หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ส่วน ๒ พระสังฆราชสังฆมณฑล

Can. 381 $1. A diocesan bishop in the diocese committed to him possesses all the ordinary, proper and immediate power which is required for the exercise of his pastoral office except for those cases which the law or a decree of the Supreme Pontiff reserves to the supreme authority of the Church or to some other ecclesiastical authority.

$2. Unless it appears otherwise from the nature of the matter or from a prescription of the law, persons who head the other communities of the faithful mentioned in can. 368 are equivalent in law to a diocesan bishop.Can. 382

$1. A bishop promoted to a diocese cannot exercise the office entrusted to him unless he has first taken canonical possession of the diocese, but he can exercise the offices which he already had in the same diocese at the time of promotion, with due regard for the prescription of can. 409, $2.

$2. Unless he is held back by a legitimate impediment, a person promoted to the office of diocesan bishop must take canonical possession of his diocese within four months from the reception of the apostolic letter if he has not yet been consecrated a bishop or within two months if he has already been consecrated.

$3. A bishop takes canonical possession of a diocese as soon as he personally or through a proxy has presented within the diocese the apostolic letter to the college of consultors, in the presence of the chancellor of the curia who officially records the event; in newly erected dioceses, however, he takes canonical possession as soon as he has seen to the  communication  of  the  apostolic letter to the clergy and the people present  in the cathedral church, with the senior presbyter among those present officially recording the event.

$4. It is strongly recommended that the act of taking canonical possession occur within a liturgical act in the cathedral church and in the presence of the clergy and the people.

Can. 383 $1. In the exercise of his pastoral office a diocesan bishop is to show that he is concerned with all the Christian faithful who are committed to his care regardless of age, condition or nationality, both those who live within his territory and those who are staying in it temporarily; he is to extend his apostolic spirit to those who cannot sufficiently make use of ordinary pastoral care due to their condition in life and to those who no longer practice their religion.

$2. If he has faithful of a different rite within his diocese, he is to provide for their spiritual needs either by means of priests or parishes of that rite or by means of an episcopal vicar.

$3. He is to act with kindness and charity toward those who are not in full communion with the Catholic Church, fostering ecumenism as it is understood by the Church.

$4. He is to consider non-baptized as being committed to him in the Lord so that there may shine upon them the charity of Christ for whom the bishop must be a witness before all.

Can. 384 The diocesan bishop is to attend to presbyters with special concern and listen to them as his assistants and advisers; he is to protect their rights and see to it that they correctly fulfill the obligations proper to their state and that means and institutions which they need are available to them to foster their spiritual and intellectual life; he is also to make provision for their decent support and social assistance, in accord with the norm of law.

Can. 385 As much as is possible the diocesan bishop is to foster vocations to the different ministries and to the consecrated life, with special care shown for priestly and missionary vocations.

Can. 386 $1. The diocesan bishop is bound to present and explain to the faithful the truths of the faith which are to be believed and applied to moral issues, frequently preaching in person; he is also to see to the careful observance of the prescriptions of the canons concerning the ministry of the word, especially those concerning the homily and catechetical formation, so that the whole of Christian doctrine is imparted to all.

$2. Through suitable means he is strongly to safeguard the integrity and unity of the faith to be believed while nevertheless acknowledging a rightful freedom in the further investigation of its truths.

Can. 387 Since the diocesan bishop is mindful that he is obliged to set a personal example of holiness, in charity, humility and simplicity of life, he is to make every effort to promote the holiness of the Christian faithful according to each one’s own vocation; since he is the foremost dispenser of the mysteries of God, he is constantly to endeavor to have the Christian faithful entrusted to his care grow in grace through the celebration of the sacraments and both understand and live the paschal mystery.

Can. 388 $1. After he has taken possession of his diocese the diocesan bishop must apply a Mass for the people committed to him on Sundays and the other holy days of obligation within his region.

$2. The bishop himself must personally celebrate and apply Mass for the people on the days mentioned in $1; but if he is legitimately hindered $3. A bishop satisfies this obligation by applying one Mass for all the people entrusted to him if, besides his own diocese, other dioceses are entrusted to him, even under the title of administration.

