หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

โดย...พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

บุรุษผู้ใคร่ธรรม – สามี

กระแสชีวิตก้าวหน้าไป ซึ่งเป็นการแสวงบุญด้านความเชื่อ, โยเซฟก็เช่นเดียวกับพระแม่มารี ได้คงดำรงสัตย์ซื่อต่อพระเป็นเจ้า ซึ่งทรงเรียกให้ “ทำเรื่อยไปจนถึงที่สุด”. ชีวิตของพระแม่มารีนั้นเป็นการปฏิบัติตลอดไปตามวาจาที่พระแม่ได้เปล่งออกมา คราวรับสาสน์นั้นว่า : “ขอให้เป็นไป” (แก่ข้าพเจ้าตามวาทะของท่านนั้นเถิด) ; แต่โยเซฟ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว, ท่านมิได้ปริปากพูดอะไรเลย “ในการรับสาสน์ของท่าน, ท่านได้แต่ “ปฏิบัติ”ตามที่เทวดาของพระเจ้ากำชับสั่งนั้น” (มธ.1,24). ก็การ “ปฏิบัติ” นี้แหละ. เป็นการเริ่มต้นเดินหน้าไปของโยเซฟ”. ตลอดทางอันนี้ทั้งหมด ผู้นิพนธ์พระวรสารมิได้เอ่ยคำพูดสักคำที่ออกมาจากปากของท่าน. “การนิ่งเงียบ” ของโยเซฟนี้แหละเผยให้เห็นประจักษ์แจ้ง, เป็นดังมนต์พิเศษที่ทำให้เราเข้าใจความจริงอันมีบันทึกอยู่ในพระวรสารว่า : ท่านเป็นบุรุษผู้ใคร่ธรรม” (มธ.1,19).

ความจริงอันนี้ คนเราต้องรู้จักอ่านให้ถูกต้อง เพราะว่าในนั้นมีบางสิ่งบางอย่าง ที่ยืนยันแน่วแน่ถึงบุรุษผู้นั้น และภารหน้าที่ของท่าน. วันเวลาล่วงไปๆ พระศาสนจักรก็ยิ่งสนใจอ่านคำยืนยันอันนั้น และท่านซึมทราบมากขึ้น คล้ายกับควักเอา “ของใหม่และของเก่า” (มธ.13,52) จากคลังมหาสมบัติบุคลิกภาพพิเศษของบุรุษประเสริฐสุดผู้นี้.

ก่อนหมด “บุรุษผู้ใคร่ธรรม” ชาวนาซาเรธ ท่านประกอบด้วยคุณลักษณะอันเจิดจ้าของสามี, ผู้นิพนธ์พระวรสารบ่งว่า แม่มารี “สาวพรหมจารีรับหมั้นกับบุรุษที่ชื่อว่าโยเซฟ” (ลก.1,27). เพราะฉะนั้นพระวรสารต่างๆ จึงนำเอาภาพของสามีและภรรยามาตั้งไว้ต่อหน้าเราก่อนที่ “ธรรมล้ำลึกอันซ่อนเร้นอยู่แต่หลายศตวรรษมาแล้ว” จะเริ่มสำเร็จเป็นไป. ตามประเพณีของประชากรฮีบรู การแต่งงานนั้นเขาทำกันเป็น 2 ช่วง, ช่วงแรก เขาทำการแต่งงานทางกฎหมาย (อันนี้เป็นการแต่งงานแท้) ช่วงต่อมา อีกชั่วเวลาหนึ่ง สามีจึงพาภรรยาของตนเข้ามาในบ้าน. เป็นอันว่า ก่อนที่โยเซฟจะมาอยู่ร่วมกับมารี ท่านเป็น “สามี” ของพระแม่อยู่แล้ว. ถึงกระนั้น พระแม่ได้ตั้งใจเด็ดขาดไว้ว่าจะถวายตัวเองทั้งหมดแด่พระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว. ใครๆ ก็มีสิทธิถามว่า : น้ำใจของพระแม่อันนี้กับการแต่งงานจะประสานสมานกันได้อย่างไร. คำตอบก็คือ มาจากเหตุการณ์การช่วยให้รอดแต่อย่างเดียว,และจากการก้าวหน้าไปของเหตุการณ์อันนั้น นั่นคือ จากการกระทำอันพิเศษของพระเป็นเจ้านั่นเอง. นับแต่เหตุการณ์ต่างๆ แห่งการช่วยให้รอดแต่อย่างเดียว และความก้าวหน้าของเหตุการณ์ดังกล่าว ก็เป็นคำตอบ คือ เป็นการกระทำพิเศษของพระเป็นเจ้าเอง.

