หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 ภาค ๓ สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว และคณะชีวิตแพร่ธรรม

 ตอน ๑ สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว

ลักษณะ ๑ กฎเกณฑ์สำหรับสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วทุกสถาบัน

Can. 573 $1. Life consecrated by the profession of the evangelical counsels is a stable form of living by which faithful, following Christ more closely under the action of the Holy Spirit, are totally dedicated to God who is loved most of all, so that, having dedicated themselves to His honor, the upbuilding of the Church and the salvation of the world by a new and special title, they strive for the perfection of charity in service to the Kingdom of God and, having become an outstanding sign in the Church, they may foretell the heavenly glory.

$2. Christian faithful who profess the evangelical counsels of chastity, poverty and obedience by vows or other sacred bonds according to the proper laws of institutes freely assume this form of living in institutes of consecrated life canonically erected by competent church authority and through the charity to which these counsels lead they are joined to the Church and its mystery in a special way.

Can. 574 $1. The state of those who profess the evangelical counsels in institutes of this kind pertains to the life and sanctity of the Church and for this reason is to be fostered and promoted by all in the Church.

$2. Certain Christian faithful are specially called to this state by God so that they may enjoy a special gift in the life of the Church and contribute to its salvific mission according to the purpose and spirit of the institute.

Can. 575 The evangelical counsels, based on the teaching and examples of Christ the Teacher, are a divine gift which the Church has received from the Lord and always preserves through His grace.

Can. 576 It belongs to the competent authority of the Church to interpret the evangelical counsels, to regulate their practice by laws, to constitute therefrom stable forms of living by canonical approbation, and, for its part, to take care that the institutes grow and flourish according to the spirit of the founders and wholesome traditions.

Can. 577 In the Church there are very many institutes of consecrated life which have different gifts according  to the grace which has been given them: they follow Christ more closely as He prays, announces the Kingdom of God, performs good works for people, shares His life with them in the world, and yet always does the will of the Father.

Can. 578 The intention of the founders and their determination concerning the nature, purpose, spirit and character of the institute which have been ratified by competent ecclesiastical authority as well as its wholesome traditions, all of which constitute the patrimony of the institute itself, are to be observed faithfully by all.

Can. 579 Diocesan bishops each in his own territory can erect institutes of consecrated life by a formal decree, provided that the Apostolic See has been consulted.

Can. 580 The aggregation of one institute of consecrated life to another is reserved to the competent authority of the aggregating institute, always safeguarding the canonical autonomy of the aggregated institute.

Can. 581 Dividing an institute into parts, whatever the parts are called, erecting new ones, joining previously erected parts or defining them in another way pertains to the competent authority of the institute, in accord with the norm of the constitutions.

Can. 582 Mergers and unions of institutes of consecrated life are reserved to the Apostolic See alone; confederations and federations are also reserved to it.Can. 583 Changes in institutes of consecrated life which affect matters which have been approved by the Apostolic See cannot be made without its permission.

Can. 584 Suppressing an institute pertains to the Apostolic See alone, to whom also it is reserved to determine what is to be done with the temporal goods of the institute.

Can. 585 Suppressing parts of an institute pertains to the competent authority of the institute itself.

Can. 586 $1. For individual institutes there is acknowledged a rightful autonomy of life, especially of governance, by which they enjoy their own discipline in the Church and have the power to preserve their own patrimony intact as mentioned in can. 578.

$2. It belongs to local ordinaries to safeguard and protect this autonomy.

Can. 587 $1. In order to protect more faithfully the particular vocation and identity of each institute, its fundamental code or constitutions must contain, besides what must be observed according to can.

578, fundamental norms about the governance of the institute and the discipline of members, the incorporation and formation of members, and the proper object of sacred bonds.  

$2. A code of this kind is approved by the competent authority of the Church and can be changed only with its consent.

$3. In this code spiritual and juridical elements are to be suitably joined together; however norms are not to be multiplied unless it is necessary.

$4. Other norms established by the competent authority of the institute are to be suitably collected in other codes, which can moreover be fittingly reviewed and adapted according to the needs of places and times.

Can. 588 $1. The state of consecrated life by its very nature is neither clerical nor lay.

$2. An institute is said to be clerical if, by reason of the purpose or design intended by its founder or in virtue of legitimate tradition, it is under the supervision of clerics, it assumes the exercise of sacred orders, and it is recognized as such by church authority.

