หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

องค์ประกอบของชีวิตฝ่ายจิตของการทำงาน

พันธะหน้าที่โดยเฉพาะของพระศาสนจักร

ในภาคสุดท้ายเกี่ยวกับข้อคิดเห็นในเรื่องการทำงานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะกล่าวถึงชีวิตฝ่ายจิตของการทำงานตามทัศนะของคริสตชน. ในโอกาสครบรอบเก้าสิบปีของสมณสาส์น RERUM NOVARUM (NOVA) เนื่องจากการทำงานในแง่ผู้กระทำงานนั้น คือกิจกรรมของบุคคล ดังนั้น ผลที่ตามมาคือมนุษย์ทั้งครบ คือกายและจิตใจมีส่วน ในการทำงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงาน หรืองานสมอง. เป็นมนุษย์ทั้งครบนี้เองที่พระวาจาของพระเจ้าทรงชีวิตมุ่งมาหา ซึ่งเป็นข่าวดีแห่งความรอด และเราสามารถค้นพบแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของมนุษย์ และส่องสว่างอย่างพิเศษให้เราเข้าใจการทำงานดังกล่าว. แง่มุมต่างๆ เหล่านี้จำเป็นจะต้องได้รับการดูดซึมเข้าไปอย่างถูกต้อง โดยการชี้นำของความเชื่อ ความหวัง และความรัก ความพยายามภายใน ในส่วนของจิตใจมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อว่าโดยอาศัยแง่มุมเหล่านี้ การทำงาน ของมนุษย์แต่ละคนจะมีความหมายตายสายพระเนตรของพระเจ้า และโดยอาศัยแง่มุมเหล่านี้การทำงานจะเข้ามาอยู่ในกระบวนการแห่งความรอด ซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกับองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย

พระศาสนจักรเห็นว่าเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องพูดถึงเรื่องงานจากแง่มุมของคุณค่าของมนุษย์ และจากระเบียบทางศีลธรรม และเห็นว่านี่เป็นหน้าที่หนึ่งที่สำคัญในการประกาศข่าวดีของตน. ในเวลาเดียวกัน พระศาสนจักรเห็นว่า เป็นหน้าที่เฉพาะของตนที่จะอบรมสั่งสอนชีวิตฝ่ายจิตของการทำงานซึ่งจะช่วยให้คนทุกคนเข้าใกล้พระเจ้า พระผู้สร้างและผู้ไถ่กู้ โดยอาศัยการทำงาน เพื่อร่วมส่วนในแผนการไถ่กู้ สำหรับมนุษย์และโลก และเพื่อทำสัมพันธภาพระหว่างพระคริสต์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในชีวิต โดยการยอมรับการมีส่วนร่วมด้วยชีวิตในภารกิจ 3 ประการ ในฐานะสงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ โดยอาศัยความเชื่อตามคำสอนที่ชัดเจนของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2.

การทำงานเป็นการมีส่วนร่วมในงานของพระผู้สร้าง

สังคายนาวาติกันครั้งที่สองได้กล่าวไว้ว่า “ตลอดระยะนับศตวรรษ มนุษย์ทำงานเพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับชีวิตของตน โดยความพยายามทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมอันควรแก่การระลึกถึง สำหรับผู้ที่มีความเชื่อแล้ว จะเป็นสิ่งที่ยอมรับกันว่า กิจการของมนุษย์ในตัวมันเองก็เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า เหตุว่าซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตามฉายาของพระเจ้า ได้รับพระบัญชาให้นำโลกและสิ่งสร้างทั้งมวลมาอยู่ใต้บังคับของตนและเพื่อปกครองโลกด้วยความยุติธรรม และความศักดิ์สิทธิ์ และยังได้บัญชาให้สร้างควา มสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งทั้งมวลกับพระเจ้าเพื่อพระองค์จะได้รับการยอมรับว่าเป็นพระเจ้า และพระผู้สร้างของทุกสิ่ง. ดังนั้นโดยการที่มนุษย์ทำให้สรรพสิ่งอยู่ใต้บังคับของมนุษย์นั้น พระนามของพระเจ้าจึงได้รับการสรรเสริญบนโลกนี้”

