หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๖ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

หมวด ๑

Can.96 By Baptism one is incorporated into the  Church  of Christ and in constituted a person in it with duties and rights which

Can.97 $1 A person who has completed the eighteenth year of age is an adult, below this age, a person is a minor.

$2 Before the completion of the seventh year a minor is called to be an infant and is held to be incompetent; with the completion of the seventh years one is presumed to have the use of reason.

Can.98 $1 An adult person enjoys the full use of his or her rights.

$2 A minor person remains subject to the authority of parents or guardians in the exercise of his or her rights, with the exception of those areas in which minors by divine law or canon law are exempt from their power; with reference to the designation of guardians and their authority, the prescritptions of the civil law are to be followed unless canon law determines otherwise or unless the diocesan bishop in certain cases for a just cause has decided to provide otherwise through the designation of some other guardian.

Can.99 Whoever habitually lacks the  use  of  reason  is  held  to be

incompetent and is equated with infants.

Can.100 A person is called a resident in the place where one has a domicil; a temporary resident in the place where one has a quasi-domicile; a traveler when outside the place of domicile or quasi-domicile which is still retained; and a transient  if one has neither domicil nor quasi-domicile anywhere

Can.101 $1 The place of origin of a child, even of a neophyte, is that in which the parents had a domicile, or in its absence a quasi-domicile, at the time the child was born or, it the parents did not have the same domicil or quasi-domicile, that of the mother .

$2 In the case of a child of transients, the place of origin is the place of birth; in the case of an abandoned child, it is the place in which the child was found.

Can.102 $1 Domicile is acquired by residence within the territory of a certain parish or at least of a diocese, which either is joined with the intention  of  remaining  there
permanently unless called away, or has ben protracted for five complete years.

$2 Quasi-domicil is acquired by residence within the territory of a certain parish or at least of a diocese, either is joined with the intention of remaining there at least three months, unless called away, or has in fact been protracted for three months.

$3 A domicile or quasi-domicile within the territory of a parish is called parochial; in the territory of a diocese, even though not in a particular parish, it is called diocesan.

Can.103 Members of religious institutes and societies of apostolic life acquire a domicile in the place of the house to which they are attached; they acquire a quasi-domicile in the house where they are living according to the norm of can.102 $2.

Can.104 Spouses may have a common domicile or quasi-domicile; either can have a proper domicile or quasi-domicile by reason of a legitimate separation or some other just cause.

Can.105 $1 A minor necessarily keeps the domicile or quasi-domicile; of the one to whose power he or she is subject. After passing beyond infancy one can also acquire a quasi-domicile of one’ own; and  one who has been legally emancipated according to the norm of civil law can also acquire a domicile of his or her own.

$2 Whoever has been legally placed under the guardianship or care of another, for some reason other than minority, has the domicil

or quasi domicile of the grardian or urator.

Can.106 Domicile and quasi-domicile are lost by departure from the place with the intention of not returning, with due regard for the prescription of can.105

Can.107 $1 Each person acquires a proper paster and ordinary through both domicile and quasi-domicile.

$2 The proper pastor or ordinary of a transient is the pastor or ordinary of the  place in which

$3 The proper pastor of one who has only a diocesan domicile or quasi-domicile is the pastor of he place in which such a person is actually staying

Can.108 $1 Consanguinity is calculated through lines and degrees.

$2 In the direct line, there are as many degrees as there are generations or persons, not counting the common ancestor.

$3 In the collateral line, there are as many degrees as there are persons in both lines together, not counting the common ancestor

Can.109 $1 Affinity arises from a valid marriage, even if not consummated, and exists between a man and the blood relatives of the woman and between the woman and blood relatives of the man.

$2 It is so calculated that those who are blood relatives of the man are related in the same line and degree by affinity to the woman, and vice versa.

Can.110 Children who have been adopted according to the norm of civil law are considered as being the children of the person or persons who have adopted them.

