หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

อารัมภบท

การทำงานของมนุษย์ ในโอกาสฉลองครบรอบ 90 ปี ของสมณสาส์น RERUM NOVARUM

ในวันที่ 15 พฤษภาคมปีนี้ เป็นวาระครบรอบ 90 ปี ของเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง “ปัญหาสังคม” ซึ่งนิพนธ์โดยพระสัตะปาปาเลโอที่ 13 ผู้ยิ่งใหญ่ นับเป็นสมณสาส์นที่สำคัญยิ่ง ซึ่งเริ่มต้นด้วยว่า “สิ่งใหม่” (RERUM NOVARUM) ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะอุทิศเอกสารฉบับนี้ให้แก่การทำงานของมนุษย์ และยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะอุทิศให้แก่มนุษย์ผู้ซึ่งอยู่ในโลกแห่งการทำงานด้วย. ดังที่ข้าพเจ้า ได้กล่าวไว้แล้วในสมณสาส์น “REDEMPTOR HOMINIS” ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อข้าพเจ้าเริ่มต้นรับภาระกิจในตำแหน่งพระสันตะปาปาว่า มนุษย์ “คือทางเดินพื้นฐานสายแรกของพระศาสนจักร” เนื่องจากว่า นี่เป็นรหัสธรรมที่ไม่อาจเข้าใจได้ของการไถ่กู้ในองค์พระคริสต์ ดังนั้นพระศาสนจักรจำเป็นต้องเดินตามเส้นทางนี้อย่างมั่นคง และดำเนินตามคุณลักษณะต่างๆ ของเส้นทางนี้ ซึ่งแสดงให้เราเห็นถึงการได้มาซึ่งโภคทรัพย์และเห็นถึงความเหนื่อยยากทั้งมวลของมนุษยชาติบนแผ่นดินนี้.

การทำงานมีคุณลักษณะหนึ่งที่มีความต่อเนื่อง, เป็นพื้นฐาน, ต้องมีความเหมาะสม, ต้องได้รับความสนใจและการยืนยันอย่างจริงจัง. เนื่องจากว่าในสังคมเรานี้มีคำถามและปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ เราเองก็มีความหวังใหม่เกิดขึ้นเสมอๆ ด้วย และแน่นอนย่อมมีความหวาดกลัวและการคุกคามเกิดขึ้นเสมอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้สัมพันธ์กับการทำงานของมนุษย์ตลอดเวลา ชีวิตมนุษย์เจริญเติบโตด้วยการทำงาน และจากการทำงานนี้เองที่ทำให้มนุษย์มีศักดิ์ศรี แต่ในเวลาเดียวกัน การทำงานมักก่อให้เกิดความทุกข์ยาก ปัญหาและความอยุติธรรมซึ่งหยั่งรากลึกลงในสังคมชาติของนานาชาติด้วย. แม้ว่ามนุษย์จะยังชีพโดยการทำงานด้วยมือทั้งสองข้าง แต่การยังชีพนี้มิได้หมายเพียงอาหารเลี้ยงชีพเท่านั้น มันยังหมายถึงการยังชีพด้วยวิทยาการ ความเจริญรุ่งเรือง และวัฒนธรรมด้วย แท้ที่จริงแล้วมนุษย์ยังชีพด้วย “หยาดเหงื่อของตนเอง” กล่าวคือ มนุษย์ไม่เพียงแต่ใช้ความพยายามอย่างสูง และประสบกับความยากลำบากเท่านั้น ยังต้องประสบกับความตึงเครียด การขัดแย้งและวิกฤตการณ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชน และต่อมนุษยชาติทั้งมวลด้วย.

