หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๖ วัดปกครอง เจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส

Can. 515 $1. A parish is a definite community of the Christian faithful established on a stable basis within a particular church; the pastoral care of the parish is entrusted to a pastor as its own shepherd under the authority of the diocesan bishop.

$2. The diocesan bishop alone is competent to erect, suppress or alter parishes; he is not to erect, suppress or notably alter them without hearing the presbyteral council.

$3. A legitimately erected parish has juridic  personality by the law itself.

Can. 516 $1. Unless the law provides otherwise, a quasi-parish is equivalent to a parish; a quasi-parish is a definite community of the Christian faithful within a particular church which has been entrusted to a priest as its proper pastor but due to particular circumstances has not yet been erected as a parish.

$2. When certain communities cannot be erected as a parish or quasi-parish, the diocesan bishop is to provide for their pastoral care in another manner.

Can. 517 $1. When circumstances require it, the pastoral care of a parish or of several parishes together can be entrusted to a team of several priests in solidum with the requirement, however, that one of them should be the moderator in exercising pastoral care, that is, he should direct their combined activity and answer for it to the bishop.

$2. If the diocesan bishop should decide that due to a dearth of priests a participation in the exercise of the pastoral care of a parish is to be entrusted to a deacon or to some other (quasi–parish) person who is not a priest or to a community of persons, he is to appoint some priest endowed with the powers and faculties of a pastor to supervise the pastoral care.

Can. 518 As a general rule a parish is to be territorial, that is it embraces all the Christian faithful within a certain territory; whenever it is judged useful, however, personal parishes are to be established based upon rite, language, the nationality of the Christian faithful within some territory or even upon some other determining factor.

Can. 519 The pastor is the proper shepherd of the parish entrusted to him, exercising pastoral care in the community entrusted to him under the authority of the diocesan bishop in whose ministry of Christ he has been called to share; in accord with the norm of law he carries out for his community the duties of teaching, sanctifying and governing, with the cooperation of other presbyters or deacons and the assistance of lay members of the Christian faithful.

Can. 520 $1. A juridic person is not to be a pastor; however, the diocesan bishop, but not the diocesan administrator, with the consent of the competent superior, can entrust a parish to a clerical religious institute or to a clerical society of apostolic life, even erecting the parish in a church of the institute or society, with the requirement, however, that one presbyter should be the pastor of the parish or one presbyter should act as the moderator mentioned in can. 517, $1, if its pastoral care is entrusted to a team.

$2. The assignment of the parish mentioned in $1 can be permanent or for a definite predetermined period of time; in either case the assignment should be made by means of a written agreement between the diocesan bishop and the competent superior of the institute or society; among other matters this agreement is expressly and carefully to determine the work to be done, the persons to be attached to the parish and the financial arrangements.

Can. 521 $1. To assume the office of pastor validly one must be in the sacred order of the presbyterate.

$2. He should also be distinguished for his sound doctrine and integrity of morals and endowed with a zeal for souls and other virtues; he should also possess those qualities which are required by universal and particular law to care for the parish in question.

$3. For the office of pastor to be conferred on someone, it is necessary that his suitability be clearly evident by means of some method determined by the diocesan bishop, even by means of an examination.

Can. 522 The pastor ought to possess stability in office and therefore he is to be named for an indefinite period of time; the diocesan bishop can name him for a certain period of time only if a decree of the conference of bishops has permitted this.

Can. 523 With due regard for the prescription of can.682, the diocesan bishop is the person competent to  provide for the office of pastor by means of free conferral unless someone possesses the right of presentation or of election.

Can. 524 After he has weighed all the circumstances, the diocesan bishop is to confer a vacant parish on the person whom he judges suited to fulfill its parochial care without any partiality; in order to make a judgment  concerning a person’s suitability he is to listen to the vicar forane, conduct appropriate investigations and, if it is warranted, listen to certain presbyters and lay members of the Christian faithful.

Can. 525 When a see is vacant or impeded the diocesan administrator or another person who is ruling the diocese in the meantime is competent:

1. to install or confirm presbyters who have been legitimately presented or elected for a parish;

2. to appoint pastors if the see has been vacant or impeded for a year.

Can. 526 $1. A pastor is to have the parochial care of only one parish; however the care of several neighboring parishes can be entrusted to the same pastor due to a dearth of priests or in other circumstances.

$2. In the same parish there is to be only one pastor or one moderator in accord with can. 517, $1; any custom contrary to this is reprobated and any privilege contrary to this is revoked.

Can. 527 $1. The person who has been promoted to carry out the pastoral care of a parish acquires that care and is bound to exercise it from the moment he takes possession of the parish.

$2. While observing the method accepted by particular law or legitimate custom, the local ordinary or a priest delegated by him places the pastor in possession of the parish; for a just cause, however, the same ordinary can dispense from such a method of installation; in such a situation the dispensation

communicated to the parish replaces the formal taking of possession.

$3. The local ordinary is to define a period of time within which the parish is to be taken possession of; if the time lapses needlessly and there be no legitimate impediment, he can declare the parish vacant.

Can. 528 $1. The pastor is obliged to see to it that the word of God in its entirety is announced to those living in the parish; for this reason he is to see to it that the lay Christian faithful are instructed in the truths of the faith, especially through the homily which is to be given on Sundays and holy days of obligation and through the catechetical formation which he is to give; he is to foster works by which the spirit of the gospel, including issues involving social justice, is promoted; he is to take special care for the Catholic education of children and of young adults; he is to make every effort with the aid of the Christian faithful, to bring the gospel message also to those who have ceased practicing their religion or who do not profess the true faith.

$2. The pastor is to see to it that the Most Holy Eucharist is the center of the parish assembly of the faithful; he is to work to see to it that the Charistian faithful are nourished through a devout celebration of the sacraments and especially that they frequently approach the sacrament of the Most Holy Eucharist and the sacrament of penance; he is likewise to endeavor that they are brought to the practice of family prayer as well as to a knowing and active participation in the sacred liturgy, which the pastor must supervise in his parish under the authority of the diocesan bishop, being vigilant lest any abuses creep in.

Can. 529 $1. In order to fulfill his office in earnest the pastor should strive to come to know the fithful who have been entrusted to his care; therefore he is to visit families, sharing the cares, worries,  and especially the griefs of the faithful, strengthening them in the Lord, and correcting them prudently if they are wanting in certain areas; with a generous love he is to help the sick, particularly those close to death, refreshing them solicitously with the sacraments and commending their souls to God; he is to make a special effort to seek out the poor, the afflicted, the lonely, those exiled from their own land, and similarly those weighed down with special difficulties; he is also to labor diligently so that spouses and parents are supported in fulfilling their proper duties, and he is to foster growth in the Christian life within the family.