นับแต่เวลารับ “สาสน์” นั้นแล้ว พระแม่มารีทราบดีว่า ตัวท่านต้อง “ปฏิบัติพรหมจรรย์ตามความตั้งใจของท่าน, หมายความว่า ท่านจะต้องถวายตัวของท่านทั้งครบ ทั้งกีดกันคนอื่น เพื่อพระเป็นเจ้า, ท่านต้องรับเอาหน้าที่การเป็นแม่ของพระบุตรของพระเป็นเจ้า. การเป็นมารดาโดยพระจิตเจ้านั้นเป็นรูปหนึ่งของพระคุณอันล้นพ้น ที่พระเป็นเจ้าเองทรงเรียกร้องจากสาวพรหมจารี “ผู้หมั้นไว้แล้ว” กับโยเซฟ. เพราะฉะนั้นพระแม่จึงขานตอบว่า : “ขอให้เป็นไป”.

การที่พระแม่มารีได้รับมอบให้ “แต่งงาน” กับโยเซฟนั้น ต้องเข้าใจว่า เป็นความประสงค์ของพระเป็นเจ้าเองทีเดียว. เรื่องนี้ผู้ที่บอกเราคือ ผู้นิพนธ์พระวรสาร 2 ท่านที่ได้ออกนามมาแล้ว. แต่ผู้ที่พูดแจ่มแจ้งเป็นพิเศษนั้นคือ มัทธิว. ถ้อยคำที่เทวฑูตพูดกับโยเซฟนั้นมีความหมายมาก ; “…อย่ากลัว ที่จะรับเอามารีภรรยาของท่านไว้ที่บ้านท่าน : สิ่งที่เกิดในนางนั้น เป็นมาโดยพระจิตเจ้า” (มธ.1,20). ถ้อยคำเหล่านี้เผยความล้ำลึกแห่งภรรยาของโยเซฟ. คือ มารี เป็นพรหมจารี ทั้งๆ ที่เป็นแม่. ในตัวนางนั้น “โอรสแห่งพระผู้สูงสุด” ได้มารับเอากายของมนุษย์ และพระองค์เองนั้นก็กลายเป็นมนุษย์.”

พระเป็นเจ้าเมื่อทรงรับสั่งแก่โยเซฟ โดยคำพูดของเทวดา, พระองค์ก็ทรงรับสั่งแก่ท่านในฐานะที่ท่านเป็นสามีของนางพรหมจารีแห่งนาซาเรธ. สิ่งที่เป็นไปในตัวนางนั้น เป็นไปโดยการกระทำของพระจิตเจ้า. นี่ก็แสดงออกในเวลาเดียวกันถึง การยืนยันพิเศษของ พันธะเป็น สามีภรรยา อันที่ได้มีอยู่ก่อนแล้วระหว่างโยเซฟและมารี. เทวฑูตได้พูดกับโยเซฟชัดๆ ว่า : “อย่ากลัวที่จะรับเอามารี ภรรยาของท่านไว้ที่บ้านท่าน”. ดังนี้เอง สิ่งที่ได้เป็นมาก่อนแล้ว – คือการแต่งงานของท่านกับมารี – จึงได้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และจะต้องคงรักษาไว้ด้วย. ในการเป็นมารดาของพระเจ้านั้น มารีจะต้องดำรงชีวิตอยู่ต่อๆ ไป “เป็นพรหมจารีภรรยาของสามี” (เทียบ ลก.1,27).

ในข้อความของ “การแจ้งสาสน์” เวลากลางคืนนั้น โยเซฟไม่เพียงแต่ได้ยินความจริงของพระเจ้าเกี่ยวกับกระแสเรียกอันสูงส่งเหลือคณนาแห่งภรรยาของท่าน แต่ยังย้ำเช่นเดียวกันเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวท่านเอง. บุรุษ “ผู้ใคร่ธรรม” คนนี้มีความรู้สึกนึกคิด ตามประเพณีอันสูงส่งของประชาชาติที่ได้รับเลือกสรร. ท่านรักใคร่สาวพรหมจารีชาวนาซาเรธอยู่แล้ว ทั้งยังผูกพันกันด้วยความรักฐานสามีภรรยากันอีกด้วย,พระเป็นเจ้าทรงเรียกท่านให้มาสู่ความรักอันนั้นใหม่อีก.

“โยเซฟ…ได้ปฏิบัติตามที่เทวดาของพระสวามีเจ้ากำชับสั่งท่านและท่านได้รับเอาภรรยาของท่านไว้ที่บ้าน” (มธ.1,24) : สิ่งซึ่งเกิดขึ้นในนาง “เป็นมาจากพระจิตเจ้า” : จากข้อความอันนี้เราไม่ต้องสรุปดอกหรือว่า : พระจิตเจ้าได้ทรงฟื้นความรักของท่าน : ความรักอย่างสาม ี? เราคิดไม่ได้ดอกหรือว่า : ความรักเมตตาของพระเป็นเจ้า ที่แผ่หลั่งไปสู่ดวงใจแห่งมนุษย์ทั้งหลายโดยทางพระจิตเจ้า (เทียบ รม.5,5). ความรักอันนั้นก็สามารประดิษฐ์ความรักของสามีภรรยาได้ด้วย ทำนองอันวิเศษพิสดารที่มีเฉพาะอันเดียวได้ด้วย ; ในเมื่อในงานแต่งงานธรรมดา พระองค์โปรดให้ทุกๆ สิ่งเหมาะสมกับมนุษย์และงดงาม มีการให้คำมั่นสัญญามอบตัวของตัวให้แก่กันและกันโดยเฉพาะจะสับเปลี่ยนกันหาได้ไม่ นอกนั้นยังก่อให้เกิดสังคมอันแท้ระหว่างกันและกัน ทั้งนี้เป็นไปตามแบบฉบับของพระธรรมอันล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพ.

“โยเซฟ… ได้รับเอาภรรยาของท่านมาอยู่ที่บ้าน และท่านไม่ได้สมสู่นาง กระทั่งนางได้ประสูติบุตรชาย” (มธ.1,24-25). ข้อความนี้ ชี้ให้เห็นถึงความใกล้ชิดในการอยู่ร่วมกัน หรือพูดให้ชัดขึ้นก็คือ ความรุนแรงแห่งการอยู่ร่วมกันทางจิตใจ และการร่วมโชคชะตากันระหว่างบุคคลซึ่งตกที่สุด ก็มาจากพระจิตเจ้า” (ยน.6,63).

โยเซฟนอบน้อมต่อพระจิตเจ้า ท่านจึงได้พบต้นธารแห่งความรักของท่าน ซึ่งก็คือความรักของการแต่งง าน, ความรักประสาสามี และที่จริงความรักที่กล่าวมานี้ ยิ่งใหญ่กว่าความรักอันใดๆ ที่บุรุษผู้ใคร่ธรรมจะสรรหามาได้ด้วยกำลังมนุษย์ของตนเองเสียด้วยซ้ำ,

ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ มีการฉลองพระแม่มารี “ในฐานะเป็นคู่ครองของโยเซฟ” บุรุษผู้ใคร่ธรรม “ผู้พันกันด้วยความรักอันกระชับแน่นและเป็นพรหมจรรย์” . นี่คือความรัก 2 ความรัก ที่ไขแสดงถึงธรรมล้ำลึกแห่งพระศ าสนจักร ซึ่งเป็นทั้งพรหมจรรย์ ทั้งภรรยา และการแต่งงานของแม่มารีกับโยเซฟ เผยออกเป็นตัวอย่างนั่นเอง การถือพรหมจรรย์และการถือโสด เพื่อเห็นแก่พระราชัยของพระเป็นเจ้า ไม่ใช่แต่ไม่ขัดกับการแต่งงาน แต่กลับเรียกร้องและสนับสนุนเสียอีก. การแต่งงานและการถือพรหมจรรย์ เป็นวิธีสองอย่าง ที่แสดงออกซึ่งธรรมล้ำลึกแต่อันเดียวของพันธสัญญาระหว่างพระเป็นเจ้ากับประชากรของพระองค์ , ซึ่งเป็นการรวมตัวแห่งความรักระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์นั้นเอง.

โดยการสละตัวของท่านเองจนเกลี้ยง โยเซฟได้ไขให้เห็นความรักอันสูงส่งของท่าน ต่อพระมารดาของพระเป็นเจ้า พลางก็นำตัวของท่านเอง “มาเป็นของขวัญประสาคู่ครอง” แด่พระแม่เจ้า, ทั้งๆ ที่ท่านได้ตั้งใจไว้แล้ว จะถอนตัวออกไปเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคกีดกันการกระทำของพระเป็นเจ้าที่กำลังจะสำเร็จไปในตัวพระนาง. แต่เพราะคำสั่งเจาะจงของเทวดา ท่านจึงรับพระแม่ไว้ที่บ้านของท่าน, ทั้งยังเคารพการที่พระแม่ได้มอบองค์ของท่านไว้อย่างเด็ดขาดต่อพระเป็นเจ้าด้วย. อีกด้านหนึ่ง เพราะโยเซฟได้แต่งงานกับพระแม่มารี ท่านจึงได้รับเกียรติศัก ดิ์ที่มีอยู่เฉพาะอันเดียว และสิทธิต่างๆ เหนือพระเยซู. “แน่นอนเกียรติศักดิ์ของพระมารดาพระเป็นเจ้านั้นยิ่งใหญ่ จนกระทั่งไม่มีสิ่งสร้างใดๆ จะมาเทียบเคียงได้. ถึงกระนั้นเพราะมีเกลียวสัมพันธ์กันทางการแต่งงานมาคั่นกลางโยเซฟกับพระนางมารีพรหมจารีผู้ทรงบุญยิ่ง, พระเทวมารดาได้บรรลุถึงเกียรติศักดิ์อันสูงส่งเป็นที่ยิ่ง เหนือสิ่งสร้างทั้งสิ้นอย่างหาที่เปรียบมิได้ จนไม่มีใครจะใหญ่กว่าได้. ก็การแต่งงานนั้นเป็นสังคมและการเรียกร้องอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งตามธรรมชาติแล้ว, มีการรวมทรัพย์สมบัติของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง. เพราะฉะนั้นเมื่อพระเป็นเจ้าได้ประทานโยเซฟให้เป็นพระสวามีของพระนางพรหมจารี, แน่นอนพระองค์มิใช่แต่ประทานให้ท่านเป็นเพื่อนคู่ชีวิต, เป็นพยานแห่งการถือพรหมจรรย์, เป็นผู้ป้องกันเกียรติเพียงแค่นี้เท่านั้น แต่พระองค์ยังได้ประทานให้ท่านมีส่วนในเกียรติยศเกียรติศักดิ์อันสูงส่งของพระนาง เนื่องจากเกลียวการแต่งงานนั้นด้วย.

