หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ส่วน ๒ คณะพระสังฆราช

Can. 336 The college of bishops, whose head is the Supreme Pontiff and whose members are the bishops by virtue of sacramental consecration and hierarchical communion with the head and members of the college, and in which the apostolic body endures, together with its head, and never without its head, is also the subject of supreme and full power over the universal Church.

Can. 337 $1. The college of bishops exercises power over the universal Church in a solemn manner in an ecumenical council.

$2. The college exercises the same power through the united action of the bishops dispersed in the world, which action as such has been inaugurated or has been freely accepted by the Roman Pontiff so that a truly collegial act results.

$3. It is for the Roman Pontiff, in keeping with the needs of the Church, to select and promote the ways by which the college of bishops is to exercise collegially its function regarding the universal Church.

Can. 338 $1. It is for the Roman Pontiff alone to convoke an ecumenical council, to preside over it personally or through others, to transfer, suspend or dissolve it, and to approve its decrees.

$2. It is for the same Roman Pontiff to determine matters to be treated in a council and to establish the order to be followed in a council; to the questions proposed by the Roman Pontiff the fathers of a council can add other questions, to be approved by the same Roman Pontiff.

Can. 339 $1. It is the right and duty of all and only the bishops who are members of the college of bishops to take part in an ecumenical council with a deliberative vote.

$2. The supreme authority of the Church can call others who are not bishops to an ecumenical council and determine the degree of their participation in it.

Can. 340 If the Apostolic See becomes vacant during the celebration of a council, it is interrupted by the law itself until a new Supreme Pontiff orders it to be continued or dissolves it.

Can. 341 $1. Decrees of an ecumenical council do not have obligatory force unless they are approved by the Roman Pontiff together with the fathers of the council   and are  confirmed  by  the Roman Pontiff and promulgated at his order.

$2. For decrees which the college of bishops issues to have obligatory force this same confirmation and promulgation is needed, when the college takes collegial action in another manner, initiated or freely accepted by the Roman Pontiff.

๓๓๖ คณะพระสังฆราช ซึ่งมีพระ-สันตะปาปาเป็นประมุข และซึ่งมีบรรดาพระสังฆราชเป็นสมาชิก โดยศีลอภิเษก และโดยสายสัมพันธ์ทางฐานันดรกับผู้เป็นประมุข และกับบรรดาสมาชิกของคณะ และซึ่งในคณะนั้นคณะอัครสาวกดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องพร้อมกับประมุขของตนและไม่เคยปราศจากประมุขเลย เป็นคณะที่มีอำนาจสูงสุดและอำนาจเต็มเหนือพระศาสนจักรสากลด้วย

๓๓๗ วรรค ๑ คณะพระสังฆราชใช้อำนาจปกครองพระศาสนจักรสากล อย่างสง่าในสังคายนาสากล

วรรค ๒ คณะพระสังฆราชใช้อำนาจเดียวกันนี้ โดยการปฏิบัติร่วมกันของบรรดาพระสังฆราชที่กระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งการกระทำร่วมกันนั้น พระสันตะปาปา ได้ประกาศหรือยอมรับเป็นเช่นนั้นอย่างอิสระ เพื่อว่าการกระทำนั้น มีผลเป็นการกระทำที่มีลักษณะที่เป็นคณะอย่างแท้จริง

วรรค ๓ เป็นหน้าที่ของพระ-สันตะปาปา ที่จะเลือกและส่งเสริมวิธีการให้คณะพระสังฆราชปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพระศาสนจักรสากลแบบเป็นคณะ ทั้งนี้ตามความจำเป็นของพระศาสนจักร๓๓๘ วรรค ๑ พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะเรียกประชุมสังคายนาสากลเป็นประธานโดยตัวพระองค์เองหรือโดยผู้อื่น ที่จะเลื่อนหยุดหรือเลิกการประชุม และรับรองกฤษฎีกาของการประชุมนั้น

วรรค ๒ เป็นหน้าที่ของพระสันตะปาปาองค์เดียวกันนั้นที่จะกำหนดเรื่องที่จะพิจารณาในที่ประชุม และกำหนดระเบียบวาระที่ต้องปฏิบัติในการประชุม บรรดาปิตาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมสามารถเพิ่มเติมปัญหาอื่นๆ นอกเหนือจากที่พระสันตะปาปาเสนอไว้ แต่ต้องได้รับการเห็นชอบจากพระ-สันตะปาปาองค์เดียวกัน

๓๓๙ วรรค ๑ พระสังฆราชทั้งหมดและเท่านั้น ผู้เป็นสมาชิกของคณะพระ-สังฆราชมีสิทธิ์และหน้าที่ที่จะมีส่วนในการเข้าประชุมสังคายนาสากลพร้อมกับสิทธิลงคะแนนเสียง

วรรค ๒ ผู้มีอำนาจสูงสุดของพระศาสนจักรสามารถเชิญผู้อื่นที่มิได้เป็นพระสังฆราชเข้าร่วมประชุมสังคายนาสากลได้ และกำหนดขอบเขตการมีส่วนร่วมในการประชุมของพวกเขา

๓๔๐ หากตำแหน่งพระสันตะปาปาเกิดว่างลงระหว่างการประชุมสังคายนา การประชุมหยุดชะงักโดยตัวกฎหมายเอง จนกว่าพระสันตะปาปาองค์ใหม่ มีคำสั่งให้มีการประชุมต่อหรือให้เลิกการประชุม

๓๔๑ วรรค ๑ กฤษฎีกาต่างๆ ของสังคายนาสากล ไม่มีผลบังคับ เว้นไว้แต่ว่ากฤษฎีกานั้นได้รับความเห็นชอบจากพระสันตะปาปา        พร้อมกับบรรดาปิตาจารย์ของสภาสังคายนา และได้รับการรับรองจากพระสันตะปาปาและมีการประกาศตามคำสั่งของพระองค์

วรรค ๒ กฤษฎีกาที่ออกโดยคณะพระสังฆราช เมื่อมีการกระทำร่วมกันเป็นหมู่คณะในลักษณะอื่น ที่พระ-สันตะปาปาเสนอหรือที่พระองค์ยอมรับอย่างอิสระ เพื่อให้กฤษฎีกานั้นมีผลบังคับใช้จำเป็นต้องได้รับการรับรอง และการประกาศแบบเดียวกัน