$2. The pastor is to acknowledge and promote the proper role which the lay members of the Christian faithful have in the church’s mission by fostering their associations for religious purposes; he is to cooperate with his own bishop and with the presbyterate of the diocese in working hard so that the faithful be concerned for parochial they are members both of the diocese and of the universal Church and participate in and support efforts to promote such communion.

Can. 530 The following functions are especially entrusted to the pastor:

1. the administration of baptism;

2. the administration of the sacrament of confirmation to those who are in danger of death, according to the norm of can. 883, 3;

3. the administration of Viaticum and the anointing of the sick with due regard for the prescription of can. 1003, $$2 and 3, as well as the imparting of the apostolic blessing;

4. the assistance at marriages and the imparting of the nuptial blessing;

5. the performing of funerals;

6. the blessing of the baptismal font during the Easter season, the leading of processions outside the church and the imparting of solemn blessings outside the church;

7. the more solemn celebration of the Eucharist on Sundays and holy days of obligation.

Can. 531 Although another person may have performed some parochial function, that person is to put the offerings received from the Christian faithful on that occasion into the parish account, unless it is obvious that such would be contrary to the will of the donor in the case of voluntary offerings; after he has listened to the presbyteral council, the diocesan bishop is competent to issue regulations which provide for the allocation of these offerings and the remuneration of clerics who fulfill the same function.

Can. 532 The pastor represents the parish in all juridic affairs in accord with the norm of law; he is to see to it that the goods of the parish are administered in accord with the norms of cann. 1281-1288.

Can. 533 $1. The pastor is obliged to reside in a parish house close to the church; in particular cases, however, the local ordinary can permit him to live elsewhere, especially in a house shared

by several presbyters, provided there is a just cause and suitable and due provision is made for the performance of parochial functions.

$2. Unless there is a serious reason to the contrary, the pastor may be absent each year from the parish on vacation for at most one continuous or interrupted month; the days which the pastor spends once a year in spiritual retreat are not counted in his vacation days; if the pastor is to be absent from the parish beyond a week he is bound to inform the local ordinary of this.

$3. The diocesan bishop is to issue norms which provide for the care of a parish by a priest possessing the needed faculties during the absence of the pastor.

Can. 534 $1. After he has taken possession of his parish the pastor is obliged to apply Mass for the people entrusted to him each Sunday and holy day of obligation within the diocese; if he is legitimately prevented from this celebration, he is to apply Mass on these   same days through another priest or he himself is to apply it on other days.

$2. A pastor who has the care of several parishes is obliged to apply only one Mass for all the people entrusted to him on those days mentioned in $1.

$3. A pastor who has not satisfied the obligation mentioned in $$1 and 2 is to apply as many Masses for his people as he has missed as soon as possible.

Can. 535 $1. Each parish is to possess a set of parish books including baptismal, marriage and death registers as well as other registers prescribed by the conference of bishops or the diocesan bishop; the pastor is to see to it that these registers are accurately inscribed and carefully preserved.

$2. In the baptismal register are also to be noted the person’s confirmation and whatever affects the canonical status of the Christian faithful by reason of marriage, with due regard for the prescription of can. 1133,

doption, reception of sacred orders, perpetual profession in a religious institute, and change of rite; these notations are always to be noted on a document  which certifies the reception of baptism.

$3. Each parish is to possess its own seal; documents which are issued to certify the canonical status of the Christian faithful as well as all acts which can have juridic importance are to be signed by the pastor or his delegate and sealed with the parish seal.

$4. Each parish is to have a registry or archive in which the parish books are kept along with episcopal letters and other documents which ought to be preserved due to necessity or usefulness; all these are to be inspected by the diocesan bishop or his delegate during his visitation or at another suitable time; the pastor is to take care that they do not come into the hands of outsiders.

$5. The older parish books are also to be carefully preserved in accord with the prescriptions of particular law.

Can. 536 $1. After the diocesan bishop has listened to the presbyteral council and if he judges it opportune, a pastoral council is to be established in each parish; the pastor presides over it, and through it the Christian faithful along with those who share in the pastoral care of the parish in virtue of their office give their help in fostering pastoral activity.

$2. This pastoral council possesses a consultative vote only and is governed by norms determined by the diocesan bishop.

Can. 537 Each parish is to have a finance council which is regulated by universal law as well as by norms issued by the diocesan bishop; in this council the Christian faithful, selected according to the same norms, aid the pastor in the administration of parish goods with due regard for the prescription of can. 532.

Can. 538 $1. A pastor ceases from office by means of removal or transfer by the diocesan bishop which has been done in accord with the norm of law, by resignation of the pastor submitted for a just cause and accepted by the same diocesan bishop for validity and by lapse of time if the pastor has been appointed for a definite period of time in accord with the prescriptions of particular law mentioned in can. 522.

$2.  A pastor who is a member of a religious institute or a society of apostolic life is removed in accord with the norm of can. 682, $2.

$3. When a pastor has completed his seventy-fifth year of age he is asked to submit his resignation from office to the diocesan bishop, who after considering all the circumstances of person and place, is to decide whether to accept or defer the resignation; the diocesan bishop, taking into  account the norms determined by the conference of bishops, is to provide for the suitable support and housing of the resigned pastor.

Can. 539 When a parish becomes vacant or when the pastor is prevented from exercising his pastoral office in the parish due to captivity, exile, banishment, incapacity, ill health or some other cause, the diocesan bishop is to appoint as soon as possible a parochial administrator, that is, a priest who substitutes for the pastor in accord with the norm of can. 540.

Can. 540 $1. A parochial administrator is bound by the same duties and enjoys the same rights as a pastor unless the diocesan bishop determines otherwise.

$2. A parochial administrator is not permitted to do anything which can prejudice the rights of the pastor or harm parish goods.

$3. After he has fulfilled his function the parochial administrator is to render an account to the pastor.

Can. 541 $1. When a parish becomes vacant or when the pastor is hindered from exercising his pastoral duty the arochial vicar is to assume the governance of the parish in the meantime until a parochial administrator is appointed; if there are several parochial vicars, the senior vicar in terms of appointment assumes the governance; if there are no parochial vicars, then a pastor specified by particular law assumes the governance.

$2. The person who has assumed the governance of a parish in accord with the norm of $1 is to inform the local ordinary immediately that the parish is vacant.