Can.111 $1 A child of parents who belong to the Latin Church is ascribed to it by reception of baptism, or, if one or the other parent does not belong to the Latin Church and both parents agree in choosing that the child be baptized in the Latin Church, the child is ascribed to it by reception of baptism; but, if the agreement is lacking, the child is ascribed to the Ritual Church to which the father belongs.

$2 Anyone to be baptized who has completed the fourteenth year of age can freely choose to be baptized in the Latin Church or in another Ritual Church sui iuris, and in this case the person belongs to that Church which is chosen.

Can. 112 $1 After the reception of baptism, the following are enrolled in another Ritual Church sui iuris

 

1 one who has obtained permission from the Apostolic See;

2 a spouse who declares at the time of marriage or during marriage that her or she is transferring to the Ritual Church sui iuris of the other spouse; but when the marriage has ended, that person can freely return to the Latin Church;

3 children of those in nn. 1 and 2 under fourteen complete years of age; and similarly children of a Catholic party in a mixed marriage who ligitimately transferred to another Ritual Church. But, when such persons

reach fourteen complete years of age, they may return to the Latin Church.

$2 The custom, however prolonged, of receiving the sacraments according to the rite of anoter Ritual Church sui iuris, does not carry with it inrollment in that Church.สถานะภาพของบุคคลธรรมดาตามกฎหมายพระศาสนจักร

๙๖. โดยทางศีลล้างบาป ผู้หนึ่งผู้ใดรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้า และได้รับสถาปนาให้เป็นบุคคลในพระศาสนจักร๙๗. วรรค ๑ บุคคลผู้ซึ่งมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ใหญ่ ต่ำกว่าอายุนั้นให้ถือว่าเป็นผู้เยาว์

วรรค ๒ ก่อนอายุครบ ๗ ขวบเต็ม ผู้เยาว์ถือว่าเป็นทารก และให้ถือว่าไร้ความสามารถ เมื่ออายุครบ ๗ ขวบเต็มให้ถือว่าเป็นผู้สามารถใช้เหตุผล

๙๘. วรรค ๑ ผู้ใหญ่สามารถใช้สิทธิของตนได้อย่างเต็มที่

วรรค ๒ ผู้เยาว์ใช้สิทธิของตนได้โดยให้อยู่ในอำนาจของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ทั้งนี้มีข้อยกเว้นให้เมื่อเป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ได้รับยกเว้นโดยกฎพระเจ้าหรือกฎหมายพระศาสนจักรให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดตัวผู้ปกครอง อำนาจของผู้ปกครองให้ถือตามกฎหมายบ้านเมือง เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายพระศาสนจักรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น         หรือเมื่อมีเหตุผลสมควรในบางกรณีพระสังฆราชสังฆมณฑลสามารถแต่งตั้งผู้ปกครองคนอื่นได้

๙๙. ผู้ใดก็ตามที่ขาดการใช้เหตุผลเป็นนิจให้ถือเป็นผู้ไร้ความสามารถและให้ถือเสมือนเป็นทารก

๑๐๐. บุคคลที่เป็นผู้อยู่ประจำถิ่นคือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่ทีนมีภูมิลำเนาอยู่ ผู้พักอาศัยชั่วคราวคือ ผู้ที่อาศัยในสถานที่ที่ตนมีกึ่งภูมิลำเนาอยู่ ผู้เดินทางคือผู้ที่อยู่นอกเขตภูมิลำเนา หรือกึ่งภูมิลำเนาโดยที่ตนยังครอบครองภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาของตนอยู่ ผู้เร่ร่อนคือผู้ที่ไม่มีทั้งภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาเลยไม่ว่าที่ใด

๑๐๑. วรรค ๑ ถิ่นกำเนิดของบุตร รวมทั้งผู้เข้าศาสนาใหม่ด้วย คือถิ่นที่บิดามารดาของบุตรมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะที่บุตรเกิด หรือในกรณีที่บิดามารดาไม่มีภูมิลำเนาก็ใช้กึ่งภูมิลำเนาแทนกันได้ หากบิดามารดามิได้มีภูมิลำเนาหรือกึ่งูมิลำเนาเดียวกัน ก็ให้ใช้ภูมิลำเนาขอผู้เป็นมารดาของบุตรนั้น