การเปิดเผยพระวาจาของพระเจ้านั้น มีเครื่องหมายลึกซึ้งแห่งความจริงพื้นฐานที่ว่ามนุษย์ผู้ซึ่งถูกส ร้างขึ้นตามฉายาของพระเจ้านั้นมีส่วนร่วมในงานพระผู้สร้างโดยการทำงานของเขา และตามขีดจำกัดความสามารถของมนุษย์เองนั้น มนุษย์ก็ยังพัฒนางานนั้นตลอดมา และทำให้งานนั้นสมบูรณ์ขึ้น เมื่อเขาก้าวหน้าขึ้นในการค้นพบทรัพยากรและคุณค่าซึ่งบรรจุอยู่ในสิ่งสร้างทั้งหลาย เราค้นพบความจริงนี้ได้ตั้งแต่หน้าแรกของพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ในหนังสือปฐมกาล ซึ่งการสร้างโลกนั้นมีรูปแบบของ “การทำงาน” ซึ่งพระเ จ้าทรงกระทำระหว่าง “6 วัน” และทรง “หยุดพัก” ในวันที่เจ็ด. นอกจากนั้นหนังสือฉบับสุดท้ายของพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ยังสะท้อนให้เห็นลักษณะเช่นเดียวกันของสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำโดย “งานสร้าง” ซึ่งมีเขียนไว้ว่า “ผลงานของพระองค์ยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์ยิ่ง ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ” นี่ก็คล้ายคลึงกับหนังสือปฐมกาล ซึ่งสรุปงานการสร้างในแต่ละวันว่า “และพระเจ้าทรงเห็นว่าสิ่งนี้ดี”.

การบรรยายถึงการสร้าง ซึ่งเราพบในบทแรกของหนังสือปฐมกาลนี้ยังเป็น “พระวรสารของการทำงาน” ฉบับแรกด้วย. เพราะมันแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของศักดิ์ศรีของการทำงาน มันสอนเราว่ามนุษย์ควรเอาแบบการทำงานของพระเจ้า พระผู้สร้างของเขา เพราะมนุษย์เท่านั้นมีลักษณะพิเศษที่เหมือนพระเจ้า. มนุษย์ควรเอาแบบอย่างพระเจ้าทั้งในด้านการทำงานและการพักผ่อน ทั้งนี้เพราะพระเจ้าทรงปราร ถนาที่จะแสดงให้เห็นงานการสร้างของพระองค์ในรูปของการทำงานและการพักผ่อน. งานของพระเจ้าในโลกนี้ยังดำเนินต่อไป ตามคำสอนของพระคริสต์ที่ทรงเป็นพยานว่า “พระบิดาของเรายังคงทำงานอยู่” พระองค์ทรงทำงานด้วยพลังสร้างสรรค์ โดยการบำรุงรักษาให้โลกซึ่งพระองค์ทรงสร้างมาจากสิ่งว่างเปล่านั้นคงเป็นอยู่ และทรงทำงานด้วยพลังแห่งการไถ่กู้ในจิตใจของผู้ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ตั้งแต่แรกเริ่มให้ “พักผ่อ น” อยู่กับพระองค์ใน “บ้านของพระบิดาเจ้า” ดังนั้น การทำงานของมนุษย์ก็เช่นกัน ไม่เพียงแต่ต้องการหยุดพัก “วันที่เจ็ด” และไม่เป็นเพียงแต่การออกกำลังภายนอกของมนุษย์เท่านั้น แต่จะต้องเป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้เตรียมตัวเองสำหรับ “การพักผ่อน” ที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำหรับข้ารับใช้และเพื่อนของพระองค์.” โดยการดำเนินตามพระประสงค์ของพระเจ้าให้มากยิ่งขึ้น