เรากำลังทำการฉลองครบรอบ 90 ปี ของสมณสาส์น RERUM NOVARUM ในช่วงเวลาของการพัฒนาใหม่ทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมากมายอ้างว่า จะช่วยให้การทำงานและการผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไม่น้อยกว่าในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่แล้ว.  มีปรากฏการณ์เกิดขึ้นหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น การใช้เครื่องจักรทุ่นแรงในกระบวนการผลิตอย่างแพร่หลายค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้น เกิดความสำนึกเพิ่มขึ้นว่ามรดกทางธรรมชาตินี้มีอยู่จำกัด และกำลังถูกทำลายลงไปอย่างน่าใจหาย ประชาชาติทั้งมวลผู้ซึ่งต้องตกเป็นเบี้ยล่างมาหลายศตวรรษแล้วเกิดมีความสำนึกทางการเมืองขึ้น และกำลังเรียกร้องสิทธิของตน รวมทั้งต้องการมีส่วนในการตัดสินวิถีชีวิตของตนในระดับสากลด้วย เงื่อนไขและการเรียกร้องเหล่านี้ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและจัดระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจสมัยใหม่และการแบ่งงาน. เป็นที่น่าเสียดายว่า การเปลี่ยนแปลดังกล่าวอาจหมายถึงการตกงานของช่างฝีมือจำนวนนับล้าน หรืออาจจะหมายถึงความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมก็ได้. ผลเหล่านี้ทำให้ความเจริญทางวัตถุของประเทศที่พัฒนาแล้วต้องสะดุดหรือหยุดชะงักได้. แต่ผลเหล่านี้จะทำให้คนจำนวนนับล้านๆ คนในปัจจุบันที่ต้องตกอยู่ในภาวะยากจน เกิดความหวังและได้รับการบรรเทา

พระศาสนจักรมิได้อยู่ในฐานะที่จะต้องทำการวิเคราะห์เชิงวิชาการว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้างต่อสังคมของมนุษย์. แต่พระศาสนจักรมีบทบาทและหน้าที่ที่จะเรียกร้องความสนใจของทุกคนให้คำนึงถึงศักดิ์ศรี และสิทธิของทุกคนที่ทำงาน ทั้งยังมีหน้าที่ที่จะต้องประณามสถานการณ์ซึ่งละเมิดศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ และช่วยชี้แนะให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นสร้างความเจริญที่แท้จริงให้เกิดแก่มนุษย์และสังคม

การพัฒนาองค์กรทางสังคม และคำสอนของพระศาสนจักร

แท้ที่จริงแล้ว การทำงานของมนุษย์เป็นศูนย์กลางของ “ปัญหาสังคม” ซึ่งพระศาสนจักรได้มีคำสั่งสอนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวมาแล้วเกือบร้อยปีนับตั้งแต่สมณสาส์นดังกล่าวข้างต้น. สำหรับสมณสาส์นฉบับนี้มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอแนวทางอื่น แต่คงอยู่ในแนวทางคำสั่งสอนและกิจกรรมดั้งเดิมนั่นเอง. สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการคือ เน้นให้เห็น “สิ่งเก่าและสิ่งใหม่” ตามแนวทางพระวารสาร. การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ “สิ่งเก่า” นั่นคือ เก่าเท่าๆ กับชีวิตของมนุษย์บนโลกนี้ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาและวิเคราะห์ในหัวข้อต่างๆ อาทิ เชิงภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและอารยธรรม เราเห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันเรียกร้องให้มีการค้นหาความหมายใหม่ในการทำงานของมนุษย์ และเรียกร้องให้มีการวางรูปแบบหน้าที่ใหม่ ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงแต่ละบุคคล, แต่ละครอบครัว, แต่ละประเทศ, มนุษยชาติทั้งมวลรวมทั้งพระศาสนจักรเองด้วย.