$3. An institute is called lay if recognized as such by church authority, by virtue of its nature, character and purpose it has a proper function defined by the founder or by legitimate tradition which does not include the exercise of sacred orders.

Can. 589 An institute of consecrated life is said to be of pontifical right if it has been erected by the Apostolic See or approved by a formal decree of the Apostolic See; on the other hand an institute is said to be of diocesan right if, after having been erected by a diocesan bishop, it has not obtained a decree of approval from the Apostolic See.

Can. 590 $1. Institutes of consecrated life, inasmuch as they are dedicated in a special way to the service of God and of the entire Church, are subject to the supreme authority of this same Church in a special manner.

$2. Individual members are also bound to obey the Supreme Pontiff as their highest superior by reason of the sacred bond of obedience.

Can. 591 In order to provide better for the good of institutes and the needs of the apostolate, the Supreme Pontiff, by reason of his primacy over the universal Church and considering the common good, can exempt institutes of consecrated life from the governance of local ordinaries and subject them either to himself alone or to another ecclesiastical authority.

Can. 592 $1. In order that the communion of institutes with the Apostolic See be better fostered each supreme moderator is to send a brief report on the status and life of the institute to the Apostolic See in a manner and at a time determined by the latter

$2. The moderators of every institute are to promote knowledge of the documents of the Holy See which affect members entrusted to them and be concerned about their observance of them.

Can. 593 With due regard for the prescription of can. 586, institutes of pontifical right are immediately and exclusively subject to the power of the Apostolic See in internal governance and discipline.

Can. 594 With due regard for can. 586, an institute of diocesan right remains under the special care of the diocesan bishop.

Can. 595 $1. It belongs to the bishop of the principal seat of the institute to approve the constitutions and confirm any changes legitimately introduced into them, except in those matters in which the Apostolic See has intervened; it also belongs to him to deal with business of greater importance which affects the whole institute and which are beyond the power of its internal authority; he does so after consulting other diocesan bishops if the institute has spread to several dioceses.

$2. The diocesan bishop can grant dispensations from the constitutions in particular cases.

Can. 596 $1. Superiors and chapters of institutes enjoy that power over members which is defined in universal law  and the constitutions.

$2.  Moreover, in clerical religious institutes of pontifical right they also possess ecclesiastical power of governance for both the external and the internal forum.

$3. The prescriptions of cann. 131, 133 and 137-144 are applicable to the power referred to in $1.

Can. 597 $1. Any Catholic, endowed with a right intention, who has the qualities required by universal and proper law and who is not prevented by any impediment can be admitted to an institute of consecrated life.

$2. No one can be admitted without suitable preparation.

Can. 598 $1. Each institute, keeping in mind its own character and purposes is to define in its constitutions the manner in which the evangelical counsels of chastity, poverty and obedience are to be observed for its way of living.

$2. All members must not only observe the evangelical counsels faithfully and fully, but also organize their life according to the proper law of the institute and thereby strive for the perfection of their state.

Can. 599 The evangelical counsel of chastity assumed for the sake of the kingdom of heaven, as a sign of the future world and a source of more abundant fruitfulness in an undivided heart, entails the obligation of perfect continence in celibacy.

Can. 600 The evangelical counsel of poverty in imitation of Christ who, although He was rich became poor for us, entails, besides a life which is poor in fact and in spirit, a life of labor lived in moderation and foreign to earthly riches, a dependence and a limitation in the use and disposition of goods according to the norm of the proper law of each institute.

Can. 601 The evangelical counsel of obedience, undertaken in a spirit of faith and love in the following of Christ who was obedient even unto death requires a submission of the will to legitimate superiors, who stand in the place of God when they command according to the proper constitutions.

Can. 602 The life of brothers or sisters proper to each institute, by which all members are united together like a special family in Christ, is to be determined in such a way that it becomes a mutual support for all in fulfilling the vocation of each member. Moreover by their communion as brothers or sisters, rooted in and built on love, the members are to be an example of universal reconciliation in Christ.

Can. 603 $1. Besides institutes of consecrated life, the Church recognizes the eremitic or anchoritic life by which the Christian faithful devote their life to the praise of God and salvation of the world through a stricter separation from the  world,  the silence of solitude and assiduous prayer and penance.