ความสำนึกที่ว่า การทำงานของมนุษย์เป็นการร่วมในกิจการของพระเจ้านั้น ควรจะซึมซาบเข้าไปใน “กิจการธรรมดาๆ ที่สุดที่มนุษย์ได้ทำทุกวัน. ดังที่สังคายนาได้สอนไว้. ทั้งนี้ เพราะในขณะที่แสวงหาสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตตนเองและครอบครัวของเขาทั้งชายหญิง ก็ประกอบกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดประโยช น์อย่างเหมาะสมต่อสังคม เขาสามารถถือได้อย่างชอบธรรมว่า เมื่อเขาออกแรงทำงานเขาก็ได้เปิดเผยงานของพระผู้สร้างโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของพี่น้องชายหญิงของเขา และด้วยการที่แต่ละคนเข้ามามีส่วนทำให้ประวัติศาสตร์แห่งแผนการของพระเจ้าเป็นผลสำเร็จ”

ชีวิตฝ่ายจิตของการทำงานตามทัศนะ ของคริสตชนควรจะเป็นมรดกสำหรับทุกคน. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันชีวิตฝ่ายจิตของการทำงานควรจะแสดงให้เห็นความสมบูรณ์ครบครัน ซึ่งได้รับการเรียกร้องโดยความตึงเครียดและความวุ่นวายของความคิดและจิตใจ. “โดยมิคิดว่างานซึ่งเกิดขึ้นจากความสามารถและพลังของมนุษย์เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับพลังของพระเจ้า และว่าสิ่งสร้างที่สมเหตุสมผลนั้น ดำรงอยู่เพื่อเป็นศัตรูกับพระผู้สร้าง คริสตชนมีความสำนึกว่า ชัยชนะของมนุษยชาติเป็นเครื่องหมายแห่งความยิ่งใหญ่ของพ ระเจ้า และเป็นดอกผลแห่งแผนการอันล้ำลึกของพระองค์เอง. ยิ่งพลังของมนุษย์มีมากขึ้นเท่าไหร่ ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลและสังคมก็มีมากเท่านั้น. ข่าวดีสำหรับคริสตชนไม่เป็นสิ่งที่ขัดขวางประชาชนมิให้สร้างโลกขึ้น หรือกระตุ้นให้ลืมความอยู่ดีกินดีของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน. ตรงกันข้ามข่าวนี้กลับมุ่งทำสิ่งดังกล่าวอย่างแข็งขัน.”

ความรู้ที่ว่า โดยการทำงาน มนุษย์ร่วมในงานสร้างนั้น เป็นแรงจูงใจสำหรับการทำงานในทุกสาขา. “ดังนั้น ผู้ที่มีความเชื่อทั้งหลายจะต้องเรียนรู้ความหมายลึกซึ้ง และคุณค่าของสิ่งสร้างทั้งหมดและการสรรเสริญพระเจ้า. แม้แต่งานทางโลก เขาก็จะต้องช่วยเหลือกันเพื่อดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น. โดยวิธีนี้พระจิตของพระคริสต์ก็จะซึมซาบอยู่ในโลก และสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความยุ ติธรรม ความรัก และสันติ. ดังนั้น โดยความสามารถในทางโลกและงานของแต่ละคนซึ่งได้รับการยกให้สูงขึ้นด้วยพระพรของพระคริสต์นั้น ให้เขาทำงานอย่างกระฉับกระเฉง เพื่อว่าแรงงานของมนุษย์ ความชำนาญทางด้านเทคนิค และวัฒนธรรมทางโลกซึ่งผลิตสินค้า จะได้สมบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระผู้สร้าง และแสงสว่างจากพระวจนาถของพระองค์.” เอกสารสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ว่าด้วยพระศาสนจักร (LUMEN GENTIUM)

