หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ 8 อำนาจการปกครอง

Can.129 $1 In  accord with the prescriptions of law, those who have received sacred orders are capable of the power of overnance, which exists in the Church by divine institution and is also called the power of jurisdiction.

$2 Lay members of the Christian faithful can cooperate in the exercise of this power in accord with the norm of law.

Can.130 The power of governance is normally exercised in the external forum, but sometimes it is exercised in the internal forum only, but in such a way that the effects which its exercise normally has in the external forum are not acknowledged in this forum except as is extablished by law in certain instances.

Can.131 $1 The ordinary power of governance is that which is joined to a certain office by the law itself; delegated power is that which is granted to a person, but not by means of an office

$2 The ordinary power of governance can be either proper or vicarious.

$3 The burden of proving delegation rests with the person who claims to have been delegated.

Can.132 $1 Habitual faculties are governed by the prescriptions for delegated power.

$2 However, unless otherwise expressly provided in the grant of faculties or unless an ordinary was chosen for his personal qualifications, a habitual faculty granted to an ordinary is not withdrawn when that ordinary’s authority ceases, even though he has started to execute the faculty, but it transfers to any ordinary who succeeds him in governance.

Can.133 $1 A delegate who exceeds the limits of the mandate with respect to matters or to persons acts invalidly.

$2 A delegate who acts in delegated matters in a manner other than that determined in the mandate is not considered to have exceeded the limits of the mandate unless the manner of acting was prescribed for validity by the one delegating.

Can.134 $1 By the title of ordinary in the law are understood, in addition to the Roman Pontiff, diocesan bishops and other who, even if only on an interim basis, have been placed over a particular church or over a community which is equivalent to it according to the norm of can.368 as well as those who possess ordinary general executive power in said churches and communities, namely vicars general and episcopal vicars; and like wise for their own members the major superiors of clerical religious institutes of pontifical right and of clerical societies of apostolic life of pontifical right, who possess at least ordinary executive power.

$2 By the title of local ordinary are understood all those mentioned in $1, except superiors of religious institutes and societies of apostolic life.

$3 Whatever things in the canons in the realm of executive power which are attributed by name to    the   diocesan   bishop   are understood to pertain  only  to the

diocesan bishop and to others equivalent to him in can. 381, $2, excluding the vicar general and the episcopal vicar unless they have received a special mandate.

Can.135 $1 The power of governance is distinguished as legislative, executive and judicial.

$2 Legislative power is to be exercised in the manner prescribed by law, and that legislative power in the Church possessed by a legislator below the highest authority cannot be validly delegated, unless otherwise explicitly provided for in the law; a law which is contrary to a higher law cannot be validly enacted by a lower level legislator.

$3 Judicial power, which is possessed by judges or judicial colleges, is to be exercised in the manner prescribed by law and cannot be delegated, except to carry out acts which are preparatory to a decree or a decision.

$4 In regard to the exercise of executive power, the prescriptions of the following canons are to be observed.

Can.136 A person can exercise executive power over his subjects, even though he himself is outside his own territory and even when they are outside his territory, unless the contrary is certain from the natrue of the case or from the prescription of the law; he can also exercise this power over travelers actually present in his territory, provided it is a matter of granting favors or of enforcing either universal laws or particular laws by which they are bound according to the norm of can.13 &2, n.2

137. $1 Ordinary executive power can be delegated both for a single act and for a all cases, unless the law expressly provides otherwise.

$2 Executive power delegated by the Apostolic See can be subdelegated, whether for a single act or for all cases,   unless  the delegation was granted In view of the special qualifications of the delegate or unless subdelegation was expressly prohibited.

$3 If executive power delegated  by   another    authority

having ordinary power was delegated for all cases, it can be subdelegated only for individual cases; if, however, it was delegated for a single act or for determined acts it cannot be subdelegated except by the expressed grant of the one delegating.

$4 No subdelegated power can be again subdelegated, unless this has been expressly granted by the one delegaing.

Can.138 Ordinary executive power as well as power delegated for all cases is to be broadly interpreted; any other is to be strictly interpreted; however, a person who has received delegated power is understood to have also been granted whatever is necessary to exercise that power.

Can.139 $1 Unless other provision is made in the law, the fact that a person approaches a competent authority, even one which is higher, does not suspend the executive power of another competent authority, whether this be ordinary or delegated.$2 Nevertheless, a lower authority should not become involved in cases which have been submitted to a higher authority, except for a grave and urgent reason, in which case the lower authority should immediately notify the higher concerning the matter.

Can.140 $1 When several persons have been delegated in solidum to transact the same business, the one who first undertakes to deal with it excludes the others from acting, unless thereafter that person is impeded or does not wish to proceed further in treating the matter.

$2 When several persons have been delegated to transact some business collegially, all must proceed according to the norm of can.119, unless in their mandate some other provision has been made.

