หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด ๒  สมาคมสาธารณะของคริสตชน

Can.312 $1. The authority competent to erect public associations is:

1. the Holy See for universal and international associations;

2. the conference of bishops in its own territory for national associations, that is, those which are directed by their founding purpose toward action in the whole nation;

3. the diocesan bishop in his own territory for diocesan associations, but not the diocesan administrator; however, those associations are excepted for whose erection the right has been reserved to others by apostolic privilege.

$2. The written consent of the diocesan bishop is required for the valid erection of an association or a branch of an association in a diocese, even if this is done in virture of an apostolic privilege; however, the consent given by a diocesean bishop for the eredtion of a house of a religious institute also allows for the erection in the same house or church attached to it, of an association proper to the institute.

Can.313 A public association as well as a confederation of public association is constituted a juridic person by the decree by which it is erected by competent ecclesiastical authority in accord with the norm of can.312; it also thereby receives a mission to pursue the ends which it proposes for itself in the name of the Church, to the extent that such a mission is required.

Can.314 The statutes of any public association as well as their revision or change require the approval of the ecclesiastical authority which is competent to erect the association in accord with the norn of can.312, $1.

Can.315 Public association on their own initiative can begin undertakings in keeping with their character, and they can direct them in accord with their statutes, but under the further direction of the ecclesiastical authority mentioned in can. 312, $1.

Can.316 $1. One who has publicly rejected the Catholic faith or abandoned ecclesiastical communion or been punished with an imposed or declared excommunication cannot be validly received into public associations.

$2. Those legitimately enrolled who fall into the situations mentioned in $1, are, after a warning, to be dismissed from the association, observing the association’s statutes and reserving the right of recourse to the ecclesiastical authority mentioned in can. 312, $1.

Can.317 $1. Unless otherwise provided in the statutes, the ecclesiastical authority mentioned in can. 312, $1, has the right to confirm as moderator of a public association the person elected by

the association or to install the one presented or to name the person by hisown right; the same ecclesiastical authority also names the chaplain or ecclesiastical assistant, having heard the major officials of the association where this is expedient.

$2. The norm stated in $1 is also valid for associations erected outside their own churches or houses by members of religious institutes in virtue of apostolic privilege; however, in associations erected by members of religious institutes in their own church or house the nomination or confirmation of the moderator and chaplain belongs to the superior of the institute, in accord with the statutes.

$3. In associations which are not clerical, lay persons can exercise the office of moderator; the chaplain or ecclesiastical assistant shall not assume that role unless the statutes provide otherwise.

$4. Those who exercise leadership in political parties are not to be moderators in public associations of the Christian faithful which are directly ordered to the exercise of the apostolate.

Can.318 $1. In special circumstances where grave reasons require it the ecclesiastical authority mentioned in can.312, $1, can designate a trustee who is to direct the association temporarily in the name of the authority.

$2. The one who named or confirmed the moderator of a public association can remove the moderator for a just cause, having heard both the moderator and the major officials of the association in accord with the norm of the statutes; however, the one who named the chaplain can remove him in accord with the norm of cann. 192-195.

Can.319 $1. Unless other provision has been made, a legitimately erected public association administers the goods which it possesses in accord with the norm of its statutes under the higher direction of the ecclesiastical authority mentioned in

can. 312, $1, to whom the association must render an account of the administration each year.

$2. The association must also render to the same ecclesiastical authority a faithful account of the disposition of offerings and alms which it collects.

Can.320 $1. Associations erected by the Holy See can be suppressed only by the Holy See.

$2. Associations erected by a conference of bishops can be suppressed by the same conference for grave reasons; associations erected by a diocesan bishop can be suppressed by him, and also associations erected through an apostolic indult by members of religious institutes with the consent of the diocesan bishop.

$3. A public association is not to be suppressed by competent authority without having heard its moderator and other major officials.