$4. A bishop who has not satisfied the obligation mentioned in $$1-3 is to apply as many Masses for the people as he has missed as soon as possible.

Can. 389 He is to preside frequently over the celebration of the Eucharist in the cathedral church or in another church of his diocese, especially on holy days of obligation and other solemnities.

Can. 390 A diocesan bishop can conduct pontifical functions through out his entire diocese; he cannot do so, however, outside his own diocese without the express or at least reasonably presumed consent of the local ordinary.

Can. 391 $1. The diocesan bishop is to rule the particular church committed to him with legislative, executive and judicial power in accord with the norm of law.

$2. The bishop personally exercises legislative power; he exercises executive power either personally or through vicars general or episcopal vicars in accord with the norm of law; he exercises judicial power either personally or through a judicial vicar and judges in accord with the norm of law.

Can. 392 $1. Since he must protect the unity of the universal Church, the bishop is bound to promote the common discipline of the whole Church and therefore to urge the observance of all ecclesiastical laws.

$2. He is to be watchful lest abuses creep into ecclesiastical discipline, especially concerning the ministry of the word, the celebration of the sacraments and sacramentals, the worship of God and devotion to the saints, and also the administration of property.

Can. 393 The diocesan bishop represents his diocese in all its juridic affairs.

Can. 394 $1. The bishop is to foster the various aspects of the apostolate within his diocese and see to it that within the entire diocese or within its individual districts all the works of the apostolate are coordinated under his direction, with due regard for their distinctive character.

$2. He is to urge the faithful to exercise the apostolate in proportion to each one’s condition and ability, since it is a duty to which they are bound; he is also to recommend to them that they participate and assist in the various works of the apostolate in accord with the needs of place and time.

Can. 395 $1. Even if he has a coadjutor or an auxiliary  bishop, a diocesan bishop is bound by the law of personal residence within his diocese.

$2. Provided provision is made that the diocese not suffer any disadvantage through his absence from it, he can be absent from his diocese for a just cause but not for more than one month, whether continuous or interrupted; this period does not include the time spent on his ad limina visit, or at councils, at a synod of bishops or at a conference of bishops, whenever he must be present, or the time spent on another office which has been legitimately entrusted to him.

$3. Except for a serious and urgent reason he is not to be absent from his diocese on Christmas, during Holy Week, on Easter, Pentecost, or Corpus Christi.

$4. If the bishop has been absent illegally from his diocese beyond six months, the metropolitan is to inform the Apostolic See; the senior suffragan is to do so if the metropolitan is illegally absent.

Can. 396 $1. The bishop is obliged to visit his diocese annually, either in its entirety or in part, in such a way that the entire diocese is visited at least every five years; he may make this visitation personally or if he  is legitimately hindered from doing so personally, he may do so through the coadjutor or auxiliary bishop, through a vicar general or episcopal vicar, or through another presbyter.

$2. The bishop has the right to choose for himself those clerics he prefers to be his companions and assistants on the visitation; any other contrary privilege or custom whatsoever is reprobated.

Can. 397 $1. Persons, Catholic institutions, and sacred things and places are subject to the ordinary episcopal visitation if they are located within the area of the diocese.
$2. The bishop can visit members of religious institutes of pontifical right and their houses only in those cases expressly mentioned in law.

Can. 398 The bishop is to strive to complete his pastoral visitation with due diligence, and he is to take care lest anyone be imposed upon or burdened by unnecessary expenses.

Can.399 $1. The diocesan bishop is bound to present a report to the Supreme Pontiff every five years concerning the state of the diocese committed to him, according to a form and at a time determined by the Apostolic See.

$2. If the year set for the presentation of this report falls entirely or in part within the first two-year period of his governance of the diocese, the bishop can omit the composition and presentation of the report on this one occasion.

Can. 400 $1. During the year in which he is bound to present his report to the Supreme Pontiff and unless other provisions have been made by the Apostolic See, the diocesan bishop is to come to Rome to venerate the tombs of the blessed apostles Peter and Paul and is to appear before the Roman Pontiff.

$2. Unless he is legitimately hindered from doing so, the bishop is to satisfy this aforementioned obligation personally; if he is so hindered, he is to satisfy this obligation through his coadjutor, if he has one, through an auxiliary bishop, or through a suitable priest of his presbyterate who resides in his diocese.

