หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

สิทธิของคนงาน

ในความหมายของสิทธิมนุษยชน

การทำงานนอกจากจะเป็นหน้าที่แล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของสิทธิต่างๆ ของคนงานด้วย. สิทธิเหล่านี้จะต้องได้รับการตรวจสอบจากแง่มุมของสิทธิมนุษยชนซึ่งตรงกับธรรมชาติของมนุษย์ และสิทธิเหล่านี้หลายอย่างได้รับการประกาศโดยองค์กรนานาชาติหลายองค์กร และยังได้รับการรับรองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ. การเคารพสิทธิมนุษยชนนี้เป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับสันติภาพในโลกปัจจุบัน ทั้งในแต่ละประเทศในแต่ละสังคม และในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งคำสั่งสอนของพระศาสนจักรได้เคยกล่าวไว้หลายครั้งหลายครา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่พระสมณสาส์น PACEM IN TERRIS เป็นต้นมา. สิทธิมนุษยชนซึ่งเกิดจากการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์.

อย่างไรก็ดี ตามความหมายกว้างนี้ สิทธิคนงานมีลักษณะเฉพาะซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของการทำงานของมนุษย์ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น. เราต้องมองสิทธินี้ตามลักษณะของมัน. การทำงานเป็นหน้าที่ของมนุษย์. นี่เป็นความจริงตามความหมายของคำๆ นี้เอง. มนุษย์ต้องทำงานทั้งนี้เพราะพระผู้สร้างได้ทรงบัญชามาและเพราะมนุษยชาติเองต้องการทำงานเพื่อรักษา และพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตน. มนุษย์ต้องทำงานเพื่อผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อครอบครัวของเขาเอง นอกจากนั้นเขายังต้องทำงานเพื่อสังคมที่เขาอาศัยอยู่ เพื่อประเทศชาติของเขา และเพื่อมนุษยชาติทั้งมวล เพราะเขาเป็นทายาทของการทำงานของชนรุ่นก่อนๆ และในเวลาเดียวกัน เขาก็เป็นผู้มีส่วนในการสร้างอนาคตสำหรับชนรุ่นหลัง. ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้วว่า สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ทางศีลธรรมของการทำงาน. เมื่อเราพิจารณาถึงสิทธิทางศีลธรรมที่สอดคล้องกับหน้าที่อันเป็นสิทธิของทุกๆ คน ในแง่ของการทำงานนี้ เราจำต้องระลึกอยู่เสมอถึงจุดต่างๆ ซึ่งแรงงานของผู้กระทำงานได้แสดงออกมา.

เพราะเมื่อเราพูดถึงหน้าที่ในการทำงาน และสิทธิของคนงานซึ่งสอดคล้องกับหน้าที่นั้น เรามักจะคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับคนงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อม.

ความแตกต่างระหว่างนายจ้างโดยตรงและนายจ้างโดยอ้อมนั้น มีความสำคัญมากเมื่อเราพิจารณาถึงวิธีการที่แรงงานถูกจัดอย่างเป็นระบบ และพิจารณาถึงโอกาสในการสร้างสัมพันธภาพที่ยุติธรรมหรืออยุติธรรมในแง่ของแรงงาน.

เนื่องจากว่านายจ้างโดยตรง คือบุคคลหรือสถาบันซึ่งคนงานทำสัญญาทำงานโดยตรงภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ เราจำต้องเข้าใจว่านายจ้างโดยอ้อม ยังได้แก่องค์ประกอบต่างๆ นอกเหนือไปจากนายจ้างโดยตรง ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีอิทธิพลที่จะกำหนดการทำสัญญาจ้างงาน และนั่นโดยผลตามมา ก็กำหนดถึงสัมพันธภาพที่ยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรมในแง่แรงงานของมนุษย์