$2. A hermit is recognized in the law as one dedicated to God in a consecrated life if he or she publicly professes the three evangelical counsels, confirmed by a vow or other sacred bond, in the hands of the diocesanbishop and observes his or her own plan of life under his direction.

Can. 604 $1. Similar to these forms of consecrated life is the order of virgins, who, committed to the holy plan of following Christ more closely, are consecrated to God by the diocesan bishop according to the approved liturgical rite, are betrothed mystically to Christ, the Son of God, and are dedicated to the service of the Church.

$2. In order to observe their commitment more faithfully and to perform by mutual support service to the Church which is in harmony with their state these virgins can form themselves into associations.

Can. 605 Approving new forms of consecrated life is reserved to the Apostolic See alone. Diocesan bishops, however, should strive to discern new gifts of consecrated life granted to the Church by the Holy Spirit and they

should aid their promoters so that they can express their proposals as well as possible and protect them with suitable statutes, utilizing especially the general norms contained in this section.

Can. 606 Whatever is determined about institutes of consecrated life and their members applies equally to either sex, unless the contrary is apparent from the context of the wording or nature of the matter.

๕๗๓ วรรค ๑ ชีวิตที่ถวายแล้ว โดยการปฏิญาณตนที่จะดำเนินชีวิตตามคำแนะ-นำแห่งพระวรสาร เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่มั่นคง ซึ่งโดยการดำเนินชีวิตแบบนี้   คริสตชนผู้ซึ่งติดตามพระ- คริสตเจ้าอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ภายใต้การทำงานของพระจิตอุทิศตนทั้งครบแด่พระเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่ตนรักสูงสุด เพื่อว่าเมื่อได้ถวายตนเองตามรูปแบบใหม่และพิเศษ เพื่อพระเกียรติของพระองค์ เพื่อการเสริมสร้างพระศาสนจักรและความรอดของโลกแล้ว เขาจะได้มุ่งสู่ความครบครันแห่งความรักในการรับใช้พระอาณาจักรของพระเจ้า และเมื่อได้กลายเป็นเครื่องหมายอันโดดเด่นในพระศาสนจักรแล้ว เขาก็ประกาศให้เห็นถึงพระเกียรติมงคลแห่งสวรรค์

วรรค ๒ คริสตชนที่ปฏิญาณตนปฏิบัติตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร ในการถือความบริสุทธิ์ ความยากจน และความนอบน้อมเชื่อฟัง โดยคำปฏิญาณหรือโดยพันธะศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ตามกฎข้อบังคับเฉพาะของสถาบัน คริสตชนเหล่านี้รับเอาแบบการดำเนินชีวิตดังกล่าวอย่างอิสระในสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว  ซึ่งก่อตั้งขึ้นเป็นทางการโดยอำนาจที่ถูกต้องของพระศาสนจักร คริสตชนดังกล่าวโดยอาศัยคุณธรรมความรักอันเนื่องมาจากการถือตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักร และรหัสธรรมของพระศาสนจักรในรูปแบบพิเศษ

๕๗๔ วรรค ๑ สถานภาพของบุคคลผู้ซึ่งปฏิญาณตนตามคำแนะนำแห่งพระวรสารในสถาบันประเภทนี้ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร และเพราะเหตุนี้จึงต้องได้รับการฟูมฟัก และส่งเสริมจากทุกคนในพระศาสนจักร

วรรค ๒ คริสตชนบางคนได้รับเรียกอย่างพิเศษจากพระเป็นเจ้า มาสู่สถานภาพนี้ เพื่อรับพระพรพิเศษในชีวิตของพระศาสนจักร และเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พันธกิจที่นำความรอดของพระศาสนจักร     ตามจุดประสงค์และจิตตารมณ์ของสถาบัน

๕๗๕ คำแนะนำแห่งพระวรสาร อันมีพื้นฐานอยู่ที่คำสั่งสอน และแบบฉบับของพระคริสตเจ้าพระอาจารย์ เป็นพรพระเจ้าที่พระศาสนจักรได้รับมาจากพระเป็นเจ้า และรักษาไว้ให้คงอยู่เสมอไป โดยอาศัยพระหรรษทานของพระองค์