$3. An apostolic vicar can satisfy this obligation through an agent, even through one living in Rome; an apostolic prefect is not bound by this obligation.

Can. 401 $1. A diocesan bishop who has completed his seventy-fifth year of age is requested to present his resignation from office to the Supreme Pontiff who will make provisions after he has examined all the circumstances.

$2. A diocesan bishop is earnestly requested to present his resignation from office when he has become less able to fulfill his office due to ill health or another serious reason.

Can. 402 $1. A bishop whose resignation from office has been accepted retains the title of bishop emeritus of his diocese and can retain a place of residence in his diocese if he so desires, unless other provisions have been made by the Apostolic See in certain cases due to special circumstances.

$2. The conference of bishops must see to it that suitable and decent support is provided for a resigned bishop, with due regard for the primary obligation which rests upon the diocese which he has served.

๓๘๑ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑล ในสังฆมณฑลที่ท่านได้รับมอบ มีอำนาจปกติเฉพาะและโดยตรงทั้งหมด      ซึ่งจำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่อภิบาลของท่าน ยกเว้นบางเรื่องซึ่งกฎหมายหรือกฤษฎีกาของพระสันตะปาปา สงวนไว้สำหรับอำนาจสูงสุดของพระศาสนจักร หรือสำหรับอำนาจอื่นบางอำนาจในพระ-ศาสนจักร

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ว่าจะปรากฎ เป็นอย่างอื่นจากธรรมชาติของเรื่องนั้นๆ หรือจากข้อกำหนดของกฎหมาย บุคคลที่เป็นหัวหน้ากลุ่มคริสตชนที่กล่าวไว้ในมาตรา ๓๖๘ ถือว่าเทียบเท่าพระสังฆราชสังฆมณฑลตามกฎหมาย

๓๘๒ วรรค ๑ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ท่านได้รับมอบ ก่อนที่ท่านจะได้ทำการครอบครองสังฆมณฑลอย่างถูกต้องตามกฎหมายพระศาสนจักร อย่างไรก็ตามท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วในสังฆมณฑล ในเวลาที่ท่านได้รับเลือกเป็นพระสังฆราชโดยยังคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา ๔๐๙วรรค ๒

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ว่า มีอุปสรรคอันชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ได้รับตำแหน่งพระสังฆราชสังฆมณฑล ถ้าหากยังไม่ได้อภิเษกเป็นพระสังฆราชต้องทำการครอบครองสังฆมณฑลอย่างถูกต้องตามกฎหมายพระศาสนจักรภายใน ๔ เดือน นับแต่วันที่ได้หนังสือแต่งตั้งจากสันตะสำนัก ถ้าท่านได้รับอภิเษกแล้วต้องทำการครอบครองสังฆมณฑลภายใน 2 เดือน   นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่งตั้งดังกล่าว

วรรค ๓ พระสังฆราชทำการครอบครองสังฆมณฑลอย่างถูกต้องตามกฎหมายพระศาสนจักรพร้อมกับแสดงหนังสือแต่งตั้งจากสันตะสำนักแก่คณะที่ปรึกษาด้วยตนเอง หรือโดยทางผู้แทน ภายในเขตสังฆมณฑลเอง             โดยมีเลขาธิการสังฆมณฑลอยู่ด้วย ซึ่งเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ในหนังสือบันทึก (acta) หรือถ้าเป็นสังฆมณฑลที่ตั้งขึ้นใหม่ พระ-สังฆราชทำการครอบครองพร้อมกับเมื่อท่านจัดให้มีการประกาศหนังสือแต่งตั้งต่อหน้าคณะสงฆ์ และประชาชนที่ชุมนุมอยู่ในอาสนวิหาร โดยมีพระสงฆ์อาวุโสกว่าหมดที่อยู่ที่นั่น   เป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ในหนังสือบันทึก

วรรค ๔ ควรอย่างยิ่งที่จะทำการครอบครองสังฆมณฑลตามกฎหมายพระศาสนจักร ระหว่างพิธีกรรมในอาสน-วิหารต่อหน้าคณะสงฆ์และประชาชน