๓๑๒  วรรค ๑ ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจในการก่อตั้งสมาคมสาธารณะได้แก่

๑. สันตะสำนัก มีอำนาจก่อตั้งสมาคมสากล และสมาคมระหว่างชาติ

๒. สภาพระสังฆราช มีอำนาจก่อตั้งสมาคมระดับชาติในเขตปกครองของตน กล่าวคือมีจุดหมายในการก่อตั้งเพื่อทำงานทั่วประเทศ

๓. พระสังฆราชสังฆมณฑล แต่ไม่ใช่ผู้รักษาการสังฆมณฑลมีอำนาจ  ก่อตั้งสมาคมระดับสังฆมณฑลในเขตปกครองของตน กระนั้นก็ดี ยกเว้นสมาคมที่สิทธิในการก่อตั้งนั้นได้สงวนไว้ให้บุคคลอื่น โดยเอกสิทธิ์ของสันตะ-สำนัก

วรรค ๒ การก่อตั้งสมาคมหรือสาขาสมาคมในสังฆมณฑล ต้องมีการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรของพระสังฆราชสังฆมณฑล แม้ว่าการก่อตั้งนี้ได้กระทำโดยสิทธิพิเศษของสันตะสำนัก

อย่างไรก็ดี การอนุญาตที่ได้รับจากพระ-สังฆราชสังฆมณฑล เพื่อตั้งบ้านสถาบันนักพรต มีผลอนุญาตให้ตั้งสมาคมที่เป็นเฉพาะของสถาบันนักพรตในบ้านเดียวกันนั้น หรือในวัดที่ติดขึ้นกับบ้านนั้น

๓๑๓สมาคมสาธารณะ    เช่นเดียวกับสมาพันธ์ของสมาคมทางการ ที่ตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยกฤษฎีกา ซึ่งประกอบออกมาโดยผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่มีอำนาจตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๓๑๒ และดังนั้นจึงรับพันธกิจซึ่งจำเป็นต้องมี เพื่อบรรลุเป้าหมายที่สมาคมเสนอให้ตนเองทำในนามของพระศาสนจักร

๓๑๔กฎระเบียบของสมาคมสาธารณะใดๆ รวมทั้งการทบทวนหรือการเปลี่ยนแปลง ต้องได้รับการรับรองจากผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักร ซึ่งมีอำนาจตั้งสมาคมตามกฎเฏณฑ์ของมาตรา ๓๑๒ วรรค ๑

๓๑๕ สมาคมสาธารณะ   โดยความคิดริเริ่มของตนเอง สามารถเริ่มกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสมาคม และสามารถปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสมาคม แต่ต้องอยู่ภายใต้การนำที่เหนือกว่าของผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักร ดังที่กล่าวไว้ในมาตรา ๓๑๒ วรรค ๑

๓๑๖วรรค ๑ ผู้ใดที่ปฏิเสธความเชื่อคาทอลิกอย่างเปิดเผย หรือละทิ้งความสัมพันธ์กับพระศาสนจักรหรือถูกโทษตัดขาดจากพระศาสนจักรโดยการลงโทษ หรือโดยการประกาศ ไม่สามารถรับเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมสาธารณะได้อย่างถูกต้อง

วรรค ๒ บรรดาผู้ได้เข้าเป็นสมาชิกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งตกอยู่ในสภาพการณ์ที่กล่าวไว้ในวรรค ๑ หลังจากได้รับการเตือนแล้ว ให้ตัดออกจากสมาคม โดยถือตามกฎระเบียบของสมาคม และคงไว้ซึ่งสิทธิร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่กล่าวไว้ในมาตรา 312 วรรค ๑

๓๑๗ วรรค ๑ เว้นไว้แต่ว่ามีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในกฎระเบียบ ผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่กล่าวในมาตรา ๓๑๒ วรรค ๑ มีสิทธิที่จะรับรองบุคคลที่ได้รับเลือกจากสมาคมให้เป็นประธานของสมาคมสาธารณะ หรือแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ หรือเลือกตั้งแต่งตั้งบุคคลตามสิทธิของตนเอง ผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรผู้เดียวกันนี้      สามารถแต่งตั้งจิตตาภิบาล  หรือผู้ช่วยฝ่ายศาสนจักร ทั้งนี้โดยรับฟังเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสมาคมก่อนเมื่อเห็นสมควร

