หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๘ อธิการโบสถ์และพระสงฆ์ประจำวัดน้อย   

ส่วน ๑ อธิการโบสถ์

Can. 556 Rectors of churches are understood to be priests to whom is given the care of some church which is neither parochial nor capitular nor connected with a house of a religious community or of a society of apostolic life which celebrates services in such a church.

Can. 557 $1. The diocesan bishop freely names the rector of a church, with due regard for the right of election or of presentation if someone legitimately possesses it; in this case the diocesan bishiop is competent to confirm or to install the rector.

$2. Even if the church belongs to some clerical religious institute of pontifical right the diocesan bishop is competent to install the rector presented by the superior.

$3. Unless the diocesan bishop has determined otherwise, the rector of a church which is connected with a seminary or other college which is governed by clerics is the rector of that seminary or college.

Can. 558 With due regard for can. 262, a rector is not allowed to perform the parochial functions mentioned in can. 530, nn. 1-6, in the church committed to him unless the pastor consents or delegates the rector if the matter warrants it.

Can. 559 A rector can perform liturgical celebrations, even solemn ones, in the church committed to him with due regard for the legitimate laws of the foundation and as long as they do not harm the parochial ministry in the judgment of the local ordinary.

Can. 560 Where he thinks it advisable, the local ordinary can order the rector to celebrate within the church particular functions, even parochial ones, for the people and to make the church available to certain groups of the Christian faithful for the conducting of liturgical celebrations.

Can. 561 Without the permission of the rector or of another legitimate superior no one is allowed to celebrate the Eucharist, administer the sacraments or perform other sacred functions in the church; this permission is to be granted or denied in accord with the norm of law.

Can. 562 Under the authority of the local ordinary with due regard for legitimate statutes and vested rights, the rector of a church is obliged to see to it that the sacred functions are celebrated with dignity in the church in accord with the liturgical norms and the prescriptions of the canons, that obligations are faithfully fulfilled, that its goods are carefully administered,  that the maintenance and the good appearance of sacred furnishings and buildings are provided for and that nothing whatever is done which is in any way out of harmony with the sanctity of the place and the reverence due to a house of God.

Can. 563 For a just cause and in accord with his own judgment the local ordinary can remove from office a rector of a church, even if he had been elected or presented by others, with due regard for the prescription of can. 682, $2.

๕๕๖ ให้เข้าใจว่าอธิการโบสถ์      คือพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลวัดใดวัดหนึ่งที่ไม่ใช่วัดปกครอง (parochial church) หรือวัดคณะสมณะ (capitular church)  ทั้งไม่ใช่วัดที่ติดกับบ้านคณะนักพรตหรือคณะชีวิตแพร่ธรรม ซึ่งพวกเขาใช้ประกอบศาสนกิจ

๕๕๗ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลแต่งตั้งอธิการโบสถ์อย่างอิสระโดยคงไว้ซึ่งสิทธิการเลือกตั้ง หรือการเสนอชื่อหากมีผู้ที่มีสิทธิ์นี้โดยชอบธรรม ในกรณีเช่นนี้ พระสังฆราชสังฆมณฑลมีสิทธิ์ที่จะรับรองหรือทำการแต่งตั้งอธิการโบสถ์

วรรค ๒ แม้ว่าโบสถ์นั้นเป็นของสถาบันนักพรตที่เป็นสมณะสิทธิสันตะ-สำนัก พระสังฆราชสังฆมณฑลมีอำนาจแต่งตั้งอธิการโบสถ์ที่ผู้ใหญ่ของคณะเสนอมา

วรรค ๓ เว้นไว้แต่ว่าพระสังฆราชสังฆมณฑลได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อธิการโบสถ์ที่ติดกับสามเณราลัย หรือวิทยาลัยอื่น ซึ่งปกครองโดยสมณะ คืออธิการของสามเณราลัยหรือวิทยาลัยนั้น

๕๕๘ โดยคงไว้ซึ่งมาตรา ๒๖๒ ไม่มีอนุญาตให้อธิการโบสถ์ปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นของวัดปกครองที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๓๐ ข้อ1 – 6 ในโบสถ์ที่ท่านได้รับมอบหมาย

เว้นไว้แต่ว่าเจ้าอาวาสยินยอมหรือมอบอำนาจแก่อธิการโบสถ์ให้กระทำเช่นนั้นเมื่อมีเหตุผล

๕๕๙ อธิการโบสถ์สามารถประกอบจารีตพิธีกรรม แม้อย่างสง่าในโบสถ์ที่ได้รับมอบหมาย โดยคงไว้ซึ่งกฎอันชอบ-ธรรมของการก่อตั้งและขอแต่ว่า ตามการวินิจฉัยของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นการประกอบพิธีนั้นไม่มีผลเสียแต่ประการใดต่อศาสนบริการของวัดปกครอง

๕๖๐ ณ ที่ซึ่งผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นเห็นว่าเหมาะสม ท่านก็สามารถส่งให้อธิการโบสถ์ ประกอบพิธีบางอย่างเพื่อประชาชนในโบสถ์ของตน แม้เป็น พิธีกรรมของวัดปกครอง ทั้งยังสามารถสั่งให้เปิดวัดแก่กลุ่มคริสตชนบางกลุ่มเพื่อเขาจะได้ประกอบจารีตพิธีกรรมที่นั่น๕๖๑ ไม่อนุญาตให้ใครประกอบพิธีมิสซา บริการศีลศักดิ์สิทธิ์หรือประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในโบสถ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิการโบสถ์หรือจากผู้อื่นที่เป็นผู้ใหญ่อันชอบของคณะ การอนุญาตหรือการปฏิเสธดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

๕๖๒ ภายใต้อำนาจของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นและโดยการรักษาระเบียบอันชอบ และสิทธิที่ได้มา อธิการโบสถ์มีพันธะต้องดูแลให้การประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในโบสถ์ เป็นไปตามกฎของจารีตพิธีกรรม และตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเหมาะสม ต้องทำตามภาระผูกพันอย่างซื่อสัตย์ ต้องจัดการทรัพย์สินอย่างขยันขันแข็ง ต้องจัดการดูแลเครื่องประดับศักดิ์สิทธิ์และสิ่งก่อสร้างศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้อยู่ในสภาพดีและสวยงาม และต้องไม่ให้มีอะไรเกิดขึ้นเลยที่ไม่เหมาะสมใดๆ กับความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่และกับความน่าเคารพที่ควรจะมีต่อพระนิเวศน์ของพระเป็นเจ้า

๕๖๓ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น เมื่อมีเหตุผลสมควรและตามวิจารณญาณอันรอบคอบของตน สามารถถอดถอนอธิการโบสถ์จากตำแหน่งหน้าที่ แม้ว่าอธิการโบสถ์จะได้รับเลือก หรือเสนอจากผุ้อื่นก็ตามโดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๖๘๒ วรรค ๒