นายจ้างโดยตรงและนายจ้างโดยอ้อม

นายจ้างโดยอ้อมมีความหมายรวมถึงบุคคลหรือสถาบันรูปแบบต่างๆ และรวมถึงสัญญาจ้างแรงงานหมู่และหลักการปฏิบัติ ซึ่งบุคคลและสถาบันเหล่านี้เป็นผู้วาง ซึ่งกำหนดระบบเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด หรือเป็นผลิตผลของระบบนั้น. ดังนั้น ความหมายของ “นายจ้างโดยอ้อม” จึงกินความหมายถึงองค์ประกอบต่างๆ มากมาย. ความรับผิดชอบของนายจ้างโดยอ้อมแตกต่างไปจากความรับผิดชอบของนายจ้างโดยตรง คำว่าโดยอ้อมหมายถึงความรับผิดชอบที่ไม่โดยตรง แต่ก็ยังคงเป็นความรับผิดชอบที่แท้จริงอยู่ นาย จ้างโดยอ้อมเป็นผู้กำหนดความสัมพันธ์ด้านแรงงาน. และดังนั้น จึงเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติงานของนายจ้างโดยตรง คือ เขากำหนดสัญญาว่าจ้างและแรงงานสัมพันธ์ นี่ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบของนายจ้างโดยตรงจะหมดไป แต่ต้องการที่จะชี้ให้เห็นขอบข่ายของอิทธิพลทั้งหมดที่มีต่อการปฏิบัติของเขา. เมื่อจำเป็นต้องกำหนดนโยบายแรงงานที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม เราก็จะต้องคำนึงถึงอิทธิพลทั้ง หมดเหล่านี้ด้วย. นโยบายจะถูกต้องก็ต่อเมื่อมีการเคารพสิทธิตามความเป็นจริงของคนงาน.

ความหมายของนายจ้างโดยอ้อมนี้ใช้ได้กับทุกๆ สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐ. เพราะรัฐจะต้องเป็นผู้กำหนดนโยบายแรงงานที่ยุติธรรม. อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีแล้วว่า ในระบบเศรษฐสัมพันธ์ในโลกปัจจุบันนี้มีการเชื่อมโยง มากมายระหว่างรัฐต่างๆ การเชื่อมโยงนี้มีรูปแบบต่างๆ เช่นกระบวนการส่งสินค้าออก และการสั่งสินค้าเข้า กล่าวคือ มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป หรือสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป. การเชื่อมโยงเหล่านี้ได้สร้างการพึ่งพากันและกันขึ้นด้วย ผลก็คือ เป็นการยากที่จะพูดถึงการเป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์แม้ว่ารัฐนั้นจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจก็ตาม.

ระบบการพึ่งพานี้เป็นสิ่งธรรมดา. อย่างไรก็ตาม มันจะเปิดโอกาสให้เกิดมีรูปแบบต่างๆ ในการเอารัดเอาเปรียบหรือเกิดความอยุติธรรมได้ง่ายมาก และผลที่ตามมาก็คือ การมีอิทธิพลต่อนโยบายแรงงานของรัฐต่างๆ และท้ายสุด มันอาจมีอิทธิพลต่อคนงานแต่ละคนผู้ซึ่งเป็นผู้กระทำงานอย่างแท้จริง. ตัวอย่างเช่น ประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้ามาก และธุรกิจซึ่งกำหนดปัจจัยของการผลิตทางอุตสาหกรรม (บริษัทเหล่านี้หมายถึง บรรษัทข้ามชาติ) เป็นผู้กำหนดราคาสินค้าให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้. นี่คือสาเหตุหนึ่งของความไม่สมดุลย์กันของรายได้ระหว่างประเทศ. ช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยมากกับประเทศที่ยากจนมากยังไม่ถูกขจัดไป หรือแม้แต่ยังไม่มีการตรึงให้คงที่ แต่กลับขยายกว้างขึ้นทุกขณะ ซึ่งเป็นผลเสียต่อประเทศยากจน. และแน่นอนว่ามันส่งผลถึงนโยบายแรงงานท้องถิ่นและสถานการณ์ของคนงานในสังคมที่ถูกเอาเ ปรียบทางเศรษฐกิจ. ตามระบบนี้นายจ้างโดยตรงจึงกำหนดเงื่อนไขการทำงานที่ต่ำกว่าความต้องการของคนงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากตัวนายจ้างเองต้องการกอบโกยผลกำไรให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากธุรกิจของเขา (หรือจากธุรกิจต่างๆ ที่เขาทำในกรณีปัจจัยการผลิตถูกรวมเป็น “กองกลาง”).