พระคริสต์มนุษย์ผู้ทำงาน

ความจริงที่ว่า เมื่อมนุษย์ทำงานก็มีส่วนร่วมในงานของพระเจ้า พระผู้สร้างความจริงข้อนี้ ได้รับก ารเน้นเป็นพิเศษโดยพระเยซูคริสต์, พระเยซูผู้นี้แหละที่ผู้ฟังพระองค์เทศน์ที่นาซาเร็ธ “ต้องประหลาดใจ กล่าวว่า ชายคนนี้รู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้มาจากไหน เขาได้สติปัญญาอะไรมา นี่ไม่ใช่ช่างไม้ดอกหรือ.” เพราะพระเยซูมิได้ประกาศเทศนาเพียงเท่านั้น แต่ก่อนอื่นหมดพระองค์ได้ปฏิบัติตาม “พระวรสาร” อันเป็นพระวาจาของพระปรีชาสุขุมนิรันดร ซึ่งพระองค์ทรงได้รับมา ดังนั้น พระวรสารนี้จึงเป็น “พระวรสารของการทำงาน” ด้วย เพราะผู้ที่ประกาศพระวรสารนี้เป็นผู้ที่ทำงานด้วย คือเป็นช่างไม้เช่นเดียวกับยอแซฟแห่งนาซาเร็ธ และแม้ว่าเราไม่พบคำสั่งให้ทำงานเลย นอกจากในโอกาสเดียวที่พระองค์ทรงห้ามมิให้กังวลใจกับงานและชีวิตมากเกินไป แต่ในเวลาเดียวกัน ความเด่นในชีวิตของพระคริสต์ก็มิใช่สิ่งที่เคลือบแฝง พระองค์อยู่ใน “โลกของการทำงาน” พระองค์ทรงเคารพและพึงพอใจต่อการทำงานของมนุษย์. เราจึงสามารถพูดได้ว่า พระองค์ทรงมองการทำงานของมนุษย์และรูปแบบต่างๆ ของงานนั้นด้วยความรัก โดยทรงเห็นงา นแต่ละชนิดเป็นแง่มุมต่างๆ ของมนุษย์ที่เหมือนกับพระเจ้า พระผู้สร้างและพระบิดา. ไม่ใช่พระองค์เองดอกหรือที่กล่าวว่า “พระบิดาของเราเป็นพระเจ้าของสวนองุ่น” และพระองค์ทรงสอนถึงความจริงพื้นฐานของการทำงานด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งได้เคยกล่าวไว้แล้วในหนังสือพันธสัญญาเดิม โดยเริ่มตั้งแต่หนังสือปฐมกาล.

หนังสือพันธสัญญาเดิมบรรจุเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานของมนุษย์และอาชีพต่างๆ ที่มนุษย์ทำเช่น หมอ คนขายยา ช่างหรือศีลปิน ช่างเหล็ก ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบได้กับคนงานในโรงหล่อปัจจุบัน เช่น ช่างปั้นหม้อ ชาวนา อาจารย์กลาสี ช่างก่อสร้าง นักดนตรี คนเลี้ยงแกะ ชาวประมง. คำสรรเสริญงานของผู้หญิงก็มีด้วย. ในคำเปรียบเทียบเรื่องอาณาจักร ของพระเจ้านั้น พระเยซูคริสต์ทรงอ้างถึงการทำงานของมนุษย์อย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก คือทรงกล่าวถึงคนเลี้ยงแกะ         ชาวนา หมอ คนหว่านเมล็ดพืช คนดูแลบ้าน คนรับใช้ ผู้จัดการ ชาวประมง พ่อค้า คนงาน .พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงงานรูปแบบต่าง ๆ ของผู้หญิงด้วย. พระองค์ทรงเปรียบเทียบงานประกาศข่าวดีกับงานเก็บเกี่ยว หรืองานของชาวประมง. พระองค์ทรงอ้างถึงงานของครูบาอาจารย์ด้วย.

