หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๓ สภาสงฆ์ และคณะที่ปรึกษา

Can. 495 $1. A presbyteral council is to be established in each diocese, that is, a body of priests who are to be like a senate of the bishop, representing the presbyterate; this council is to aid the

bishop in the governance of the diocese according to the norm of law, in order that the pastoral welfare of the portion of the people of God entrusted to him may be promoted as effectively as possible.

$2. In apostolic vicariates and prefectures the vicar or the prefect is to establish a council of at least three missionary presbyters whose opinion is to be heard in more serious matters, even by letter.

Can. 496 The presbyteral council is to have its own statutes approved by the diocesan bishop, in light of the norms issued by the conference of bishops.

Can. 497 With regard to the designation of the members of the presbyteral council:

1. about half the members are to be freely elected by the priests themselves according to the norm of the following canons as well as the council’s statutes;

2. some priests, according to the council’s statutes, ought to be exofficio    members, that  is, members of the council in virtue of their office;

3. the diocesan bishop is free to name some others.

Can. 498 $1. The following have the right  to both active and passive vote in constituting the presbyteral council:

1. all secular priests incardinated in the diocese;

2. secular priests not incardinated in the diocese, and priests who are members of an institute of consecrated

life or a society of apostolic life, who live in the diocese and exercise some office for the good of the diocese.

$2. To the extent the statutes provide for it, the same right of election can be extended to other priests who have a domicile or quasi-domicile in the diocese.

Can. 499 The manner of electing members of the presbyteral council is to be determined in the statutes in such a way that, insofar as it is possible, the priests of the presbyterate are represented, taking into account especially the diversity of ministries and various regions of the diocese.

Can. 500 $1. It pertains to the diocesan bishop to convoke the presbyteral council, to preside over it, and to determine the questions to be treated by it or to receive proposals from its members.

$2. The presbyteral council enjoys only a consultative vote; the bishop is to listen to it in matters  of greater moment, but he needs its consent only in cases expressly defined by law.

$3. The presbyteral council is never able to act without the diocesan bishop who alone can divulge what was determined in keeping with $2.

Can. 501 $1.Members of the presbyteral council are to be designated for a term determined in the statutes in such a way that the full council or some part of it is renewed within a five year period.

$2. When the see is vacant the presbyteral council ceases and its functions are fulfilled by the college of consultors; within a year of taking possession of the diocese the bishop must establish the presbyteral council anew.

$3. If the presbyteral council is no longer fulfilling the function committed to it for the good of the diocese or is gravely abusing it, the diocesan bishop can dissolve it after consulting with the metropolitan or, if it is a question of the metropolitan see itself, with the suffragan senior by promotion, but the bishop must establish it anew within a year.

Can. 502 $1. Some priests are to be freely selected by the diocesan bishop from among the members of the presbyteral council to constitute a college of consultors; their number is to be not less than six nor more than twelve; the college is established for a five year term, and is responsible for the functions determined in the law; when the five year term is over, the college continues to exercise its proper functions until a new college is established

$2. The diocesan bishop presides over the college of consultors; if the see is impeded or vacant, the one who takes the place of the bishop in the interim presides,

or, if such a person has not yet been established, the priest who is oldest in ordination in the college of consultors.

$3. The conference of bishops can determine that the functions of the college of consultors be committed to the cathedral chapter.$4. In apostolic vicariates and prefectures the functions of the college of consultors belong to the mission council mentioned in can. 495, $2, unless the law determines otherwise

๔๙๕ วรรค ๑ ในแต่ละสังฆมณฑลต้องจัดตั้งสภาสงฆ์ ซึ่งได้แก่กลุ่มสงฆ์ที่เป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ ทำหน้าที่เป็นเสมือนวุฒิสภาของพระสังฆราช สภานี้ช่วยพระสังฆราชในการปกครองสังฆ-มณฑล ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย เพื่อประโยชน์ด้านอภิบาลต่อประชากรของพระเป็นเจ้า ที่มอบหมายให้อยู่ในความดูแลของพระสังฆราชจะได้รับการส่ง-เสริมอย่างมีประสิทธิผลเท่าที่สามารถ

วรรค ๒       ในเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักและในเขตสังฆรักษ์ต้องจัดตั้งสภา ซึ่งประกอบด้วยพระสงฆ์แพร่ธรรมอย่างน้อย ๓ องค์ ความเห็นของท่านเหล่านี้ต้องได้รับฟังในเรื่องที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก แม้โดยทางจดหมาย

๔๙๖ สภาสงฆ์ต้องมีธรรมนูญเป็นของตนเองที่ได้รับการรับรองจากพระ-สังฆราชสังฆมณฑล ตามแนวทางของกฎเกณฑ์ที่ออกโดยสภาพระสังฆราช๔๙๗ เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาสงฆ์

๑. สมาชิกกึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้งอย่างอิสระของบรรดาพระสงฆ์ ตามกฎเกณฑ์ของมาตราต่อไปนี้รวมทั้งตามธรรมนูญของสภาด้วย

๒. ตามธรรมนูญของสภา      พระสงฆ์บางองค์ต้องเป็นสมาชิกโดยตำแหน่งกล่าวคือ เป็นสมาชิกของสภาเพราะตำแหน่งหน้าที่

