หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๑ กฎหมายพระศาสนจักร

Can. 7 A law comes into existence when it is promulgated.

Can. 8 $1. Universal ecclesiastical laws are promulgated by being published in the official commentary Acta Apostolicae Sedis unless another form of promulgation is prescribed for individual cases. These laws become effective only after   three   months   have elapsed from the date of that issue of the Acta, unless they have binding force immediately form the very nature of the matter they treat or unless the law itself specifically and expressly suspends its force for a shorter or longer period.

$2. Particular laws are promulgated in a manner determined by the legislator, and they begin to bind one month from the date of promulgation, unless another time period is determined in the law itself.

Can. 9 Laws deal with the future and not the past, unless specific provision be made in the laws concerning the past.

Can. 10 Only those laws which expressly state that an act is null or that a person is incapable of acting are to be considered to be invalidating or incapacitating.

Can. 11 Merely ecclesiastical laws bind those baptized in the Catholic Church or received into it and who enjoy the sufficient use of reason and unless  the law  expressly    provides otherwise, have completed seven years of age.

Can. 12 $1. All persons for whom universal laws were passed are bound by them everywhere.

$2. However, all persons who are actually present in a certain territory are exempted from the universal laws which do not have force in that territory.

$3. With due regard for the prescription of can. 13, laws established for a particular territory bind those for whom they were passed when these persons have a domicile or a quasi-domicile there and are likewise actually present in the territory.

Can. 13 $1. Particular laws are not presumed to be personal but territorial, unless it is otherwise evident.

$2. Travelers:

1. are not bound by the particular laws of their own territory

as long as they are absent from it unless their violation would cause harm in their own territory or unless

the laws are personal ones;

2. are not bound by the laws of the territory in which they are present with the exception of those laws which provide for public order, which determine the formalities of

legal actions, or which deal with immovable goods situated in that territory.

$3. Transients (vagi) are bound by both universal laws and the particular laws which are in force in the place where they are present.

Can. 14 When there is a doubt of law, laws do not bind even if they be nullifying and disqualifying ones. When there is a doubt of fact, however, ordinaries can dispense from them. In the latter case, if it is a question of a reserved dispensation, the ordinaries can dispense so long as the dispensation is usually granted by the authority to whom it is reserved.

Can. 15 $1. Ignorance or error concerning invalidating or incapacitating laws does not hinder

their effectiveness unless it is expressly determined otherwise.

$2. Ignorance or error about a law, a penalty, a fact concerning oneself, or a notorious fact concerning another is not

presumed ; it is presumed about  a    fact  concerning  another which  is  not notorious until the contrary is proven.

Can. 16 $1. Laws are authentically interpreted by the legislator and by the one to whom the legislator has granted the power to interpret them authentically.

$2. An authentic interpretation communicated in the form of a law has the same force as the law itself and must be promulgated. Furthermore, if such an interpretation merely declares what was certain in the words of the law in themselves, it has retroactive force; if it restricts or extends the law or if it explains a doubtful law, it is not retroactive.

$3. However, an interpretation contained in a judicial decision or an administrative act in a particular matter does not have the force of law and binds only the persons and affects only those matters for which it was given.

Can. 17 Ecclesiastical laws are to be understood in accord with the

proper   meaning   of  the    word considered in their text and context. If the meaning remains doubtful and obscure, recourse is to be taken to parallel passages, if such exist, to the purpose and the circumstances of the law, and to the mind of the legislator.

Can. 18 Laws which establish a penalty or restrict the free exercise of rights or which contain an exception to the law are subject to a strict interpretation.

Can. 19 Unless it is a penal matter, if an express prescription of universal or particular law or a custom is lacking in some particular matter, the case is to be decided in light of laws passed in similar circumstances, the general principles of law observed with canonical equity, the jurisprudence and praxis of the Roman Curia, and the common and constant opinion of learned persons.

Can. 20 A later law abrogates a former law or derogates from it if it expressly states so, if it is directly

contrary to it,  or   if  it   entirely

reorders the subject matter of the former law; but a universal law in no way derogates from a particular or special law unless the law itself expressly provides otherwise

Can. 21 In a case of doubt the revocation of a pre-existent law is not presumed, but later laws are to be related to earlier ones and, insofar as it is possible, harmonized with them.

Can. 22 Civil laws to which the law of the Church defers should be observed in canon law with the same effects, insofar as they are not contrary to divine law and unless it is provided otherwise in canon law.