คำสอนของพระคริสต์ในเรื่องงาน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานตัวอย่างชีวิตของพระองค์ระหว่างที่เจริญชีวิตอยู่ที่นาซาเร็ธนั้น ถูกสะท้อนให้เห็นอย่างมีชีวิตชีวา ในคำสอนของนักบุญเปาโลอัครสาวก. นักบุญเปาโลได้กล่าวโอ้อวดถึงการทำการค้าของเขา (นักบุญเปาโลอาจจะเป็นช่างทำเต็นท์) และโดยงานการค้าของเขา ซึ่งท ำให้เขาสามารถประทังชีวิตไปได้ ทั้งๆ ที่เป็นอัครสาวกด้วย. “และเรามิได้รับอาหารจากมือผู้ใดเป็นของกำนัล แต่เราได้ทำงานหนักด้วยความพากเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อจะไม่เป็นภาระแก่คนหนึ่งคนใดในพวกท่าน.” ดังนั้นคำสอนของนักบุญเปาโลซึ่งมีทั้งคำแนะนำและคำสั่ง ในเรื่องของการทำงานนั้น ดังที่ท่านเขียนไปยังชาวเธสะโลเนียน ถึงเรื่องการทำงานว่า “เรากำชับและเตือนสติคนเช่นนั้นในนามของพระเยซูคริสต์ว่า ให้เขาทำงานด้วยใจสงบและหากินเอง.” ที่จริงเมื่อท่านสังเกตเห็นว่า “มีบางคนในพวกท่านอยู่อย่างเ กียจคร้านไม่ทำงานอะไรเลย” นักบุญเปาโลจึงพูดด้วยความเด็ดเดี่ยวว่า “ถ้าผู้ใดไม่ยอมทำงานก็อย่าให้เขากิน.” ในข้อความอื่นนั้น นักบุญเปโลให้กำลังใจศิษย์ของตนว่า “ไม่ว่าพวกท่านจะทำสิ่งใด ก็จงทำด้วยความเต็มใจเหมือนว่าพวกท่านกำลังทำเพื่อพระเจ้า มิใช่ทำเพื่อมนุษย์ พวกท่านรู้ว่าจะได้รับมรดกจากพระเจ้าเป็นรางวัล.”

คำสั่งสอนของอัครสาวกแห่งคนนอกศาสนานั้น (นักบุญเปาโล) มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับศีลธรรมและชีวิตฝ่ายจิตแห่งการทำงานของมนุษย์. คำสอนนี้เป็นส่วนเสริมที่สำคัญของพระวรสารที่ยิ่งใหญ่และละเอียดรอบคอบแห่งการทำงานซึ่งเราสามารถค้นพบได้จากชีวิตและคำเปรียบเทียบซึ่งพระคริสต์” ได้ทรงปฏิบัติและสั่งสอน”

จากแสงสว่างที่เราได้รับจากพระเยซูคริสต์นั้น พระศาสนจักรได้ประกาศถึงสิ่งที่เราค้นพบ โดยใช้ศัพท์สมัยใหม่ในคำสอนของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองว่า “เนื่องจากการทำงานของมนุษย์กำเนิดมาจากมนุษย์ ดังนั้นงานจึงมีไว้สำหรับมนุษย์ เพราะเมื่อเขาทำงาน เขาไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงทรัพยากรและสังคมเท่านั้น มนุษย์ยังพัฒนาตนเองอีกด้วย. มนุษย์เรียนรู้มากมาย มนุษย์ดัดแปลงทรัพยากรของเขา มนุษย์ออกจากตัวเอง และไปเหนือตัวเอง. แน่นอนความเจริญก้าวหน้านี้มีคุณค่ามากกว่าความร่ำรวยภายนอกซึ่งสา มารถสะสมได้ ดังนั้น บรรทัดฐานของงานจึงอยู่ที่ว่า เป็นไปตามแผนการและพระประสงค์ของพระเจ้า โดยงานจะต้องผสมผสานกับความดีที่แท้จริงของมนุษยชาติ และเปิดโอกาสให้ประชาชนแต่ละคน และในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม จะได้ปฏิบัติตามกระแสเรียกของตน และทำให้กระแสเรียกนั้นสำเร็จไปด้วย”