๓ พระสังฆราชสังฆมณฑลมีอิสระในการแต่งตั้งผู้อื่นอีก

๔๙๘ วรรค ๑ บุคคลต่อไปนี้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งและรับเลือกตั้งในการตั้งสภาสงฆ์

๑. พระสงฆ์ที่ไม่ใช่นักพรตซึ่งสังกัดในสังฆมณฑลทุกองค์

๒. บรรดาพระสงฆ์ที่ไม่ใช่นัก-พรต ซึ่งไม่สังกัดอยู่ในสังฆมณฑลและพระสงฆ์ที่เป็นสมาชิกของสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว หรือคณะชีวิตแพร่ธรรม ซึ่งพำนักอยู่ในสังฆมณฑลและปฏิบัติหน้าที่บางอย่าง เพื่อประโยชน์ของสังฆมณฑล

วรรค ๒ ภายในขอบเขตของธรรมนูญ พระสงฆ์อื่นๆ ที่มีภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาในสังฆมณฑลก็สามารถได้รับสิทธิ์ในการเลือกสมาชิกสภาเช่นกัน

๔๙๙ การเลือกตั้งสมาชิกสภาสงฆ์ ต้องกำหนดไว้ในธรรมนูญ ในลักษณะที่ว่า เท่าที่เป็นไปได้ให้มีพระสงฆ์ที่เป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของหน้าที่และเขตต่างๆ ของสังฆมณฑล

๕๐๐ วรรค ๑ เป็นหน้าที่ของพระสังฆราชสังฆมณฑลที่จะเรียกประชุมสภาสงฆ์ เป็นประธานการประชุม และกำหนดหัวข้อการประชุม หรือรับข้อเสนอต่างๆ จากสมาชิกสภา

วรรค ๒ สภาสงฆ์มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงให้คำปรึกษาเท่านั้น พระ-สังฆราชต้องรับฟังในเรื่องที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก      แต่ท่านต้องได้รับ

ความเห็นชอบจากสภาในกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งเท่านั้นวรรค ๓ สภาสงฆ์ไม่สามารถกระทำการใดๆ โดยปราศจากพระ-สังฆราชสังฆมณฑล พระสังฆราชผู้เดียวเท่านั้นสามารถประกาศสิ่งต่างๆ ที่ได้ตัดสินตามกฎเกณฑ์ในวรรค ๒

๕๐๑ วรรค ๑ สมาชิกสภาสงฆ์ต้องได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในวาระตามเวลาที่กำหนดไว้ในธรรมนูญในลักษณะที่ว่า ให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งสภาหรือบางส่วนของสภา ภายในระยะเวลา ๕ ปี

วรรค ๒ เมื่อตำแหน่งพระ-สังฆราชว่างลง สภาสงฆ์ก็สิ้นสุดลงด้วย ส่วนหน้าที่ของสภาสงฆ์ คณะที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินงานแทน เมื่อพระสังฆราชขึ้นครองตำแหน่งในสังฆมณฑลแล้ว ต้องตั้งสภาสงฆ์ขึ้นใหม่ภายใน ๑ ปี

วรรค ๓ ถ้าสภาสงฆ์มิได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อประโยชน์ของสังฆมณฑล หรือใช้อำนาจในทางเสียหายอย่างร้ายแรง พระสังฆราชสังฆ-มณฑลสามารถยุบสภาสงฆ์ได้ หลังจากที่ได้ปรึกษากับพระอัครสังฆราชสังฆ-มณฑลนคร หรือหากเป็นเรื่องของสังฆ มณฑลนครเอง ก็ให้ปรึกษากับพระ-สังฆราชสังฆมณฑลรองที่มีอาวุโสกว่าโดยการแต่งตั้ง แต่พระสังฆราชต้องตั้งสภาสงฆ์ขึ้นใหม่ ภายใน 1 ปี

๕๐๒ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑล ต้องเลือกพระสงฆ์บางองค์อย่างอิสระจากสมาชิกสภาสงฆ์ เพื่อตั้งเป็นคณะที่ปรึกษา จำนวนสมาชิกของที่ปรึกษาต้องไม่น้อยกว่า 6 คนและต้องไม่เกิน 12 คน คณะที่ปรึกษาตั้งขึ้นเพื่อให้อยู่ในวาระ ๕ ปี และรับผิดชอบทำหน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เมื่อครบวาระ ๕ ปี คณะที่ปรึกษาปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกระทั่งมีการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาใหม่

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆณฑลเป็นประธานของคณะที่ปรึกษา หากตำแหน่งหน้าที่พระสังฆราชมีอุปสรรคขัดขวางหรือว่างลง ให้ผู้รักษาการณ์แทนพระสังฆราชเป็นประธาน ในระหว่างนั้น หรือถ้ายังไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน ก็ให้พระสงฆ์ในคณะที่ปรึกษาที่มีอายุบวชสูงสุดเป็นประธาน

วรรค ๓ สภาพระสังฆราชสามารถกำหนดให้มอบหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาแก่คณะสงฆ์ประจำอาสนวิหาร (cathedral chapter)

วรรค ๔ ในเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนัก (apostolic vicariates) และเขตสังฆรักษ์ (apostolic prefectures) ให้หน้าที่ของคณะที่ปรึกษาเป็นหน้าที่ของคณะที่ปรึกษามิสซัง (mission council) ตามที่กล่าวไว้ในมาตรา ๔๙๕ วรรค ๒ เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น