หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

โดย...พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

ภาระหน้าที่ของการเป็นบิดา

จากข้อความของผู้เขียนพระวรสารนั้นเอง ทำให้ตีความได้ว่า ฐานทางกฎหมายแห่งความเป็นบิดาของโยเซฟ อยู่ที่การแต่งงานกับพระแม่มารีนี่เอง. และเพื่อจะให้พระเยซูมีผู้คุ้มครองในฐานะเป็นบิดา พระเป็นเจ้าจึงได้ ทรงเลือกสรรให้ท่านโยเซฟเป็นสามีของพระแม่มารี. จึงเป็นอันว่า การเป็นบิดาของโยเซฟ-ซึ่งเป็นการผูกพันของท่านใกล้ชิดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กับองค์พระคริสตเจ้า, พระองค์ผู้เป็นจุดหมายแห่งการเลือกสรร และการกำหนดล่วงหน้าทุกอัน (เทียบ รม.8,28) – ทั้งนี้เป็นมาโดยการแต่งงานกับพระแม่มารี, นี่คือที่เป็นมาของครอบครัว.

ทั้งๆ ที่บรรดาผู้นิพนธ์พระวรสารยืนยันหนักแน่นว่า พระเยซูมีปฏิสนธิ์โดยฤทธิเดชของพระจิตเจ้า และ ว่า ในการแต่งงานนั้นยังคงรักษาพรหมจรรย์อยู่ (เทียบ มธ.1,18-20. ลก.1,27,2,5)

ความคิดเห็นของพระศาสนจักรก็เหมือนกัน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่จะประกาศว่าการปฏิสนธิ์ของพระเยซูเป็นไปอย่างพรหมจรรย์. ถึงกระนั้นเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยที่จะป้องกันการแต่งงานของมารีกับโยเซฟ, ด้วยว่า การเป็นบิดาของโยเซฟทางกฎหมายขึ้นกับการแต่งงานนั้น. เพราะฉะนั้น เราจึงเข้าใจว่า ทำไมเขาจึงนับชื่อคนตา มลำดับตระกูลของโยเซฟ- “ทำไมหรือ? นักบุญออคัสตินถาม? “ทำไมจะไม่ต้องนับผ่านทางโยเซฟเล่า? โยเซฟไม่ใช่เป็นสามีของมารีดอกหรือ? (…) พระคัมภีร์บอกโดยอิทธิพลของเทวดาว่าท่านเป็นสามี, เทวดาพูดว่า. “อย่ากลัวที่จะรับเอามารีภรรยาของท่าน. เพราะว่า สิ่งที่เกิดในนางนั้นเป็นไปโดยพระจิตเจ้า.” เทวดายังสั่งอีกว่า : ให้ตั้งชื่อเด็ก แม้ไม่ได้เกิดจากพันธุ์ของท่าน, โดยบอกว่า นางจะเกิดบุตรชาย และท่านจะเรียกชื่อว่า เยซู. พระคัมภีร์รู้ดีว่า :  พระเยซูไม่ได้เกิดจากโยเซฟเพราะ ในคราวนั้น ท่านโยเซฟกำลังวุ่นวายใจเรื่องความเป็นแม่ของมารีนั่นเอง. (เทวดา) บอกกับท่านว่า : เรื่องนั้น (การปฏิสนธิ์นั้น) มาจากพระจิตเจ้า, ถึงกระนั้นการเป็นบิดาก็ไม่ได้ถูกกำจัดไปจากท่านเพราะเทวดา ได้สั่งให้ตั้งชื่อนั้น ที่สุดพระแม่มารีอาก็ทราบดีว่า พระคริสตเจ้ามิได้ทรงบังเกิดมาจากการสมสู่ของท่านนักบุญ ถึงกระนั้นพระแม่ก็เรียกท่านนักบุญเป็น “พ่อ” ของพระคริสต์

