หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ 5 สมาคมคริสตชน

หมวด 1 กฎเกณฑ์ทั่วไป

Can.298 $1. In the Church there are associations distinct from institutes of consecrated life and societies of apostolic life, in which the Christian

faithful, either clergy or laity, or clergy and laity together, strive by common effort to promote a more perfect life or to foster public worship or Christian doctrine or to exercise other apostolic works, namely to engage in efforts of evangelization,to exercise works of piety or charity and to animate the temporal order with the Christian spirit.

$2. The Christian faithful should enroll especially in associations which are erected or praised or recommended by competent ecclesiastical authority.

Can.299 $1. The Christian faithful are free, by means of a private agreement made among themselves, to establish associations to attain the aims mentioned in can. 298, $1, with due regard for the prescriptions of can.301, $1.

2. Such associations are called private associations even though they are praised or recommended by ecclesiastical authority.

$3. No private association of the Christian faithful in the Church is recognized unless its statutes are reviewed by competent authority

Can.300 No association shall assume the name “Catholic” without the consent of competent ecclesiastical authority, in accord with the norm of can.312

Can.301 $1. Competent ecclesiastical authority alone has the right to erect associations of the Christian faithful which set out to teach Christian doctrine in the name of the Church or to promote public worship or which aim at other ends whose pursuit by their nature is reserved to the same ecclesiastical authority.

$2. Competent ecclesiastical authority, if it judges it expedient, can also erect associations of the Christian    faithful in order to attain directly or indirectly  other spiritual  ends whose accomplishment has not been sufficiently provided for by the efforts of private persons.

$3. Associations of the Christian faithful which are erected by competent ecclesiastical authority are called public associations.

Can.302 Associations of the Christian faithful are called clerical associations when they are under the direction of the clergy, when they presume the exercise of sacred orders, and when they are recognized as such by competent authority.

Can.303 Associations whose members lead an apostolic life and strive for Christian perfection while living in the world and who share the spirit of some religious institute under the higher direction of that same institute are called third orders or some other appropriate name.

Can.304 $1. All associations of the Christian faithful, whether public or private, by whatever title or name they  are called, are to have their own statutes which define the end of the association or its social  objective,  its headquarters, its government, the conditions of membership and by whom its policies are to be determined, according to the need or utility of time and place.

$2. They are to choose a title or name for themselves which is adapted to the usage of their time and place, selected especially in view of their intended purpose.

Can.305 $1. All associations of the Christian faithful are subject to the vigilance of competent ecclesiastical authority, whose duty it is to take care that intergrity of faith and morals is preserved in them and to watch lest abuse creep into ecclesiastical discipline; therefore that authority has the right and duty to visit them in accord with the norm of law and the statutes; such associations are also subject to the governance of the same authority according to the prescriptions of the following canons.

$2. Associations of any kind whatever are subject to the vigilance of the Holy See; diocesan associations and also other associations to the extent that they work in the diocese are subject to the vigilance of the local ordinary.

Can.306 In order for a person to enjoy the rights and privileges, indulgences and other spiritual favors granted to the association, it is necessary and suffices that the person has been validly received into it and not legitimately dismissed from it, in accord with the prescriptions of the law and the proper statutes of the association.

Can.307 $1. The reception of members is to be done in accord with the norm of law and the statutes of each association.

$2. The same person can be enrolled in several associations.

$3. Members of religious institutes can enroll in associations in accord with their own law with the consent of their superior.

Can.308 No one who has been legitimately enrolled may be dismissed from an association except for a just cause in accord with the norm of law and the statutes.

Can.309 Legitimately constituted associations have the right, in accord with the law and the statutes, to issue particular norms respecting the association itself, to hold meetings, to designate moderators, officials, other officers and administrators of goods.

Can.310 A private association which has not been constituted a juridic person cannot as such be a subject of obligations and rights; however, the Christian faithful associated together in it can jointly contract obligations and  acquire rights and possess goods as co-owners and co-possessors; they can exercise their rights and obligations through an agent or proxy.

Can.311 Members of institutes of consecrated life who preside over or assist associations in some way united to their institute are to see to it that these associations give assistance to the works of the apostolate in a diocese, especially cooperating, under the direction of the local ordinary, with associations which are ordered to the exercise of the apostolate in the diocese.

