หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๓ ศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์หรือสมณะ
หมวด ๑
การฝึกอบรมสมณะ

Can.232 The Church has the duty and the proper and exclusive right to form those who are commissioned for the sacred ministries.

Can.233  $1. A duty rests upon the entire Christian community to foster vocations so that sufficient provision is made for the needs of the sacred ministry throughout the entire Church; Christian families, educators and in a special way priests, especially pastors, are particularly bound by this duty.  Since it is principally the concern of diocesan bishops to promote vocations, they should instruct the people entrusted to them concerning the importance of the sacred ministry and the necessity of ministers in the Church; therefore they are to encourage and support endeavors to foster vocations by means of projects especially established for that purpose.

$2. Moreover priests, and especially diocesan bishops, are also to be solicitous that men of a more mature age who consider themselves called to the sacred ministries are prudently assisted in word and in deed and duly prepared.

Can.234 $1. Wherever minor seminaries or other such institutions exist they are to be maintained and supported; such institutions are those in which, for the sake of fostering vocations, special religious formation along with instruction in the humanities

and sciences is provided; whenever the diocesan bishop judges it expedient he should provide for the erection of a minor seminary or a similar institution.

$2. Unless in certain cases circumstances indicate otherwise, young men who intend to be advanced to the priesthood are to be equipped with that training in the humanities and sciences by which young people in their own region are prepared to pursue higher studies.

Can.235$1. Young men who intend to enter the priesthood are to be given a suitable spiritual formation and trained for the duties of the priesthood in a major seminary throughout the entire time of formation, or, if circumstances demand it in the judgment of the diocesan bishop, at least for four years.

$2.  Those who legitimately live outside a seminary are to be entrusted by the diocesan bishop to a devout and suitable priest, who is to see to it that they are carefully formed in the spiritual life and in discipline.Can.236According to the prescriptions of the conference of bishops, aspirants to the permanent diaconate are to be formed to nourish a spiritual life and instructed in the correct fulfillment of the duties properp to this order in the following manner:

1. young men are to live for at least three years in some special house unless the diocesan bishop decides otherwise for serious reasons;

2. men of a more mature age, whether celibate or married, are to spend three years in a program determined by the conference of bishops.

Can.237 $1. Wherever it is possible and expedient, there is to be a major seminary in every diocese; otherwise the students who are preparing  themselves for the sacred ministries are to be entrusted to another seminary, or an interdiocesan seminary is to be erected.

$2.  An interdiocesan seminary is not to be erected unless the approval of the Apostolic See has first been obtained for both its erection and its statutes; the approval will be obtained by the conference of bishops if it involves the entire territory, otherwise by the bishops involved.

Can.238$1. By the law itself seminaries legitimately erected possess juridic personality in the Church.

$2.  The rector of the seminary represents it in the handling of all matters unless the competent authority has determined otherwise concerning certain matters.

Can.239$1. Every seminary is to have a rector who presides over it, a vice-rector if necessary, and a finance officer; moreover, if the students pursue their studies within the seminary itself it is also to have teachers who give instruction in the several disciplines in an appropriately coordinated curriculum.

$2. Every seminary is to have at least one spiritual director; the students, however, are free to approach other priests who have been appointed for this function by the bishop.

$3.  The statutes of the seminary are to provide for ways in which the other moderators, professors, and even the students themselves share in the concerns of the rector especially regarding the observance of discipline.

Can.240 $1.  In addition to the ordinary confessors, other confessors are to come regularly to the seminary; moreover, with due regard for the discipline of the seminary, a student is always at liberty to go to any confessor in the seminary or outside of it.

$2. In making decisions concerning the admission of students to orders or their dismissal from the seminary, the opinion of the spiritual director and the confessors can never be sought.

Can. 241 $1. The diocesan bishop is to admit to the major seminary only those who are judged capable of dedicating themselves permanently to the sacred ministries in light of their human, moral, spiritual and intellectual characteristics, their physical and psychological health and their proper motivation.

$2. Before they are accepted, They must submit documents certifying that baptism and confirmation have been received and other documents which are required in accord with the prescriptions of the program for priestly formation.

$3.When persons seek admission after they have been dismissed from another seminary or from a religious institute, further testimony is required from their respective superior, especially regarding the cause of their dismissal or their leaving.

Can.242 $1. Each nation should have a program for priestly formation which is to be determined by the conference of bishops in light of the norms issued by the supreme authority of the Church and which is also to be approved by the Holy See; when new circumstances require it the program is to be updated with the similar approval of the Holy see; this program is to define the main principles for imparting formation in the seminary as well as general norms which have been adapted to the pastoral needs of each region or province.

$2.  The norms of the program mentioned in $1 are to be observed in all seminaries, both diocesan and interdiocesan.

Can.243 Furthermore, each seminary is to have its own rule, approved by the diocesan bishop or, in the case of an interdiocesan seminary, by the bishops involved; in the seminary rule the norms of the program for priestly formation should be adapted to particular circumstances, and those areas of discipline which affect the daily life of the students and the order of the entire seminary are to be determined more precisely.

Can. 244 The spiritual formation of the students in the seminary and their doctrinal instruction are to be harmonized and arranged so that in accord with the unique character of each student, they acquire the spirit of the gospel and a close relationship with Christ along with appropriate human maturity.