๓๘๓ วรรค ๑ ในการปฏิบัติหน้าที่อภิบาล พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องเอาใจใส่คริสตชนทุกคนที่อยู่ภายใต้การดูแลของท่าน โดยไม่คำนึงถึงอายุ สภาพชีวิตหรือสัญชาติ ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ และผู้ที่มาอาศัยอยู่ชั่วคราวในเขตพื้นที่ของท่าน ท่านต้องเอาใจใส่ด้วยจิตตารมณ์อัครสาวกไปยังผู้ที่ไม่สามารถรับการอภิบาล ด้วยวิธีธรรมดา เพราะสภาพชีวิตของเขา รวมทั้งผู้ที่ไม่ปฏิบัติศาสนาด้วย

วรรค ๒ ถ้าหากมีสัตบุรุษจารีตอื่นในสังฆมณฑลของตนเอง ท่านต้องจัดให้ความช่วยเหลือแก่ความต้องการฝ่ายจิตของพวกเขาโดยอาศัยพระสงฆ์หรือเขตปกครองวัดของจารีตนั้นหรือโดยอาศัยผู้ช่วยพระสังฆราช (episcopal vicar)

วรรค ๓ ให้ท่านปฏิบัติต่อพี่น้องที่ไม่มีความสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับพระศาสนจักรคาทอลิกด้วยไมตรีจิตและด้วยความรัก พร้อมทั้งส่งเสริมศาสนสัมพันธ์ตามที่พระศาสนจักรเข้าใจ

วรรค ๔ พระสังฆราชต้องถือว่าท่านได้รับมอบหมายในพระเจ้า     ผู้ที่ยังมิได้รับศีลล้างบาป เพื่อความรักของพระคริสต์ ซึ่งท่านต้องเป็นพยานถึงพระองค์ต่อหน้าทุกคนจะได้ฉายแสงแก่เขา

๓๘๔ พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องเอาใจใส่พระสงฆ์เป็นพิเศษ ต้องฟังพวกเขาในฐานะผู้ช่วยงานและผู้ให้คำปรึกษา ต้องป้องกันสิทธิของเขาและเอาใจใส่ ให้เขาทำหน้าที่ที่เหมาะสมกับฐานะของตนอย่างถูกต้อง พร้อมกับให้มีเครื่องมือและการอบรม ซึ่งพวกเขามีความต้องการเพื่อส่งเสริมชีวิตฝ่ายจิต และด้านสติปัญญาเช่นเดียวกันท่านต้องเอาใจใส่ให้พวกเขามีสิ่งจำเป็นต่อการยังชีพอย่างสมศักดิ์ศรี  และสวัสดิการสังคมตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

๓๘๕ พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องส่งเสริมให้มีกระแสเรียกสำหรับศาสนบริการด้านต่างๆ และกระแสเรียกสำหรับชีวิตที่ถวายแล้วให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเอาใจใส่เป็นพิเศษให้มีกระแสเรียกเป็นพระสงฆ์และผู้แพร่ธรรม

๓๘๖ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องเสนอและอธิบายให้สัตบุรุษรู้ข้อความเชื่อที่ต้องเชื่อและต้องนำไปปฏิบัติทางจริยธรรม โดยการเทศน์สอนด้วยตนเองบ่อยๆ ท่านยังต้องเอาใจใส่ ให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายพระศาสนจักรอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับศาสนบริการด้านพระวาจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเอาใจใส่สิ่งที่เกี่ยวกับการแสดงธรรมและการอบรมด้านคำสอน เพื่อว่าทุกคนจะได้รับการสอนคำสอนคริสตชนอย่างครบถ้วน

วรรค ๒ ท่านต้องป้องกันบูรณภาพและเอกภาพของข้อความเชื่อที่ต้องเชื่ออย่างแข็งขัน ด้วยวิธีการที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมกว่าหมด    ถึงกระนั้นก็ดี โดยยอมรับเสรีภาพอันชอบธรรมในการค้นหาความจริงต่อไป