๒๙๘ วรรค ๑ ในพระศาสนจักรมีสมาคมที่แตกต่างจากสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วและคณะชีวิตแพร่ธรรม ซึ่งในสมาคมเหล่านี้ คริสตชนไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือร่วมกันที่จะฟูมฟักชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือส่งเสริมคารวกิจสาธารณะและคำสอนคริสชน หรือเพื่อปฏิบัติงานแพร่ธรรมอื่นๆ เช่น การประ-กาศพระวรสารที่ได้เริ่มแล้ว การดำเนินกิจกรรมด้านความศรัทธาหรือกิจเมตตา และเพื่อปลุกสังคมโลกให้มีจิตตารมณ์ คริสตชน

วรรค ๒ คริสตชนควรสมัครเป็นสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมาคมที่ได้รับการตั้งขึ้น หรือได้รับการยกย่อง หรือได้รับการแนะนำ โดยผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจพระศาสนจักร

๒๙๙ วรรค ๑ คริสตชนมีสิทธิเต็มที่ในการจัดตั้งสมาคมโดยการตกลงระหว่างกันเอง เพื่อจุดประสงค์ดังที่มีกล่าวไว้ในมาตรา ๒๙๘ วรรค ๑ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๓๐๑ วรรค ๑

วรรค ๒ สมาคมประเภทนี้ แม้ว่าได้รับการยกย่อง หรือได้รับการแนะนำจากผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักร ก็ยังเรียกว่าเป็นสมาคมส่วนบุคคล

วรรค ๓ ไม่มีสมาคมส่วนบุคคลใดของคริสตชนได้รับการรับรู้ในพระ-

ศาสนจักร เว้นไว้แต่ว่ากฎระเบียบของสมาคมนั้นได้รับการรับรองจากผู้ใหญ่มีอำนาจ

๓๐๐ ห้ามสมาคมใดๆใช้ชื่อ “คาทอลิก” โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักรตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๓๑๒

๓๐๑ วรรค ๑ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักรแต่ผู้เดียว ที่จะจัดตั้งสมาคมคริสตชน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสอนคำสอนคริสตศาสนา ในนามของพระศาสนจักร หรือส่งเสริมคารวกิจสาธารณะ หรือมีจุดมุ่งหมายอื่น ซึ่งการดำเนินงานไปสู่จุดหมายนั้น โดยธรรมชาติสงวนไว้สำหรับผู้ใหญ่ฝ่าย  พระศาสนจักรผู้เดียวกัน

วรรค ๒ หากผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักรเห็นสมควร ก็สามารถจัดตั้งสมาคมคริสตชน เพื่อบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ทางจิตใจทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งการริเริ่มส่วนบุคคลยังจัดการไว้ไม่เพียงพอเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น

วรรค ๓ สมาคมคริสตชนที่ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักรจัดตั้งขึ้นเรียกว่า “สมาคมสาธารณะ”

๓๐๒ ให้เรียกสมาคมคริสตชนว่าสมาคมสมณะ เมื่อสมาคมนั้นมีสมณะเป็นผู้ดำเนินการ มีการใช้อำนาจศีลบรรพชาในการบริหาร    และเมื่อผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจให้การรับรองว่าเป็นสมาคมสมณะ

๓๐๓  สมาคมที่มีสมาชิกดำเนินชีวิตธรรมทูต  และมุ่งสู่ความครบครันแบบคริสตชนขณะที่ดำเนินชีวิตในโลก และเจริญชีวิตตามจิตตารมณ์ของนักพรต  ภายใต้การปกครองดูแลที่เหนือกว่าของสถาบันเดียวกันเรียกว่าสมาคมชั้นสามหรือชื่ออื่นที่เหมาะสม

๓๐๔ วรรค ๑ สมาคมคริสตชนทุกสมาคม ไม่ว่าจะเป็นสมาคมสาธารณะหรือสมาคมส่วนบุคคล  ไม่ว่าจะใช้ชื่ออื่นใดก็ตาม      จะต้องมีกฎระเบียบที่กำหนดเป้าหมายของสมาคม   หรือวัตถุประสงค์ทางสังคม ที่ตั้งสำนักงานการปกครองดูแล และเงื่อนไขของสมาชิกภาพ พร้อมกับกำหนดนโยบายไว้ด้วย โดยพิจารณาจำเป็นหรือผลประโยชน์ของกาลเวลาและสถานที่

