หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๑๐  สิทธิครอบครอง

Can.197 The Church accepts prescription as it exists in the civil legislation of the respective nations, as a means of acquiring or losing a subjective right and of freeing oneself from obligations, the exceptions which are determined in the

canons of this Code remaining intact.

Can.198 No prescription has any effect which is not grounded in good faith, not only at the beginning but through the entire course of the time required for prescription with due regard for the prescription of can. 1362

Can.199 Not subject to prescription are:

1.rights and obligations which are of the divine natural or positive law;

2.rights which can be        acquired  only from  an apostolicprivilege;

3.rights and obligations which directly affect the spiritual life of the Christian faithful;

4.the certain and unchallenged boundaries of ecclesiastical territories;

5.Mass stipends and obligations;

6.the provision of an ecclesiastical office which requires the exercise of a sacred order. according to the norm of law;

7.the right of visitation and the obligation of obedience if it should result that the Christian faithful can be visited by no ecclesiastical authority and are no longer subject to any ecclesiastical authority.

๑๙๗. พระศาสนจักรยอมรับสิทธิครอบครอง เป็นวิธีได้มาหรือเสียไปซึ่งสิทธิของบุคคลหรือเป็นวิธีให้หลุดพ้นจากพันธะต่างๆ ดังที่กำหนดไว้ในกฎหมายบ้านเมืองของแต่ละชาติ โดยคงไว้ซึ่งข้อยกเว้นต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราต่างๆ ของประมวลกฎหมายนี้

๑๙๘. สิทธิครอบครองใดๆ จะไม่เป็นผล ถ้าไม่ตั้งบนฐานของความสุจริตใจ ไม่เพียงแต่เวลาเริ่มต้นครอบครอง แต่ตลอดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อจะได้สิทธิครอบครองนั้น โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมาตรา  ๑๓๖๒

๑๙๙. สิ่งต่อไปนี้ไม่อยู่ในข่ายของสิทธิครองครอง

๑.สิทธิและพันธะที่มาจากกฎของพระเจ้า ทั้งที่เป็นกฎธรรมชาติหรือที่บัญญัติขึ้น

๒.สิทธิที่สามารถได้มาโดยทางอภิสิทธิ์จากสันตะสำนักเท่านั้น

๓.สิทธิและพันธะ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน

๔.เขตแดนที่แน่ชัดและไม่เป็นที่สงสัยของดินแดนของพระศาสนจักร

๕.เงินทำบุญมิสซาและภาระถวายมิสซา

๖.การแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ในพระศาสนจักร ซึ่งเรียกร้อง การใช้อำนาจศีลบรรพชาในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

๗.สิทธิเยี่ยมเยียนและพันธะต้องนบนอบ ชนิดที่คริสตชนไม่สามารถได้รับการเยี่ยมเยียนจากผู้มีอำนาจฝ่ายพระศาสนจักรคนใดเลย และไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจใดเลย