หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

โดย...พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

 ผู้พิทักษ์ปกป้องธรรมล้ำลึกของพระเจ้า

หลังการแจ้งสาสน์ของเทวดาไม่นาน พระแม่มารีได้ไปที่บ้านของซาคาเรีย เพื่อเยี่ยมนางเอลีซาเบธ ญาติ ของพระนางขณะที่กำลังทำการคำนับกันอยู่นั้น พระนางได้ยินคำพูดจากปากของเอลิซาเบธ “ผู้เปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า” (ลก.1,41) นอกจากคำพูดที่โยงไปถึงคำคำนับของเทวฑูตถือสาสน์นั้นแล้ว, เอลิซาเบธยังเสริมว่า : “ช่างมีบุญจริง ท่านผู้ที่ได้เ ชื่อ เพราะว่าจะสำเร็จเป็นไปแก่เธอ ตามที่พระเป็นเจ้าได้ทรงแจ้งให้ไว้” (ลก.1,45) กระทงความนี้แหละ ได้เป็นสื่อให้เราใช้แต่งสมณสาสน์ของเรา ที่ชื่อว่า Redemptoris Mater (มารดาพระผู้ไถ่) ทั้งนี้เพ ราะเราตั้งใจจะบรรยายให้ลึกซึ้งถึงคำสอนของพระสังคายนาวาติกันที่ 2 ที่ประกาศว่า : “ท่านพรหมจารีผู้มีบุญได้เจริญก้าวหน้าไปในการแสวงบุญแห่งความเชื่อ, และร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตรอย่างสัตย์ซื่อตราบกระทั่งถึง “ไม้กางเขน” หมายความว่า พระแม่ได้เป็น “ผู้นำหน้า” และมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เดินตาม โดยทางด้านความเชื่อ.

ก็เมื่อเริ่มการแสวงบุญ “ความเชื่อ” ของพระแม่มารี ก็มาพบกับความเชื่อของโยเซฟ. หากคำที่เอลิซาเบธ กล่าวกับพระมารดาของพระเจ้าว่า : “ท่านมีบุญ เพราะได้เชื่อ” คำดังกล่าวนี้ก็ได้กับโยเซฟในด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน เป็นความจริง โยเซฟได้ตอบสนองต่อคำบัญชาของพระเจ้า เช่นเดียวกับพระแม่มารี ผิดกันเฉพาะที่เวลาพระทรงสั่งเท่านั้น นักบุญโยเซฟ “ได้ปฏิบัติ” ตามคำสั่งแห่งเทวฑูตของพระเจ้า และได้รับเอาภรรยาของท่านไว้ สิ่งที่โยเซฟได้ปฏิบัตินั้น, เป็นเรื่องเกี่ยวกับความนบนอบทางความเชื่ออันบริสุทธิ์ยิ่งนัก (รม.1,5,16,24,2 คร.10,5-6)

อาจพูดได้ว่า สิ่งที่โยเซฟได้กระทำ เป็นทำนองพิเศษพิสดารทีเดียวนั้น ผูกมัดตัวท่านกับความเชื่อของพระแม่มารี : ท่านได้รับเอา, ถือเป็นความจริงมาจากพระเป็นเจ้า สิ่งซึ่งพระแม่เจ้าได้รับเอาก่อนแล้ว, ในคราวเทวฑูตแจ้งสาสน์. พระสังคายนาบัญญัติสั่งว่า. “เมื่อพระเป็นเจ้าทรงไขแสดง คนเราต้องอ่อนน้อมทางความเชื่อด้วยการกระทำดังต่อไปนี้คือ มอบตนของตนทั้งหมด ทั้งทางสติปัญญา ทั้งทางน้ำใจไว้กับพระเป็นเจ้า” ประโยคนี้นำไป ถึงแก่นของความเชื่อนั่นเอง ที่โยเซฟชาวนาซาเรธได้เข้าถึง