Can. 542 The priests who as a team have been entrusted with the pastoral care of some parish or group of different parishes in accord with the norm of can. 516, $1*:

1. are to be endowed with the qualities mentioned in can. 521;

2. are to be appointed or installed in accord with the prescriptions of cann. 522 and 524;

3. are responsible for pastoral care only from the moment of taking

possession; their moderator is to be placed in possession of the parish in accord with the prescriptions of can. 527, $2; for the other priests a legitimately made profession of faith substitutes for taking possession.

Can. 543 $1. Each of the priests who as a team have been entrusted with the pastoral care of some parish or group of different parishes is obliged to perform the duties and functions of the pastor which are mentioned in cann. 528, 529 and 530 in accord with an arrangement determined by themselves; all these priests possess the faculty to assist at marriages as well as all the faculties to dispense which are granted to the pastor by the law itself, to be exercised, however, under the direction of the moderator.

$2. All the priests of the team:

1. are bound by the obligation of residence;

2. through common counsel are to establish an arrangement by which one of them celebrates Mass for  the people in accord with the norm of can. 534;

3. ** in juridic affairs only the moderator represents the parish or parishes entrusted to the team.

Can. 544 When one of the priests in the team mentioned in can. 517, $1 or its moderator ceases from office or when one of them becomes incapable of exercising pastoral duties the parish or parishes entrusted to the care of the team do not become vacant; however, the diocesan bishop is to name another moderator; the senior priest on the team in terms of assignment is to fulfill the office of moderator until another is appointed by the diocesan bishop.

Can. 545 $1. A parochial vicar or several of them can be associated with the pastor whenever it is necessary or suitable for duly implementing the pastoral care of the parish; parochial vicars are priests who render their services in pastoral ministry as co-workers with the pastor in common counsel and endeavor with him and also under his authority.

$2. A parochial vicar can be assigned to assist in fulfilling the entire pastoral ministry on behalf of an entire parish, a definite part of the parish, or a certain group of the Christian faithful of the parish; he can also be assigned to assist in fulfilling a certain type of ministry in different parishes concurrently.

Can. 546 To be validly named parochial vicar one must be constituted in the sacred order of the presbyterate.

Can. 547 The diocesan bishop freely names a parochial vicar, having heard, if he judges it opportune, the pastor or pastors of the parishes for which he is appointed and the vicar forane, with due regard for the prescription of can. 682, $1.

Can. 548 $1. The obligations and rights of the parochial vicar are defined in the canons of this chapter, in the diocesan statutes, in the letter of the diocesan   bishop and more specifically in the mandate given him by the pastor.

$2. Unless the letter of the diocesan bishop expressly states otherwise the parochial vicar is obliged by reason of his office to assist the pastor in fulfilling the total parochial ministry, except for the obligation to apply Mass for the people, and if circumstances warrant it, to substitute for the pastor in accord with the norm of law.

$3. The parochial vicar is regularly to consult with the pastor on planned or existing programs so that the pastor and the parochial vicar or vicars can provide through their combined efforts for the pastoral care of the parish for which they are responsible together.

Can. 549 Unless the diocesan bishop has provided otherwise in accord with the norm of

can. 533, $3, and unless a parochial administrator has been appointed, the prescriptions of can. 541, $1, should be observed during the  absence of the pastor; in this case the parochial vicar is bound by all the obligations of the pastor with the exception of the obligation to apply Mass for the people

Can. 550 $1. The parochial vicar is obliged to reside within the parish, or, if he has been appointed to different  parishes concurrently, he is obliged to live in one of them; however, the local ordinary can permit him to reside elsewhere, especially in a house shared by several priests provided there is a just cause and such an arrangement does not hinder the discharge of his pastoral duties.

$2. The local ordinary is to see to it that some community of life is fostered between the pastor and the parochial vicars within the rectory whenever this can be done.

$3. The parochial vicar possesses the same rights as the pastor in the matter of vacation time.

Can. 551 The prescriptions of can. 531 are to be observed concerning the offerings which the Christian faithful give to the parochial vicar on the occasion of his performing his pastoral ministry.

Can. 552 With due regard for the prescription of can. 682, $2, the parochial vicar can be removed by the diocesan bishop or by the diocesan administrator for a just cause

๕๑๕    วรรค ๑ วัดปกครองคือชุมชนคริสตชนที่แน่นอน ซึ่งตั้งขึ้นอย่างมั่นคงภายในพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น เจ้าอาวาสองค์หนึ่งได้รับมอบให้ทำหน้าที่อภิบาลวัดปกครอง ประหนึ่งเป็นนาย-ชุมพาบาลภายใต้อำนาจของพระสังฆราชสังฆมณฑล

วรรค ๒ พระสังฆราชเพียงผู้เดียวมีอำนาจตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงวัดปกครอง แต่ท่านต้องไม่ตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมิได้รับฟังความคิดเห็นจากสภาสงฆ์ก่อน
วรรค ๓ วัดปกครอง เมื่อได้ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็เป็นนิติบุคคลโดยตัวบทกฎหมายเอง

๕๑๖ วรรค ๑ เว้นไว้แต่ว่า กฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กึ่งวัดวัดปกครอง

ก็เทียบเท่ากับวัดปกครอง กึ่งวัดปกครอง คือ เป็นชุมชนคริสตชนที่แน่นอนภายในพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น ซึ่งมอบหมายให้พระสงฆ์องค์หนึ่งดูแลประหนึ่งเป็นนายชุมพาบาลเฉพาะของตน  เหตุเพราะกรณีแวดล้อมพิเศษจึงยังมิได้ตั้งขึ้นเป็นวัดปกครอง

วรรค ๒ เมื่อชุมชนใดที่ยังไม่สามารถจัดตั้งขึ้นเป็นวัดปกครองหรือกึ่งวัดปกครอง พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องจัดให้มีการอภิบาลพวกเขาในรูปแบบอื่น๕๑๗ วรรค ๑ ที่ใดที่สภาพแวดล้อมเรียกร้อง การอภิบาลของวัดปกครองแห่งหนึ่งหรือหลายแห่งรวมกัน ก็สามารถมอบหมายให้กลุ่มพระสงฆ์ทั้งกลุ่ม (in solidum) อย่างไรก็ตาม โดยมีกฎว่าต้องให้พระสงฆ์องค์หนึ่งในกลุ่มเป็นหัวหน้า (moderator) ในการปฏิบัติงานอภิบาล กล่าวคือ ท่านต้องเป็นผู้นำในการทำงานร่วมกันของพวกเขา และเป็นผู้รับผิดชอบงานนั้นต่อพระสังฆราช