๕๗๖ เป็นสิทธิ์ของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจในพระศาสนจักรที่จะตีความหมายคำแนะ-นำแห่งพระวรสาร ออกกฎหมาย ควบคุมการปฏิบัติ และจากกฎหมายนั้นก่อตั้งรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มั่นคง โดยการรับรองอย่างเป็นทางการ และเช่นเดียวกัน ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ ในส่วนของตนมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้สถาบันเหล่านั้นเจริญและรุ่งเรืองตามจิตตารมณ์ของผู้ก่อตั้งและประเพณีอันดีงาม

๕๗๗ ในพระศาสนจักรมีสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วอยู่มากมาย ซึ่งมีพระพรที่แตกต่างกันตามพระหรรษทานที่พระประทานให้ เหตุว่าสถาบันเหล่านี้ ติดตามพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นขณะที่พระองค์ทรงภาวนาก็ดี ประกาศอาณาจักรพระเจ้าก็ดี ปฏิบัติงานแผ่เมตตาก็ดี ร่วมชีวิตกับมวลมนุษย์โลกก็ดี ซึ่งทั้งหมดนี้พระองค์ทรงกระทำตามน้ำพระทัยพระบิดาเจ้าเสมอ

๕๗๘ ความคิดและจุดมุ่งหมายของผู้ก่อตั้ง ซึ่งผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจในพระศาสนจักรได้รับรอง เกี่ยวกับธรรมชาติ จุดหมาย จิตตารมณ์ และลักษณะเฉพาะของสถาบันรวมทั้งประเพณีอันดีงาม ซึ่งทั้งหมดประมวลกันเข้าเป็นมรดกตกทอดของสถาบันนั้นเอง เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงรักษาไว้อย่างสัตย์ซื่อ

๕๗๙ พระสังฆราชสังฆมณฑลในแต่ละเขตปกครองของตน สามารถก่อตั้งสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว ด้วยกฤษฎีกาที่เป็นทางการ เพียงแต่ว่าต้องปรึกษาหารือกับสันตะสำนักก่อน

๕๘๐ การรวมตัวกันของสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว สถาบันหนึ่งกับอีกสถาบันหนึ่ง สงวนไว้ให้แก่ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของสถาบันที่รับเข้า โดยรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการปกครองตนเองตามกฎหมายของสถาบันที่เข้ามารวม

๕๘๑ การแบ่งสถาบันออกเป็นภาคๆ ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร หรือก่อตั้งภาคใหม่ๆ ขึ้น หรือรวมภาคที่ตั้งขึ้นแล้ว หรือกำหนดขอบเขตใหม่ ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของสถาบันตามกฎเกณฑ์ของธรรมนูญ

๕๘๒ การหลอมตัวและการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันของสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว เป็นอำนาจที่สงวนไว้สำหรับสันตะสำนักเท่านั้น การรวมตัวเป็นสมาพันธ์และสหพันธ์ก็เป็นอำนาจที่สงวนไว้   สำหรับสันตะสำนักด้วย

๕๘๓ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว อันจะกระทบถึงสิ่งต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติจากสันตะสำนักแล้ว จะกระทำมิได้โดยปราศจากการอนุญาตของสันตะสำนัก

๕๘๔ การยุบสถาบันใดๆ เป็นอำนาจของสันตะสำนักเท่านั้น เช่นเดียวกัน การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับทรัพย์สินของสถาบันก็สงวนไว้สำหรับสันตะสำนักด้วย

๕๘๕  การยุบบางส่วนของสถาบันเป็นอำนาจของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจของสถาบันนั้นเอง

๕๘๖ วรรค ๑ เป็นที่รับรู้ว่า แต่ละสถาบันมีความเป็นเอกเทศโดยชอบธรรมในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในด้านการปกครอง ซึ่งอาศัยความเป็นเอกเทศนี้ สถาบันต่างๆ มีระเบียบวินัยของตนในพระศาสนจักร และสามารถรักษามรดกตกทอดของตนไว้ได้อย่างครบถ้วน ดังระบุไว้ในมาตรา ๕๗๘

วรรค ๒ เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นที่จะรักษา และป้องกันความเป็นเอกเทศนี้

๕๘๗ วรรค ๑ เพื่อปกป้องกระแสเรียกเฉพาะ และเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบันอย่างซื่อสัตย์ยิ่งขึ้น นอกจากสิ่งที่ต้องปฏิบัติที่ระบุไว้ใน