ทัศนะที่เรามีต่อคุณค่าแห่งการทำงานของมนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่งชีวิตฝ่ายจิตของการทำงานได้อธิบายอย่างสมบูรณ์ถึงสิ่งที่เราได้อ่านจากภาคเดียวกันในพระธรรมนูญของที่ประชุมสังคายนาที่เกี่ยวข้องกับความหมายของความเจริญก้าวหน้าว่า “ความเป็นคนของมนุษย์นั้นมีค่ามากกว่าสิ่งที่มนุษย์เป็นเจ้าของเสียอีก. เช่นเดียวกัน ทุกสิ่งที่ประชาชนทำเพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรม ภราดรภาพและความเป็นมนุษย์มากขึ้น ในความสัมพันธ์ทางสังคมนั้น มีประโยชน์มากกว่าความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคนิคมากนัก. เพราะความเจริญก้าวหน้านี้สามารถช่วยให้เกิดสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้ แต่ในตัวมันเองไม่สามารถทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้เลย”

คำสอนที่เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาอันเป็นเรื่องที่มนุษย์ขบคิดกันนี้ เราจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามชีวิตฝ่ายจิตแห่งการทำงานของมนุษย์แล้ว และบนพื้นฐานแห่งชีวิตฝ่ายจิตแบบ นี้เท่านั้นที่จะทำให้คำสอนนี้เป็นจริงและถูกนำมาปฏิบัติได้. นี่คือคำสอนและเป็นแผนการซึ่งมีรากฐานมาจาก “พระวรสารแห่งการทำงาน”

การทำงานของมนุษย์ในแง่ของไม้กางเขนและการกลับคืนชีพของพระคริสต์

ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งของการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเป็นแง่มุมที่สำคัญและเต็มไปด้วยชีวิตฝ่ายจิต ซึ่งมีพื้นฐานมาจากพระวรสาร. การทำงานทุกชนิด ไม่ว่าด้วยมือหรือด้วยความคิดเกี่ยวพันกับความทุกข์ยากลำบากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนังสือปฐมกาลได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า พระพรของการทำงานนั้นบรร จุอยู่ในพระธรรมล้ำลึกแห่งการสร้าง และเกี่ยวข้องกับการที่มนุษย์ได้รับเกียรติให้มีฉายาของพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำสาปแช่งซึ่งบาปได้นำมา “แผ่นดินจึงต้องถูกสาปเพราะตัวเจ้า เจ้าจะต้องหากินบนแผ่นดินด้วยความทุกข์ลำบากตลอดชีวิต.” ความยากลำบากที่ติดอยู่กับการทำงานแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของมนุษย์บนโลกนี้ และเป็นเหมือนคำประกาศของความตาย “เจ้าจะต้องหากินด้วยเหงื่ออาบหน้าจนเจ้ากลั บกลายเป็นดินไป เพราะเราสร้างเจ้ามาจากดิน.” ผู้ที่เขียนหนังสือปรีชาญาณเล่มหนึ่งเขียนไว้เกือบจะเป็นเสียงสะท้อนของข้อความข้างต้นว่า “ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงพิจารณาดูสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กระทำด้วยมือของข้าพเจ้า และความยากลำบากที่ข้าพเจ้าต้องประสบ.” ไม่มีใครบนแผ่นดินนี้ที่จะหลีกเลี่ยงคำกล่าวข้างต้นไปได้.