วรรค ๒ หากเพราะความขาดแคลนพระสงฆ์ พระสังฆราชสังฆมณฑล มีความเห็นว่าต้องมอบให้สังฆานุกรหรือบุคคลอื่นที่มิใช่พระสงฆ์หรือกลุ่มบุคคลมีส่วนในงานอภิบาลวัดปกครอง   ท่านก็ต้องตั้งพระสงฆ์องค์หนึ่ง ที่มีอำนาจปกครองและอำนาจปฏิบัติของเจ้าอาวาส เป็นผู้อำนวยการการอภิบาล

๕๑๘ โดยกฎทั่วไปวัดปกครองต้องเป็นวัดที่มีพื้นที่ปกครอง นั่นคือต้องโอบอุ้มคริสตชนทุกคนภายในเขตพื้นที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ที่ใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้ตั้งวัดชนิดบุคคล (personal parish) ด้วยเหตุผล ทางจารีต ภาษาและชนชาติของ คริสตชนที่อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือแม้ด้วยเหตุผลอื่น

๕๑๙ เจ้าอาวาสคือนายชุมพาบาลเฉพาะของวัดปกครองที่ท่านได้รับมอบ ท่านปฏิบัติงานอภิบาลในชุมชนที่ท่านได้รับมอบหมาย ภายใต้อำนาจของพระสังฆราชสังฆมณฑล ซึ่งท่านได้รับเรียกให้มีส่วนร่วมกับพระสังฆราชในศาสนบริการของพระคริสตเจ้า ท่านปฏิบัติหน้าที่เพื่อชุมชนในการสอน ทำให้ศักดิ์สิทธิ์     และปกครองพร้อมกับความร่วมมือของพระ-สงฆ์องค์อื่น หรือของสังฆานุกรและกับความช่วยเหลือของคริสตชนฆราวาส ทั้งนี้ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

๕๒๐ วรรค ๑ นิติบุคคล เป็นเจ้าอาวาสไม่ได้ อย่างไรก็ตามพระสังฆราชสังฆมณฑล แต่ไม่ใช่ผู้รักษาการสังฆมณฑล โดยความยินยอมของอธิการผู้มีอำนาจสามารถมอบวัดปกครองให้แก่สถาบันนักพรตสมณะ หรือคณะสมณะชีวิตแพร่-ธรรม    แม้โดยการตั้งวัดในวัดปกครองของสถาบันหรือของคณะ อย่างไรก็ตาม โดยมีกฎว่า ต้องมีพระสงฆ์องค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดปกครอง หรือหากมอบให้กลุ่มพระสงฆ์อภิบาลร่วมกัน พระสงฆ์องค์หนึ่งต้องเป็นหัวหน้ากลุ่มตามที่มีกล่าวไว้ในมาตรา ๕๑๗ วรรค ๑

วรรค ๒ การมอบหมายวัดปกครองดังที่ระบุไว้ในวรรค ๑ สามารถเป็นแบบถาวรหรือเป็นแบบมีเวลากำหนดที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าในกรณีใดๆการมอบต้องตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างพระสังฆราชสังฆมณฑล และอธิการที่มีอำนาจของสถาบันหรือของคณะ การตกลงในเรื่องอื่นๆ ต้องทำอย่างแจ้งชัด และละเอียดถี่ถ้วน ในเรื่องเกี่ยวกับงานที่ต้องทำ บุคคลที่ต้องดูแลวัดปกครอง การจัดการทรัพย์สิน๕๒๑ วรรค ๑ บุคคลที่จะรับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องเป็นผู้ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์

วรรค ๒ เขายังต้องเป็นผู้เด่นในเรื่องคำสอนที่ถูกต้อง และไม่ด่างพร้อยด้านศีลธรรม และมีใจร้อนรนในการช่วยวิญญาณและมีคุณธรรมอื่นๆ ยิ่งกว่านั้น เขายังต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็นตามกฎหมายสากลและกฎหมายเฉพาะเพื่อดูแลวัดปกครองดังกล่าว

วรรค ๓ เพื่อจะมอบอำนาจหน้าที่เจ้าอาวาสให้แก่ผู้ใด ความเหมาะสมของผู้นั้นต้องแจ้งชัดตามวิธีการที่พระ-สังฆราชสังฆมณฑลกำหนด แม้ด้วยวิธีการสอบ

๕๒๒ เจ้าอาวาสควรมีความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้นต้องแต่งตั้งเขาให้อยู่ในหน้าที่โดยไม่มีเวลากำหนด พระ-สังฆราชสังฆมณฑลสามารถแต่งตั้งโดยมีกำหนดเวลาได้ก็ต่อเมื่อสภาพระสังฆราชมีกฤษฎีกาอนุญาต

๕๒๓ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๖๘๒ การจัดสรรตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นอำนาจของพระสังฆราชสังฆมณฑล และ

ด้วยการแต่งตั้งอย่างเสรีด้วย เว้นไว้แต่ว่า สิทธิการเสนอชื่อหรือการเลือกผู้หนึ่งผู้ใดครอง

๕๒๔ เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง พระ-สังฆราชสังฆมณฑล หลังจากได้ชั่งสถานการณ์ทั้งหมดแล้วจะต้องแต่งตั้งบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เจ้าอาวาส โดยปราศจากความลำเอียงใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อตัดสินเกี่ยวกับความเหมาะสม ให้ฟังความคิดเห็นของหัวหน้าเขตพร้อมกับการสอบถามที่เหมาะสม และหากเห็นสมควรให้ฟังความคิดเห็นของพระสงฆ์บางองค์ และคริสตชนฆราวาสด้วย

๕๒๕ เมื่อตำแหน่งพระสังฆราชว่างลงหรือถูกขัดขวาง เป็นหน้าที่ของผู้รักษาการสังฆมณฑล หรือบุคคลอื่นที่ปกครองสังฆมณฑลชั่วคราวที่จะ

๑. แต่งตั้งหรือรับรองพระสงฆ์ผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อ หรือรับเลือกอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้ดูแลวัดปกครอง

๒. แต่งตั้งเจ้าอาวาสถ้าหากว่าตำแหน่งพระสังฆราชว่างลง หรือถูกขัดขวางนานเป็นเวลา ๑ ปี

๕๒๖วรรค ๑ เจ้าอาวาสองค์หนึ่งต้องรับหน้าที่เจ้าอาวาสวัดปกครองเพียงแห่งเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามเพราะความขาดแคลนพระสงฆ์หรือเพราะเหตุผลอื่น เจ้าอาวาสองค์เดียวกันก็สามารถได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลวัดปกครองหลายแห่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน

วรรค ๒ ในวัดปกครองเดียวกันมีเจ้าอาวาสได้เพียงองค์เดียวหรือหัวหน้าองค์เดียวเท่านั้น ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๕๑๗ วรรค ๑ โดยประณามประเพณีตรงข้าม และเพิกถอนอภิสิทธิ์ตรงข้ามทั้งหมด

๕๒๗ วรรค ๑ บุคคลผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่อภิบาลวัดปกครองได้มาซึ่งหน้าที่อภิบาลและต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นตั้งแต่ขณะที่เขาเข้าครอบครองวัดปกครอง

วรรค ๒ ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น หรือพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมายจากท่านนำเจ้าอาวาสเข้าครอบครองวัดปกครอง โดยรักษาธรรมเนียมปฏิบัติที่กฎหมายเฉพาะหรือประเพณีที่ชอบด้วยกฎหมายยอมรับ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเหตุผลสมควร ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจองค์เดียวกัน สามารถยกเว้นจากพิธีการการ

แต่งตั้งนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ การแจ้งการยกเว้นแก่วัดปกครองเป็นการแทนพิธีการเข้าครอบครอง

วรรค ๓   ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น ต้องกำหนดระยะเวลาที่ต้องเข้าครอบครองวัดปกครอง ถ้าหากเวลากำหนดล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ เว้นไว้แต่ว่า มีข้อขัดขวางที่สมควร ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจก็สามารถประกาศว่าตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง

๕๒๘ วรรค ๑ เจ้าอาวาสมีพันธะต้องเอาใจใส่ให้มีการประกาศพระวาจาของพระเจ้าทั้งครบแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในวัดปกครองนั้น เพราะเหตุนี้ท่านจึงต้องเอาใจใส่ให้คริสตชนฆราวาสได้รับการอบรมในความจริงแห่งความเชื่อ เฉพาะอย่างยิ่ง โดยการแสดงธรรมในวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ  รวมทั้งโดยการให้การอบรมด้านคำสอนด้วยตัวท่านเอง ท่านต้องสนับสนุนกิจการที่ส่งเสริมจิตตารมณ์พระวรสาร รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม ท่านต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเกี่ยวกับการให้การศึกษาคาทอลิกแก่เด็กๆ และเยาวชน ท่านต้องพยายามทุกวิถีทาง พร้อมกับความร่วมมือของคริสตชน ในการนำข่าวดีแห่ง พระวรสารไปสู่ผู้ที่เลิกปฏิบัติศาสนา หรือผู้ที่ไม่แสดงออกซึ่งความเชื่อที่แท้-จริง

วรรค ๒ เจ้าอาวาสต้องเอาใจใส่ให้ศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางของชุมนุมสัตบุรุษวัดปกครอง ท่านต้องพยายามให้คริสตชนได้รับการหล่อเลี้ยง ด้วยการเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างศรัทธา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้พวกเขาได้รับศีลมหาสนิท และศีลอภัยบาปบ่อยๆ เช่นเดียวกันท่านต้องพยายามชักนำพวกเขาให้มีการภาวนาในครอบครัว และมีส่วนร่วมในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างมีจิตสำนึกและอย่างมีบทบาท เจ้าอาวาสต้องควบคุมดูแลให้พิธีกรรมดำเนินไปในวัดปกครองของตน ภายใต้อำนาจของพระสังฆราชสังฆมณฑล และระวังอย่าให้มีการปฏิบัตินอกลู่นอกทางเกิดขึ้น

๕๒๙  วรรค ๑ เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่นายชุมพาบาลด้วยใจร้อนรน เจ้าอาวาสต้องพยายามรู้จักสัตบุรุษในความดูแลของตน ฉะนั้นต้องเยี่ยมครอบครัว โดยมีส่วนในความห่วงใย กังวล    โดยเฉพาะ-

อย่างยิ่งในความทุกข์โศกของสัตบุรุษ และโดยให้กำลังใจพวกเขาในพระเจ้าและหากเขามีข้อบกพร่องในบางสิ่งบางอย่าง ก็ให้ตักเตือนแก้ไขเขาอย่างฉลาดรอบคอบ ให้ช่วยคนเจ็บป่วย เป็นต้นคนใกล้จะตายด้วยความรักเปี่ยมล้น ชุบชีวิตจิตใจพวกเขาอย่างกระตือรือล้นด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์และมอบวิญญาณพวกเขาคืนแด่พระเจ้า ท่านต้องพยายามด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษในการเสาะหาคนจน คนทุกข์ทรมาน คนถูกทอดทิ้งโดดเดี่ยว คนถูกเนรเทศจากบ้านเกิดเมืองนอน รวมทั้งผู้ที่ประสบความทุกข์ยากเป็นพิเศษด้วย ท่านต้องพยายามช่วยสามีภรรยา และบิดามารดา ให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนและฟูมฟักชีวิตคริสตชนให้เจริญงอกงามขึ้นในครอบครัว

วรรค ๒ เจ้าอาวาสต้องรับรู้และสนับสนุนบทบาทเฉพาะที่สมาชิกคริสต-ชนฆราวาสมีในพันธะกิจของพระ-ศาสนจักร โดยส่งเสริมสมาคมเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนาของพวกเขา ท่านต้องร่วมมือกับพระสังฆราชของตนและกับคณะสงฆ์ของสังฆมณฑล ในการทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อให้คริสตชนเอาใจใส่ในความสนิทสัมพันธ์ระดับวัด และให้พวก

เขาตระหนักว่า พวกเขาเป็นสมาชิกทั้งของสังฆมณฑล และพระศาสนจักรสากลและให้มีส่วนร่วม ทั้งสนับสนุนความพยายามในการส่งเสริมความสนิท สัมพันธ์นั้น

๕๓๐ หน้าที่ต่อไปนี้เป็นหน้าที่ที่มอบให้แก่เจ้าอาวาสโดยเฉพาะ:

๑. การโปรดศีลล้างบาป

๒. การโปรดศีลกำลัง แก่ผู้อยู่ในอันตรายจะเสียชีวิตตามกฎเกณฑ์แห่ง   มาตรา ๘๘๓,ข้อ ๓

๓. การส่งศีลเสบียงและการโปรดศีลเจิมคนไข้โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๑๐๐๓ วรรค ๒ และ ๓ และการโปรดพระคุณการุณย์บริบูรณ์ด้วย