สายสัมพันธ์ทางความรักอย่างนี้แหละ ชุบเลี้ยงครอบครัวศักดิ์สิทธิ์, ที่แรกที่เบธเลเฮมท่ามกลางความยากจนแร้นแค้น, ต่อมาในที่เนรเทศประเทศอิยิปต์, และในที่สุดในที่พำนักบ้านนาซาเรธ. พระศาสนจักรเคารพนับถือครอบครัวนี้เป็นอย่างยิ่ง และท่านนำมาเป็นแบบอย่างแก่ครอบครัวทั้งหลาย. เมื่อนำเอาครอบครัวที่บ้านนาซาเรธมาสอดใส่ในธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอาเนื้อหนัง ครอบครัวนี้เองก็กลายเป็นธรรมล้ำลึกของตนเองโดยเฉพาะ. ในข ณะเดียวกัน-อย่างเช่นการรับเอาเนื้อหนัง ความเป็นบิดาแท้ๆ ก็มีอยู่ในธรรมล้ำลึกอันนี้ด้วย : แบบแผนครอบครัวมนุษย์ของพระบุตรพระเป็นเจ้า ก็ต้องดำเนินไปตามแบบแผนครอบครัวมนุษย์ทั่วไป. ในครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ก็มีผู้เป็นบิดา คือท่านโยเซฟ แต่การเป็นบิดาของท่าน ไม่ออกมาจากการให้กำเนิด. อย่างไรก็ดี  การเป็นบิดาอันนี้ มิใช่เป็นแต่สิ่งที่ปรากฏภายนอก, หรือเป็นเครื่องทดแทน, แต่มีความจริงของการเป็นบิดาประสามนุษย์ เนื่องมาจากหน้า ที่นั้นเองของผู้เป็นบิดาในครอบครัว. ณ ที่นี้ เราพบสิ่งหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก “Unio Hyhostatica” (ซึ่งขอแปลตามมูลศัพท์คร่าวๆ ว่า “สหภาพชั้นล่าง”). เรื่องมีว่า : เมื่อมีการรับเอาธรรมชาติมนุษย์เข้ามาสู่เอกภาพของพระบุคคลผู้เป็นพระเป็นเจ้า คือ พระวจนาถพระบุตร. ก็เมื่อพระองค์ทรงรับเอาการเป็นมนุษย์, ทุกๆ สิ่งที่เป็นของมนุษย์ ก็ทรงต้องรับเอาไว้ด้วย. ดังนี้ ทรงต้องรับเอาครอบครัวนั้นเอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขแรกของชีวิตบนแผ่นดิ นนี้. เพราะฉะนั้นจึงมีการรับเอาการเป็นบิดาของโยเซฟด้วย.

จากหลักอันนี้ จะเห็นว่า วาจาของพระแม่มารีนั้นถูกต้อง ในคราวเมื่อพระแม่ตรัสกับพระเยซูวัยรุ่น มีพระชนมายุได้ 12 พรรษาที่พระวิหารนั้นว่า : “พ่อของลูกและแม่…เราตามหาลูก”. นี่หาใช่เป็นคำพูดที่รับกันทั่วไป. เหตุว่า วาจาของพระมารดาของพระเยซูแถลงความจริงทั้งหมดแห่งการรับเอาเนื้อหนัง, ความจริงซึ่งเกี่ยวกับธร รมล้ำลึกของครอบครัวที่นาซาเรธ. ที่จริงตั้งแต่ต้นมาแล้ว โดยนอบน้อมทางความเชื่อ โยเซฟได้รับเอาความเป็นบิดาของท่านต่อพระเยซู, ท่านเดินตามแสงสว่างแห่งพระจิตเจ้า ซึ่งพระองค์ประทานแก่มนุษย์โดยทางความเชื่อ, ไม่ต้องสงสัย โยเซฟยิ่งทียิ่งเห็นประจักษ์ชัดในพระคุณการเป็นบิดาของท่านอันเหลือจะพรรณนานี้