เห็นได้ชัดว่าขอบข่ายของรูปแบบในการพึ่งพากันซึ่งเชื่อมโยงกับความหมายของนายจ้างโดยอ้อม นั้นมีความใหญ่โต และสลับซับซ้อนมาก. สิ่งนี้ถูกกำหนดโดยองค์ประกอบทุกอย่างซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตทางเศรษฐกิจของสังคมและประเทศและถูกกำหนดโดยการเชื่อมโยงกับรูปแบบการพึ่งพาที่กว้างใหญ่. การได้มาซึ่งสิทธิของคนงาน มิใช่เกิดจากระบบเศรษฐกิจซึ่งมีแรงจูงใจจากการแสวงหากำไรสูงสุด. ตรงกันข้ามการเคารพต่อสิทธิตามความเป็นจริงของคนงานนั่นแหละ – ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้แรงงาน ปัญญาชน และเกษตรกร หรือคนงานอุตสาหกรรม ฯลฯ – จะต้องเป็นบรรทัดฐาน สำหรับการวางระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับสังคมและแต่ละรัฐและภายในนโยบายเศรษฐกิจระดับโลกทั้งระบบสัมพันธภาพระดับนานาชาติด้วย.

องค์กรระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้อิทธิพลในแง่นี้ เริ่มต้นจากองค์การสหประชาชาติ. เป็นที่ปรากฏแน่ชัดแล้วว่าองค์การแรงงานสากลและองค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติรวมทั้งองค์การอื่นมีเรื่องราวใหม่ๆ ที่จะเสนอขึ้นมาโดยเฉพาะ (ข้อเสนอใหม่ๆ). ในเรื่องนี้ภายในแต่ละประเทศก็มีกระทรวงหรือแผนกต่างๆ รวมทั้งสถาบันทางสังคมซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อการนี้. สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของนายจ้างโดยอ้อม ในการก่อให้เกิดการเคารพสิทธิของคนงานดังกล่าว ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุ ษย์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระเบียบศีลธรรมในสังคมทั้งหมดนั่นเอง

ปัญหาการจ้างงาน

เมื่อเราพิจารณาถึงสิทธิของคนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “นายจ้างโดยอ้อม” ซึ่งหมายถึงหน่วยงาน ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งรับผิดชอบต่อการวางนโยบายด้านแรงงาน เราจะต้องพิจารณาถึงปัญหาพื้นฐานเสียก่อน นั่นคือปัญหาของการหางานทำ หรืออีกนัยหนึ่งการหางานที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความสามารถจะทำได้. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ การตกงาน กล่าวคือไม่มีงานสำหรับผู้ที่สามารถจะทำได้. ในที่นี้อาจจะหมายถึง การตกงานโดยทั่วไปหรือการตกงานสำหรับบางสายงานโดยเฉพาะ. บทบาทของหน่วยงานที่เป็นนายจ้างโดยรวม คือ การแก้ไขปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เลวร้าย และหากปัญหาการว่างงานนี้มีมากขึ้นถึงระดับหนึ่งมันจะก่อให้เกิดหายนะทางสังคมขั้นอย่างแน่นอน. มันเป็นสิ่งที่เจ็บปวดมากสำหรับคนหนุ่มคนสาว หากเขาต้องตกงาน หลังจากที่ได้รับการศึกษาฝึกอบรมมาทั้งทางด้านวัฒนธรรม อาชีพ และด้านเทคนิคและพบว่าความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำงาน และความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนของเขาต้องประสบกับความผิดหวัง. พันธะที่จะจัดห าผลประโยชน์สำหรับผู้ที่ว่างงาน นั่นก็คือ หน้าที่ที่จะต้องจัดการเรื่องการบริจาคที่เหมาะสมและที่จำเป็นสำหรับการยังชีพของคนตกงานและครอบครัวของเขานั้น เป็นหน้าที่อันเกิดจากหลักการพื้นฐานของศีลธรรม ในเรื่องนี้ กล่าวคือเป็นหลักการของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรืออีกนัยหนึ่ง สิทธิที่จะมีชีวิตและยังชีพอยู่ในโลกนี้.