๔. การประกอบพิธีแต่งงานและการอวยพรคู่บ่าวสาว

๕. การประกอบพิธีปลงศพ

๖. การเสกน้ำสำหรับศีลล้างบาปช่วงเทศกาลปัสกา การนำขบวนแห่นอกวัด และการอวยพรอย่างสง่านอกวัด

๗. การถวายบูชามิสซาอย่างสง่ายิ่งขึ้นในวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับ

๕๓๑ แม้ว่าอีกบุคคลหนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสบางอย่างแล้ว บุคคลนั้นต้องให้ทานที่ได้รับจากคริสตชนในโอกาสนั้นแก่วัด เว้นไว้แต่เป็นที่แจ้งชัดว่าการกระทำเช่นนั้นขัดต่อความประสงค์ของผู้ถวายในกรณีที่เป็นของถวายที่ให้ด้วยความสมัครใจ หลังจากที่ได้ฟังความคิดเห็นจากสภาสงฆ์แล้ว พระสังฆราชสังฆมณฑลมีอำนาจออกกฎเกณฑ์จัดสรรแบ่งของถวายเหล่านี้ และค่าตอบแทนสมณะผู้ทำหน้าที่เดียวกันนี้

๕๓๒ เจ้าอาวาสเป็นตัวแทนวัดในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับนิตินัยตามข้อกำหนดของกฎหมาย ท่านต้องเอาใจใส่ดูแลให้การบริหารทรัพย์สินของวัดเป็นไปตามข้อกำหนดแห่งมาตรา ๑๒๘๑–๑๒๘๘

๕๓๓ วรรค ๑ เจ้าอาวาสมีข้อบังคับต้องอาศัยอยู่ในบ้านพักของวัดปกครองที่อยู่ใกล้กับตัววัด อย่างไรก็ตามในกรณีเฉพาะ ถ้ามีเหตุผลสมควร ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นสามารถอนุญาตให้ท่านพักอาศัย

ที่อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านที่มีพระสงฆ์อยู่รวมกันหลายองค์ ขอแต่ให้มีการจัดการให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าอาวาสเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ว่ามีเหตุผลอันหนักเป็นอุปสรรคแต่ละปี อนุญาตให้เจ้าอาวาสไม่อยู่วัดเพื่อไปพักผ่อนอย่างมากที่สุดเป็นเวลา ๑ เดือน ติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกัน เวลาสำหรับการพักผ่อนนี้ ไม่นับวันเข้าเงียบประจำปี หากเจ้าอาวาสจะไม่อยู่ประจำวัดเกิน ๑ สัปดาห์ ท่านต้องแจ้งเรื่องนี้ให้ผู้ใหญ่ ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นทราบ

วรรค ๓ เป็นหน้าที่ของพระสังฆราชสังฆมณฑลต้องออกกฎเกณฑ์ ซึ่งจัดให้มีการดูแลวัดปกครองแทน โดยพระสงฆ์ที่มีอำนาจปฏิบัติการที่จำเป็นขณะที่เจ้าอาวาสไม่อยู่

๕๓๔  วรรค ๑ หลังจากที่เจ้าอาวาสเข้าครอบครองวัดปกครองแล้ว ท่านต้องถวายบูชามิสซาให้ประชาชนที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดูแลทุกวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับในสังฆมณฑล หากท่านถูกขัดขวางโดยชอบธรรมมิให้ถวายบูชามิสซาดังกล่าว ท่านต้องให้พระสงฆ์อื่น ถวายแทนในวันกำหนดเหล่านี้ หรือท่านเองต้องถวายในวันอื่นแทน

วรรค ๒ เจ้าอาวาสผู้ซึ่งดูแลวัดปกครองหลายแห่งมีข้อบังคับให้ถวายบูชามิสซาเพียงมิสซาเดียวให้ประชาชนทั้งหมดที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดูแลตามวันกำหนดที่ระบุไว้ในวรรค ๑

วรรค ๓ เจ้าอาวาสผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ระบุไว้ในวรรค ๑ และ ๒     ต้องถวายบูชามิสซาที่ขาดไปทั้งหมดให้ประชาชนเร็วเท่าที่กระทำได้

๕๓๕ วรรค ๑ ในวัดปกครองแต่ละแห่งต้องมีสมุดบันทึกของวัดชุดหนึ่งกล่าวคือทะเบียนศีลล้างบาป ทะเบียนการสมรส ทะเบียนผู้ตายและสมุดบันทึกอื่นๆ ตามที่สภาพระสังฆราชหรือพระสังฆราชสังฆ-มณฑลกำหนดไว้ เจ้าอาวาสต้องดูแลให้สมุดบันทึกเหล่านี้จดบันทึกอย่างละเอียดและเก็บรักษาไว้อย่างดี

วรรค ๒ ในสมุดทะเบียนศีลล้าง-บาป ต้องบันทึกการรับศีลกำลังของคนนั้นไว้ด้วย และต้องบันทึกสิ่งที่มีผลต่อสถานภาพทางกฎหมายพระศาสนจักรของคริสตชนโดยคำนึงถึงข้อกำหนดของมาตรา ๑๑๓๓ การเป็นบุตรบุญธรรม การรับศีลบรรพชา การปฏิญาณตลอดชีพในสถาบันนักพรต และการเปลี่ยนจารีต หมายเหตุเหล่านี้ต้องบันทึกไว้ในเอกสารที่รับรองการรับศีลล้างบาปเสมอ

วรรค ๓ ในวัดปกครองแต่ละแห่งต้องมีตราเป็นของตนเอง เอกสารซึ่งออกรับรองสถานภาพทางกฎหมายพระศาสนจักรของคริสตชนตลอดจนเอกสารทุกอย่างที่มีความสำคัญทางกฎหมาย ต้องมีลายเซ็นของเจ้าอาวาสหรือผู้แทนของท่านและประทับตราวัดไว้เป็นสำคัญ

วรรค ๔ ในวัดปกครองแต่ละแห่งต้องมีที่เก็บเอกสารสำหรับเก็บรักษาสมุดบันทึกต่างๆ ของวัดรวมกับจดหมายพระสังฆราช และเอกสารอื่นๆ ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้เพราะความจำเป็นหรือเพราะมีประโยชน์ ทุกสิ่งเหล่านี้พระสังฆราชสังฆมณฑลหรือผู้แทนต้องตรวจตรา ระหว่างการเยี่ยมเยียน หรือเวลาอื่นที่เหมาะสม เจ้าอาวาสต้องเอาใจใส่มิให้สิ่งที่กล่าวตกอยู่ในมือของบุคคลภายนอก

