อาจารย์สำคัญอีกคนหนึ่งคือ โอริเจน แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ท่านได้วางแนวทางและเขียนแนวความคิดของท่านเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา โอริเจนกลายเป็นนักคิดคริสตชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นอาจารย์ในช่วงสมัยนั้น อาจารย์ที่ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย คือ โอริเจน (Origen) ผู้ได้อุทิศช่วงเวลาที่โตเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด
ในการสั่งสอนและอธิบายเกี่ยวกับความเชื่อของคริสต์ศาสนา ท่านเกิดที่เมืองอเล็กซานเดรียมในราว ค.ศ.185 ได้รับบทเรียนแรกในเรื่องความเชื่อของคริสต์ศาสนาจากบิดามารดาของท่าน บิดาของท่านชื่อ เลโอนิดัส (Leonidas) และยังได้สอนให้ท่านแสดงความเชื่ออย่างกล้าหาญด้วย เลโอนิดัสเป็นคนที่ยอมพลีชีวิตเป็นมรณสักชีคนหนึ่ง และโอริเจนเองไม่เคยลืมแบบอย่างบิดาของท่านเลย โอริเจนตัดสินใจอุทิศชีวิตของตนเองในการรับใช้พระศาสนาจักร หลังจากที่บิดาของท่านตาย
ทรัพย์สมบัติของครอบครัวก็ถูกรัฐบาลริบเอาไป โอริเจนเริ่มเป็นอาจารย์สอนไวยากรณ์เพื่อจะได้มีเงินจุนเจือครอบครัว ในไม่ช้าพวกศิษย์ของท่านเริ่มนิยมชมชอบในวิธีการเรียนการสอนของท่าน ท่านสอนไวยากรณ์อยู่ได้ไม่นาน คนต่างศาสนาบางคนและเพื่อนคริสชนได้แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับคริสต์ศาสนามากขึ้น และที่สุดโอริเจนก็ได้ตัดสินใจเปิดหลักสูตรของท่านเองในเรื่องคริสต์ศาสนา ท่านเองยังคงศึกษาเกี่ยวกับความคิดของคนต่างศาสนา และความคิดของคริสตชนอย่างต่อเนื่อง และไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนในเมืองอื่นๆ ด้วย
และต่อจากนั้นไม่นาน โอริเจนได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่กรุงเยซูราเล็ม เมื่อโอริเจนอายุประมาณ 18 ปี พระสังฆราชเดเมตรีอุส (Dematrus) ได้ขอร้องท่านให้ไปสอนในโรงเรียนคริสตชนที่เมืองอเล็กซานเดรีย โรงเรีนยนนี้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องภายใต้การนำของท่านเป็นเวลากว่า 28 ปี แต่แล้วท่านก็ถูกกล่าวหาว่าสอนผิดความเชื่อและถูกขับไล่ออกจากเมืองอเล็กซานเดรียม
ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองซีซารียา ในประเทศปาเลสไตน์ และเริ่มสอนในโรงเรียนใหม่ที่นั้นในระหว่างการเบียดเบีนโดยจักรพรรดิเดซิอุส โอริเจนยอมรับการทรมานอย่างกล้าหาญและตายในราว ค.ศ. 254 เป็นไปได้อย่างมาก ที่โอริเจนเป็นนักคริสตชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงสมัยของท่าน ท่านมีอิทธิพลอย่างมากต่อพวกศิษย์ของท่าน เพราะท่านเป็นคนที่มีจิตใจงดงาม
และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง งานของโอริเจน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพระคัมภีร์มีอยู่มากมาย แต่มีเหลือเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้นที่ตกทอดมาถึงพวกเราในทุกวันนี้ |