นับตั้งแต่สมณสาส์น RERUM NOVARUM เป็นต้นมา พระศาสนจักรได้ให้ความสนใจต่อปัญหาสังคมมาโดยตลอด. หลักฐานที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้ก็คือ คำสั่งสอนของพระสันตะปาปาและของสังคายนาวา ติกันครั้งที่ 2 สารของสภาพระสังฆราชในแต่ละประเทศ รวมทั้งกิจกรรมของศูนย์วิชาการและศูนย์ปฏิบัติการต่างๆ ของฝ่ายศาสนา ทั้งในระดับสากลและระดับพระศาสนจักรท้องถิ่น. การที่จะเสนอรายละเอียดของสารและกิจกรรมของพระศาสนจักร รวมทั้งปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับคริสตศาสนิกชนนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เพราะว่าสารและกิจกรรมเหล่านี้มีมากมายเหลือเกิน. จากผลการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ทำให้เกิดศูนย์ประสานงานในด้านนี้ขึ้น คือ คณะกรรมการยุติธรรมและสันติ ซึ่งจะต้องทำการติดต่อกับคณะกรรมการด้านนี้ของสภาพระสังฆราชในแต่ละประเทศ. ชื่อของสถาบันนี้มีความสำคัญมาก. กล่าวคือมันจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นว่า ปัญหาทางสังคมจะต้องได้รับการพิจารณาทุกแง่ทุกมุม. พันธะในการสร้างสรรค์ความยุติธรรมจะต้องสัมพันธ์กับพันธะในการสร้างสันติในโลกสมัยปัจจุบันนี้ พันธะทั้งสองนี้ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนจากประสบการณ์อันเจ็บปวดที่ได้รับจากสงครามโลกทั้งสองครั้งที่ผ่านมาซึ่งตลอดระยะเวลา 90 ปี มาน ี้ได้ก่อให้เกิดความหายนะแก่หลายประเทศในยุโรป และบางประเทศในทวีปอื่นๆ ด้วย. นอกจากนั้น สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันอีกประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ยังมีภัยจากการคุกคามของสงครามนิวเคลียร์ และการทำลายตัวเองที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากผลของสงครามดังกล่าว.

หากเรายึดตามแนวทางหลักของการพัฒนาของเอกสาร และคำสั่งสอนต่างๆ ของพระศาสนจักร เราจะพบว่าได้มีการยืนยันถึงปัญหาสังคมดังกล่าวอย่างเด่นชัด. เอกสารหลักที่เกี่ยวกับปัญหาสันติภาพในโลกนี้ คือ สมณสาส์น PACEM IN TERRIS ของพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23. อย่างไรก็ตามหากเราศึกษาพัฒนาการของปัญหาความยุติธรรมในสังคม เราจะพบว่า ช่วงระยะเวลาตั้งแต่สมณสาส์น RERUM NOVARUM จนถึงสมณสาส์น QUADRAGESIMO ANNO โดยพระสันตะปาปาไพอัสที่ 11 นั้น คำสั่ง สอนของพระศาสนจักรก็ได้ขยายขอบเขตการแก้ปัญหาดังกล่าวไปสู่วงกว้างขึ้น นั่นคือ การแก้ปัญหาระดับโลก.* อาทิเช่น ปัญหาเรื่องความอยุติธรรมในการแบ่งปัน ปัญหาความยากจนและปัญหาในเรื่องที่บางประเทศหรือบางทวีปได้รับการพัฒนาแล้ว ในขณะที่บางประเทศยังคงอยู่ในภาวะด้อยพัฒนา และปัญหาในการแสวงหาหนทางที่จะทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างเหมาะสมแก่ทุกๆ ประเทศและแก่ทุกๆ คน. นี่คือแนวทางคำสั่งสอนของพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 ในสมณสาส์น MATER ET MAGISTRA, คำสั่งสอนในเอก สาร GAUDIUM SPES ของสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 และในสมณสาส์น POPULORUM PROGRESSIO ของพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6