วรรค ๕ สมุดบันทึกเก่าของวัดปกครองต้องเก็บรักษาไว้อย่างดีตามข้อกำหนดของกฎหมายเฉพาะด้วย

๕๓๖ วรรค ๑ หลังจากที่พระสังฆราชสังฆมณฑลฟังความเห็นของสภาสงฆ์แล้ว และหากเห็นว่าเหมาะสมก็ให้จัดตั้งสภาอภิบาลขึ้นในทุกวัดปกครอง อาศัยสภานี้ ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นประธาน คริสต-ชนร่วมกับผู้มีส่วนในงานอภิบาลของวัดตามตำแหน่งหน้าที่ ให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมกิจกรรมด้านอภิบาล

วรรค ๒ สภาอภิบาลมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงให้คำปรึกษาเท่านั้นและต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่พระสังฆราชสังฆมณฑลกำหนดไว้

๕๓๗ วัดปกครองแต่ละแห่งต้องมีคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (finance council) ซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายสากล และตามกฎเกณฑ์ที่พระสังฆราชสังฆ-มณฑลออกด้วย ในคณะกรรมการนี้    คริสตชนได้รับเลือกตามกฎเกณฑ์เดียวกัน ช่วยเจ้าอาวาสในการบริหารทรัพย์สินของวัดโดยคำนึงถึงข้อกำหนดของมาตรา ๕๓๒

๕๓๘ วรรค ๑ เจ้าอาวาสสิ้นสุดหน้าที่โดยการถอดถอนหรือการโยกย้ายโดยพระสังฆราชสังฆมณฑล ซึ่งมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย  โดยการลาออกของเจ้าอาวาสซึ่งได้ลาออกด้วยเหตุผลอันชอบและเพื่อให้มีผลต้องได้รับการยอมรับจากพระสังฆราชสังฆมณฑลองค์เดียวกัน และที่สุดโดยการหมดวาระ ถ้าหากเจ้าอาวาสได้รับการแต่งตั้งโดยมีกำหนดเวลาแน่นอนตามข้อกำหนดของกฎหมายเฉพาะที่ระบุในมาตรา ๕๒๒

วรรค ๒ เจ้าอาวาสที่เป็นสมาชิกของสถาบันนักพรตหรือคณะชีวิตแพร่ธรรม ถูกถอดถอนตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๖๘๒

วรรค ๓ เมื่อเจ้าอาวาสมีอายุครบ ๗๕ ปี ขอให้ท่านยื่นใบลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ต่อพระสังฆราชสังฆมณฑล เมื่อพระสังฆราชสังฆมณฑลได้พิจารณาถึงกรณีแวดล้อมทั้งหมดเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แล้ว ต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือเลื่อนเวลาการลาออก พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องจัดการให้เจ้าอาวาสที่ลาออกได้รับการเลี้ยงดูและมีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ตามกฎเกณฑ์ที่สภาพระสังฆราชกำหนดไว้

๕๓๙ เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงหรือเมื่อเจ้าอาวาสถูกขัดขวางมิให้ปฏิบัติหน้าที่อภิบาลของท่านในเขตวัดปกครอง เพราะถูกจำจอง ถูกเนรเทศ ถูกขับไล่ (banishment) ไร้ความสามารถ สุขภาพไม่ดี หรือด้วยเหตุผลอย่างอื่น พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องแต่งตั้งผู้รักษาการวัดปกครองเร็วเท่าที่สามารถ กล่าวคือ พระ-สงฆ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสตามข้อกำหนดของมาตรา ๕๔๐๕๔๐

วรรค ๑ ผู้รักษาการวัดปกครองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติและมีสิทธิเช่นเดียวกับเจ้าอาวาส เว้นไว้แต่ว่าพระสังฆราชสังฆ-มณฑลได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

วรรค ๒ ห้ามผู้รักษาการวัดปกครองกระทำการใดใดอันก่อให้เกิดผลร้ายแก่สิทธิของเจ้าอาวาสหรือเสียหายแก่กับทรัพย์สินของวัดปกครอง

วรรค ๓ หลังจากที่ผู้บริหารวัดสิ้นสุดหน้าที่แล้ว ท่านต้องรายงานให้เจ้าอาวาสทราบ

๕๔๑ วรรค ๑ เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง หรือเมื่อเจ้าอาวาสถูกขัดขวางมิให้ปฏิบัติหน้าที่อภิบาล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสต้อง

ทำหน้าที่ปกครองวัดจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้รักษาการวัดปกครอง หากมีผู้ช่วยเจ้าอาวาสหลายองค์ ก็ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งก่อนขึ้นปกครอง หากไม่มีผู้ช่วยเจ้าอาวาสเลยก็ให้เจ้าอาวาสที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะทำหน้าที่ปกครอง

วรรค ๒ บุคคลผู้ซึ่งทำหน้าที่ปกครองวัดปกครองตามกฎเกณฑ์ของวรรค ๑ ต้องรายงานให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นทราบทันทีว่าตำแหน่ง   เจ้าอาวาสว่างลง

๕๔๒ พระสงฆ์ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานอภิบาลเป็นทีมในวัดปกครองวัดหนึ่งหรือหลายวัดตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๕๑๗ วรรค ๑ ดังนี้

๑. ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๒๑

๒. ต้องได้รับการตั้งหรือแต่งตั้งตามข้อกำหนดของมาตรา ๕๒๒ และ ๕๒๔

๓. ได้รับหน้าที่อภิบาลเพียง เมื่อได้เข้าครอบครองตำแหน่งแล้วเท่านั้น

หัวหน้าทีมต้องรับเข้าครอบครองวัดปกครองตามข้อกำหนดของมาตรา ๕๒๗ วรรค ๒ สำหรับพระสงฆ์องค์อื่น (ในทีม)   การยืนยันความเชื่อที่กระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายใช้แทนการเข้าครอบครองตำแหน่ง

๕๔๓ วรรค ๑ พระสงฆ์แต่ละองค์ที่ได้รับหน้าที่ปฏิบัติงานอภิบาลเป็นทีมในวัดปกครองวัดใดวัดหนึ่ง หรือกลุ่มวัดปกครองต่างกันหลายแห่งต้องปฏิบัติหน้าที่และงานของเจ้าอาวาส ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๕๒๘, ๕๒๙ และ ๕๓๐ ตามแผนที่พวกเขากำหนดไว้เอง พระสงฆ์เหล่านี้ทุกองค์มีอำนาจประกอบพิธีแต่งงาน และมีอำนาจยกเว้นทุกอย่างที่ให้แก่เจ้าอาวาสโดยกฎหมายเอง อย่างไรก็ตาม ต้องปฏิบัติงานภายใต้การนำของหัวหน้าทีม