๓๘๗ เนื่องจากพระสังฆราชสังฆมณฑลระลึกอยู่เสมอว่าท่านเองต้องเป็นแบบอย่างด้านความศักดิ์สิทธิ์ ความเมตตากรุณา ความสุภาพถ่อมตน และการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย ท่านจึงต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะส่งเสริมคริสตชนให้มีความศักดิ์สิทธิ์ตามกระแสเรียกของตน ; เนื่องจากท่านเป็นผู้แจกจ่ายรหัสธรรมของพระเป็นเจ้าอันดับแรก ท่านต้องพยายามอย่างสม่ำเสมอให้คริสตชนที่ท่านรับมอบให้ดูแลเจริญเติบโตในพระหรรษทาน โดยอาศัยการประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์และพยายามให้คริสตชนเข้าใจและดำเนินชีวิตในรหัสธรรมปัสกาด้วย

๓๘๘ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลหลังจากทำการครอบครองสังฆมณฑลแล้ว ต้องถวายมิสซาทุกวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับเพื่อบรรดาคริสตชนในเขตปกครองของตน

วรรค ๒ พระสังฆราชเองต้องถวายมิสซาด้วยตนเองและถวายเพื่อบรรดาคริสตชนในวันที่กล่าวถึงในวรรค ๑  แต่ถ้ามีอุปสรรคขัดขวางอันชอบด้วย

เหตุผล ไม่สามารถถวายมิสซาให้ได้ ก็จัดให้พระสงฆ์อื่นถวายมิสซาในวันเหล่านี้แทนหรือท่านถวายมิสซาเองในวันอื่น
วรรค ๓ พระสังฆราชถวายมิสซาเดียวเท่านั้นก็เพียงพอ เพื่อบรรดาคริสต-ชนทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การดูแลของท่าน ทั้งในสังฆมณฑลของท่านเองและในสังฆมณฑลอื่นที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดูแลแม้เพียงในฐานะเป็นผู้บริหารเท่านั้น

วรรค ๔ พระสังฆราชที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบังคับดังที่กล่าวไว้ในวรรค ๑-๓ ต้องถวายมิสซาชดเชยเพื่อบรรดาคริสตชน ตามจำนวนที่ขาดไป ให้เร็วเท่าที่สามารถ

๓๘๙ พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องเป็นประธานในพิธีเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทบ่อยๆในอาสนวิหารหรือในวัดอื่นในสังฆมณฑลของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันฉลองบังคับและในวันสมโภชอื่นๆ

๓๙๐ พระสังฆราชสังฆมณฑลสามารถประกอบพิธีกรรม ด้วยอาภรณ์เต็มยศได้ทั่วสังฆมณฑลของตน แต่ไม่สามารถทำเช่นเดียวกันนี้ นอกสังฆมณฑลของตน โดยมิได้รับการยินยอมอย่างชัดแจ้ง หรืออย่างน้อยโดยสันนิษฐานอย่างมีเหตุผลจากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น

๓๙๑ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องปกครองพระศาสนจักรเฉพาะถิ่นที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

วรรค ๒ พระสังฆราชใช้อำนาจนิติบัญญัติด้วยตัวเอง ท่านใช้อำนาจบริหารทั้งโดยตนเองหรือโดยผ่านอุป-สังฆราชหรือผู้ช่วยพระสังฆราช ตามกฎเกณฑ์ของ กฎหมาย ใช้อำนาจตุลาการทั้งโดยตนเองหรือโดยผู้ช่วยฝ่ายอรรถคดี (judical vicar) และผู้พิพากษาตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

๓๙๒  วรรค ๑ โดยที่พระสังฆราชต้องปกป้องกันความเป็นหนึ่งเดียวในพระศาสนจักรสากล      ท่านจึงมีหน้าที่ต้องส่งเสริมระเบียบวินัยทั่วไปของพระ-ศาสนจักรทั้งมวล และดังนี้จึงมีหน้าที่ต้องกระตุ้นให้รักษากฎหมายพระ-ศาสนจักรทั้งมวล
วรรค ๒ พระสังฆราชต้องเฝ้าระวังมิให้การปฏิบัตินอกลู่นอกทางแทรกซึมเข้าในกฎระเบียบพระศาสนจักร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการบริการด้านพระวาจา, การประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์และสิ่งคล้ายศีล, การถวายบูชาแด่พระเป็นเจ้า และความศรัทธาต่อบรรดานักบุญและการบริหารทรัพย์สินด้วย

