หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

                   พระเยซูเจ้าองค์พระผู้ไถ่ ทรงประกาศพระพร

ความสำคัญอันดับแรก แห่งการป่าวประกาศ
 
ในช่วงก่อนสหัสวรรษที่สาม พระสุรเสียงของพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนม์ ก็ดังสะท้อนขึ้นปีใหม่ ในหัวใจของคริสตชนทุกคน “เราได้รับมอบอำนาจอาชญาสิทธิ์  ทั้งหมดในสวรรค์และบนแผ่นดิน ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขา เดชะพระนาม พระบิดา พระบุตร และพระ   จิต จงสอนเขาให้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนทุกข้อที่เราได้ให้ไว้แก่ท่าน แล้วจงทราบไว้เถิดว่า เราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไป ตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ.28:18-20)  บรรดา     อัครสาวกมั่นใจในความช่วยเหลือของพระเยซูเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย ท่านจึงได้เริ่มออกปฏิบัติตามพระบัญชานี้ทันที หลังจากที่พระจิตเจ้าเสด็จมา “พวกเขาออกไป        เทศนาทั่วไป ในขณะที่พระเจ้าก็ทรงประกอบพระราชกิจต่างๆ ของพระองค์กับพวกเขา” (มก.16:20) สิ่งที่พวกท่านป่าวประกาศนั้น เราอาจสรุปได้โดยใช้คำของ       นักบุญเปาโลว่า “เหตุว่าสิ่งที่เราเทศนานั้น มิใช่ตัวเราเอง แต่เราเทศนาว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้า โดยมีเราเป็นผู้รับใช้พวกท่านโดยเห็นแก่พระเยซูเจ้า”               (2คร.28:18-20) สองพันปีผ่านไป พระศาสนจักรซึ่งได้รับพระพรแห่งความเชื่อ ก็ยังออกไปพบปะประชาชนทั่วโลก เพื่อแบ่งปันข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้า              พระศาสนจักรเป็นกลุ่มที่เร่าร้อนไปด้วยความร้อนรนเยี่ยงธรรมทูต ในอันที่ประกาศให้พระเยซูเจ้าทรงเป็นที่รู้จัก รัก เพื่อพวกเขาจะได้ติดตามพระองค์

จะมีการเผยแพร่พระวรสารอย่างแท้จริงไม่ได้ หากไม่มีการประกาศอย่างชัดเจนว่า พระเยซูเจ้าคือองค์พระผู้เป็นเจ้า สภาพระ-สังคายนาวาติกันที่สอง และคำสอนของพระศาสนจักรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ได้ตอบโต้ความสงสัย วุ่นวาย เกี่ยวกับพันธกิจอันแท้จริงของพระศาสนจักร และได้เน้นครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ในการเผยแพร่              พระวรสารนั้น พระศาสนจักรจะต้องเน้นว่าการประกาศพระเยซูคริสตเจ้าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ดังนั้น พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ทรงเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า “จะมี     การประกาศพระวรสารที่แท้จริงไม่ได้ หากไม่มีการประกาศพระนามพระเยซูเจ้า ชาวนาซาเร็ธ พระบุตรของพระเป็นเจ้า ตลอดจนชีวิต พระสัญญา พระอาณาจักรและรหัสธรรมของพระองค์ ซึ่งควรได้รับการประกาศควบคู่กันไป” นี่คือสิ่งที่คริสตชนในยุคสมัยต่างๆ ได้กระทำสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ สมาชิกของสมัชชากล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “กลุ่มคริสตชนหลายกลุ่มในเอเซียได้เก็บรักษาความเชื่อของพวกเขาตลอดมา แม้จะมีอุปสรรคมากมาย แต่พวกเขาก็ยึดมั่นในมรดกฝ่ายจิต          วิญญาณของพวกเขาอย่างเหนียวแน่น  สำหรับพวกเขา การแบ่งปันสมบัติอันยิ่งใหญ่นี้ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดีและเร่งด่วน”

ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ร่วมในการประชุมพิเศษนี้ ได้ย้ำแล้วย้ำเล่าอีกว่า จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูการอุทิศตนในการประกาศพระเยซูคริสตเจ้าใหม่ โดยเฉพาะในทวีปที่เป็น    จุดเริ่มต้นแห่งการประกาศพระวรสารนี้เมื่อสองพันไมาแล้ว วาจาของนักบุญเปาโล อัครสาวกเหมือนจะเข้าเป้า เมื่อเรามาสำนึกว่าประชาชนเป็นจำนวนมากในทวีปนั้น   ยังไม่เคยได้สัมผัสกับพระบุคคลของพระเยซูเจ้าอย่างชัดเจนและจริงจัง ท่านกล่าวว่า “ทุกคนที่ขานนามพระอาจารย์เจ้า จะได้รับความรอด แต่เขาจะเรียกหาผู้ที่เขา      ไม่เชื่อได้อย่างไร?” และเขาจะเชื่อได้อย่างไร หากเขาไม่เคยได้ยินเรื่องของพระองค์? และเขาจะได้ยินเรื่องของพระองค์ได้อย่างไร หากไม่มีผู้ประกาศ?”                    (รม.10:13-14) คำถามสำคัญที่พระศาสนจักรในเอเซียกำลังเผชิญอยู่ก็คือ จะแบ่งปันพระพรซึ่งรวมพระพรทั้งหลายไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้า   ให้แก่พี่น้องชาวเอเซียด้วยกันอย่างไร?
 
