไป โดยไม่มีการทิ้งช่วง

วรรค ๓ กระนั้นก็ดี ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ อธิการสามารถถูกปลดจากตำแหน่ง หรือถูกโยกย้ายไปรับตำแหน่งอื่นได้ ด้วยเหตุผลที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะของสถาบัน

๖๒๕ วรรค ๑ ต้องแต่งตั้งอธิการสูงสุดของสถาบัน โดยวิธีการเลือกตั้งตามกฎหมายพระศาสนจักร ตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมนูญ

วรรค ๒ พระสังฆราชของพื้นที่ที่บ้านศูนย์กลางของคณะตั้งอยู่ ทำหน้าที่เป็นประธานในการเลือกตั้งอธิการของอารามที่ปกครองตนเองอย่างอิสระ   ดังที่ ระบุไว้ในมาตรา ๖๑๕ และในการเลือกตั้งอธิการสูงสุดของสถาบันสิทธิสังฆ-มณฑล

วรรค ๓ อธิการอื่นๆ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมนูญ แต่ในลักษณะที่ว่า ถ้าเป็นการเลือกตั้ง  จำเป็นต้องได้รับการรับรองจากอธิการชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ ถ้าหากว่าเป็นการแต่งตั้งโดยผู้ใหญ่ก็จำต้องมีการปรึกษาหารือกันอย่างเหมาะสมก่อน

๖๒๖ อธิการในการมอบหมายตำแหน่งหน้าที่และสมาชิกในการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายสากลและกฎหมายเฉพาะ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สิทธิ์ในทางที่ผิดหรือโดยลำเอียง และเสนอชื่อหรือเลือกตั้งบุคคล ซึ่งพวกเขารู้ต่อหน้าพระเจ้าว่าเป็นผู้สมควรและเหมาะสมจริงๆ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นใดนอกจากพระเป็นเจ้าและประโยชน์ของสถาบัน ยิ่งกว่านั้น ในการเลือกตั้งต้องหลีกเลี่ยงการหาเสียงไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งสำหรับตนเองหรือสำหรับผู้อื่น๖๒๗ วรรค ๑ ตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมนูญ อธิการต้องมีคณะที่ปรึกษาของตนเอง และต้องใช้ประโยชน์จากพวกเขาในการปฏิบัติหน้าที่ของตน

วรรค ๒ นอกเหนือจากกรณีที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสากล กฎหมายเฉพาะต้องกำหนดกรณี ซึ่งตามกฎเกณฑ์แห่งมาตรา ๑๒๗ ต้องขอความเห็นชอบหรือคำแนะนำ เพื่อให้การกระทำมีผลตามกฎหมาย

๖๒๘ วรรค ๑ อธิการผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ตามกฎหมายเฉพาะของสถาบัน ต้องเยี่ยมบ้านต่างๆ และสมาชิกที่อยู่ในการดูแลของตน ตามเวลาที่กำหนด ในกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายเฉพาะเดียวกัน

วรรค ๒ เป็นสิทธิและหน้าที่ของพระสังฆราชสังฆมณฑลที่จะเยี่ยม แม้กระทั่งในเรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบวินัยของนักพรต

๑) อารามที่ปกครองตนเองอย่างอิสระดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑๕

๒) บ้านแต่ละแห่งของสถาบันสิทธิสังฆมณฑลที่อยู่ในเขตปกครองของท่าน

วรรค ๓ สมาชิกต้องปฏิบัติต่อผู้ที่มาเยี่ยมเยียนด้วยความไว้วางใจและมีพันธะที่จะต้องตอบคำถามที่ชอบธรรม ตามความเป็นจริงด้วยความรัก ยิ่งกว่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้ใดหันเหสมาชิกไปจากพันธะอันนี้ ด้วยวิธีการใดๆหรือโดยวิธีอื่นที่ขัดขวางจุดประสงค์ของการเยี่ยมเยียน

๖๒๙ อธิการทุกท่านต้องพำนักอยู่ในบ้านที่ตนรับหน้าที่ และต้องไม่ไปจากบ้าน เว้นไว้แต่ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะ

๖๓๐ วรรค ๑ อธิการต้องยอมรับอิสรภาพอันพึงมีของสมาชิกของตนเกี่ยวกับศีลอภัยบาปและการแนะนำมโนธรรม อย่างไรก็ดี ให้คงไว้ซึ่งระเบียบวินัยของสถาบัน

วรรค ๒ อธิการต้องเอาใจใส่ดูแลตามกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายเฉพาะให้สมาชิกได้มีผู้ฟังแก้บาปที่เหมาะสม ซึ่งพวกเขาสามารถไปสารภาพบาปได้บ่อยๆ

วรรค ๓ ในอารามนักพรตหญิงในบ้านอบรม และคณะฆราวาสที่มีสมาชิกจำนวนมาก        ให้มีผู้ฟังแก้บาประจำซึ่งได้รับการรับรองจากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจประจำท้องถิ่น หลังจากได้ปรึกษาหารือกับคณะแล้ว อย่างไรก็ดีสมาชิกไม่จำเป็นต้องไปแก้บาปกับผู้ฟังแก้บาปดังกล่าว

วรรค ๔ อธิการต้องไม่ฟังแก้บาปของสมาชิก เว้นไว้แต่ว่าสมาชิกจะขอร้องด้วยตนเอง

วรรค ๕ สมาชิกต้องเข้าหาอธิการของตนด้วยความไว้วางใจ ซึ่งพวกเขาสามารถเปิดใจอย่างอิสระและด้วยความเต็มใจ อย่างไรก็ดี ห้ามอธิการชักจูงสมาชิกให้เปิดเผยมโนธรรมแก่ตนเอง ไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม