หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ักษณะ ๓  การจัดระเบียบภายในของพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น
หมวด ๑ สมัชชาสังฆมณฑล

Can. 460 A diocesan synod is a group of selected priests and other Christian faithful of a particular church which offers assistance to the diocesan bishop for the good of the entire diocesan community according to the norm of the following canons.

Can. 461 $1. A diocesan synod is to be celebrated in each of the particular churches when circumstances warrant it in the judgment of the diocesan bishop, after he has consulted the presbyteral council.

$2. If a bishop has the care of several dioceses or if he has the care of one as its proper bishop and of another as its administrator, he can convoke one diocesan synod for all the dioceses entrusted to him.

Can. 462 $1. Only the diocesan bishop convokes the diocesan synod, not however one who presides over a diocese ad interim.

$2. The diocesan bishop presides over the diocesan synod; he can, however, delegate the vicar general or an episcopal vicar to fulfill this office for individual sessions of the synod.

Can. 463 $1. The following persons are to be called to the diocesan synod as its members and are obliged to participate in it:

1. the coadjutor bishop and the auxiliary bishops;

2. the vicars general, the episcopal vicars and the judicial vicar;

3. the canons of the cathedral church;

4. the members of the presbyteral council;

5. lay members of the Christian faithful and members of institutes of consecrated life, to be selected by the pastoral council in a manner and number to be determined by the diocesan bishop or, where such a council does not exist, in a manner determined by the diocesan bishop;

6. the rector of the diocesan major seminary;

7. the vicars forane;

8. at least one presbyter to be selected from each vicariate forane by all who have the care of souls there; also to be selected is another presbyter who would take the place of the first one selected if he were impeded;

9. some superiors of the religious institutes and societies of apostolic life which have a house in the diocese, to be selected in a manner and number determined by the diocesan bishop.

$2.  Others can be called as members to the diocean synod by the diocesan bishop; these can be clerics, members of institutes of consecrated life,or lay members of the Christian faithful.

$3.  If  he should judge it opportune, the diocesan bishop can invite as observers to the diocesan synod some ministers or members of churches or ecclesial communities which are not in full communion with the Catholic Church.

Can. 464 A member of the synod who is hindered by a legitimate impediment cannot send a proxy to attend in his or her name; such a member is to inform the diocesan bishop of this impediment.

Can. 465 All the proposed questions are to be subject to the free discussion of the members during the sessions of the synod.

Can. 466 The diocesan bishop is the sole legislator at a diocesan synod while the remaining members of the synod possess only a consultative vote; he alone signs the synodal declarations and decrees which can be published only through his authority.

Can. 467 The diocesan bishop is to communicate the texts of the synodal declarations and decrees to the metropolitan and to the conference of bishops.

Can. 468 $1. It is within the competence of the diocesan bishop to suspend or dissolve a diocesan synod in accord with his own prudent judgment.

$2. If the episcopal see should become vacant or impeded, a diocesan synod is interrupted by the law itself until the succeeding diocesan bishop has decreed that it is to continue or that it is terminated.

๔๖๐ สมัชชาสังฆมณฑลคือ        กลุ่มพระสงฆ์และคริสตชนที่ได้รับเลือกจากพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น  เพื่อช่วยเหลือพระสังฆราชสังฆมณฑล ยังประโยชน์ของปวงชนทั่วเขตสังฆมณฑล ตามกฎเกณฑ์ของมาตราต่อไปนี้

๔๖๑ วรรค ๑ ให้จัดประชุมสมัชชาสังฆ-มณฑลขึ้น ในเขตพระศาสนจักรเฉพาะถิ่นแต่ละแห่ง เมื่อพระสังฆราชสังฆ-มณฑลวินิจฉัยว่า สถานการณ์เรียกร้อง หลังจากได้ปรึกษากับสภาสงฆ์แล้ว

วรรค ๒ หากพระสังฆราชองค์หนึ่งต้องดูแลหลายสังฆมณฑล หรือหากมีสังฆมณฑลของตนเฉพาะและยังเป็นผู้รักษาการสังฆมณฑลอื่นอีก            ท่านก็สามารถเรียกประชุมสมัชชาเดียวสำหรับทุกสังฆมณฑลที่ท่านดูแล

๔๖๒ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลเท่านั้น เป็นผู้เรียกประชุมสมัชชาสังฆ-มณฑล อย่างไรก็ตามพระสังฆราชนั้นต้องไม่เป็นพระสังฆราชรักษาการสังฆ-มณฑล