เพื่อเผชิญกับอันตรายอันเกิดจากการว่างงาน และเพื่อจัดหางานให้กับทุกๆ คน หน่วยงานที่เป็น “น ายจ้างโดยอ้อม” นี้จะต้องทำการวางแผนในระดับกว้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานชนิดต่างๆ อันเป็นปัจจัยที่กำหนดวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของสังคมแต่ละแห่ง พวกเขาจะต้องให้ความสนใจต่อการจัดการวางแผนให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล. ในการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายหน้าที่นี้เป็นภาระของรัฐบาล แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นการรวมอำนาจโดยรัฐตรงกันข้าม รัฐจะต้องประสานงานอย่างยุติธรรมและสมเหตุสมผล ซึ่งจะทำให้การสร้างสรรค์ ของบุคคล กลุ่มอิสระและศูนย์แรงงานระดับท้องถิ่นได้รับการเคารพ โดยจะต้องระลึกถึงสิ่งที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นในเรื่องลักษณะที่เป็นผู้กระทำงานของแรงงานมนุษย์.

การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างสังคมและประเทศ รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันในด้านต่างๆ นั้นมีความหมายว่า จะต้องมีการร่วมมือกันในระดับนานาชาติ โดยการทำสนธิสัญญา และข้อตกลงที่จำเป็นพร้อมกับเคารพต่อสิทธิและบูรณภาพของแต่ละสังคมและประเทศในแง่ของการวางแผน และการจัดการด้านแรงงานในสังคมของตน. หลักการของสนธิสัญญาและข้อตกลงเหล่านี้จะต้องเป็นหลักการของการทำงานของมนุษย์มากยิ่งๆ ขึ้น โดยพิจารณาถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน งานซึ่งให้สิทธิแบบเดียวกันแก่ผู้ที่ทำงาน จนถึงขนาดที่ว่ามาตรฐานการดำรงชีพของคนงานในสังคมต่างๆ แสดงให้เห็นว่าคว ามแตกต่างทั้งหลายน้อยลงเรี่อยๆ ซึ่งความแตกต่างนี้เป็นสิ่งอยุติธรรม และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงขึ้นได้. องค์การระดับนานาชาติมีส่วนอย่างมากในเรื่องนี้. พวกเขาจะต้องถือเอาการวิเคราะห์สถานการณ์อันซับซ้อนและอิทธิพลจากธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ประชาชน และสถานการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการวางแผนงาน. พวกเขาจะต้องนำเอาแผนซึ่งได้ตกลงร่วมกันมาปฏิบัติอย่างจริงจังกล่าวคือ พวกเขาจะต้องมีความสามารถที่จะนำเอาแผนนั้นมาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

ตามแนวทางนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้แผนการพัฒนาที่เหมาะสมในทุกด้านโดยทุกคนนั้น เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาตามแนวทางซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้ให้ไว้ในสมณสาส์น “การพัฒนาประชาชาติ” (POPULORUM PROGRESSIO). เราจำต้องเน้นว่า องค์ประกอบซึ่งขาดเสียมิได้ใน ความเจริญก้าวหน้านี่อีกทั้งวิธีการที่เพียงพอที่จะพิสูจน์ความเจริญก้าวหน้าตามหลักการของความยุติธรรมและสันติ นั่นคือ การประเมินการทำงานของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพระศาสนจักรประกาศอธิษฐานอย่างไม่หยุดหย่อนต่อพระบิดาของทุกคน และทุกชาติภาษานั่นคือ การประเมินการทำงานของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง นี้เป็นทั้งในแง่ของเป้าประสงค์และในแง่ศักดิ์ศรีของผู้ทำงานทั้งสิ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือมนุษย์นั่นเอง. ความเจริญก้าวหน้านี้ จะต้องเกิดจากมนุษย์ เพื่อมนุษย์ และยังจะต้องก่อให้เกิดผลในตัวมนุษย์ด้วย. การทดสอบความเจริญก้าวหน้านี้ก็คือ การยอมรับที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้นต่อวัตถุประสงค์ของการทำงาน และการที่คนเราค่อยๆ รู้จักเคารพต่อสิทธิที่โดยธรรมชาติติดอยู่กับการทำงานอันเหมาะสมกับเกียรติและศักดิ์ศรีของมนุษย์ผู้เป็นผู้กระทำงาน.

การวางแผนที่สมเหตุสมผลและการจัดการด้านงานของมนุษย์ที่เหมาะสมตามสภาพของแต่ละสังคมและประเทศนั้น จะต้องส่งเสริมให้เกิดการค้นหาสัดส่วนที่ถูกต้องระหว่างงานชนิดต่างๆ เช่น งานด้านเกษตร งานอุตสาหกรรม งานบริการงานในสำนักงาน งานทางวิทยาศาสตร์และงานศิลปะ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อความดีส่วนรวมของแต่ละสังคมและมนุษยชาติทั้งมวล. การจัดการเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ตา มความเป็นไปได้ของแรงงานนั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนด้วยระบบการฝึกอบรมและการศึกษาที่เหมาะสมซึ่งนอกจากมุ่งที่จะพัฒนาให้คนมีความสมบูรณ์ขึ้นเป็นอันดับแรกแล้ว ยังมุ่งที่จะเตรียมคนให้เข้ารับหน้าที่ที่เหมาะสมในโลกของงานที่กว้างขวาง และที่มีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด

หากเรามองดูมนุษย์ในฐานะที่เป็นครอบครัวเดียวกันทั้งโลกแล้ว เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่า ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติอีกมหาศาลยังไม่ได้ถูกนำมาใช้นั้น ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องตกงาน หรือมีงานทำไม่พอ และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากความหิวโหย. ความจริงข้อนี้แสดงให้เห็นอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทั้งภายในประเทศแต่ละประเทศและในสัมพันธภาพระดั บทวีปและระดับโลกนั้น ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการด้านการทำงานและการจ้างคนมาทำงาน ความจริงข้อนี้มาถึงจุดที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดและสำคัญมากที่สุดด้านสังคม

ค่าจ้างและผลประโยชน์อื่นๆ ทางสังคม

หลังจากที่ได้พิจารณาถึงบทบาทในการจัดหางานให้คนงานทุกคนอันเป็นการปกป้องการเคารพต่อสิทธิอันชอบธรรมของมนุษย์ในแง่ของงานของเขาแล้ว เรายังจำต้องพิจารณาถึงสิทธิเหล่านี้ให้ลึกซึ้ง ซึ่งจากการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย สิทธิเหล่านี้ก็อยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและนายจ้างโดยตรง. สิ่ง ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมดในเรื่องเกี่ยวกับนายจ้างโดยอ้อมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นสัมพันธภาพนี้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการแสดงให้เห็นรูปแบบเงื่อนไขมากมายซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์เหล่านี้โดยทางอ้อม. อย่างไรก็ตาม การพิจารณานี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณาอย่างเดียว และก็มิใช่บทบรรยายสั้นๆ ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมือง. การพิจารณาดังกล่าวมุ่งที่จะเน้นให้เห็นแง่มุมตามความจริงและแง่มุมทางศีลธรรม. ปัญหาหลักของ จริยธรรมทางสังคมในกรณีนี้ คือ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมในการทำงาน. ในยุคปัจจุบันไม่มีวิธีการใดที่สามารถค้ำประกันความสัมพันธ์ที่ยุติธรรมระหว่างคนงานและนายจ้างได้ดีไปกว่าการตอบแทนในการทำงาน. ไม่ว่าการทำงานนั้นจะอยู่ในระบบการเป็นเจ้าของส่วนบุคคลของปัจจัยการผลิต หรือในระบบการเป็นเจ้าของร่วมกันตามแบบลัทธิสังคมนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจ้างโดยตรง) และคนงานนั้นขึ้นอยู่กับการให้ค่าจ้าง นั่นคือการตอบแทนที่ยุติธรรมต่อการทำงาน.