การประกาศพระเยซูคริสตเจ้าในเอเซีย
 
พระศาสนจักรในเอเซียยิ่งมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการป่าวประกาศ เมื่อ ทราบว่า “อาศัยพระราชกิจของพระจิตเจ้า ก็ได้เริ่มมีความคาดหวังในจิตใจของบุคคล   และประชาชน แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่รู้ตัว ที่อยากจะรู้ความจริงเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า เกี่ยวกับมนุษย์ และเกี่ยวกับวิธีที่จะหลุดพ้นจากแอกของบาปและความตาย การเน้น     เรื่องการ ป่าวประกาศนั้น มิได้เกิดจากความปรารถนาที่จะแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า หรือความต้องการที่จะให้เปลี่ยนศาสนา หรือมากจากความคิดว่า เราดีกว่าเขา                พระศาสนจักรประกาศพระวรสาร ด้วยความนบนอบต่อพระบัญชาของพระคริสตเจ้า ด้วยการยอมรับความจริง ที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับฟังข่าวดีของ          พระเป็นเจ้า ผู้ทรงเผยพระองค์เอง และมอบพระองค์เองในพระคริสตเจ้า การเป็นสักขีพยานให้แด่พระเยซูคริสตเจ้า นับเป็นบริการสูงสุด ที่พระศาสนจักรสามารถจะ มอบให้ประชาชนในเอเซียได้ เหตุว่าประชาชนใ นเอเซียแสวงหาพระผู้สูงสุด และพระศาสนจักรที่เผยแสดงถึงความจริงและคุณค่า ซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถพัฒนา     ตนเองได้ทั้งครบ

พระศาสนจักรตระหนักดีถึงสถานภาพอันหลากหลาย  และสลับ-ซับซ้อนในเอเซี ย และ “การกล่าวความจริงด้วยความรัก” (อฟ.4:15) ดังนั้นพระศาสนจักรจึงป่าว        ประกาศข่าวดีด้วยความเคารพรัก และนับถือผู้ที่รับฟังการป่าวประกาศที่ให้เกียรติแก่มโนธรรมนั้น มิใช่เป็นการละเมิดเสรีภาพ เพราะความเชื่อต้องได้รับการตอบสนองอย่างเสรี แ ต่ความเคารพนับถือ มิได้ปัดเป่าภาระที่จะต้องประกาศพระวรสารอย่างตรงไปตรงมาอย่างครบสมบูรณ์ โดยเฉพาะในบริบทของวัฒนธรรม และศาสนา   จำนวนมากมายในเอเซีย จำเป็นต้องบ่งให้ชัดเจนว่า “การเคารพนับถือศาสนาเหล่านี้ และปัญหาและคำถามหล ากหลายที่เกิดขึ้นนั้น มิได้หมายความว่า พระศาสนจักรไม่จำเป็นต้องประกาศพระเยซูคริสตเจ้าแก่คนเหล่านี้ เมื่อครั้งไปเยือนประเทศอินเดียในปี ค.ศ. 1986 ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนว่า “พระศาสนจักรเสวนากับ        ศาสนาอื่นด้วยความเคารพอย่างแท้จริ ง... ความเคารพนี้มีอยู่สองแง่ กล่าวคือ ความเคารพต่อมนุษย์ผู้เสาะแสวงหาคำตอบ ต่อคำถามอันลึกซึ้งในชีวิตของเขา และ      ความเคารพต่อพระราชกิจของพระจิตเจ้าในมนุษย์” อันที่จริง บรรดาสมาชิกของสมัชชาต่างเล็งเห็นพระราชกิจของพระจิตเจ้าในสังคม วัฒนธรรมและศาสนาของ    เอเซีย ซึ่งเป็นหนทางที่พระบิดาเจ้าทรงเตรียมจิตใจของชาวเอเซีย ให้รับชีวิตที่ครบบริบูรณ์ในพระคริสตเจ้า

แม้ในช่วงระยะเวลาที่ปรึกษาหารือกันก่อนการประชุมสมัชชา พระสังฆราชเอเซียหลายท่าน กล่าวถึง ความยากลำบากในการกล่าวว่าพระเยซูเจ้า คือพระผู้ไถ่แต่เพียง    พระองค์เดียว ในช่วงการประชุมสมัชชา มีการกล่าวถึงสถานภาพดังกล่าว ว่าดังนี้ “ผู้นับถือศาสนาที่สำคัญๆ หลายท่านในเอเซีย สามาร ถรับพระเยซูเจ้าในสถานะของ การเผยแสดงของพระเจ้าหรือพระผู้สูงสุด หรือรับว่าพระองค์บรรลุปรินิพานโดยไม่มีปัญหา แต่พวกเขารู้สึกลำบากใจที่จะยอมรับว่า พระองค์คือพระผู้ได้รับการเผย   แสดงของพระเจ้าแต่เพียงพระ องค์เดียว” อันที่จริงแล้ว ความพยายามที่จะแบ่งปันพระพรแห่งความเชื่อในพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระผู้ไถ่แต่พระองค์เดียวนั้น เปี่ยม   ไปด้วยความยากลำบากในด้านปรัชญา วัฒนธรรมและเทววิทยา โดยเฉพาะเมื่อสำนึกว่า ความเชื่อในศาสนาอันยิ่งใหญ่ของเอเซีย โยงใยกับคุณค่าทางวัฒนธรรมและ   มุมมองโลกที่เฉพาะเจาะจง