๓๙๓ พระสังฆราชสังฆมณฑลเป็นตัวแทนของสังฆมณฑลของตนในการทำนิติกรรมทั้งหมด

๓๙๔ วรรค ๑ พระสังฆราชต้องส่งเสริมงานแพร่ธรรมในรูปแบบต่างๆ ในสังฆมณฑลของตนและเอาใจใส่ให้งานแพร่ธรรมภายในสังฆมณฑลทั้งหมดหรือในแต่ละเขตดำเนินไป โดยมีการประสานกันภายใต้การนำของท่านพร้อมทั้งคำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันด้วย

วรรค ๒ พระสังฆราชต้องกระตุ้นให้บรรดาคริสตชนทำงานแพร่ธรรมตามความเหมาะสมแก่สภาพและความสามารถของแต่ละคน เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่พวกเขาต้องทำ ท่านยังต้องแนะนำให้พวกเขามีส่วนร่วมและช่วยเหลืองานแพร่ธรรมด้านต่างๆ ด้วย ตามความต้องการของสถานที่และกาลเวลา

๓๙๕ วรรค ๑ ถึงแม้ว่า พระสังฆฆราชสังฆมณฑลมีพระสังฆราชรอง (coadjutor) หรือพระสังฆราชผู้ช่วยก็ตาม โดยกฎหมาย ท่านต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตสังฆมณฑลของท่าน
วรรค ๒ พระสังฆราชไม่อยู่ในสังฆมณฑลของตนได้ ถ้ามีเหตุจำเป็น แต่ต้องไม่เกิน 1 เดือน จะต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าวไม่รวมระยะเวลาที่ไปเฝ้าถวายรายงานที่กรุงโรม (ad limina) หรือเวลาที่ต้องไปและอยู่ประชุมสังคายนา สมัชชาพระสังฆราช หรือสภาพระสังฆราชหรือเวลาที่ท่านต้องไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีเงื่อนไขว่า ได้มีการจัดการมิให้สังฆมณฑลได้รับความเสียหายจากการไม่อยู่ของท่าน

วรรค ๓ พระสังฆราชต้องไม่จากสังฆมณฑลในวันสมโภชพระคริสต-สมภพระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันปัสกา วันสมโภชพระจิต  หรือในวันฉลองพระคริสตวรกาย เว้นแต่จะมีเหตุผลสำคัญและเร่งด่วนเท่านั้น

วรรค ๔ ถ้าพระสังฆราชไม่อยู่ในสังฆมณฑล โดยมิชอบด้วยกฎหมายเกิน 6 เดือน พระอัครสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนครต้องรายงานต่อสันตะสำนัก แต่ถ้าเป็นพระอัครสังฆราชแห่งสังฆ-มณฑลนครที่ไม่อยู่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้พระสังฆราชในเขตปกครองรองที่อาวุโสกว่าเป็นผู้รายงาน

๓๙๖ วรรค ๑ พระสังฆราชมีหน้าที่ต้องเยี่ยมสังฆมณฑลของตนทุกปีไม่ว่าจะเป็นทั้งสังฆมณฑลหรือบางส่วน อย่างที่ว่า อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี ท่านต้องเยี่ยมให้ครบทั้งสังฆมณฑล ท่านอาจจะเยี่ยมเยียนด้วยตนเอง หรือหากท่านถูกกีดกัน มิให้ออกเยี่ยมด้วยตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจมอบให้พระสังฆราชรอง หรือพระ-สังฆราชผู้ช่วย หรืออุปสังฆราชหรือผู้ช่วยพระสังฆราช หรือพระสงฆ์อื่นทำแทนได้

วรรค ๒ พระสังฆราชมีสิทธิเลือกสมณะที่ท่านปรารถนาให้ไปเป็นเพื่อน หรือเป็นผู้ช่วยในการเยี่ยมเยียน สิทธิพิเศษหรือประเพณีใดๆ ที่ขัดแย้งให้ยกเลิก

