หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๒ กลุ่มต่างๆ ของพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น
หมวด ๑ แขวงและเขตต่างๆ ฝ่ายพระศาสนจักร

 

Can. 431 $1. Neighboring particular churches are to be brought together into ecclesiastical provinces limited to a certain territory in order that the common pastoral activity of the various neighboring dioceses may be promoted in accord with the circumstances of persons and places and in order that the relationships of the diocesan bishops among themselves may be more suitably fostered.

$2. As a rule exempt dioceses are no longer to exist; individual dioceses, therefore, and the other particular churches which exist within the territory of an ecclesiastical province must belong to this ecclesiastical province.

$3. The supreme authority of the Church alone is competent to establish, suppress or change ecclesiastical provinces, after hearing the bishops involved

Can. 432 $1. In accord with the norm of law the provincial council and the metropolitan possess authority within the ecclesiastical province.

$2. An ecclesiastical province enjoys juridic personality by the law itself.

Can. 433 $1. If it appears useful, especially in nations where particular churches are more numerous, neighboring ecclesiastical provinces can be united into ecclesiastical regions by the Holy See at the proposal of the conference of bishops.

$2. An ecclesiastical region can be erected into a juridic person.

Can. 434 The gathering of the bishops of an ecclesiastical region is to foster cooperation and common pastoral action in the region; however, the powers which are given in the canons of this code to the conference of bishops do not belong to such a gathering, unless some of them shall have been specially granted to it by the Holy See.

๔๓๑ วรรค ๑ พระศาสนจักรเฉพาะถิ่นที่อยู่ใกล้กัน  ต้องรวมกันเป็นแขวงฝ่ายพระศาสนจักรมีขอบเขตที่แน่นอน เพื่อกิจการด้านการอภิบาลร่วมกันของสังฆ-มณฑลที่อยู่ใกล้กัน เพื่อจะได้รับการสนับสนุนตามสภาพของบุคคลและสถานที่และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพระสังฆราชสังฆมณฑลด้วยกันเองให้ดียิ่งขึ้น

วรรค ๒ ให้ถือเป็นกฎว่า ไม่มีสังฆมณฑลที่แยกเป็นเอกเทศอีกต่อไป ดังนั้น สังฆมณฑลแต่ละแห่งและพระ-ศาสนจักรเฉพาะถิ่นอื่นๆซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ของแขวงฝ่ายพระศาสนจักรต้องขึ้นต่อแขวงพระศาสนจักรนี้

วรรค ๓ ผู้ใหญ่สูงสุดของพระ-ศาสนจักรแต่ผู้เดียว มีอำนาจตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงแขวงฝ่ายพระศาสนจักร หลังจากที่ได้ฟังความคิดเห็นของพระ-สังฆราชที่เกี่ยวข้องแล้ว

๔๓๒ วรรค ๑ ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย สภาแขวงและสังฆมณฑลนคร มีอำนาจภายในแขวงฝ่ายพระศาสนจักร

วรรค ๒ แขวงฝ่ายพระศาสนจักรเป็นนิติบุคคลโดยตัวบทกฎหมายเอง

๔๓๓ วรรค ๑ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พระ-ศาสนจักรท้องถิ่นมีจำนวนมากกว่า  แขวงฝ่ายพระศาสนจักรที่อยู่ใกล้กันสามารถรวมกันเป็นเขตฝ่ายพระ-ศาสนจักรโดยสันตะสำนักตามการเสนอของสภาพระสังฆราช

วรรค ๒ เขตฝ่ายพระศาสนจักร สามารถตั้งเป็นนิติบุคคลได้

๔๓๔ กลุ่มของบรรดาพระสังฆราชของเขตฝ่ายพระศาสนจักร ต้องส่งเสริมการร่วมมือและกิจการอภิบาลร่วมกันในเขต อย่างไรก็ตามอำนาจซึ่งให้แก่สภาพระสังฆราชตามมาตราต่างๆในประมวลกฎหมาย ไม่ใช่เป็นของกลุ่มเช่นนี้ เว้นไว้แต่ว่า บางกลุ่มได้รับอำนาจเป็นพิเศษจากสันตะสำนัก