Can.245  $1. Through their spiritual formation the students are to become equipped to exercise fruitfully the pastoral ministry and they are to be formed in a missionary spirit; in the course of their formation they are to learn that a ministry which is always carried out in living faith and in charity fosters their own sanctity; they are to learn to cultivate those virtues which are highly valued in human relations so that they can achieve an appropriate integration of human and supernatural qualities.

2. The students are to be so formed that, imbued with the love for the Church of Christ, they are devoted with a humble and filial love to the Roman Pontiff, the successor of Peter, are attached to their own bishop as his trustworthy co-workers, and work as companions with their brothers; through the common life in the seminary and through cultivating relationships of friendship and association with others they are to be prepared for fraternal union with the diocesan presbyterate, with whose members they will share in the service of the Church.

Can.246 $1 The celebration of the Most Holy Eucharist is to be the center of the entire life of the seminary, so that daily the students, sharing in the very love of Christ, may draw especially from this richest of all sources the strength of spirit needed for their apostolic work and their spiritual life.

$2. They are to be formed to celebrate the liturgy of the hours by which the ministers of God pray to God in the name of the Church on half of all the people committed to them, indeed on behalf of the entire world.

$3. Devotion to the Blessed Virgin Mary, including the rosary, mental prayer and other devotional exercises are to be fostered so that the students acquire a spirit of prayer and gain strength in their vocation.

$4.  The students are to become accustomed to approach the sacrament of penance frequently, and it is also recommended that each one have a director for his spiritual life who has been freely chosen and to whom he can open his conscience with confidence.

$5. Each year the students are to make a retreat.

Can.247 $1. The students are to be prepared through suitable education to observe the state of celibacy, and they are also to learn to honor it as a special gift of God.
$2. They are to be duly informed of the duties and burdens of sacred ministers of the Church; no difficulty of the priestly is to be kept back from them.

Can. 248 The doctrinal instruction which is to be given has as its goal that the students acquire, along with a general culture which is in accord with the needs of time and place, extensive and solid learning in the sacred disciplines; after they have thereby been grounded and nourished in their own faith, they should be able to announce the teaching of the gospel in a suitable fashion to the people of their times and in a manner which is adapted to their understanding.

Can. 249 The program for priestly formation is to make provision that the students are not only carefully taught their native language but also that they are well skilled in the Latin Language; they are also to have a suitable familiarity with those foreign languages which seem necessary or useful for their own formation or for the exercise of pastoral ministry.

Can.250  Philosophical and theological studies which are conducted in the seminary itself can be pursued successively or conjointly in accord with the program of priestly formation; these studies are to encompass a period of at least six full years in such a way that two full years are devoted to the philosophical disciplines and four full years to theological studies.

Can.251  Philosophical training ought to be based upon that heritage of philosophy which is perennially valid, and it also is to take into account contemporary philosophical investigation; it is to be so imparted that it perfects the human development of the students, sharpens their minds, and renders them more suitable for pursuing theological studies.

Can.252  $1 Theological training is to be so imparted in the light of faith magisterium that the students have a thorough understanding of Catholic doctrine  in  its   integrity based  on divine revelation, that they gather nourishment from it for their own spiritual lives, and that they can properly announce and safeguard it in the exercise of their ministry.2. The students are to be taught Sacred Scripture with special diligence so that they acquire a perception of the whole of Sacred Scripture.

$3. There are to be classes in dogmatic theology which are always to be based upon the written word of God along with sacred tradition, in which the students may learn to penetrate ever more profoundly the mysteries of salvation, with St. Thomas as their teacher in a special way; there are likewise to be classes in moral and pastoral theology, in canon law, liturgy, church history, and other auxiliary and special disciplmes; all these classes should be in accord with the prescription of the program for pristly formation.

Can. 254 The students are to be instructed so that they become capable of examining questions in a scientific method through their own qualified research; therefore projects are to be conducted under the supervision of the teachers by which the students learn to pursue certain studies through their own efforts.

Can.255 Although the entire formation of the students in the seminary is for a pastoral purpose, strictly pastoral training is also to be arranged by which the students are taught the principles and skills which pertain to the ministry of teaching, sanctifying and ruling the people of God in light of the needs of the place and time.

Can.256 $1. The students are to be instructed diligently in those matters which have a special relationship to sacred ministry especially catechetics and homiletics, the celebration of divine worship, particularly that of the sacraments, the conducting ofrelationships with people, even nonCatholics or non-believers, the administration of a parish, and the fulfillment of all other duties.

$2. The students are to be instructed in the needs of the universal Church so that they have a concern for the promotion of vocations, for missionary questions, for ecumenical concerns and other more urgent issues including those of a social nature.

Can. 257 $1. The formation of students is to prepare them so that they are concerned not only for the particular church into whose service they are incardinated but also for the universal Church; hence they are to show that they are ready to devote themselves to particular churches which are in serious need.

$2. The diocesan bishop is to take care that the clergy who intend to transfer from their own particular church  to   a   particular  church  in another region are suitably prepared to exercise the sacred ministry there, namely, that
they learn the language of that region and understand the region’s institutions, social conditions, usages, and customs.

Can.258 In order that they may also learn through practice the art of exercising the apostolate, during the course of their studies and especially during holiday times the students are to be initiated into pastoral practice; this is to be accomplished by means of suitable activities, determined by the judgment of the ordinary and adapted to the age of the students and to local conditions and always under the supervision of a skilled priest.

Can.259 $1 The diocesan bishop or, if it is a question of an interdiocesan seminary, the bishops involved, are competent to make decisions concerning the above-mentioned governance and administration of the seminary.

$2.  The diocesan bishop or if it is a question of an interdiocesan seminary, the bishops involved, are to visit the seminary frequently in person; they are to watch  over the formation of the students and the philosophical and theological instruction given them in the seminary; they are also to keep themselves informed concerning their students’ vocation, character, piety and progress, especially in view of the conferral of sacred ordination.

Can.260  In carrying out their duties all are to obey the rector who has the responsibility to see to the daily administration of the seminary in accord with the norms of the program for priestly formation and the rule of the seminary.

Can.261 $1. The rector of the seminary and, under his authority, the moderators and teachers for their part are to see to it that the students exactly observe the norms of the program for priestly formation and the prescriptions of the rule of the seminary.

$2.  The rector of the seminary and the director of studies are carefully to see to it that the teachers duly perform their function in accord with the prescriptions of the program for priestly formation and the rule of the seminary.

Can.262 The seminary is to be exempt from parochial governance; the rector of the seminary or his delegate is to fulfill the office of pastor for all who are in the seminary, with the exception of matrimonial matters and with due regard for the prescription of can. 985.

Can. 263 The diocesan bishop must see to it that provision is made for the establishment and maintenance of the seminary, the support of the students, the remuneration of the teachers, and other needs of the seminary; if the seminary is interdiocesan the bishops involved must make such provisions based upon a mutual agreement worked out by them.

Can.264 $1. In addition to the collection mentioned in can. 1266 the bishop can impose a tax within the diocese to provide for the needs of the seminary.

$2. All ecclesiastical juridic persons, even private ones, which have a foundation in the diocese are subject to this tax for the seminary, unless they are maintained through alms alone or they contain a college of students or teachers to promote the common good of the Church; a tax of this type must be general, proportioned to the revenues of those who are subject to it, and determined in accord with the needs of the seminary.

๒๓๒  พระศาสนจักรมีหน้าที่และสิทธิเฉพาะของตน และของตนเพียงผู้เดียว ในการฝึกอบรมผู้ที่จะได้รับมอบหน้าที่ปฏิบัติศาสนบริการศักดิ์สิทธิ์

๒๓๓ วรรค ๑ เป็นหน้าที่ของชุมชน  คริสตชนทั้งมวลที่จะส่งเสริมกระแสเรียก เพื่อให้มีศาสนบริการเพียงพอกับความต้องการทั่วทั้งพระศาสนจักร ครอบครัวคริสตชน  บรรดาผู้ให้การอบรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์      เป็นต้นเจ้าอาวาสมีพันธะในหน้าที่นี้เป็นพิเศษเนื่องจากพระสังฆราชสังฆมณฑลมีหน้าที่สำคัญอย่างยิ่ง         ต้องเอาใจใส่ส่งเสริมกระแสเรียก  ท่านจึงต้องสอนประชาชนที่อยู่ในความดูแลของตนให้เห็นความสำคัญของศาสนบริการและความจำเป็นต้องมีศาสนบริกรในพระ-ศาสนจักร      ดังนั้น พระสังฆราชต้องส่งเสริม และสนับสนุนความพยายามในการเพิ่มกระแสเรียก  โดยการจัดกิจกรรมเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ

วรรค ๒ ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสังฆราช สังฆ-มณฑลต้องเอาใจใส่ให้บุรุษผู้มีวัยวุฒิเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นแล้ว ที่เห็นว่าตนได้รับเรียกให้ปฏิบัติหน้าที่ศาสนบริการ ได้รับความช่วยเหลืออย่างรอบคอบ   ทั้งด้วยวาจาและกิจการ และให้ได้รับการเตรียมตัวอย่างเพียงพอ

๒๓๔ วรรค ๑ ที่ใดมีสามเณราลัยเล็กหรือสถาบันอื่นที่เหมือนกันอยู่แล้ว ก็ให้รักษาและสนับสนุนสถาบันต่างๆ เหล่านั้นไว้ สถาบันต่างๆ เหล่านั้นคือ สถานที่ตั้งขั้นเพื่อเพาะเลี้ยงกระแสเรียก โดยให้มีการฝึกอบรมด้านศาสนาเป็นพิเศษ พร้อมกับให้การศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และ

ศาสตร์ต่างๆ ยิ่งกว่านั้น เมื่อใดก็ตามที่พระสังฆราชสังฆมณฑลเห็นว่ามีประโยชน์ ก็ควรให้มีการจัดตั้งสามเณรา-ลัยเล็ก หรือสถาบันที่คล้ายคลึงกันขึ้น

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ในบางกรณีที่สถานการณ์แวดล้อมบ่งชี้เป็นอย่างอื่น ชายหนุ่มผู้ซึ่งตั้งใจจะก้าวไปในวิถีชีวิตแห่งการเป็นพระสงฆ์จะต้องได้รับการฝึกฝนวิชามนุษยศาสตร์และศาสตร์ต่างๆ ที่หนุ่มสาวทั่วไปในท้องถิ่นที่เขาอยู่ ได้รับการศึกษาเพื่อเตรียมศึกษาในขั้นสูงต่อไป

๒๓๕วรรค ๑ ชายหนุ่มที่ตั้งใจจะเป็นพระสงฆ์ จะต้องได้รับการฝึกอบรมทางชีวิตจิตอย่างเหมาะสม และได้รับการฝึกฝนหน้าที่ต่างๆ ของสงฆ์ในสามเณรา-ลัยใหญ่ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรมหรือถ้าพระสังฆราชสังฆมณฑลเห็นมีความ จำเป็นเพราะสภาพแวดล้อม ก็ให้มีการอบรมอย่างน้อย 4 ปี

วรรค ๒ ผู้ที่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องให้อาศัยอยู่นอกสามเณราลัย  ให้พระสังฆราชสังฆมณฑลมอบพวกเขาให้อยู่ในความดูแลของพระสงฆ์ที่ศรัทธาและเหมาะสม ซึ่งต้องเอาใจใส่ให้พวกเขาได้รับการฝึกอบรมในด้านชีวิตจิต และในศาสตร์ต่างๆ ยิ่งกว่านั้น เมื่อใดก็ตามที่พระสังฆราชสังฆมณฑลเห็นว่ามีประโยชน์ ก็ควรให้มีการจัดตั้งสามเณรา-ลัยเล็ก หรือสถาบันที่คล้ายคลึงกันขึ้น

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ในบางกรณีที่สถานการณ์แวดล้อมบ่งชี้เป็นอย่างอื่น ชายหนุ่มผู้ซึ่งตั้งใจจะก้าวไปในวิถีชีวิตแห่งการเป็นพระสงฆ์จะต้องได้รับการฝึกฝนวิชามนุษยศาสตร์และศาสตร์ต่างๆ ที่หนุ่มสาวทั่วไปในท้องถิ่นที่เขาอยู่ ได้รับการศึกษาเพื่อเตรียมศึกษาในขั้นสูงต่อไปด้านวินัยอย่างดี

๒๓๖. ตามข้อกำหนดของสภาพระ-สังฆราช      ผู้สมัครเตรียมบวชเป็นสังฆานุกรถาวรต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตและได้รับการสอนให้รู้จักปฏิบัติหน้าที่สังฆานุกรอย่างถูกต้อง ดังต่อไปนี้

๑. ชายหนุ่มต้องใช้ชีวิตอย่างน้อย 3 ปี ในบ้านพิเศษ เว้นไว้แต่ว่าพระสังฆราชสังฆมณฑลตัดสินเป็นอย่างอื่น เมื่อมีเหตุผลที่สำคัญยิ่ง

๒. ชายที่มีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่มากแล้ว    ไม่ว่าเป็นโสดหรือแต่งงาน ต้องใช้เวลาฝึกอบรม 3 ปี   ตามหลักสูตรที่สภาพระสังฆราชกำหนดไว้

๒๓๗.วรรค ๑ สังฆมณฑลทุกแห่งที่สามารถและเห็นควรจัดตั้งสามเณราลัยใหญ่ได้ก็ให้จัดตั้งขึ้น มิฉะนั้นต้องส่งสามเณรที่กำลังเตรียมตัวทำหน้าที่ศาสน-บริการไปยังสามเณราลัยอื่นหรือไม่ก็ให้จัดตั้งสามเณราลัยระหว่างสังฆมณฑลขึ้น

วรรค ๒จะต้องไม่จัดตั้งสามเณราลัยระหว่างสังฆมณฑลขึ้น เว้นไว้แต่ว่าได้รับการเห็นชอบจากสันตะ-สำนักก่อนทั้งในการก่อตั้งและกฎระเบียบ ถ้าเกี่ยวกับเขตแดนทั้งหมด ก็ให้สภาพระสังฆราชเป็นผู้ขอความเห็นชอบ     มิฉะนั้นให้พระสังฆราชที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ขอ

๒๓๘. วรรค ๑ โดยตัวบทกฎหมายเอง สามเณราลัยที่ได้รับการตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีความเป็นนิติบุคคลในพระศาสนจักร

วรรค ๒ อธิการสามเณราลัย เป็นผู้ทำการแทนในทุกเรื่อง เว้นไว้แต่ว่า ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในบางเรื่อง

๒๓๙. วรรค ๑ สามเณราลัยทุกแห่ง ต้องมีอธิการปกครองดูแล หากจำเป็นก็ให้มีรองอธิการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ยิ่งกว่านั้น หากสามเณรรับการศึกษาอยู่ในสามเณราลัยนั้นเอง ก็ให้มีอาจารย์สอนในสาขาวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรที่จัดไว้ให้สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม

วรรค ๒ สามเณราลัยทุกแห่ง ต้องมีวิญญาณรักษ์อย่างน้อยหนึ่งองค์ อย่างไรก็ตาม สามเณรทุกคนมีอิสระที่จะเข้าพบพระสงฆ์อื่นที่พระสังฆราชได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่นี้

วรรค ๓ในกฎระเบียบของ     สามเณราลัย ต้องกำหนดแนวทางให้คณะผู้บริหารอื่นๆ (moderators) อาจารย์ แม้แต่สามเณรเอง (มีส่วน) ในการดูแลรับ-ผิดชอบร่วมกับอธิการ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบวินัย

๒๔๐. วรรค ๑ นอกเหนือจากผู้โปรดศีลอภัยบาปประจำ ต้องจัดให้มีผู้โปรดศีลอภัยบาปอื่นมาให้บริการที่สามเณราลัยอย่างสม่ำเสมอด้วย ยิ่งกว่านั้นสามเณรมีเสรีภาพเสมอในการไปสารภาพบาปกับพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปองค์ใดก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกสามเณราลัย โดยยังต้องรักษาไว้ซึ่งระเบียบวินัยของสามเณราลัย

วรรค ๒ ในการตัดสินว่า จะให้สามเณรรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์หรือให้ ออกจากสามเณราลัย ห้ามไม่ให้ขอความเห็นจากวิญญาณรักษ์หรือพระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปอย่างเด็ดขาด

๒๔๑. วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆ-มณฑลจะรับเข้าสามเณราลัยใหญ่ เฉพาะบุคคลที่ท่านพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมที่จะอุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ศาสนบริการศักดิ์สิทธิ์ตลอดไปเท่านั้น ทั้งนี้โดยที่ได้พิจารณาคุณสมบัติด้านความเป็นมนุษย์ ด้านศีลธรรม ด้านจิตใจและสติปัญญา รวมทั้งสุขภาพกายและจิตพร้อมทั้งเจตนาที่ถูกต้องของเขา

วรรค ๒         ก่อนที่จะรับเข้าสามเณราลัยใหญ่       พวกเขาต้องยื่นหลักฐานรับรองการรับศีลล้างบาป และศีลกำลัง พร้อมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่ต้องการตามข้อกำหนดของแผนการฝึกอบรมเป็นพระสงฆ์

วรรค ๓     เพื่อจะรับบุคคลที่ออกจากสามเณราลัยแห่งอื่นหรือสถาบันนักบวช ต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมจากผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นเกี่ยวกับสาเหตุของการให้ออกหรือการลาออกของพวกเขา

๒๔๒. วรรค ๑ แต่ละประเทศต้องมีแผนการฝึกอบรมการเป็นพระสงฆ์ ซึ่งกำหนดขึ้นโดยสภาพระสังฆราช ตามแนวทาง

ของกฎเกณฑ์ที่ออกโดยอำนาจสูงสุดของพระศาสนจักร ซึ่งยังต้องได้รับการรับรองจากสันตะสำนักอีกด้วย เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงต้องปรับปรุงแผนการฝึกอบรมนี้ให้ทันสมัย โดยต้องได้รับการรับรองจากสันตะสำนักเช่นกัน แผนการฝึกอบรมนี้ต้องกำหนดหลักการสำคัญต่างๆ ในการให้การอบรมในสาม-เณราลัย และยังต้องวางกฎเกณฑ์ทั่วไปให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านอภิบาลของแต่ละเขต หรือแต่ละมณฑล

วรรค ๒     สามเณราลัยทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นสามเณราลัยประจำสังฆ-มณฑล    หรือสามเณราลัยระหว่างสังฆ-มณฑลต้องถือตามระเบียบของแบบแผนที่กล่าวไว้ในวรรค ๑

๒๔๓. ยิ่งกว่านั้นสามเณราลัยแต่ละแห่งจะต้องมีกฎของตนเองที่ได้รับการรับรองจากพระสังฆราชสังฆมณฑล หรือในกรณีที่เป็นสามเณราลัยระหว่างสังฆ-มณฑลก็ต้องได้รับการรับรองจากพระสังฆราชที่เกี่ยวข้องทุกองค์ กฎดังกล่าวนั้นต้องวางระเบียบแบบแผนการอบรมการเป็นพระสงฆ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น และในเรื่องเกี่ยวกับระเบียบวินัยที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของสามเณร และต่อความมีระเบียบเรียบร้อยของทั้งสามเณราลัยนั้น ต้องกำหนดให้ละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

๒๔๔. การอบรมชีวิตฝ่ายจิตของสามเณรในสามเณราลัยต้องให้กลมกลืนกับการศึกษาด้านวิชาการของพวกเขา และต้องจัดการอบรมนี้ให้พวกเขามีจิตตารมณ์แห่งพระวรสารและมีความสนิทสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับพระคริสตเจ้าพร้อมด้วยวุฒิ-ภาวะแบบมนุษย์ที่เหมาะสม ตามลักษณะเฉพาะของสามเณรแต่ละคน

๒๔๕วรรค ๑ อาศัยการอบรมชีวิตฝ่ายจิต สามเณรจะกลายเป็นผู้เพียบพร้อมในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่การอภิบาลอย่างมีประสิทธิผล และยังต้องได้รับการฝึกให้มีจิตตารมณ์แพร่ธรรม ในระหว่างการฝึกอบรม เขาต้องเรียนรู้ว่า ศาสนบริการที่ต้องปฏิบัติด้วยความเชื่อที่มีชีวิตและด้วยความรักเสมอนั้น จะช่วยเพิ่มพูนความศักดิ์สิทธิ์ของเขาเอง พวกเขายังต้องเรียนรู้ที่จะปลูกฝังคุณธรรมเหล่านั้น ซึ่งมีคุณค่าสูงส่งในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะสามารถบรรลุถึงการหล่อหลอมคุณค่าแบบมนุษย์ และแบบเหนือธรรมชาติให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน
อย่างเหมาะสม

วรรค ๒ สามเณรต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้เป็นผู้เปี่ยมด้วยความรักต่อพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้า พวกเขาจะได้อุทิศตนด้วยความรักถ่อมตนและเยี่ยงบุตร ต่อองค์สมเด็จพระสันตะปาปาผู้สืบตำแหน่งนักบุญเปโตร พวกเขาจะได้เป็นหนึ่งเดียวกับพระสังฆราชของตนในฐานะผู้ร่วมงานที่ไว้วางใจได้ และทำงานเสมือนเพื่อนร่วมงานกับบรรดาพี่น้อง โดยการเจริญชีวิตร่วมกันในสามเณราลัย   และโดยการปลูกฝังความสัมพันธ์ฉันเพื่อน และฉันผู้ร่วมงานกับผู้อื่น เขาจะได้เตรียมพร้อมที่จะเป็นหนึ่งเดียวฉันพี่น้องกับคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ซึ่งพวกเขาต้องร่วมมือในการรับใช้พระศาสนจักรด้วย

๒๔๖วรรค ๑ การเฉลิมฉลองศีลมหา-สนิทต้องเป็นศูนย์กลางของชีวิตทั้งครบในสามเณราลัย เพื่อว่าทุกวันโดยมีส่วนร่วมในความรักของพระคริสตเจ้าเอง สามเณรจะได้ตักตวงพลังฝ่ายจิตที่จำเป็นสำหรับงานแพร่ธรรมและชีวิตจิตของพวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากบ่อเกิดที่มั่งคั่งที่สุดนี้ว

รรค ๒ พวกเขาต้องได้รับการฝึกอบรมในการเฉลิมฉลองพิธีกรรมทำวัตร ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ศาสนบริกรของพระเจ้า ภาวนาต่อพระองค์ในนามของพระศาสนจักร  แทนประชากรทั้งมวลที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้ดูแล และยิ่งกว่านั้นแทนโลกทั้งมวลว

รรค ๓ สามเณรต้องได้รับการอบรมบ่มจิตใจให้มีความศรัทธาต่อพระนางมารีอาพรหมจารี รวมทั้งการสวดสายประคำด้วยการรำพึงภาวนา และการปฏิบัติกิจศรัทธาอื่นๆ เพื่อพวกเขาจะได้มีจิตตารมณ์แห่งการภาวนาและมีพลังสำหรับกระแสเรียกของตน

วรรค ๔       สามเณรต้องฝึกฝนให้เคยชินกับการรับศีลอภัยบาปบ่อยๆ และควรแนะนำให้สามเณรแต่ละคนมีผู้แนะนำชีวิตฝ่ายจิตที่เขาเลือกเองอย่างอิสระและที่เขาสามารถเปิดเผยมโนธรรมของตนได้ด้วยความไว้วางใจ

วรรค ๕  สามเณรต้องเข้าเงียบทุกปี

๒๔๗วรรค ๑ สามเณรต้องได้รับการเตรียมตัวให้รักษาสถานภาพการถือโสด โดยการอบรมที่เหมาะสมและต้องเรียนรู้

ที่จะเชิดชู สถานภาพนี้เหมือนพรพิเศษจากพระเป็นเจ้า
วรรค ๒ พวกเขาต้องรับทราบถึงหน้าที่และภาระต่างๆ ที่เป็นของศาสน- บริกรศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรอย่างเหมาะสม โดยไม่ปิดบังความยากลำบากใดๆ ของชีวิตสงฆ์เลย

๒๔๘การอบรมด้านวิชาการความรู้ มุ่งเพื่อให้สามเณรมีความรู้ทางศาสนาอย่างกว้างขวางและแน่นแฟ้น ควบคู่ไปกับความรู้ด้านวัฒนธรรมทั่วไป ตามความต้องการของยุคสมัยและสถานที่ เพื่อว่าเมื่อพวกเขามีรากฐานและหล่อ-เลี้ยงในความเชื่อของตน ด้วยการศึกษานั้นแล้ว จนว่าพวกเขาสามารถประกาศข้อคำสอนแห่งพระวรสารอย่างเหมาะสมแก่มนุษย์ในยุคสมัยของตน ในรูปแบบที่เหมาะแก่ความเข้าใจของพวกเขา

๒๔๙แผนการฝึกอบรมเป็นพระสงฆ์ ต้องจัดให้สามเณรมีการศึกษาอย่างดี ไม่เพียงแต่ภาษาพื้นเมืองของตนเท่านั้น แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญในภาษาลาตินอีกด้วย นอกจากนั้นพวกเขายังต้องมีความคุ้นเคยอย่างพอเพียงในภาษาต่างประเทศที่เห็นว่ามีความจำเป็นหรือมีประโยชน์สำหรับการอบรมของตนหรือเพื่อการปฏิบัติหน้าที่อภิบาล

๒๕๐. การศึกษาปรัชญาและเทววิทยาที่มีอยู่ในสามเณราลัยนั้นสามารถศึกษาแบบต่อเนื่องหรือแบบควบคู่กัน ตามแผนการอบรมเป็นพระสงฆ์ การศึกษาวิชาทั้งสองนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๖ ปีเต็ม โดยแบ่งเป็น ๒ ปีเต็มสำหรับการศึกษาปรัชญา และ ๔ ปีเต็มสำหรับการศึกษาเทววิทยา

๒๕๑. การให้การศึกษาอบรมวิชาปรัชญา ต้องมีพื้นฐานอยู่บนปรัชญาที่เป็นมรดกตกทอดกันมา ที่ใช้ได้อยู่ตลอดเวลา และต้องคำนึงถึงการค้นคว้าทางปรัชญาแห่งยุคสมัยด้วย การศึกษาอบรมนี้ต้องมุ่งให้สามเณรมีการพัฒนาทางด้านความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญาเฉียบแหลม และช่วยเขาให้มีความพร้อมมากขึ้นที่จะศึกษาเทววิทยาต่อไป

๒๕๒. วรรค ๑ การให้การศึกษาอบรมวิชาเทววิทยาต้องมุ่งให้สอดคล้องกับข้อ-

ความเชื่อ และภายใต้การนำแห่งอำนาจสอนของพระศาสจักร (Magisterium) เพื่อสามเณรจะได้มีความเข้าใจคำสอนคาทอลิกทั้งครบ   อันมีพื้นฐานบนการไขแสดงของพระเป็นเจ้า เพื่อพวกเขาจะได้อาศัยความรู้นั้นหล่อเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตของตน และเพื่อสามารถประกาศและป้องกันคำสอนนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ศาสนบริการของตนอย่างถูกต้อง

วรรค ๒ สามเณรต้องได้รับการสอนพระคัมภีร์ด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษ เพื่อให้พวกเขาเห็นภาพรวมของพระคัมภีร์ทั้งหมด

วรรค ๓ ให้มีการสอนวิชาเทววิทยาด้านความเชื่อ ซึ่งต้องมีรากฐาน บนพระวาจาของพระเป็นเจ้าที่บันทึกไว้ ร่วมกับประเพณีศักดิ์สิทธิ์เสมอ ในการสอนนี้ สามเณรจะได้เรียนรู้เข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถึงรหัสธรรมแห่งความรอด โดยมีนักบุญโทมัสเป็นปรมาจารย์พิเศษ เช่นเดียวกันให้มีการสอนวิชาเทววิทยาด้านจริยธรรมและด้านอภิบาลวิชากฎหมายพระศาสนจักร พิธีกรรม ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรรวมทั้งวิชาเสริมและวิชาพิเศษอื่นๆ การสอนวิชาต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแบบแผนการอบรมเป็นพระสงฆ์

๒๕๔. ต้องสอนสามเณรให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ โดยการค้นคว้าที่เหมาะสมด้วยตนเอง ตามหลักวิชาการ  ดังนั้นให้มีการฝึกเขียนรายงานภายใต้การแนะนำของอาจารย์ เพื่อให้สามเณรได้เรียนรู้ที่จะศึกษาด้วยความพยายามของตนเองภาย

๒๕๕. แม้ว่าการอบรมทั้งหมดของสามเณรในสามเณราลัยมีจุดประสงค์เพื่อการอภิบาลก็ตาม ยังต้องมีการฝึกฝนการอภิบาลจริงๆ    เพื่อให้สามเณรเรียนรู้หลักการและมีความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่สอน หน้าที่ทำให้ศักดิ์สิทธิ์และหน้าที่ปกครองประชากรของพระเจ้า โดยคำนึงถึงความจำเป็นของสถานที่และเวลาด้วย

๒๕๖.     วรรค ๑    สามเณรต้องได้รับการสอนอย่างเอาใจใส่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การสอนคำสอน  การเทศน์ การประกอบพิธีบูชาศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน แม้ผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิกหรือผู้ไม่มีความเชื่อ การบริหารสังฆตำบล (วัด) และการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ทั้งหมด

วรรค ๒ ต้องสอนให้สามเณรรู้ถึงความต้องการของพระศาสนจักรสากล เพื่อให้พวกเขามีความสนใจในเรื่องการส่งเสริมกระแสเรียก เรื่องปัญหางานธรรมทูต ปัญหาศาสนสัมพันธ์และปัญหาเร่งด่วนอื่นๆ รวมทั้งปัญหาสังคมด้วย