วรรค ๒ ในกรณีที่เป็นบุตรของผู้เร่ร่อนก็ให้ถือสถานที่บุตรเกิดเป็นถิ่นของบุตร ในกรณีที่บุตรเกิดมาแล้วถูกทอดทิ้งก็ให้ถือสถานที่ที่พบบุตรคนนั้นเป็นถิ่นกำเนิด

๑๐๒. วรรค ๑ ภูมิลำเนาได้มาโดยที่บุคคลอาศัยอยู่ในเขตสังฆตำบลหรืออย่างน้อยในสังฆมณฑล โดยมีเจตนาจะอยู่ถาวร ถ้าไม่มีเหตุจำต้องออกไป หรืออยู่ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปีเต็ม

วรรค ๒ กึ่งภูมิลำเนาได้มาโดยที่บุคคลอาศัยอยู่ในเขตสังฆตำบลหรืออย่างน้อยในเขตสังฆมณฑล โดยมีเจตนาจะอยู่อย่างน้อย ๓ เดือน ถ้าไม่มีเหตุจำต้องออกไป หรืออยู่ต่อเนื่องกันเป็นเวลา ๓ เดือนเต็ม

วรรค ๓ ภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาที่ตั้งอยู่ในเขตวัดใด เรียกว่าภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาสังฆตำบล เมื่อตั้งอยู่ในเขตสังฆมณฑล แม้ว่าจะมิได้อยู่ในเขตวัดโดยเฉพาะ ให้ถือว่าเป็นภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาสังฆมณฑล

๑๐๓. สมาชิกของสถาบันนักพรตและสมาชิกคณะชีวิตธรรมทูตได้มาซึ่งภูมิลำเนาตามสถานที่ตั้งของบ้านที่เขาสังกัดอยู่ กึ่งภูมิลำเนาได้มาโดยการอาศัยอยู่ในบ้าน ทั้งนี้ตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๐๒ วรรค ๒

๑๐๔. คู่สามีภรรยามีภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาร่วมกันได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจมีภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาของตนได้ เมื่อมีการแยกกันอยู่โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือเมื่อมีเหตุอันควร

๑๐๕. วรรค ๑ ผู้เยาว์จำเป็นต้องถือภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาของผู้ที่ตนอยู่ใต้ปกครอง เมื่อผู้เยาว์พ้นวัยทารกแล้ว สามารถมีกึ่งภูมิลำเนาของตนเองได้ และผู้ใดที่เป็นอิสระตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายบ้านเมืองสามารถมีภูมิลำเนาของตนเองได้

วรรค ๒ ผู้ใดก็ตาม นอกเหนือจากเหตุผลการเป็นผู้เยาว์แล้ว ยังมีเหตุผลอื่น ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น ให้ถือเอาภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาของผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์

๑๐๖. ภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาสูญเสียไปโดยการออกจากที่นั่นด้วยความตั้งใจจะไม่กลับมาอีก โดยคงไว้ซึ่งข้อกำหนดมาตรา ๑๐๕

๑๐๗. วรรค ๑ แต่ละบุคคลมีพระสงฆ์เจ้าอาวาสและผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจของตน ทั้งตามภูมิลำเนาและกึ่งภูมิลำเนาได้

วรรค ๒ พระสงฆ์เจ้าอาวาสหรือผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจของผู้เร่ร่อนคืออำนาจของท้องที่ที่ผู้เร่ร่อนอาศัยอยู่ขณะนั้น

วรรค ๓ พระสงฆ์เจ้าอาวาสของผู้ซึ่งมีเพียงแต่ภูมิลำเนาหรือกึ่งภูมิลำเนาสังฆมณฑล คือพระสงฆ์เจ้าอาวาสของสถานที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ขณะนั้น