วรรค ๒ พระสงฆ์ทุกองค์ในทีม

๑. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของการอยู่อาศัย

๒. ต้องจัดโดยตกลงร่วมกันให้มีพระสงฆ์องค์หนึ่งในทีมถวายมิสซาให้สัตบุรุษตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๕๓๔

๓**ในเรื่องเกี่ยวกับนิตินัย หัวหน้าคณะเท่านั้นทำหน้าที่แทนวัดปกครองหรือวัดปกครองต่างๆ ที่มอบให้ทีมทำงานดูแล

๕๔๔ เมื่อพระสงฆ์องค์หนึ่งในทีมที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๑๗ วรรค ๑ หรือหัวหน้าทีมหยุดปฏิบัติหน้าที่ หรือเมื่อองค์หนึ่งในทีมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อภิบาลวัดปกครอง หรือบรรดาวัดปกครองที่มอบไว้ให้ทีมดูแลยังไม่ขาดผู้ดูแล อย่างไรก็ตาม    พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องตั้งหัวหน้าทีมองค์ใหม่ พระสงฆ์ที่ได้รับแต่งตั้งก่อนในทีมให้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าทีมจนกว่าพระสังฆราชสังฆ-มณฑลแต่งตั้งหัวหน้าทีมองค์ใหม่

๕๔๕ วรรค ๑ เมื่อไรก็ตามที่เห็นว่าจำเป็นหรือเหมาะสม เพื่อให้งานอภิบาลของวัดปกครองดำเนินไปด้วยดี เจ้าอาวาสสามารถมีผู้ร่วมงานเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสองค์หนึ่งหรือหลายองค์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสคือ พระสงฆ์ผู้ให้บริการในงานอภิบาลภายใต้อำนาจของเจ้าอาวาสในฐานะผู้ร่วมงานและร่วมมีส่วนในความห่วงใยกับเจ้าอาวาสโดยการปรึกษาหารือและความพยายามร่วมกัน

วรรค ๒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสสามารถรับการแต่งตั้งไม่ว่าให้รับหน้าที่ให้ปฏิบัติงานอภิบาลทั่วไป สำหรับทั้งวัดหรือบางส่วนของวัด หรือสำหรับคริสตชนบางกลุ่มหรือว่ารับหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่อภิบาลบางอย่างในวัดต่างๆ พร้อมกันไปด้วย

๕๔๖ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใด ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสอย่างมีผลตามกฎหมาย ผู้นั้นต้องมีศีลบวชเป็นพระสงฆ์

๕๔๗  พระสังฆราชสังฆมณฑลสามารถแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสอย่างอิสระ หรือถ้าเห็นสมควร ท่านจะปรึกษาพระสงฆ์เจ้าอาวาสองค์หนึ่งหรือหลายองค์ที่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสจะไปประจำ รวมทั้งปรึกษาพระสงฆ์หัวหน้าเขตก่อนด้วยก็ได้ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดแห่งมาตรา ๖๘๒ วรรค ๑

๕๔๘ วรรค ๑ หน้าที่และสิทธิของผู้ช่วยเจ้าอาวาสนอกจากที่กำหนดไว้ในมาตราต่างๆ ของหมวดนี้ ยังกำหนดไว้ในกฎระเบียบสังฆมณฑล ทั้งในจดหมายของพระสังฆราชสังฆมณฑล     และในคำสั่งของเจ้าอาวาสที่กำหนดโดยเจาะจง    มากกว่า

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ว่าจดหมายของพระสังฆราชสังฆมณฑลกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นอย่างแจ้งชัด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสโดยหน้าที่ต้องช่วยเหลือเจ้าอาวาสในการทำหน้าที่อภิบาลของวัดทั้งหมด ยกเว้นหน้าที่ในการถวายมิสซาเพื่อประชาชน และหากสถานการณ์เรียกร้องต้องทำหน้าที่แทนเจ้าอาวาสตามกฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย

วรรค ๓ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสต้องปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอกับเจ้าอาวาสเกี่ยวกับงานอภิบาลที่ได้วางแผนไว้ และที่ได้เริ่มทำแล้ว เพื่อว่าเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือบรรดาผู้ช่วยเจ้าอาวาสสามารถร่วมแรงกันทำงานอภิบาลของวัด ซึ่งพวกเขารับผิดชอบร่วมกัน

๕๔๙  เมื่อเจ้าอาวาสไม่อยู่ เว้นไว้แต่ว่า พระสังฆราชสังฆมณฑลกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๕๓๓ วรรค ๓ และเว้นไว้แต่ว่า มีการแต่งตั้งผู้รักษาการวัดปกครองแล้ว ให้ยึดถือ ข้อกำหนดของมาตรา ๕๔๑ วรรค ๑ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสต้องปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสทั้งหมด เว้นแต่หน้าที่ถวายบูชามิสซา เพื่อประชาชน

๕๕๐ วรรค ๑ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสมีข้อบังคับต้องพำนักอยู่ภายในเขตวัดปกครอง หรือถ้าเขาได้รับแต่งตั้งให้ดูแลวัดหลายวัด

พร้อมกัน ก็ต้องพำนักในเขตวัดใดวัดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเหตุผลสมควร ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่นสามารถอนุญาตให้พำนักอยู่ที่อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบ้านที่มีพระสงฆ์หลายองค์อยู่ร่วมกัน ขอเพียงว่าการจัดการเช่นนี้ไม่เกิดผลเสียหายต่อการปฏิบัติหน้าที่อภิบาล แต่อย่างใด

วรรค ๒ ให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น เอาใจใส่ส่งเสริมให้มีการใช้ชีวิตรวมอย่างใดอย่างหนึ่งในบ้านพักพระสงฆ์ ระหว่างเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสในที่ซึ่งเป็นไปได้

วรรค ๓ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสมีสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสในเรื่องเกี่ยวกับเวลาของการพักผ่อน

๕๕๑ ต้องถือตามข้อกำหนดของมาตรา ๕๓๑เกี่ยวกับของถวายซึ่งคริสตชนถวายให้ผู้ช่วยฯ ในโอกาสการปฏิบัติศาสน-บริการอภิบาล

๕๕๒ เมื่อมีเหตุผลสมควรพระสังฆราชสังฆมณฑลหรือผู้รักษาการสังฆมณฑลสามารถถอดถอนผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๖๘๒ วรรค ๒