เราจะต้องระลึกไว้เสมอว่า ความยุติธรรมของระบบสังคมเศรษฐกิจ และความยุติธรรมของการทำงานของระบบในแต่ละกรณีนั้น จะต้องได้รับการประเมินจากการตอบแทนการทำงานของมนุษย์ในระบบนั้นๆ. ขอให้เราย้อนกลับไปสู่หลักการอันแรกที่เกี่ยวกับระบบจริยธรรมและสังคมทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ หลักการของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน. ในทุกๆ ระบบไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างทุนและแรงงานแบบใด ค่าจ้างหรือการตอบแทนต่อการทำงาน สิ่งเหล่านี้ยังเป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับ เพื่อเขาจะได้นำไปซื้อหาทรัพยากรต่างๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และสินค้าต่างๆ ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมา. คนงานสามารถหาซื้อทรัพยากรทั้งสองชนิดนี้โดยใช้ค่าจ้างที่เขาได้รับเป็นค่าตอบแทนจา กการทำงานของเขา. ดังนั้น ในทุกๆ กรณี ค่าจ้างที่ยุติธรรมจึงเป็นวิธีการที่เป็นรูปธรรมสำหรับรับรองความยุติธรรมของระบบสังคมเศรษฐกิจทั้งระบบ และในแต่ละกรณีเป็นการตรวจสอบความยุติธรรมในการทำงานของระบบนั้น. วิธีการนี้มิใช่วิธีการเดียวสำหรับการตรวจสอบ แต่มันก็เป็นวิธีการที่สำคัญมากหรือกล่าวได้ว่า เป็นวิธีการหลักก็ว่าได้.

วิธีการตรวจสอบนี้เกี่ยวข้องกับครอบครัวเป็นสำคัญ. การตอบแทนที่ยุติธรรมต่อการทำงานของคนงานซึ่งต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวนั้น หมายถึง ค่าตอบแทนซึ่งเพียงพอสำหรับการสร้างและเลี้ยงดูครอบครัว รวมทั้งเป็นหลักประกันในอนาคตด้วย. ค่าตอบแทนนี้อาจเป็นในรูปของสวัสดิการครอบครัว กล่าวคือ หัวหน้าครอบครัวเพียงคนเดียวได้รับค่าตอบแทนซึ่งเพียงพอสำหรับความต้องการของครอบครัว โดย คู่สมรสอีกฝ่ายไม่จำเป็นจะต้องหารายได้อื่นนอกบ้าน หรืออาจจะให้ในรูปของสวัสดิการสังคมอื่นๆ เช่นค่าตอบแทนสำหรับครอบครัว หรือเงินช่วยแม่บ้านที่ทำหน้าที่แม่ศรีเรือน. เงินช่วยนี้จะต้องเพียงพอสำหรับความต้องการที่แท้จริง กล่าวคือ จะต้องเพียงพอสำหรับเลี้ยงดูบุตรทุกคนที่ยังไม่โตพอที่จะหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้.