$3 Executive power delegated to several persons is presumed to have been delegated to them in solidum.

Can.141 If several persons have been successively delegated,    tha

person should transact the business whose mandate is prior to the others and has not later been revoked.

Can.142 $1 Delegated power ceases by fulfillment of the mandate, by the lapse of the time or by the completion of the number of cases for which it was granted, by cessation of the final cause of the delegation, by the revocation of the one delegating directly communicated to the delegate, as well as by the resignation of the delegate made known to and accepted by the one delegating; it does not cease, however, by the expiration of the authourity of the one delegation, unless this is clear from clauses appended to the grant.Can.143 $1 Ordinary power ceases by the loss of the office to which it is connected.

$2 Unless the law provides otherwise, ordinary power is suspended in the event that a privation of or removal from office is legitimately appealed or recourse taken.$2 An act of delegated power, however, which is exercised only for the internal forum and which is placed inadvertently after the lapse of the time of the grant, is valid.

Can.144 $1 In common error about fact or about law, and also in positive and probable doubt about law or about fact, the Church supplies executive power of governance both for the external and for the internal forum.

$2 This same norm applies to the faculties mentioned in cann. 883,966 and 1111,$1๑๒๙. วรรค ๑ บุคคลที่ได้รับศีลบวชสามารถใช้อำนาจการปกครอง ตาม

ข้อกำหนดของกฎหมาย  เป็นอำนาจที่พระเป็นเจ้าทรงสถาปนาขึ้นในพระ  ศาสนจักร และยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอำนาจตัดสิน

วรรค ๒ คริสตชนที่เป็นฆราวาสสามารถมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจนี้ ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย

๑๓๐. อำนาจปกครอง ตามปกติใช้สำหรับขอบเขตภายนอก แต่บางครั้งมีการใช้เฉพาะขอบเขตภายในเท่านั้น ซึ่งผลจากการกระทำปรากฎในขอบเขตภายนอกด้วย แต่กฎหมายไม่รับรู้ ยกเว้น กฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สำหรับบางกรณี

๑๓๑. วรรค ๑ อำนาจปกติของการปกครองเป็นอำนาจที่ผูกติดกับตำแหน่งโดยตัวบทกฎหมายเอง อำนาจที่ได้รับมอบหมายเป็นอำนาจที่มอบให้แก่ตัวบุคคลเอง แต่มิใช่มอบให้เพราะตำแหน่ง

วรรค ๒ อำนาจปกติของการปกครองอาจเป็นอำนาจเฉพาะตน หรือในฐานะผู้แทน

วรรค ๓ ผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจมีหน้าที่พิสูจน์การได้รับมอบอำนาจนั้น

๑๓๒. วรรค ๑ อำนาจให้ปฏิบัติเป็นประจำถูกควบคุมโดยข้อกำหนดเกี่ยวกับอำนาจที่ได้รับมอบ (delegated power)

วรรค ๒ อย่างไรก็ตาม เว้นไว้แต่ว่าได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้งในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติ หรือเว้นไว้แต่ว่าผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจได้รับเลือกเพราะคุณสมบัติส่วนตัวของตน อำนาจให้ปฏิบัติเป็นประจำที่มอบให้แก่ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจจะไม่สิ้นสุดลง เมื่อผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจนั้นหมดอำนาจ แม้ว่าเมื่อผู้นั้นเริ่มใช้อำนาจไปแล้วก็ตาม แต่อำนาจให้ปฏิบัตินั้นจะตกไปยังใครไม่ว่าที่สืบตำแหน่งปกครองแทน

๑๓๓ วรรค ๑ ผู้ได้รับมอบอำนาจทำการเกินอำนาจที่ได้รับมอบไม่ว่าเกี่ยวกับเรื่องราวหรือบุคคลใดๆ ให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นโมฆะ

วรรค ๒ ผู้ได้รับมอบอำนาจที่ปฏิบัติในเรื่องที่ได้รับมอบหมายในวิธีการอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดในคำสั่งไม่ถือว่าได้กระทำการเกินขอบเขตของคำสั่ง เว้นไว้แต่ว่าผู้มอบอำนาจได้ระบุวิธีการปฏิบัตินั้น เพื่อให้มีผลตามกฎหมาย