๑๐๘. วรรค ๑ การร่วมสายโลหิตนับจากสายและระดับชั้น

วรรค ๒ ในสายตรงมีจำนวนระดับชั้นได้มากเท่ากับจำนวนรุ่นหรือจำนวนคน โดยไม่นับผู้เป็นบรรพบุรุษร่วม

วรรค ๓ ในสายขนานมีจำนวนระดับชั้นได้มากเท่ากับจำนวนคนทั้งหมดในสองสายรวมกัน โดยไม่นับผู้เป็นบรรพบุรุษร่วม

๑๐๙. วรรค ๑ ความเกี่ยวดองเกิดขึ้นจากการแต่งงานที่ถูกต้อง แม้ยังมิได้มีเพศสัมพันธ์กันก็ตาม ความเกี่ยวดองมีอยู่ระหว่างชายกับญาติทางสายโลหิตฝ่ายหญิง และระหว่างหญิงนั้นกับญาติทางสายโลหิตของฝ่ายชาย

วรรค ๒ ให้นับว่าผู้ที่เป็นญาติทางสายโลหิตของฝ่ายชายมีความเกี่ยวดองกับฝ่ายหญิงในสายและระดับชั้นเดียวกันและโดยนัยกลับกัน

๑๑๐. เด็กที่ได้รับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายบ้าน-เมืองถือว่าเป็นบุตรของบุคคลผู้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม

๑๑๑. วรรค ๑ เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่สังกัดในพระศาสนจักรลาตินให้นับเข้าอยู่ในพระศาสนจักรนั้น โดยการรับศีลล้างบาปหรือถ้าบิดาหรือมารดามิได้สังกัดในพระศาสนจักรลาตินและทั้งสองได้ตกลงเลือกให้เด็กนั้นรับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรลาตินให้นับเด็กนั้นเข้าในพระศาสนจักรลาติน โดยทางศีลล้างบาป แต่ถ้าไม่มีการตกลงกัน ให้นับเด็กนั้นเข้าในพระ   ศาสนจักรตามจารีตที่บิดาสังกัดอยู่

วรรค ๒ ผู้ที่จะรับศีลล้างบาปซึ่งมีอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกอย่างอิสระที่จะรับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรลาตินหรือในพระศาสนจักรอื่น ที่มีจารีตเป็นของตนเอง (Sui iuris) และในกรณีนี้บุคคลผู้นั้นสังกัดอยู่ในพระ ศาสนจักรที่ตนเลือก

๑๑๒. วรรค ๑ หลังจาการรับศีลล้างบาป บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิกในพระศาสนจักรที่มีจารีตเป็นของตนเอง

๑ ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนัก

๒ คู่บ่าวสาวผู้ซึ่งประกาศในขณะแต่งงานหรือเมื่อแต่งงานแล้ว ว่าจะเปลี่ยนไปอยู่ในพระศาสนจักรที่มีจารีตเป็นของตน (Sui iuris) ของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่เมื่อการแต่งงานสิ้นสุดลงแล้ว ผู้นั้นก็มีอิสระสามารถกลับไปอยู่ในพระศาสนจักรลาตินได้ตามเดิม

๓ บุตรของบิดามารดาตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๔ ปีบริบูรณ์ และเช่นเดียวกันบุตรของฝ่ายคาทอลิกที่แต่งงานแบบต่างนิกาย ที่ได้โอนอย่างถูกต้องตามกฎหมายไปสังกัดพระศาสนจักรจารีตอื่น แต่เมื่อบุคคลผู้นั้นมีอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์ อาจกลับมาสังกัดพระศาสนจักรลาตินได้

วรรค๒ ประเพณีรับศีลศักดิ์สิทธิ์  ตามจารีตของพระศาสนจักรอื่น ที่มีจารีตเป็นของตนเอง (Sui iuris) ไม่ว่าจะนานเท่าใดก็ตาม มิทำให้บุคคลนั้นเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรนั้น