ในแง่หนึ่ง คำสุดท้ายในพระวรสารที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏอยู่ในรหัสธรรมปาสกาของพระเยซูคริ สต์. จากจุดนี้ เราจะต้องค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตฝ่ายจิตแห่งการทำงานของมนุษย์. รหัสธรรมปาสกาประกอบไปด้วยกางเขนของพระคริสต์และความนบนอบเชื่อฟังจนกระทั่งความตาย ซึ่งอัครสาวกได้เปรียบกับความไม่เชื่อฟังซึ่งทำให้มนุษย์ต้องทุกข์ยากบนโลกมาตั้งแต่ต้น. รหัสธรรมนี้ยังประกอบไปด้วยการเทิดพระเกียรติพระคริสต์ผู้ซึ่งได้ผ่านความตายบนกางเขน และกลับไปห าอัครสาวกของพระองค์ หลังจากทรงกลับคืนชีพโดยอาศัยอำนาจของพระจิตเจ้า.

เหงื่อและความยากลำบาก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานในเงื่อนไขปัจจุบันของมนุษยชาติ เปิดโอกาสให้คริสตชนและผู้ที่ถูกเรียกมาให้ติดตามพระคริสต์ได้ร่วมในงานที่พระคริสต์ได้ทรงมากระทำ. งา นไถ่กู้นี้เกิดขึ้นจากความทุกข์ทรมาน และความตายบนกางเขน. โดยการอดทนต่อความทุกข์ยากในการทำงานร่วมกับพระคริสต์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขนเพื่อเรานั้น มนุษย์ร่วมมือกับพระบุตรของพระเจ้าเพื่อการไถ่กู้มนุษยชาติ. มนุษย์จะแสดงตัวเป็นศิษย์ที่แท้จริงของพระคริสต์โดยการแบกกางเขนของตนในงานประจำวันของเขา.

พระคริสต์ “ยอมรับความตายเพื่อเราคนบาปทุกคน สอนให้เราเห็นแบบอย่างว่าเราจะต้องแบกกางเ ขนของตน ซึ่งโลกและเนื้อหนังยื่นให้แก่ผู้ที่แสวงหาสันติและความยุติธรรม” แต่ในเวลาเดียวกัน “โดยการกลับคืนชีพ พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งและได้รับอำนาจทั้งหมดบนสวรรค์และบนโลก พระคริสต์ยังคงทำงานอยู่ในหัวใจประชาชนด้วยอำนาจของพระจิตเจ้า… พระองค์ทรงกระตุ้นชำระล้างและสร้างพลังให้แก่ความปรารถนาอันสูงส่งซึ่งครอบครัวมนุษย์ต้องการเพื่อทำให้ชีวิตของตนเป็นคนมากขึ้น และเพื่อทำให้โลกทั้งโลกบรรลุเป้าหมายนี้.”

คริสตชนสามารถค้นพบส่วนเล็กๆ ของกางเขนของพระคริสต์ในการทำงานของเขา และยินดีแบกรับกางเขนนั้นด้วยจิตตารมณ์แห่งการไถ่กู้เช่นเดียวกับที่พระคริสต์ทรงยอมรับกางเขนเพื่อเรา. โดยอาศัยซึ่งแสงสว่างที่เราได้รับจากการกลับคืนชีพของพระคริสต์ เราก็พบว่า ในการทำงานนั้นเราสามารถพบความหวังสำหรับชีวิตใหม่ ความดีใหม่ราวกับว่าเป็นการประกาศถึง “สวรรค์ใหม่และโลกใหม่” ซึ่งมนุษย์และโลกมีส่วนร่วมกันก็โดยการรับความทุกข์ยากในการทำงาน จะปราศจากความทุกข์ยากไปเสียมิได้ ความจริงประการนี้ก็ยืนยันถึงความจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ของกางเขนในเรื่องชีวิตฝ่ายจิตแห่งการทำงานของมนุษย์ และในอีกแง่หนึ่งนั้นกางเขนซึ่งอยู่ในรูปของความทุกข์ยากแสดงให้เราเห็นความดีใหม่ซึ่งเกิดจากการทำงานตามความหมายอันลึกซึ้งและในทุกแง่มุมโดยไม่แยกจากการทำงาน.