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกลายเป็นผู้เดินตาม หรือผู้เก็บรักษาธรรมล้ำลึกอันพิเศษพิสดาร, “ที่ซ่อนอยู่ในพระเป็นเจ้าแต่หลายศตวรรษมาแล้ว (เทียบ อฟ.3,9) อย่างเดียวกับพระแม่มารี ในจุดสุดยอดที่ท่านอัครสาวก (น.เปาโล) เรียกว่า “ความครบบริบูรณ์ของเวลา” ในคราวนั้นเมื่อ “พระเป็นเจ้าได้ทรงใช้พระบุตรของพระองค์ให้มาเป็น ตัวตนจากสตรี, ให้มาอยู่ใต้กฎหมาย หวังจะได้ช่วยให้ผู้อยู่ใต้กฎหมายได้รอด, เพื่อให้ชาวเราได้รับการเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ (เทียบ คล.4,4-5) พระสังคายนากล่าวไว้ว่า “เพราะพระทัยดีและพระดำริปรีชา พระเป็นเจ้าจึงได้ทรงไขแสดงพระองค์ และแจ้งให้เรารู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งน้ำพระทัยของพระองค์ (เทียบ อฟ.1,9). ด้วยการกระทำของพระองค์อันนี้ เหล่ามนุษย์จึงอาศัยพระคริสตเจ้า, พระวจนาถผู้มารับเอาเนื้อหนัง โดยทางพระจิ ตเจ้า, ชาวเราจึงมีทางเข้าถึงพระบิดา และเรากลายเป็นผู้มีส่วนในธรรมชาติของพระเป็นเจ้า (เทียบ อฟ.2,18, 2 ปต.1,4)”

ร่วมกับพระแม่มารี โยเซฟเป็นครั้งแรก ที่ได้รับฝากธรรมล้ำลึกของพระเจ้าอันนี้. ในเวลาเดียวกับพระแม่มารี และสัมพันธ์กับพระแม่มารีด้วย, ท่านมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์สูงสุด ที่พระเป็นเจ้าได้แสดงพระองค์ โดยองค์พระคริสตเจ้า และท่านก็มีส่วนตั้งแต่เริ่มแรกทีเดียว. เมื่อนำเอาคำเล่าของผู้เขียนพระวรสารทั้งสองท่าน คือ มัทเ ธวและลูกา มาตั้งไว้ต่อหน้าต่อตา เราอาจพูดได้ว่า โยเซฟมีส่วน “ในความเชื่อของพระมารดาของพระเจ้า” และดังนี้เองท่านจึงสนับสนุนภรรยาของท่าน ในเรื่องการแจ้งสาสน์ของเทวฑูตอันนั้น ยิ่งกว่านั้น ท่านยังเป็นคนแรกที่พระเป็นเจ้าได้โปรดตั้งไว้ตามทาง “การแสวงบุญแห่งความเชื่อ”, ซึ่งในการเดินทางนี้ มีพระแม่มารีโดยเฉพาะได้เดินไปนับแต่เนินกาลวารีโอ จนถึงวันพระจิตอย่างครบบริบูรณ์.

หนทางเฉพาะของโยเซฟ, การเดินทางแสวงบุญแห่งความเชื่อนั้นจบสิ้นลงก่อน กล่าวคือ ก่อนพระแม่มารีผู้จะประทับยืนอยู่เชิงไม้กางเขนบนเนินกาลวารีโอ ทั้งก่อนที่ในคราวนั้นพระคริสตเจ้าได้เสด็จกลับไปหาพระบิดาแล้ว- พระแม่ก็ประทับอยู่ในห้องอาหารของวันพระจิตเจ้า (เปนเตกอสเต). ในวันเปนเตกอสเตนี้เอง พระศาสนจักรผู้เกิดมาจากฤทธิ์อำนาจความจริงของพระจิตเจ้าได้เปิดเผยแสดงตัวของท่านให้ปรากฏทั่วโลกจักรวาล. อย่างไรก็ดี หนทางแห่งความเชื่อของโยเซฟ “ก็ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับที่ท่านได้รับฝากให้เป็นคนเริ่มต้นพร้อมกั บพระแม่มารี, ธรรมล้ำลึกการรับเอาเนื้อหนัง (Incarnatio) และการไถ่บาป (Redemptio) เป็นสิ่งเดียวกัน, ก่อให้เกิดสิ่งประสมที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้, ณ ที่นี้แวดวงของการไขแสดงเป็นขึ้นมา ด้วยกิจการและวาจาที่ผูกพันระหว่างกันและกันภายในทีเดียว”. เพราะการผูกพันกันอันนี้ทีเดียว พระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 ผู้มีความศรัทธาแก่กล้าต่อนักบุญโยเซฟ, พระองค์จึงได้ทรงกำหนดให้มีการระลึกถึงการไถ่บาปเสมอตลอดไป, ให้ใน “กานอน” มิ สซาที่เรียกว่า โรมัน, ให้ออกนามของนักบุญโยเซฟ ต่อจากนามของพระแม่มารี และก่อนนามของบรรดาอัครสาวก, บรรดาพระสันตะปาปาและมรณสักขี