๒๕๗วรรค ๑ การอบรมสามเณร ต้องเตรียมให้พวกเขามีความสนใจไม่เพียงแต่พระศาสนจักรเฉพาะที่ตนสังกัดรับใช้อยู่ แต่ยังต้องสนใจพระศาสนจักรสากลด้วย ดังนั้น พวกเขาต้องแสดงให้เห็นว่าตนพร้อมที่จะอุทิศตัวเองให้แก่พระศาสนจักรเฉพาะแห่งอื่นๆ ที่มีความต้องการที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆ-มณฑลต้องเอาใจใส่ให้สมณะที่ตั้งใจย้ายจากพระศาสนจักรเฉพาะของตน ไปยังพระศาสนจักรเฉพาะในเขตอื่น ให้มีการเตรียมตัวอย่างเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ศาสนบริการที่นั่น กล่าวคือ ให้เขาเรียนรู้ภาษาถิ่น และให้เข้าใจกฎระเบียบ สภาพสังคม ขนบธรรมเนียมและประเพณีของท้องถิ่นนั้น

๒๕๘. เพื่อให้สามเณรสามารถเรียนรู้ศิลปะการแพร่ธรรมโดยทางปฏิบัติระหว่างการศึกษาเล่าเรียนด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างปิดภาคเรียนต้องให้เขาเริ่มปฏิบัติงานอภิบาลด้วยวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจเป็นผู้ตัดสินกำหนด และปรับให้เหมาะสมกับวัยของสามเณรและกับสภาพท้องถิ่น และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพระสงฆ์ผู้ชำนาญเสมอ

๒๕๙. วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆ-มณฑลหรือในกรณีที่เป็นสามเณราลัยระหว่างสังฆมณฑล บรรดาพระสังฆราชที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องการปกครอง   และการบริหารสามเณราลัยดังกล่าวข้างต้น

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆ-มณฑล หรือในกรณีที่เป็นสามเณราลัย ระหว่างสังฆมณฑลบรรดาพระสังฆราชที่เกี่ยวข้องต้องออกเยี่ยมสามเณราลัยบ่อยๆ ด้วยตนเอง    ต้องเฝ้าดูแลเรื่องการอบรมสามเณรและการสอนวิชาปรัชญา และเทววิทยาที่มีอยู่ในสามเณราลัย   นอกจากนั้นยังต้องรับทราบเกี่ยวกับกระแสเรียก ลักษณะนิสัยความศรัทธาและความก้าวหน้าของบรรดาสามเณร เฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อพิจารณาในการประกอบศีลบรรพชาให้

๒๖๐. ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน   ทุกคนต้องเชื่อฟังอธิการผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการบริหารแต่ละวันในสามเณราลัย ตามกฎเกณฑ์ของแบบแผนการอบรมเป็นพระสงฆ์    และของการปกครองสามเณราลัย

๒๖๑. วรรค ๑ อธิการของสามเณราลัยและบรรดาผู้ดูแล (Moderator) รวมทั้งคณาจารย์ผู้อยู่ใต้อำนาจของอธิการ ต้องสอดส่องดูแลตามหน้าที่ของตนให้สามเณรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของแผนการอบรมเป็นพระสงฆ์ และตามข้อกำหนดของการปกครองสามเณราลัยอย่างเคร่ง-ครัด

วรรค ๒ อธิการของสามเณราลัย และดูแลฝ่ายการศึกษา ต้องเอาใจใส่ให้คณาจารย์ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดี ตามข้อกำหนดของแบบแผนการอบรมเป็นพระสงฆ์และของการปกครอง     สามเณราลัย

๒๖๒. สามเณราลัยไม่อยู่ใต้การปกครองของสังฆตำบล (วัด) อธิการของสาม- เณราลัยหรือผู้แทนของเขาต้องปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสสำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่ในสามเณราลัย ยกเว้น เกี่ยวกับเรื่องการแต่งงาน และเกี่ยวกับข้อกำหนดของมาตรา 985

๒๖๓. พระสังฆราชสังฆมณฑล ต้องเอาใจใส่จัดหาทุนเพื่อการก่อสร้างและการทำนุบำรุงสามเณราลัย ทุนสนับสนุนสามเณร ค่าตอบแทนของคณาจารย์ และความจำเป็นอื่นๆ ของสามเณราลัย       ถ้าเป็นสามเณราลัยระหว่างสังฆมณฑล บรรดาพระสังฆราชที่เกี่ยวข้อง ต้องทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดหาทุน   เพื่อค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านั้น

๒๖๔. วรรค ๑ นอกเหนือจากรายได้จากการเก็บเงิน ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1266 พระสังฆราชสามารถเก็บภาษีภายในสังฆมณฑล    เพื่อจัดสรรสำหรับความจำเป็นต่างๆ ของสามเณราลัย

วรรค ๒ นิติบุคคลฝ่ายพระศาสนจักรทั้งหลาย รวมทั้งที่เป็นส่วนบุคคลที่ตั้งอยู่ในเขตสังฆมณฑลต้องเสียภาษีนี้ สำหรับสามเณราลัย เว้นไว้แต่ว่า เป็นนิติบุคคลที่เลี้ยงตัวเองจากการบริจาคเท่านั้น    หรือนิติบุคคลที่ประกอบด้วยนักศึกษาหรือคณาจารย์ เพื่อส่งเสริมประโยชน์ส่วนรวมของพระศาสนจักร ภาษีในลักษณะนี้ต้องเป็นแบบทั่วไป และให้คิดตามสัดส่วนกับรายได้ของผู้เสียภาษี และให้กำหนดตามความจำเป็นของสามเณราลัย