ความดีใหม่ซึ่งเป็นผลของการทำงานของมนุษย์นี้เป็นส่วนเล็กๆ ของ “โลกใหม่” ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมแล้วมิใช่หรือ ถ้านี่เป็นความจริงที่ว่ารูปแบบต่างๆ ของความทุกข์ยากซึ่งติดอยู่กับการทำงานของมนุษย์นั้นเป็นส่วนเล็กๆ ของกางเขนของพระคริสต์ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างความดีใหม่นี้กับการกลับคืนชีพของพระคริสต์คืออะไรเล่า ที่ประชุมสังคายนาวาติกันก็พยายามตอบคำถามนี้ด้วย โดยแสวงหาจากพระวาจาที่ได้รับการเปิดเผยแล้ว “ดังนั้น ในขณะที่เราได้รับการเตือนว่าจะเป็นประโยชน์อะไรกับมนุษย์หากเขาเป็นเจ้าของโลกทั้งโลก แต่ต้องเสียตัวเองไป (อ้างถึง ลก.9:25) ความหวังถึงโลกใหม่จะไม่ลดน้อยลง แต่กลับกระตุ้นเราให้มีความห่วงใยที่จะกระทำงานในโลกนี้. เพราะในโลกนี้ร่างกายของครอบครัวมนุษ ย์ใหม่เจริญเติบโตขึ้นเป็นร่างกายซึ่งแม้ปัจจุบันนี้ก็ยังสามารถแสดงให้เห็นภาพลางๆ ของยุคใหม่ได้ ฝ่ายเราต้องระมัดระวังที่จะแยกความเจริญก้าวหน้าฝ่ายโลกนี้จากความเจริญของอาณาจักรของพระคริสต์. อย่างไรก็ตาม ความเจริญก้าวหน้าฝ่ายโลกในขอบเขตที่มีส่วนทำให้สังคมมนุษย์มีระเบียบดีขึ้น ก็เป็นความห่วงใยที่สำคัญสำหรับอาณาจักรของพระเจ้าด้วย.”

ในการพิจารณาไตร่ตรองถึงการทำงานของมนุษย์นี้ เราพยายามที่จะเน้นทุกสิ่งทุกอย่างที่สำคัญ ทั้ง นี้เพราะอาศัยแรงงานมนุษย์ไม่เพียง “ผลของงานของเรา” เท่านั้นที่จะต้องเพิ่มขึ้น แต่ “ศักดิ์ศรีของมนุษย์ ภราดรภาพ และอิสรภาพ” จะต้องเพิ่มมากขึ้นบนโลกนี้ด้วย. ขอให้คริสตชนซึ่งรับฟังพระวาจาของพระเจ้าทรงชีวิต ทำให้การทำงานผสมผสานไปกับการสวดภาวนา ให้รู้ว่าการทำงานของเขาไม่เพียงก่อให้เกิดความเจริญทางโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งเราจะต้องเดินทางไปให้ถึง อาศัยอ ำนาจของพระจิตเจ้า และอาศัยพระวาจาจากพระวรสาร เพื่อจะได้สรุปข้อพิจารณาไตร่ตรองเหล่านี้ ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะอวยพระพรให้แก่ท่านทุกคน พี่น้องและลูกๆ ทั้งหลาย.

ข้าพเจ้าเตรียมเอกสารนี้สำหรับการพิมพ์ในวันที่ 15 พฤษภาคม ที่แล้ว (1981) ในโอกาสฉลองคร บรอบ 90 ปี ของพระสมณสาส์น RERUM NOVARUM แต่ข้าพเจ้าสามารถตรวจสอบแก้ไขครั้งสุดท้ายได้ก็ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ให้ไว้ ณ คาสเตล แกนโดลโฟ วันที่ 14 กันยายน ฉลองเทิดทูนกางเขนปี 1981 เป็นปีที่ 3 แห่งพระสมณสมัยของข้าพเจ้า

สันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2