๗. กฎหมายมีขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้

๘. วรรค ๑ กฎหมายพระศาสนจักรสากลประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยการพิมพ์ในหนังสือทางการของสันตะสำนัก “Acta Apostolicae Sedis” เว้นไว้แต่ว่ามีการกำหนดใช้รูปแบบอื่นในการประกาศเป็นกรณีเฉพาะกฎหมายต่างๆ มีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อผ่านไปแล้ว นับจากวันที่ปรากฎในหนังสือทางการของสันตะสำนักฉบับพิเศษ เว้นไว้แต่ว่าตามลักษณะของกฎหมาย

นั้น มีผลบังคับใช้ทันทีหรือเมื่อกฎหมายนั้นมีข้อกำหนดพิเศษอย่างแจ้งชัดให้มีผล

ก่อนหรือหลังระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติ

วรรค ๒ กฎหมายพระศาสนจักรเฉพาะถิ่นประกาศใช้ตามที่ผู้ออกกฎหมายกำหนด และให้มีผลบังคับใช้หลังจากหนึ่งเดือน นับจากวันประกาศใช้ เว้นไว้แต่ว่า ได้กำหนดระยะเวลาเป็นอย่างอื่นในตัวบทกฎหมายเอง

๙. กฎหมายใช้กับเรื่องในอนาคต มิใช่เรื่องในอดีต เว้นไว้แต่ว่ามีการระบุไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับเรื่องในอดีต

๑๐. เฉพาะกฎหมายที่ระบุให้การกระทำเป็นโมฆะหรือให้บุคคลเป็นผู้ไร้ความสามารถอย่างชัดแจ้งเท่านั้น เป็นกฎหมายว่าด้วยโมฆะกรรมหรือว่าด้วยบุคคลไร้ความสามารถ

๑๑. กฎหมายที่เป็นของพระศาสนจักรโดยเฉพาะใช้บังคับผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรคาทอลิก หรือผู้ที่พระศาสนจักรรับเข้ามาและเป็นผู้ที่สามารถใช้เหตุผลได้อย่างเพียงพอ และเป็นผู้มีอายุครบ 7 ปี บริบูรณ์  เว้นไว้แต่ว่า กฎหมายระบุไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้ง

๑๒. วรรค ๑ ทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎหมายสากล (Universal laws) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสากลเหล่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

วรรค ๒ อย่างไรก็ตาม ทุกคนที่อยู่จริงๆ ในเขตแดนบางแห่งได้รับการยกเว้นจากกฎหมายสากลที่ไม่มีผลบังคับใช้ในเขตแดนนั้น

วรรค ๓ กฎหมายที่ตราไว้เฉพาะถิ่น ใช้บังคับผู้ที่อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น และผู้ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนา (quasi-domicile) ในถิ่นนั้น และยังอาศัยอยู่ในถิ่นนั้นจริงๆ โดยคงไว้ซึ่ง มาตรา 13

๑๓. วรรค ๑ ต้องไม่สันนิษฐานว่ากฎหมายเฉพาะถิ่นเป็นกฎหมายติดตัวบุคคล แต่เป็นกฎหมายสำหรับพื้นที่ เว้นไว้แต่ว่าเป็นอย่างอื่นอย่างแจ้งชัด

วรรค ๒ ผู้เดินทางไม่ขึ้นต่อ

๑. กฎหมายเฉพาะของถิ่นตนเองขณะที่มิได้อยู่ในถิ่นนั้น เว้นแต่ว่าการละเมิดกฎหมายนั้น     ก่อให้เกิดความเสียหายในถิ่นของตนเองหรือเว้นแต่ว่าเป็นกฎหมายติดตัวบุคคล

๒. กฎหมายของถิ่นที่ตนปรากฎตัวอยู่ เว้นแต่เป็นกฎหมายที่ตราเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสาธารณะหรือที่กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับนิติกรรม     หรือที่เกี่ยวกับ

อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่นั้น

วรรค ๓ พวกเร่ร่อนต้องขึ้นกับกฎหมายทั้งสากลและเฉพาะถิ่นที่มีผลบังคับในถิ่นที่ผู้นั้นปรากฎตัวอยู่

๑๔. แม้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับโมฆะกรรมหรือบุคคลผู้ไร้ความสามารถกฎหมายไม่บังคับ หากมีความสงสัยเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายกับข้อเท็จจริง ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถยกเว้นได้ โดยมีเงื่อนไขว่าหากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่มีการสงวนไว้ก็เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจให้การยกเว้น เคยให้การยกเว้น

๑๕. วรรค ๑ ความไม่รู้ หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเป็นโมฆะ (Invalidating laws) หรือว่า

ด้วยการไร้ความสามารถ (Incapacitating laws) ไม่เป็นอุปสรรคต่อผลของกฎหมายนั้น เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้ง

วรรค ๒ ห้ามสันนิษฐานว่ามีความไม่รู้หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมาย เกี่ยวกับการลงโทษ เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง หรือเกี่ยวกับ

 พฤติกรรมที่เป็นที่รู้จักกัน   โดยทั่วไปของผู้อื่น พฤติกรรมของผู้อื่นที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปให้สันนิษฐานได้จนกว่าจะมีการพิสูจน์ได้ผลตรงกันข้าม

๑๖. วรรค ๑ ผู้ที่มีอำนาจตีความกฎหมายคือผู้ตรากฎหมายและผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตีความจากผู้ตรากฎหมายนั้นเอง

วรรค ๒ การตีความอย่างเป็นทางการที่กระทำในรูปแบบของกฎหมายมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับตัวบทกฎหมายเอง และต้องมีการประกาศใช้ หากเป็นเพียงการชี้แจงความหมายของคำที่ชัดแจ้งในตัวเองอยู่แล้วเท่านั้น ก็ให้มีผลย้อนหลังด้วย แต่หากเป็นการตีความแคบลงหรือให้กว้างขึ้น หรือเป็นการขจัดความสงสัยก็ไม่มีผลย้อนหลัง

วรรค ๓ อย่างไรก็ตาม การตีความในรูปแบบคำตัดสินของขบวนการยุติธรรม (judicial decision) หรือในรูปแบบการบริหารในกรณีเฉพาะ (administrative act) ไม่มีผลบังคับเช่น กฎหมายและผูกมัดเฉพาะบุคคลและมีผลเฉพาะเรื่องที่มีการตีความเท่านั้น

๑๗. ต้องเข้าใจกฎหมายพระศาสนจักรตามความหมายเฉพาะของคำโดย

พิจารณาจากตัวบทและบริบทของกฎหมายนั้น หากความหมายยังเป็นที่สงสัยและคลุมเครืออยู่ ให้เทียบดูจากกฎหมายอื่นที่มีข้อความในลักษณะเดียวกัน ถ้าหาเทียบได้ พร้อมทั้งพิจารณาจุดประสงค์และที่มาของกฎหมายรวมทั้งจากเจตนารมณ์ของผู้ตรากฎหมายด้วย

๑๘. กฎหมายที่กำหนดการลงโทษหรือจำกัดเสรีภาพในการใช้สิทธิ์ หรือบรรจุข้อยกเว้นจากกฎหมาย ให้ตีความอย่างเคร่งครัด (strict interpretation)

๑๙. เว้นไว้แต่ว่าเป็นคดีอาญา หากไม่มีข้อกำหนดชัดแจ้งของกฎหมายสากล หรือกฎหมายเฉพาะถิ่น หรือประเพณีในกรณีเฉพาะบางกรณีให้ตัดสินคดีนั้นๆ ตามแนวกฎหมายที่ตราไว้สำหรับเรื่องที่คล้ายคลึงกัน ตามหลักทั่วๆ ไปของกฎหมาย    โดยยึดหลักธรรมของพระศาสนจักร (Canonical Equity)หลักนิติศาสตร์(jurisprudence) และหลักปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนกลางของพระศาสนจักร (Roman Curia) รวมทั้งความคิดเห็นส่วนใหญ่และสม่ำเสมอของผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย

๒๐. กฎหมายที่ออกมาภายหลัง เพิกถอนกฎหมายที่ออกมาก่อนทั้งหมดหรือลิดรอนบางส่วน ถ้ามีการระบุไว้

อย่างชัดแจ้งเช่นนั้น หรือถ้าขัดกับกฎหมายที่ออกมาก่อนโดยตรง หรือถ้าเป็นการเรียบเรียงใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายที่ออกมาก่อนทั้งหมด แต่กฎหมายสากล ไม่ลิดรอนกฎหมายเฉพาะถิ่นหรือกฎหมายพิเศษ เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายนั้นได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้ง

๒๑. ในกรณีสงสัย ห้ามสันนิษฐานว่ากฎหมายที่มีอยู่ก่อนถูกยกเลิก แต่ให้นำกฎหมายที่ออกมาภายหลังเข้าหากฎหมายที่มีอยู่ก่อน และผสมผสานให้กลมกลืนกันเท่าที่เป็นไปได้

๒๒. กฎหมายบ้านเมือง (Civil law) ส่วนที่พระศาสนจักรให้ยึดถือนั้น ให้นำ

มาปฏิบัติในกฎหมายพระศาสนจักรพร้อมกับผลอันเดียวกัน ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับกฎพระเจ้า (Divine law) และเว้นไว้แต่ว่า กฎหมายพระศาสนจักรได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น