บุตรของมารีเป็นบุตรของโยเซฟด้วย ทั้งนี้โดยอำนาจสายสัมพันธ์ของการแต่งงาน. “เพราะเหตุที่การแต่งงานนั้นสัตย์ซื่อต่อกัน, ท่านทั้งสองจึงสมควรได้ชื่อว่าเป็นบิดามารดาของพระคริสตเจ้า,มิใช่เธอ เท่านั้นเป็นแม่ แต่เขาผู้นั้นก็เป็นพ่อของพระบุตรด้วย, ในฐานเป็นสามีแห่งมารดาของพระองค์, ท่านทั้งสองนี้เป็นสามีภรรยากันทางด้านจิตใจ, มิใช่ทางด้านเนื้อหนัง”. ใ นการแต่งงานของท่านทั้งสองนี้ไม่มีคุณภาพอันใดที่ต้องมีขาดหายไป.

 

, มีความสัตย์ซื่อต่อกันเพราะไม่มีการล่วงละเมิดประเพณี, มีศักดิ์สิทธิการเพราะไม่มีการหย่าร้างอันใด.”

เมื่อตรวจค้นดูธรรมชาติของการแต่งงาน ทั้งนักบุญออคัสตินทั้งนักบุญโธมาส ก็เห็นทุกครั้งไปว่า : มันอยู่ที่ “การรวมจิตใจกันอย่างที่จะแบ่งแยกมิได้”, “การมีหัวใจอันหนึ่งอันเดียวกัน” และ “การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ชิ้นส่วนต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ก็มีประจักษ์ชัดอยู่ในการแต่งงานอันนั้น. ที่จุดสุดยอดของประวัติความรอด, เมื่อพระเป็ นเจ้าทรงเผยความรักของพระองค์ต่อมนุษยชาติ โดยการประทานพระวจนาถ, นั่นก็คือ การแต่งงานของแม่มารีและของโยเซฟ ซึ่งประกอบด้วย “อิสรภาพ” อันเต็มเปี่ยม ก่อให้เกิด “การมอบตัวในการแต่งงาน” โดยการรักษาและแสดงออกซึ่ง “ความรัก” ดังกล่าว ในการเริ่มงานใหญ่โตมหึมา คือ การบันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของใหม่ห มดในพระคริสตเจ้า, การแต่งงานก็เหมือนกัน ถูกชะล้าง, ถูกทำให้ใหม่, กลายเป็นตัวตนคนใหม่. เมื่อเริ่มพันธสัญญาเดิมก็มีคู่บ่าวสาว แต่ทว่าคู่แต่งงานของอาดัมและเอวาได้เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ร้อน ซึ่งกระจายไปทั่วโลก ; ส่วนคู่แต่งงานของโยเซฟกับมารี เป็นจุดเด่นที่ไหลหลั่งความศักดิ์สิทธิ์ไปทั่วแผ่นดิน, พระผู้ช่วยให้รอด ได้ทรงเริ่มงานความรอดจากความสัมพันธ์อันพรหมจรรย์และศักดิ์สิทธิ์, ส่อแสดงน้ำพระทัยอันทรงฤทธิ์ปราศจากขอบเ ขต ที่จะชำร ะล้างและบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่ครอบครัว ซึ่งเป็นทั้งสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งความรัก และเป็นทั้งที่เพาะชำชีวิตนั่นเอง”

จากที่กล่าวมา มีหลักคำสอนกี่หลักที่ไหลมาสู่ครอบครัวทุกวันนี้. เหตุด้วยว่า“ตกที่สุด ก็ต้องจำกัดความว่า สภาวะและหน้าที่ของครอบครัวคือความรัก และเพราะเหตุนี้ครอบครัวจึงมีภาระที่จะคุ้มครองรักษา, ที่จะประ กาศแจ้งให้ประจักษ์ และ ที่จะนำความรักมาแบ่งปันกัน คล้ายกับเป็นแสงสะท้อนอันทรงชีวิตและเป็นการเข้ามีส่วนโดยแท้กับความรักของพระเป็นเจ้าต่อมนุษยชาติ และกับความรักของพระสวามีคริสตเจ้าต่อพระศาสนจักรผู้เป็นภริยาของพระองค์ท่าน” เพราะพระศาสนจักรชั้นแรก คือ ศาสนจักรที่เป็นครอบครัวต้องนำเข้าไปสู่ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า และครอบครัวคริสตังอื่นทั้งหลายต้องเป็นดังกระจกสะท้อนแสงของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์นั้น “ตามพระดำริอันลึกซึ้งของพระเป็นเจ้า พระบุตรของพระเป็นเจ้า ได้ดำรงพร ะชนม์ชีพซ่อนเร้นอยู่เป็นเวลาห ลายต่อหลายปี จึงเป็นต้นฉบับและตัวแบบแห่งครอบครัวคริสตังทั้งหลายทั้งสิ้น

