หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

หมวด 4 สิทธิพิเศษ

Can. 76  $1  A privilege or a favor granted to certain persons, whether physical or juridical, by means of a special act can be granted by the legislator as well as by an executive authority to whom the legislator has granted this power.

$2 Centenary or immemorial possession induces a presumption

Can. 77 A privilege is to be interpreted in accord with the norm of can.36, $1, but that interpretation is always to be used so that the beneficiaries of a privilege actually obtain some favor.

Can. 78  $1  Privilege is presumed to be perpetual unless the contrary is proved.

$2 A personal privilege, namely one which follows the person, ceases with the person’s death.

$3 A real privilege ceases with the complete destruction of the thing or place; but a local privilege revives if the place is restored within fifty years.

Can. 79  A privilege ceases through its revocation by competent authority in accord with the norm of can. 47 with due regard for the prescription of can. 46
Can.80 $1 No privilege ceases through renunciation unless the renunciation has been accepted by the competent authority.
2 Any physical person can renounce a privilege granted on behalf of that person alone.

$3 Individual persons cannot renounce a privilege which has been granted to some juridic person or has been granted by reason of the dignity of a place or thing; nor is a juridic person competent to renounce a privilege granted to it if its renunciation prejudices the Church or others.

Can.81 A privilege is not terminated with the temination of the authority of the one issuing it unless it has been granted with the provision ad beneplacitum nostrum or some equivalent terminology.

Can.82 A privilege which is not a burden on others does not cease through   non-usage  or   throughcontrary usage; but if it is to the disadvantage of others, it is lost through legitimate prescription.

Can.83 $1 A privilege ceases through the lapse of the period of time or after the completion of the number of cases for which it was granted, with due regard for the provision of can. 142,$2.

$2 A privilege also ceases if in the course of time circumstances change to such a degree that the privilege becomes harmful or its use illicit in the judgment of the competent authority.

Can.84 Whoever abuses the power given by privilege deserves to be deprived of it; therefore, the ordinary, after having admonished the grantee in vain, may deprive the one who seriously abuses it of a privilege which he himself had granted; if, however, the privilege was granted by the Apostolic See, the ordinary is bound to notify the Apostolic See.

๗๖.  วรรค ๑  สิทธิพิเศษหรือเอกสิทธิ์ที่มอบให้  โดยทางบทบัญญัติพิเศษ  ไม่ว่าแก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สิทธิพิเศษสามารถมอบให้โดยผู้ตรากฎหมาย รวมทั้งผู้มีอำนาจปฏิบัติการด้วย  ซึ่งได้รับมอบอำนาจนี้จากผู้ตรากฎหมาย

วรรค ๒ สิทธิพิเศษที่มีการครอบครองนานนับร้อยปี หรือนานจนจำไม่ได้  ทำให้สันนิษฐานได้ว่าได้มีการมอบสิทธิพิเศษแล้ว

๗๗.  ให้ตีความสิทธิพิเศษตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๓๖ วรรค ๑  แต่ต้องตีความให้ผู้รับสิทธิพิเศษได้รับเอกสิทธิ์บางอย่างจริง ๆ เสมอ

๗๘.  วรรค ๑  ให้สันนิษฐานว่า สิทธิพิเศษคงอยู่ตลอดไป  เว้นไว้แต่ว่ามีการพิสูจน์เป็นตรงกันข้าม

วรรค ๒ สิทธิพิเศษส่วนบุคคล  กล่าวคือ  สิทธิพิเศษที่ติดตัวบุคคลสิ้นสุดเมื่อผู้นั้นถึงแก่กรรม

วรรค ๓ สิทธิพิเศษที่เป็นทรัพย์สิ่งของ สิ้นสุดลงเมื่อสิ่งนั้นหรือ สถานที่นั้นถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิง แต่สิทธิ์พิเศษที่เป็นสถานที่ยังคงกลับคืนได้อีก หากมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ภายใน ๕๐ ปี

๗๙.  สิทธิพิเศษสิ้นสุดลงเมื่อผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจเพิกถอน  ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๔๗  โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดในมาตรา ๔๖

๘๐. วรรค ๑ ไม่มีสิทธิพิเศษใดสิ้นสุดลงด้วยการสละสิทธิ เว้นไว้แต่ว่าผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจยอมรับการสละสิทธิ์นั้นแล้ว

วรรค ๒ บุคคลธรรมดาใดๆ ก็ตาม สามารถสละสิทธิ์พิเศษที่ตนได้รับมาเพื่อประโยชน์บุคคลผู้นั้นเท่านั้น

วรรค ๓ สิทธิพิเศษที่มอบให้แก่นิติบุคคล หรือที่มอบให้เพราะศักด์ศรีของสถานที่หรือของสิ่งของก็ตาม ปัจเจกบุคคลไม่สามารถสละสิทธิพิเศษนั้นได้ ทั้งนิติบุคคลก็ไม่มีอำนาจสละสิทธิพิเศษที่ได้รับนั้น หากการสละสิทธิพิเศษนั้นเกิดผลเสียแก่พระศาสนจักรหรือแก่ผู้อื่น

๘๑. เมื่อผู้ให้สิทธิพิเศษหมดอำนาจลง สิทธิพิเศษนั้นหาสิ้นสุดลงไม่ เว้นไว้แต่ว่า สิทธิพิเศษนั้นให้ไว้โดยมีข้อความระบุว่า “ตามความพึงพอใจของเรา” (ad beneplacitum nostrum) หรือข้อความอื่นที่มีใจความคล้ายคลึงกัน

๘๒. การไม่ใช้สิทธิพิเศษหรือการใช้สิทธิพิเศษในทางตรงข้าม ที่ไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ผู้อื่น ก็ไม่ทำให้สิทธิพิเศษ

นั้นสิ้นสุดลง ถ้าก่อให้เกิดภาระแก่ผู้อื่น สิทธิพิเศษนั้นก็สูญไป โดยสิทธิครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมาย

๘๓.  วรรค ๑ สิทธิพิเศษสิ้นสุดลงเมื่อเวลาที่กำหนดผ่านพ้นไปหรือเมื่อครบ จำนวนครั้งที่ได้ให้ไว้ โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดในมาตรา ๑๔๒ วรรค ๒

วรรค ๒ สิทธิพิเศษสิ้นสุดลงเช่นกัน หากในกาลต่อมาสถานการณ์เปลี่ยนไปจนสิทธิพิเศษนั้นกลับกลายเป็นผลร้ายหรือการใช้สิทธิพิเศษนั้นกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายตามการวินิจฉัยของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ

๘๔. ผู้ใดก็ตามที่ใช้อำนาจที่ได้รับจากสิทธิพิเศษในทางที่ผิดก็สมที่จะเสียสิทธิพิเศษนั้น ดังนั้นผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจอาจเรียกสิทธิพิเศษที่ตนเองเป็นผู้มอบคืนหากผู้รับมอบนำไปใช้ในทางที่ผิดอย่างร้ายแรง ทั้งที่ได้รับการตักเตือนแล้วแต่ไร้ผล อย่างไรก็ตาม หากสันตะสำนักเป็นผู้มอบสิทธิพิเศษนั้น ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจต้องแจ้งให้สันตะสำนักทราบด้วย (Apostolic See)