าตรา ๕๗๘ ประมวลกฎหมายขั้นพื้นฐาน หรือธรรมนูญของสถาบันใดไม่ว่าต้องบรรจุกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการปกครองของสถาบัน และระเบียบวินัยของสมาชิกเกี่ยวกับการรับและการอบรมสมาชิก รวมทั้งเป้าหมายเฉพาะของพันธะศักดิ์สิทธิ์ด้วย

วรรค ๒ ประมวลกฎหมายชนิดนี้ รับการรับรองโดยผู้ทรงอำนาจในพระ-ศาสนจักร และเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ทรงอำนาจเดียวกันนั้น

วรรค ๓ ในประมวลกฎหมายนี้ สารัตถะทางด้านวิญญาณและด้านกฎหมายต้องผสมผสานกันอย่างกลม-กลืน อย่างไรก็ดีต้องไม่เพิ่มกฎเกณฑ์ใดๆ โดยไม่จำเป็น

วรรค ๔ กฎเกณฑ์อื่นๆ ที่ออกโดยผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของสถาบัน ต้องรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายอื่นอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามประมวลกฎหมายนี้สามารถนำมาทบทวน       และ
ประยุกต์อย่างเหมาะสมตามความจำเป็นของสถานที่และเวลา

๕๘๘ วรรค ๑ สถานภาพของชีวิตที่ถวายแล้ว โดยธรรมชาติแท้ไม่มีลักษณะเป็นสมณะหรือฆราวาส

วรรค ๒ สถาบันสมณะคือสถาบันที่ โดยเหตุผลของจุดหมายหรือจุดประสงค์ของผู้ตั้งคณะหรือโดยประเพณีอันชอบ อยู่ภายใต้การปกครองของสมณะ ปฏิบัติหน้าที่แห่งศีลบรรพชา และได้รับการรับรู้ให้เป็นสถาบันเช่นนั้นจากผู้มีอำนาจของพระศาสนจักร

วรรค ๓ สถาบันที่เรียกว่า สถาบันฆราวาสคือสถาบันที่ได้รับการรับรองให้เป็นเช่นนี้จากผู้มีอำนาจของพระศาสนจักร สถาบันดังกล่าวโดยธรรมชาติ ลักษณะ และจุดประสงค์มีหน้าที่เฉพาะที่กำหนดโดยผู้ก่อตั้งหรือโดยประเพณีอันชอบ โดยไม่รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของศีลบรรพชา

๕๘๙ สถาบันชีวิตที่ถวายแล้วเรียกว่าสถาบันสิทธิของสันตะสำนัก ถ้าได้รับการก่อตั้งโดยสันตะสำนักหรือรับรองโดยกฤษฎีกาทางการของสันตะสำนัก            ส่วนสถาบันที่เรียกว่าสิทธิ-สังฆมณฑล ถ้าเมื่อได้รับการก่อตั้งโดยพระสังฆราชสังฆมณฑลแล้ว ไม่ได้รับกฤษฎีการับรองเป็นทางการจากสันตะ-สำนัก

๕๙๐ วรรค ๑ สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว ในฐานะที่อุทิศตนเป็นพิเศษในการรับใช้พระเป็นเจ้าและพระศาสนจักรทั้งสังฆมณฑล ถ้าเมื่อได้รับการก่อตั้งโดยพระสังฆราชสังฆมณฑลแล้ว ไม่ได้รับกฤษฎีการับรองเป็นทางการจากสันตะ-สำนัก

๕๙๐ วรรค ๑ สถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว ในฐานะที่อุทิศตนเป็นพิเศษในการรับใช้พระเป็นเจ้าและพระศาสนจักรทั้ง

๕๙๒ วรรค ๑ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับสันตะสำนักให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น มหาธิการแต่ละท่านต้องส่งรายงานสั้นๆ เกี่ยวกับสถานภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของสถาบัน ต่อสันตะสำนัก ตามวิธีและในเวลาที่สันตะสำนักกำหนด

วรรค ๒ อธิการของแต่ละสถาบันต้องส่งเสริมให้มีความรู้เกี่ยวกับเอกสารของพระสันตะสำนักที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกในความดูแลของท่านและเอาใจใส่ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในเอกสารเหล่านั้น

๕๙๓ สถาบันสิทธิสันตะสำนักต้องอยู่ภายใต้อำนาจของสันตะสำนักโดยตรงและแต่ผู้เดียวในด้านการปกครองภายในและระเบียบวินัยของสถาบัน โดยคงไว้ซึ่งมาตรา ๕๘๖