๓๙๗ วรรค ๑ บุคคล  สถาบันคาทอลิก สิ่งของ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่ ภายในเขตสังฆมณฑลอยู่ภายใต้อำนาจ การเยี่ยมตามปกติของพระสังฆราช

วรรค ๒ พระสังฆราชสามารถเยี่ยมเยียนสมาชิกของสถาบันนักพรตสิทธิสันตะสำนัก และบ้านนักพรตเหล่านั้นในกรณีที่กฎหมายระบุไว้อย่างแจ้งชัดเท่านั้น

๓๙๘ พระสังฆราชต้องพยายามทำหน้าที่ในการเยี่ยมเยียนเชิงอภิบาล ด้วยความขยันขันแข็งอันพึงมี และต้องระวังมิให้ผู้ใดถูกบังคับหรือต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

๓๙๙ วรรค ๑ พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องเสนอรายงานต่อพระสันตะปาปาทุกๆ 5 ปี เกี่ยวกับสถานะของสังฆมณฑลที่ได้รับมอบหมายตามแบบฟอร์ม และตามเวลาที่สันตะสำนักกำหนด

วรรค ๒ ถ้าปีที่กำหนดไว้สำหรับการเสนอรายงานนี้ ตกภายใน ๒ ปีแรก ของการปกครองสังฆมณฑล ไม่ว่าจะครบหรือไม่ครบ 2 ปีก็ตาม พระสังฆราชสามารถละเว้นการเขียน     และเสนอการรายงานในครั้งนั้นได้

๔๐๐ วรรค ๑ ระหว่างปีซึ่งพระสังฆราชต้องเสนอรายงานต่อพระสันตะปาปา และเว้นไว้แต่ว่าสันตะสำนักได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น พระสังฆราชสังฆมณฑลต้องเดินทางไปกรุงโรม เพื่อคารวะหลุมศพของอัครสาวกเปโตรและเปาโลและต้องเข้าเฝ้าพระสันตะปาปา

วรรค ๒ พระสังฆราชต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยตนเอง เว้นไว้แต่ว่า ถูกขัดขวางมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่ท่านถูกขัดขวางเช่นนั้น ท่านต้องทำหน้าที่นี้โดยพระสังฆราชรองถ้ามี  โดยพระสังฆราชผู้ช่วยหรือโดยพระสงฆ์ที่เหมาะสมองค์หนึ่งจากคณะสงฆ์ของท่าน ซึ่งพำนักอยู่ในสังฆมณฑลของท่าน

วรรค ๓ ผู้แทนสันตะสำนัก (Apostolic vicar) สามารถทำหน้าที่นี้โดยตัวแทนได้ แม้บุคคลนั้นจะพำนักอยู่ในกรุงโรม สังฆรักษ์ (Apostolic prefect) ไม่ถูกผูกมัดให้ทำหน้าที่นี้

๔๐๑ วรรค ๑ ขอให้พระสังฆราชสังฆ-มณฑล ผู้มีอายุครบ 75 ปี ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ต่อพระสันตะปาปา พระองค์จะพิจารณาจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากได้ตรวจสอบกรณีแวดล้อมต่างๆ ทั้งหมดแล้ว

วรรค ๒ ขอร้องอย่างจริงจังให้พระสังฆราชสังฆมณฑลยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง เมื่อท่านหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากสุขภาพไม่ดี หรือสาเหตุสำคัญอื่นๆ

๔๐๒ วรรค ๑ พระสังฆราชผู้ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งหน้าที่แล้ว ยังรักษาไว้ซึ่งตำแหน่งพระสังฆราชกิรติคุณ (emeritus) ของสังฆมณฑลของท่าน และสามารถรักษาที่พำนักในสังฆมณฑลไว้ ถ้าท่านปรารถนาเช่นนั้น เว้นไว้แต่ว่าสันตะสำนักได้จัดการไว้เป็นอย่างอื่นในบางกรณี อันเนื่องมาจากกรณีแวดล้อมพิเศษ

วรรค ๒ สภาพระสังฆราชต้องดูแลให้พระสังฆราชที่ลาออก ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะและสมศักดิ์ศรี โดยคำนึงว่าหน้าที่แรกเป็นของสังฆมณฑล ซึ่งท่านได้เคยรับใช้