วรรค ๒ สมาคมต้องเลือกชื่อสมาคมให้เหมาะกับความนิยมของยุคสมัยและสถานที่ เป็นต้นเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคมเอง

๓๐๕ วรรค ๑ สมาคมคริสตชนทุกสมาคมต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักร ซึ่งมีหน้าที่ดูแลให้สมาคมเหล่านั้นรักษาไว้ซึ่งความเชื่อ และศีลธรรมอย่างครบถ้วน และสอดส่องมิให้มีการปฏิบัตินอกลู่นอกทางแทรกซึมในระเบียบวินัยของพระศาสนจักร ดังนั้นผู้ใหญ่จึงมีสิทธิและหน้าที่ในการออกเยี่ยมสมาคมเหล่านี้ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายและกฎระเบียบของสมาคม สมาคมดังกล่าวยังต้องอยู่ภายใต้การปกครองของอำนาจเดียวกันตามกฎเกณฑ์ในมาตราต่างๆ ต่อไปนี้

วรรค ๒ สมาคมไม่ว่าประเภทใด อยู่ภายใต้ความดูแลของสันตะสำนัก สมาคมของสังฆมณฑล และสมาคมอื่นๆเท่าที่ดำเนินงานอยู่ในสังฆมณฑลนั้น ก็อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจท้องถิ่นนั้นด้วย

๓๐๖ เพื่อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับสิทธิและเอกสิทธิ์ พระคุณการุณย์ และพระพรฝ่ายจิตอื่นๆ ทั้งหลายที่สมาคมได้รับมา จำเป็นและเพียงพอที่บุคคลนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกอย่างถูกต้อง ตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบของสมาคมนั้น และทั้งยังไม่ได้ถูกให้ออกจากสมาคมนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย

๓๐๗ วรรค ๑ การรับสมาชิกต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายและกฎระเบียบของแต่ละสมาคม

วรรค ๒ บุคคลเดียวกันสามารถเข้าเป็นสมาชิกในหลายสมาคมได้

วรรค ๓     สมาชิกของสถาบันนักพรต สามารถเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะของสถาบันนั้นๆ โดยได้รับความยินยอมจากผู้ใหญ่ของตน

๓๐๘ ไม่มีผู้ใดที่ได้เข้าเป็นสมาชิกอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จะถูกให้ออกจากสมาคมได้ เว้นแต่มีเหตุอันชอบธรรมตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายและกฎระเบียบของสมาคม

๓๐๙ สมาคมที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มีสิทธิตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายและกฎระเบียบของสมาคม ที่จะออกกฎระเบียบเฉพาะเกี่ยวกับสมาคมเอง จัดการประชุมต่างๆ ตั้งบรรดาผู้ดำเนินการประชุม เจ้าหน้าที่  บุคลากรอื่นๆ และผู้จัดการทรัพย์สิน

๓๑๐ สมาคมส่วนบุคคลที่ไม่ได้ตั้งเป็นนิติบุคคล ไม่สามารถมีหน้าที่และสิทธิใดๆ เฉกเช่นนิติบุคคล อย่างไรก็ดีคริสต-ชนที่รวมตัวกันในสมาคมนั้น สามารถร่วมกันทำสัญญาผูกมัดและได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ และมีทรัพย์สินในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองร่วมกัน พวกเขาสามารถใช้สิทธิและหน้าที่นั้น โดยผ่านทางผู้รับมอบอำนาจหรือตัวแทน

๓๑๑ บรรดาสมาชิกของสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว ที่เป็นประธานหรือช่วยเหลือสมาคมต่างๆ ซึ่งรวมตัวกับสถาบันด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง พึงเอาใจใส่ให้สมาคมนั้นช่วยงานแพร่ธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังฆมณฑล เฉพาะอย่างยิ่งโดยการร่วมมือกับสมาคมอื่นๆ ซึ่งมีแนวปฏิบัติงานแพร่ธรรมร่วมกันอยู่แล้วในสังฆมณฑล ภายใต้การนำของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น