พระเป็นเจ้าได้ทรงเรียกนักบุญโยเซฟเข้ามารับใช้พระเยซูโดยตรง และภารกิจของพระองค์ท่าน โดยการปฏิบัติหน้าที่เป็นบิดา. และเพราะการกระทำดังนี้ทีเดียว เมื่อถึงเวลาครบกำหนดอันสำคัญแห่งการไถ่บาป ท่านจึงเป็นผู้เข้าช่วยเหลือ และตามความจริงท่านเป็น “ผู้รับใช้ของความรอด”. เหตุผลอันเป็นรูปธรรมแห่งการเป็นบิดา ของท่านปรากฏออกมาจาก “การที่ท่านได้ทำให้ชีวิตของท่านรับใช้และเป็นบูชาเสียสละเพื่อธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอาเนื้อหนัง (=การเป็นมนุษย์), จากการที่ท่านใช้อำนาจทางกฎหมาย ที่ท่านมีต่อครอบครัวศักดิ์สิทธิ์เพื่อมอบตัวท่าน, ชีวิตของท่านและการงานของท่านให้แก่ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์นั้น, จากการที่ท่านเปลี่ยนกระแสเรียกเป็นมนุษย์ของท่านให้กลายเป็นความรักประสาครอบครัว, ท่านเองนั่นแหละได้ยกถวายจนเกินกำลังของมนุษย์ (ตามปรกต ิ) ซึ่งตัวท่านเองและสมรรถภาพทั้งสิ้นของท่านให้ไปสู่ความรักต่อการปรนนิบัติรับใช้พระเมสสิอา ผู้ได้บังเกิดมาที่บ้านท่าน”

อนึ่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ชวนให้เราระลึกว่า “เบื้องต้น…ของความรอดของมนุษย์นั้นได้ฝากไว้กับท่านโยเซฟผู้สัตย์ซื่อ”, พิธีกรรมนั้นยังไขอีกว่า “ท่าน… ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับใช้สัตย์ซื่อและเฉลียวฉลาดเหนือครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ จะได้เฝ้ารักษาพระบุตรแต่องค์เดียว…ในหน้าที่แทนบิดา” . ความสูงส่งแห่งภาระหน้าที่อันนี้ พระสัน ตะปาปาเลโอที่ 13 ได้ยกย่องเทิดทูนว่า : “ในบรรดาคนทั้งหลาย น.โยเซฟแต่ผู้เดียวได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง คือตามพระดำริของพระเป็นเจ้า ท่านได้เป็นผู้คุ้มครอง พระบุตรของพระเป็นเจ้า, ตามความเห็นของคนทั้งหลาย เขาถือว่าท่านเป็นบิดา. เพราะเหตุนี้เอง จึงมีผลตามมาว่า พระวจนาถของพระเป็นเจ้าได้อยู่ใต้อำนาจของท่านโยเซฟอย่างสุภาพเรียบร้อย, พระองค์ได้ฟังคำสั่งของท่าน และได้ทรงให้เกียรติทุกๆ อย่างแก่ท่าน, เกียรติที่ลูกๆ ทั้งหลายต้องกระทำต่อพ่อ.”

เราไม่อาจเข้าใจได้ว่า  หน้าที่อันสูงส่งเช่นนี้จะไม่มีคุณสมบัติตอบสนอง  เพื่อจะได้ปฏิบัติไปได้ด้วยดี. จึงต้องยอมรับ ว่า “โยเซฟได้รับพระคุณพิเศษจากสวรรค์ให้ท่านมีความรักตามธรรมชาติทุกอย่าง มีความสาละวนทำนุถนอม ที่ใจพ่อทั้งหลายย่อมมีต่อลูก”

ในเวลาเดียวกันเมื่อประทานให้โยเซฟมีอำนาจประสาบิดาเหนือพระเยซูแล้ว พระเป็นเจ้าก็โปรดให้ท่าน มีความรักสนองรับด้วย, เป็นความรักที่ไหลมาจากพระบิดา จากพระองค์นี้แหละ ความเป็นบิดาทั้งสิ้น ทั้งในสวรรค์ ทั้งบนแผ่นดิน ได้รับนามของตนมา (อฟ.3,15).

หน้าที่การเป็นบิดาของโยเซฟต่อพระเยซูนั้นมีแสดงอยู่ในพระวรสารต่างๆ. เพราะเหตุว่า ความรอดที่ได้ผ่านมาทางธรรมชาติมนุษย์ของพระเยซู, ความรอดนี้สำเร็จเป็นไปด้วยการงานต่างๆ อันสอดแทรกอยู่ในกระแสชีวิตครอบครัวทุกๆ อัน, นี้หมายถึงเหตุการณ์ที่ “ทรงพระกรุณา” หรือ “ที่ทรงถ่อมพระองค์ลดพระองค์เอง” ซึ่งมี อยู่ในพระดำริแห่งการรับเอาเนื้อหนัง, บรรดาผู้นิพนธ์พระวรสารพยายามมากที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรเลยทีเดียวที่เป็นมาตามยถากรรม (หรือเป็นมาโดยบังเอิญ), แต่ตรงข้าม ทุกสิ่งทุกอย่างได้เป็นมาตามพระปรีชาญาณของพระเป็นเจ้า. เราพบสูตรที่เป็นมาบ่อยๆ ว่า : เหตุการณ์นี้เป็นมาเพื่อให้สำเร็จเป็นไป…”, และกระทั่งเหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นมีความกลมกลืนกับที่ใดที่หนึ่งในพันธสัญญาเดิม, หมายถึงตรงนั้นๆ, เพื่อเน้นให้เห็นการเกาะกลุ่มและการร่วมเสียงแห่งพระดำริ ซึ่งบรรลุถึงความสมบูรณ์ของตนในพระคริสตเจ้า.

พระสัญญาและ “รูปภาพ” ต่างๆ ให้พันธสัญญาเดิมกลายเป็น “ของจริง, ของแท้” โดย “การเสด็จมารับเอาเนื้อหนัง” : สถานที่, บุคคล, เหตุการณ์และจารีตพิธีผูกพันกันและกัน ตามบัญชาอันแจ้งชัดของพระเป็นเจ้า สิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาโดยทางเทวฑูต และสัตวโลกก็รับไว้, มันเคลื่อนไหวสำเร็จเป็นไปอย่างแข็งขันตามพระวาจาของ พระเป็นเจ้า, แม่มารีเป็นสาวใช้ที่ต่ำต้อยของพระเป็นเจ้าตั้งแต่ชั่วนิรันดรแล้ว พระแม่ได้ถูกจัดเตรียมไว้ให้เป็นพระมารดาของพระเป็นเจ้า, ส่วนตัวโยเซฟเองนั้น ท่านเป็นผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเลือกสรรให้เป็น “ผู้จัดการการเกิดของพระเป็นเจ้า” ท่านมีหน้าที่ดูและจัดการให้พระบุตรของพระเป็นเจ้าเสด็จเข้ามาในโลกนี้ “อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย”, โดยคงรักษาไว้ทั้งตามความนึกคิดของพระเป็นเจ้า ทั้งตามกฎหมายของมนุ ษย์. แน่นอน ท่านได้รับมอบห มายให้ดูแลทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วนในชีวิต ที่เรียกว่า “ส่วนตัว” หรือ “ชีวิตซ่อนเร้น” ของพระเยซู.ฺ