ประสบการณ์ที่ผ่านมายืนยันว่า จะต้องมีการประเมินทางสังคมเกี่ยวกับบทบาทแม่บ้าน ความยากลำบากของพวกเธอเหล่านั้นและความต้องการที่ลูกๆ จะต้องได้รับความรักและความเอาใจใส่ เพื่อว่าเขาจะได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้รับผิดชอบ มีความสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านศีลธรรมและศาสนา เป็นบุคคลที่มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ. อันจะส่งผลประโยชน์กลับไปสู่สังคม หากสังคมเปิดโอกาสให้แม่บ้านอุทิศกายใจ ต่อการเอาใจใส่และอบรมเลี้ยงดูบุตรของตนตามความต้องการของบุตร ซึ่งแตกต่างกันไปตามอายุ. การอุทิศตนของแม่นี้มิได้เป็นการขัดขวางต่ออิสระเสรีของแม่บ้าน ทั้งไม่เป็นการเลือกที่รักมักที่ชังทางด้านจิตใจและทางด้านการปฏิบัติ และยังมิได้ถือว่าเป็นการลงโทษเธอเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงอื่นๆ. ความจำเป็นที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เหล่านี้ เพื่อออกไปหางานรับจ้างทำนอกบ้าน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องในแง่ของความดีของสังคม และของครอบครัวเอง เพราะมันขัดแย้งหรือขัดขวางเป้าหมายพื้นฐานของภาระกิจของแม่บ้าน.

ในลักษณะนี้ จำต้องเน้นในระดับกว้างว่า กระบวนการแรงงานทั้งหมดจะต้องได้รับการจัดระบบและปรับปรุงในลักษณะที่ว่า จะต้องเคารพความต้องการของบุคคลและรูปแบบชีวิตของเธอโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตในบ้าน โดยพิจารณาถึงอายุและเพศของแต่ละคน. สภาพความเป็นจริงคือ ในสังคมต่างๆ ผู้หญิงทำงานอยู่ในเกือบทุกสาขาอาชีพ. แต่ก็เป็นการเหมาะสมที่พวกเธอสามารถจะทำหน้าที่ได้ตามธรรมชาติของตน โดยไม่ถูกกีดกัน ไม่ถูกปิดโอกาสในการทำงานซึ่งเธอสามารถทำได้ และเธอจะต้องได้รับการเคารพต่อความมุ่งมาดปรารถนาของครอบครัวของเธอ และเคารพต่อบทบาทเฉพาะของเธอในการมีส่วนสรรค์สร้างความดีในสังคมร่วมกับผู้ชาย. ความก้าวหน้าที่แท้จริงของผู้หญิง ต้องการให้การใช้แรงงานของตนอยู่ในขอบเขตที่ว่า เธอจะต้องไม่ละทิ้งบทบาทภาระเฉพาะของตน และสูญเสียผลประโยชน์ของครอบครัวไ ปเพื่อแลกกับความก้าวหน้า ทั้งนี้เพราะผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่บ้าน มีบทบาทที่ไม่อาจทดแทนกันได้.

นอกจากค่าจ้างแล้วผลประโยชน์ต่างๆ ทางสังคม ที่เป็นหลักประกันสำหรับชีวิตและสุขภาพของคนงานและครอบครัวของเขาก็มีบทบาทเช่นกัน. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในก รณีที่เกิดจากอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานจะต้องได้รับการจ่ายอย่างรวดเร็วจากสวัสดิการการรักษาพยาบาลและจะต้องเป็นอัตราที่ถูกมากหรืออาจจะฟรีก็ได้. ผลประโยชน์อีกอย่างหนึ่งก็คือ สิทธิในการหยุดพักผ่อน. ประการแรกจะต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ซึ่งอย่างน้อยต้องรวมวันอาทิตย์ด้วย รวมทั้งการหยุดพักผ่อนระยะยาวปีละครั้งหรือระยะสั้นหลายๆ ครั้งต่อปี. ประการที่สามก็คือ สิทธิที่จะได้รับบำนาญและการ ประกันสำหรับวัยชราและในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน. สิทธิหลักๆ เหล่านี้ จะเป็นการพัฒนาระบบทั้งระบบของสิทธิพิเศษ รวมทั้งค่าจ้างตอบแทนการทำงาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างคนงานและนายจ้าง. ในบรรดาสิทธิเหล่านี้ เราจะต้องไม่มองข้ามสิทธิที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมและกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนงานด้วย