๑๓๔. วรรค ๑ ตำแหน่งผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจในทางกฎหมายนั้น นอกเหนือจากพระสันตะปาปาแล้วหมายถึงบรรดาพระสังฆราชสังฆมณฑลและผู้อื่น ซึ่งแม้จะเป็นผู้รักษาการชั่วคราวก็ตาม ได้รับมอบให้ปกครองพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น หรือหมู่คณะที่มีฐานะเทียบเท่าตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๓๖๘ รวมทั้งผู้ซึ่งมีอำนาจบริหารทั่วไปตามปกติ ในพระศาสนจักรและหมู่คณะดังกล่าว ซึ่งได้แก่ อุปสังฆราชและผู้ช่วยพระสังฆราช (episcopal vicar) (vicar a.) eepis v.) และเช่นเดียวกันสำหรับสมาชิกของคณะ ยังหมายถึงอธิการใหญ่(major superiors) ของสถาบันนักบวชที่เป็นสมณะที่ขึ้นต่อสันตะสำนักและของคณะชีวิตธรรมทูตที่เป็นสงฆ์ที่สังกัดกับสันตะสำนัก ผู้ซึ่งอย่างน้อยที่สุดมีอำนาจบริหารปกติ

วรรค ๒ ตำแหน่งผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจประจำท้องถิ่นหมายถึง ผู้ที่กล่าวไว้ในวรรค ๑ ยกเว้น อธิการของสถาบันนักพรตและคณะชีวิตธรรมทูต (societies of aposstolic life)

วรรค ๓ อะไรก็ตาม ที่ระบุว่าเป็นอำนาจบริหารของพระสังฆราชสังฆมณฑลก็หมายถึง  พระสังฆราชสังฆมณฑลและผู้อื่นที่มีอำนาจเทียบเท่าตามมาตรา ๓๘๑ วรรค ๒ เท่านั้น โดยไม่รวมถึงอุปสังฆราชและผู้ช่วยพระสังฆราช เว้นไว้แต่ว่าเมื่อได้รับการมอบหมายเป็นพิเศษ

๑๓๕. วรค ๑ อำนาจปกครองจำแนกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

วรรค ๒ ให้ใช้อำนาจนิติบัญญัติตามวิธีการที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย และผู้มีอำนาจนิติบัญญัติที่มีตำแหน่งต่ำกว่าผู้มีอำนาจสูงสุดในพระศาสนจักร ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นอย่างมีผลตามกฎหมาย เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้ง กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับกฎหมายที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าจะไม่สามารถตราให้มีผลตามกฎหมายได้โดยผู้ตรากฎหมายที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า

วรรค ๓ ให้ใช้อำนาจตุลาการซึ่งเป็นของผู้พิพากษาหรือคณะผู้พิพากษา ตามวิธีการที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายและเป็นอำนาจที่ไม่สามารถมอบให้ทำแทนกันได้เว้นแต่ว่าเป็นการกระทำเพื่อเป็นการเตรียมการประกาศหรือการตัดสิน

วรรค ๔ เกี่ยวกับเรื่องการใช้อำนาจบริหารนั้นให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตราต่างๆ ต่อไปนี้

๑๓๖. บุคคลใด บุคคลหนึ่งสามารถใช้อำนาจบริหารกับผู้อยู่ใต้ปกครองได้ แม้ว่าผู้ใช้อำนาจนั้นจะอยู่นอกเขตปกครองของตน และแม้ว่าผู้อยู่ใต้ปกครองอยู่นอกเขตปกครองของผู้นั้นก็ตาม เว้นไว้แต่ว่าเป็นเรื่องแจ้งชัดเป็นอย่างอื่นจากธรรมชาติของเรื่องหรือจากข้อกำหนดของกฎหมาย ผู้นั้นยังสามารถใช้อำนาจนี้กับผู้เดินทางซึ่งขณะนั้นอยู่ในเขตปกครองของตน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการให้ประโยชน์หรือการบังคับใช้ไม่ว่ากฎหมายสากลหรือกฎหมายเฉพาะถิ่นที่พวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายมาตรา ๑๓ วรรค ๒ ข้อ ๒

๑๓๗. วรรค ๑ อำนาจบริหารปกติ สามารถมอบให้ผู้อื่นทำการแทนได้ทั้งเฉพาะกรณีและทุกกรณี เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้ง

วรรค ๒ อำนาจบริหารที่สันตะสำนักมอบให้สามารถมอบต่อให้ผู้อื่นทำการแทนได้ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะกรณี หรือทุกกรณี เว้นไว้แต่ว่า อำนาจทำการแทนได้มาเพราะคุณสมบัติส่วนตัวหรือเว้นไว้แต่ว่ามีการสั่งห้ามไว้อย่างชัดแจ้งมิให้มอบอำนาจต่อ

หากว่าได้รับมอบให้ใช้ได้ทุกกรณีก็สามารถมอบต่อได้เป็นกรณี ถ้าหากว่าได้รับมอบให้ใช้เฉพาะกรณีหรือเฉพาะกรณีที่เจาะจงก็มอบต่อไม่ได้ ยกเว้นผู้มอบอำนาจระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่ามอบต่อได้

วรรค ๔ อำนาจที่ได้รับช่วงมาไม่สามารถมอบช่วงต่อไปอีก เว้นไว้แต่ว่าผู้มอบอำนาจ ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่ามอบต่อได้

๑๓๘. อำนาจบริหารปกติและอำนาจที่ได้รับมอบแบบใช้ได้ทุกกรณีให้ตีความอย่างกว้างๆ ส่วนอำนาจอื่นทั้งหลายให้ตีความอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ให้เข้าใจว่าผู้ที่ได้รับมอบอำนาจก็ได้รับมอบสิ่งอื่นที่จำเป็นในการใช้อำนาจนั้นด้วย

๑๓๙ วรรค ๑ เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าหาผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ แม้ว่าผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจนั้นจะมีอำนาจ

วรรค ๒ กระนั้นก็ตาม ผู้มีอำนาจต่ำกว่าก็ไม่ควรไปเกี่ยวข้องกับกรณีที่ได้ยื่นต่อผู้มีอำนาจสูงกว่าแล้ว ยกเว้นมีเหตุผลสำคัญและเร่งด่วน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ผู้มีอำนาจต่ำกว่าควรแจ้งให้ผู้มีอำนาจสูงกว่าทราบทันที

๑๔๐. วรรค ๑ เมื่อมีการมอบอำนาจแก่หลายบุคคลแบบเป็นกลุ่ม (in solidum) เพื่อทำกิจ-การเดียวกัน บุคคลแรกที่ทำกิจการนั้น ก็กันผู้อื่นมิให้ทำกิจการดังกล่าว  เว้นไว้แต่ว่าต่อมาภายหลังผู้นั้นมีอุปสรรคขัดขวางหรือไม่ปรารถนาจะทำกิจการนั้นต่อไป

วรรค ๒ เมื่อมีการมอบอำนาจให้หลายบุคคลทำการในลักษณะเป็นคณะ ทุกคนต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๑๙ เว้นไว้แต่ว่า ได้มีการระบุไว้ในคำสั่งให้เป็นอย่างอื่นวรรค ๓ อำนาจบริหารที่มอบให้แก่หลายบุคคลให้สันนิษฐานว่าเป็นการมอบอำนาจให้แบบเป็นกลุ่ม (in solidum)

๑๔๑ หากมีหลายบุคคลได้รับมอบอำนาจต่อเนื่องกันเป็นลำดับ   ผู้ได้รับ

มอบอำนาจก่อน ทั้งยังไม่ถูกเรียกอำนาจคืนควรเป็นผู้ปฏิบัติ

๑๔๒. วรรค ๑ อำนาจที่ได้รับมอบสิ้นสุดลง เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ; เมื่อครบกำหนดเวลา หรือเมื่อปฏิบัติครบตามจำนวนกรณีที่มอบหมายให้ เมื่อจุดหมายของการมอบอำนาจหมดไป ; เมื่อผู้มอบอำนาจได้เรียกอำนาจคืน และได้แจ้งการเรียกคืนนั้นแก่ผู้รับมอบอำนาจโดยตรง รวมทั้งเมื่อผู้รับมอบอำนาจได้สละสิทธิ์และผู้มอบอำนาจได้รับรู้และยอมรับการสละสิทธิ์นั้นแล้ว ; อย่างไรก็ตาม อำนาจที่รับมอบไม่สิ้นสุดลงพร้อมกับการสิ้นสุดตำแหน่งของผู้มอบอำนาจ เว้นไว้แต่ว่าเรื่องนี้มี  ปรากฏในข้อความพ่วงท้ายที่มอบให้๑๔๓. วรรค ๑ อำนาจปกติที่ติดอยู่กับตำแหน่งจบสิ้นลงพร้อมกับการพ้นจากตำแหน่ง

วรรค ๒ เว้นไว้แต่ว่า กฎหมายระบุไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจปกติให้พักไว้ ถ้าหากว่าการไล่ออกหรือการปลดจากตำแหน่งอยู่ระหว่างการอุทรณ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือเมื่อการร้องเรียน

วรรค ๒ อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามอำนาจที่ได้รับมอบซึ่งเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องภาย(Interal farnum) ในเท่านั้น ถ้าหากว่า ได้ปฏิบัติโดยไม่ตั้งใจ หลังจากครบกำหนดเวลาไปแล้วให้ถือว่ามีผลตามกฎหมาย

๑๔๔. วรรค ๑ หากเป็นความหลงผิดทั่วไปร่วมกันในเรื่องข้อเท็จจริง หรือเรื่องข้อกฎหมาย เช่นเดียวกันความสงสัยที่มีมูลน่าเป็นไปได้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อเท็จจริง พระศาสนจักรชดเชยอำนาจบริหารในการปกครองทั้งเกี่ยวกับเรื่องภายนอกและภายใน

วรรค ๒ กฎเกณฑ์เดียวกันนี้ให้ใช้กับการใช้อำนาจให้ปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๘๘๓,๙๖๖ และ ๑๑๑๑ วรรค ๑ ด้วย