๕๙๔ สถาบันสิทธิสังฆมณฑล คงอยู่ภายใต้การดูแลพิเศษของพระสังฆราชสังฆ-มณฑล โดยคงไว้ซึ่งมาตรา ๕๘๖

๕๙๕ วรรค ๑ การรับรองธรรมนูญและการเปลี่ยนแปลงโดยชอบใดๆในธรรมนูญเป็นหน้าที่ของพระสังฆราชของสถานที่ ซึ่งบ้านศูนย์กลางของสถาบันตั้งอยู่ ยกเว้นในเรื่องที่สันตะสำนักยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง ท่านยังมีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญมากที่เกี่ยวกับสถาบันทั้งหมดและที่เกินอำนาจภายในของสถาบัน หากสถาบันกระจายไปอยู่ในหลายสังฆมณฑล ท่านจัดการเช่นนั้นหลังจากได้ปรึกษาหารือกับพระสังฆราชสังฆมณฑลอื่นๆ แล้ว

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆมณฑลสามารถอนุมัติการยกเว้นจากธรรมนูญในกรณีเฉพาะต่างๆ

๕๙๖ วรรค ๑ บรรดาอธิการและสมัชชาของสถาบัน มีอำนาจเหนือสมาชิกตามที่มีกำหนดไว้ในกฎหมายสากลและธรรมนูญของสถาบันกำหนดไว้

วรรค ๒   ยิ่งกว่านั้นในสถาบันนักพรตสมณะสิทธิสันตะสำนัก พวกเขามีอำนาจปกครองฝ่ายพระศาสนจักรทั้งในเรื่องขอบเขตภายนอกและภายใน

วรรค ๓ ข้อกำหนดแห่งมาตรา ๑๓๑ , ๑๓๓ และ ๑๓๗–๑๔๔ นำมาใช้ได้กับอำนาจที่กล่าวถึงในวรรค ๑

๕๙๗ วรรค ๑ คาทอลิกคนใดก็ตามที่มีเจตนาเที่ยงตรง มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายสากลและกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ และไม่มีอุปสรรคใดๆ ขัดขวาง สามารถรับเป็นสมาชิกของสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วได้

วรรค ๒ ไม่มีผู้ใดสามารถถูกรับเป็นสมาชิกได้โดยไม่มีการเตรียมตัวอย่างเหมาะสมก่อน

๕๙๘ วรรค ๑ แต่ละสถาบันจะต้องกำหนดวิธีปฏิบัติในการดำรงชีวิตตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร ในเรื่องความบริสุทธิ์ความยากจน และความนอบน้อมเชื่อฟังไว้ในธรรมนูญของตน โดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะ และจุดหมายของสถาบัน

วรรค ๒ สมาชิกทุกคนต้องไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามคำแนะนำแห่งพระ- วรสารอย่างซื่อสัตย์และอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังต้องเจริญชีวิตตามกฎหมายเฉพาะของสถาบัน และดังนี้ต้องมุ่งสู่ความครบครันแห่งสถานภาพของตน

๕๙๙ คำแนะนำแห่งพระวรสารให้ถือความบริสุทธิ์ เพราะเห็นแก่พระอาณาจักรแห่งสวรรค์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของโลกหน้า และเป็นบ่อเกิดของผลที่สมบูรณ์กว่าในดวงใจที่ไม่แบ่งแยกนำมาซึ่งพันธะในการควบคุมตนเองอย่างครบครันในชีวิตโสด

๖๐๐ คำแนะนำแห่งพระวรสารให้ถือความยากจน ตามแบบฉบับขององค์พระ-คริสต์ ผู้ซึ่งแม้ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง แต่ทรงทำองค์เป็นผู้ขัดสนเพราะเห็นแก่เรา นอกจากการดำเนินชีวิตยากจนในความเป็นจริงและในจิตใจ ยังต้องดำเนินชีวิตแห่งการงานอย่างรู้จักประมาณตน และไม่ผูกพันกับทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก ต้องขึ้นกับผู้ใหญ่ และมีขีดจำกัดในการใช้และจัดการทรัพย์สิน ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะของแต่ละสถาบัน

๖๐๑ คำแนะนำแห่งพระวรสารให้ถือความนอบน้อมเชื่อฟัง ซึ่งยอมรับจิตตา-รมณ์แห่งความเชื่อและความรักในการติดตามพระคริสต์ผู้ทรงนอบน้อมจนกระทั่งความตาย เรียกร้องให้ยอมมอบน้ำใจของตนแก่ผู้ใหญ่ที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทำหน้าที่แทนพระเป็นเจ้า เมื่อออกคำสั่งตามธรรมนูญเฉพาะของสถาบัน

๖๐๒ ชีวิตภราดรภาพตามรูปแบบเฉพาะของแต่ละสถาบัน ซึ่งสมาชิกทุกคนรวมเป็นหนึ่งเดียวเสมือนเป็นครอบครัวพิเศษในองค์พระคริสตเจ้า ให้กำหนดรูปแบบที่อำนวยให้ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกของตน ยิ่งกว่านั้น โดยความสนิทสัมพันธ์กันฉันพี่น้อง ซึ่งหยั่งรากและตั้งฐานบนความรัก สมาชิกต้องเป็นตัวอย่างการคืนดีของสรรพสิ่งในองค์พระคริสต-เจ้า

๖๐๓ วรรค ๑ นอกจากสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว พระศาสนจักรยังยอมรับการดำเนินชีวิตแบบฤาษีหรือโดดเดี่ยวจากสังคม ซึ่งคริสตชนอุทิศชีวิตของตน เพื่อสรรเสริญพระเป็นเจ้า และเพื่อความรอดของโลก โดยการดำเนินชีวิตแยกจากโลกอย่างเคร่งครัดขึ้น ในความเงียบแห่งสันโดษ ทั้งในการภาวนาและการใช้โทษบาปอย่างไม่หยุดหย่อน

วรรค ๒ ฤาษีได้รับการรับรู้ในกฎหมายในฐานะผู้อุทิศตนแด่พระเป็นเจ้าในชีวิตที่ถวายแล้ว หากว่าเขาประกาศตนอย่างเปิดเผยว่า จะถือตามคำแนะนำแห่งพระวรสารทั้งสามประการ โดยการยืนยันด้วยปฏิญาณตนหรือด้วยพันธะศักดิ์สิทธิ์

แบบอื่นในมือของพระสังฆราชสังฆ-มณฑล และปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของตน ภายใต้การนำของพระสังฆราช

๖๐๔ วรรค ๑ คล้ายกับรูปแบบชีวิตที่ถวายแล้ว ดังได้กล่าวมา ยังมีคณะพรหมจารีผู้ผูกมัดตนเองที่จะเจริญชีวิตตามแบบแผนอันศักดิ์สิทธิ์ในการติดตามพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น พวกเขาได้รับการอภิเษกแด่พระเจ้าจากพระสังฆราชสังฆมณฑลตามจารีตพิธีกรรม ที่ได้รับการรับรอง พวกเขาถวายตนเป็นเจ้าสาวในรหัสธรรมแด่พระคริสต์บุตรพระ-เจ้า และอุทิศตนเพื่อรับใช้พระศาสนจักร

วรรค ๒ เพื่อรักษาความตั้งใจอย่างซื่อสัตย์ยิ่งขึ้น และเพื่อรับใช้พระ-ศาสนจักรโดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบที่สอดคล้องกับสถานภาพของตน พรหมจารีเหล่านี้สามารถรวมตัวกันเป็นสมาคม

๖๐๕ การรับรองรูปแบบใหม่ของชีวิตที่ถวายแล้ว เป็นสิทธิที่สงวนไว้สำหรับสันตะสำนักเท่านั้น อย่างไรก็ดีพระสังฆราชสังฆมณฑลควรพยายามพิจารณาแยกแยะพระพรใหม่ของชีวิตที่ถวายแล้ว ที่พระ-จิตเจ้าประทานให้แก่พระศาสนจักร และ

๖๐๖ กฎเกณฑ์ใดๆที่ตั้งไว้ เกี่ยวกับสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วและมวลสมาชิกของสถาบันเหล่านั้น ใช้ได้กับสมาชิกทั้งชายและหญิงเท่าเทียมกัน เว้นไว้แต่ว่าจะปรากฎเป็นอย่างอื่น จากบริบทของถ้อย-คำ หรือจากธรรมชาติของเนื้อเรื่อง