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆมณฑลเป็นประธานสมัชชาสังฆมณฑล อย่างไรก็ตามท่านสามารถมอบให้อุป-สังฆราชหรือผู้ช่วยพระสังฆราชทำหน้าที่เป็นประธานของแต่ละวาระในการประชุมสมัชชาได้

๔๖๓ วรรค ๑ บุคคลต่อไปนี้ต้องได้รับเรียกให้เข้าประชุมสมัชชาสังฆมณฑล ในฐานะเป็นสมาชิกของสมัชชาและมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมด้วย

๑. พระสังฆราชรอง และพระ-สังฆราชผู้ช่วย

๒. อุปสังฆราช, ผู้ช่วยพระ-สังฆราชและผู้ช่วยฝ่ายอรรถคดี

๓. คณะสงฆ์ประจำอาสนวิหาร

๔. สมาชิกสภาสงฆ์

๕. คริสตชนฆราวาส และสมาชิกสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว คัดเลือกโดยสภาอภิบาลตามวิธีการและจำนวนที่พระสังฆราชสังฆมณฑลกำหนดหรือหากไม่มีสภานี้ ก็ให้เป็นไปตามที่พระ-สังฆราชสังฆมณฑลกำหนด

๖. อธิการสามเณราลัยใหญ่ของสังฆมณฑล

๗. พระสงฆ์หัวหน้าเขต

๘. พระสงฆ์อย่างน้อยหนึ่งองค์ ที่คัดเลือกจากเขตปกครองแต่ละแห่ง โดยผู้มีหน้าที่ดูแลวิญญาณทั้งหมดที่นั่น และยังต้องเลือกพระสงฆ์อีกองค์หนึ่ง  เพื่อทำหน้าที่แทน หากคนแรกมีอุปสรรคไม่สามารถทำหน้าที่ได้

๙. อธิการบางองค์ของสถาบันนักพรตและคณะชีวิตแพร่ธรรม ซึ่งมีบ้านอยู่ในสังฆมณฑล คัดเลือกตามวิธีการและจำนวนที่พระสังฆราชสังฆมณฑลกำหนด

วรรค ๒ พระสังฆราชสังฆ-มณฑลยังสามารถเรียกผู้อื่นเข้าร่วมประชุมสมัชชาสังฆมณฑลได้อีก ซึ่งอาจจะเป็นสมณะ, สมาชิกสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว หรือคริสตชนฆราวาสก็ได้

วรรค ๓ หากพระสังฆราชสังฆ-มณฑล พิจารณาเห็นว่าเหมาะสม สามารถเชิญศาสนาจารย์หรือสมาชิกบางท่านจากพระศาสนจักรหรือศาสนชุมชนอื่น ซึ่งมิได้มีความสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับพระศาสนจักรคาทอลิก เป็นผู้สังเกตการณ์ได้

๔๖๔ สมาชิกสมัชชาที่ไม่มีอุปสรรคอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมแทนตนได้ แต่สมาชิกผู้นั้นต้องแจ้งพระสังฆราชสังฆมณฑลให้ทราบถึงอุปสรรคนี้

๔๖๕ บรรดาสมาชิกสามารถอภิปรายปัญหาที่เสนอทั้งหมดได้อย่างอิสระ ในการประชุมช่วงต่างๆ ของสมัชชา

๔๖๖ พระสังฆราชสังฆมณฑลเป็นผู้ตรากฎหมายเพียงผู้เดียวในสมัชชาสังฆ-มณฑล ส่วนสมาชิกอื่นของสมัชชามีเพียงคะแนนเสียงให้คำปรึกษาเท่านั้น ท่านเพียงผู้เดียวเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์และกฤษฎีกาของสมัชชา ซึ่งท่านนั้นมีอำนาจประกาศใช้

๔๖๗ พระสังฆราชสังฆมณฑล ต้องส่งแถลงการณ์ และกฤษฎีกาต้นฉบับต่างๆ ของสมัชชาไปยังสังฆมณฑลนครและสภาพระสังฆราช

๔๖๘ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลมีอำนาจระงับหรือยุบสมัชชาสังฆมณฑลตามการวินิจฉัยอันรอบคอบของท่านเอง

วรรค ๒ หากตำแหน่งพระสังฆราชว่างลง หรือมีอุปสรรคขัดขวาง สมัชชาสังฆมณฑลก็หยุดชะงักโดยตัวบทกฎหมายเอง จนกระทั่งพระสังฆราชสังฆมณฑลที่สืบต่อจะออกกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการต่อหรือปิดสมัชชา