วรรค ๒ กฎเกณฑ์ที่กล่าวถึงใน วรรค ๑ นั้นใช้ได้สำหรับสมาคมที่สมาชิกของสถาบันนักพรตตั้งขึ้นนอกเขตวัดหรือนอกบ้านของตน โดยอาศัยเอกสิทธิ์สันตะสำนัก  อย่างไรก็ดี     ในสมาคมที่สมาชิกของสถาบันนักพรตตั้งขึ้นในเขตวัดหรือบ้านของตน เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ของสถาบันที่จะแต่งตั้งหรือรับรองประธานและจิตตาภิบาล ตามกฎระเบียบของสถาบัน

วรรค ๓ ในสมาคมที่ไม่ใช่สมาคมสมณะ ฆราวาสสามารถทำหน้าที่เป็นประธาน   อย่าให้จิตตาภิบาล   หรือผู้ช่วยฝ่ายศาสนจักรรับหน้าที่นี้ เว้น           ไว้แต่ว่ากฎระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

วรรค ๔ บุคคลผู้ซึ่งทำหน้าที่บริหารในพรรคการเมืองไม่สามารถเป็นประธานในสมาคมสาธารณะของคริสต-ชน  ซึ่งมีจุดประสงค์โดยตรงเพื่องานแพร่ธรรม

๓๑๘ วรรค ๑ ในสถานการณ์พิเศษ เมื่อมีเหตุผลอันหนักเรียกร้อง     ผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๑๒ วรรค ๑ สามารถแต่งตั้งผู้ที่ไว้วางใจให้บริหารงานของสมาคมเป็นการชั่วคราวในนามของตน

วรรค ๒ บุคคลที่แต่งตั้งหรือรับรองประธานสมาคมสาธารณะ สามารถปลดประธานสมาคมด้วยเหตุผลอันชอบ หลังจากได้รับฟังทั้งจากประธาน และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสมาคม ตามกฎเกณฑ์ของกฎระเบียบของสมาคม อย่างไรก็ดี บุคคลที่แต่งตั้งจิตตา-ภิบาลก็สามารถปลดเขาได้ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๙๒-๑๙๕

๓๑๙ วรรค ๑ เว้นไว้แต่ว่าได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สมาคมสาธารณะที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย บริหารทรัพย์สินที่สมาคมครอบครองตามกฎเกณฑ์ของกฎระเบียบของสมาคม ภายใต้การนำของผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่เหนือกว่าซึ่งกล่าวถึงในมาตรา ๓๑๒

วรรค ๑ ผู้ซึ่งสมาคมต้องรายงานการบริหารให้ทราบทุกปี

วรรค ๒ สมาคมต้องทำรายงานอย่างสัตย์ซื่อต่อผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรผู้เดียวกันนั้น ถึงการใช้จ่ายเกี่ยวกับของถวาย และทานบริจาคที่ได้รับ

๓๒๐ วรรค ๑ สมาคมที่สันตะสำนักตั้งขึ้น ยุบได้โดยพระสันตะปาปาเท่านั้น

วรรค ๒ สมาคมที่สภาพระสังฆราชตั้งขึ้นยุบได้โดยสภาเดียวกัน ด้วยเหตุผลอันหนัก สมาคมที่พระสังฆราชสังฆมณฑลตั้งขึ้น ยุบได้โดยท่านเอง และสมาคมที่สมาชิกของสถาบันนักพรตอาศัยการอนุมัติพิเศษของสันตะ-สำนักตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของพระ-สังฆราชสังฆมณฑล ก็ยุบได้โดยท่านเองเช่นเดียวกัน

วรรค ๓ ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจไม่สามารถยุบสมาคมสาธารณะได้ โดยมิได้ฟังรายงานจากประธานและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสมาคมเสียก่อน