แนวโน้มการพัฒนาการของคำสั่งสอนและพันธของพระศาสนจักรเกี่ยวกับปัญหาสังคมนี้มีความสอดคล้องกับการยอมรับความเป็นจริงของสภาพการณ์เหล่านั้นในอดีตที่ผ่านมาปัญหา “ชนชั้น” ถือเป็นปัญหาหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ปัญหาหลักกลับกลายเป็น ปัญหาเกี่ยวกับ “โลก”. ดังนั้น จึงมิใช่มีเพียงปัญหาชนชั้นเท่านั้นที่ควรจะได้รับการพิจารณา แต่จะต้องมีการพิจารณาถึงปัญหาระดับโลกในเรื่องของความไม่เท่าเทียมกัน และปัญหาความอยุติธรรมด้วยเช่นกัน ฉะนั้น การแก้ปัญหาจึงมิใช่เป็นเรื่องชนชั้นเท่านั้น. การวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกปัจจุบันชี้ให้เห็นถึงความหมายของการวิเคราะห์ความอยุติธรรมในสังคมที่ผ่านมาไ ด้อย่างสมบูรณ์ และลึกซึ้งยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นว่าเราจะต้องพยายามสร้างสรรค์ความยุติธรรมให้เกิดขึ้นบนโลก โดยไม่จำเป็นต้องปิดบังโครงสร้างที่อยุติธรรม แต่ทั้งนี้จะต้องทำการตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงในระดับสากลด้วย.3. ปัญหาเรื่องการทำงาน กุญแจสำคัญของปัญหาทางสังคม

ปัญหาเรื่องการทำงาน กุญแจสำคัญของปัญหาทางสังคม

ในกระบวนการต่างๆ ทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้ว นับตั้งแต่การวิเคราะห์ความเป็นจริงในสังคมที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด และการวิเคราะห์คำสอนของพระศาสนจักรในแง่ของปัญหาที่สลับซับซ้อนของสังคม บ่อยครั้งเราพบว่ามีปัญหาเรื่องการทำงานของมนุษย์เกิดขึ้นอยู่เสมอ. ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญต่อชีวิตสังคม และต่อคำสั่งสอนของพระศาสนจักร. นอกจากนั้น พระสมณสาส์นฉบับนี้ ยังได้ให้ความสนใจกับปัญหาดังกล่าวย้อนหลังไปในอดีตอันยาวนานเก้าสิบปี. อันที่จริงคำสั่งสอนต่างๆ ของพระศาสนจักรที่เกี่ยวกับสังคมนั้น มีจุดเริ่มต้นจากพระคัมภีร์นับตั้งแต่หนังสือปฐมกาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพระวรสารและจดหมายต่างๆ ของอัครสาวก. ปัญหาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งสอนแนวความคิดเกี่ยวกับคน การดำเนินชีวิตใ นสังคมและความมีศีลธรรมในสังคม ซึ่งพระศาสนจักรได้พร่ำสั่งสอนตามความจำเป็นในแต่ละยุค แต่ละสมัย. มรดกนี้ได้รับการถ่ายทอดและพัฒนาโดยการสั่งสอนของพระสันตะปาปาเกี่ยวกับ “ปัญหาสังคมสมัยใหม่” โดยเริ่มต้นจากพระสมณสาส์น RERUM NOVARUM. สำหรับปัญหาเรื่องงานนี้ ได้รับการหยิบยกขึ้นมาศึกษาตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงยึดหลักความจริงของคริสตศาสนาไว้อย่างเหนียวแน่น และหลักความจริงนี้จะไม่มีวันล้าสมัยเลย.

ในเอกสารฉบับนี้ เราหันมาศึกษาปัญหาเรื่องงานอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ในทุกแง่ทุกมุม และไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวม หรือกล่าวซ้ำถึงสิ่งที่บรรจุอยู่ในคำสั่งสอนของพระศาสนจักรแล้วด้วย. ตรงกันข้าม เราต้องการที่จะเน้นเป็นพิเศษว่า หากเราพิจารณาปัญหานี้เพื่อสร้างสรรค์ความดีให้เกิดขึ้นแก่มนุษยชาติแล้ว การทำงานของมนุษย์ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะเผยให้เห็นปัญหาสังคมทั้งครบ. ดังนั้นหากจะต้องมีการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ และเพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้นทุกขณะ ต้องเป็นไปในแนวทางของ “การทำให้ชีวิตมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น”กุญแจดอกนี้คือการทำงานของมนุษย์ จึงนับได้ว่าเป็นพื้นฐานและมีความสำคัญมากที่สุด