ในความคิดของบรรดาสมาชิกของสมัชชา ปัญหานี้ เพิ่มมากขึ้นจากความจริง ที่ว่า ชาวเอเซียมักจะมองดูว่าพระเยซูเจ้าว่าไม่ใช่ชาวเอเซีย สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือว่า         ชาวเอเซียส่วนมากกลับเห็นว่าพระเยซูเจ้า ผู้ประสูติในดินแดนแห่งเอเซีย เป็นชาวตะวัน ตก แทนที่จะเป็นชาวเอเซีย คงจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า การประกาศ      พระวรสารโดยธรรมทูตชาวตะวันตก ก็คงจะมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมของพวกเขา สมาชิกของสมัชชาเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในประวัติศาสตร์แห่ง     การแพร่ธรรม ในขณ ะเดียวท่านก็ถือโอกาส “ที่จะแสดงความสำนึกในบุญคุณของบรรดาธรรมทูตทั้งหลาย ทั้งชายและหญิง ทั้งนักบวชและฆราวาสทั้งชาวพื้นเมือง  และชาวต่างชาติเป็นพิเศษ ที่ได้นำพระธรรมคำสอนของพระเยซูเจ้า และพระพรแห่งความเชื่อมาให้แก่ชาวเอเซีย และ จำเป็นที่จะต้องขอบคุณพระศาสนจักรต่างๆ    ที่ได้เคยส่งและยังส่งธรรมทูตมายัง เอเซีย”

บรรดาผู้แพร่ธรรมควรได้รับกำลังใจจากประสบการณ์ของนักบุญเปาโล ท่านเส วนาในด้านปรัชญา และคุณค่าทางวัฒนธรรมและศาสนา กับบรรดาผู้ที่มาฟังท่าน        (ดู กจ.14:13-17, 17:22-31) แม้กระทั่งพระสังคายนาต่างๆ ของพระศาสนจักร ซึ่งกำหนดข้อคำสอนสำหรับพระศาสนจักร ก็จำต้องใช้ภาษา ปรัชญาและ             วัฒนธรรมที่สมาชิกรู้จักแ ละคุ้นเคย ซึ่งภายหลังก็ได้กลายมาเป็นมรดกส่วนรวมของพระศาสนจักรโดยทั่วไป และสามารถอธิบายข้อคำสอนเกี่ยวกับพระคริสตเจ้า ด้วยวิธีที่เหมาะสมและเป็นสากลมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมรดกแห่งความเชื่อ ซึ่งจะต้องเก็บรักษาไว้ และแบ่งปันครั้งแล้วครั้ งเล่ากับวัฒนธรรมต่างๆ ดังนั้นการประกาศ  พระเยซูเจ้า ด้วยวิธีการซึ่งชาวเอเซียสามารถเห็นพระองค์ได้ในชีวิตของเขา แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องซื่อสัตย์ต่อข้อคำสอนตามหลักเทววิทยาของพระศาสนจักร และ    มรดกการเป็นชาวเอเซียของเขา นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าท ายเป็นอย่างมาก

การเสนอว่าพระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นพระผู้ไถ่แต่เพียงพระองค์เดียวนั้นจะต้อ งยึดวิธีสอน ที่จะค่อยๆ แนะนำประชาชนเป็นขั้นเป็นตอน จนเข้าถึงรหัสธรรมอันครบ   ถ้วน แน่นอนการเริ่มประกาศพระวรสารแก่ผู้ที่มิใช่คริสตชน และการประกาศพระเยซูเจ้าต่อไปให้ผู้ที่มีความเชื่อ ต้องใช้วิถีทางที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การ          ประกาศครั้งแร ก “อาจจะเป็นการเสนอพระเยซูคริสตเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ที่ทรงเป็นคำตอบของบรรดาผู้เสาะแสวงหาในเทพนิยายและนิทานต่างๆ ของชาวเอเซีย” โดยทั่วไปแล้วควรจะมีใช้รูปแบบของการเล่าที่ใกลเคียงกับวัฒนธรรมของชาวเอเซีย อันที่จริงการป่าวประก าศพระเยซูคริสตเจ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็จำต้องใช้วิธีการเล่าถึงประวัติของพระองค์ ดังเช่นพระวรสาร ปรัชญาว่าด้วยความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีในการเสนอพระเยซูเจ้า และอาจเสริมด้วยแนวทางด้านความ    สัมพันธ์ ประวัติศาสตร์ หรือดารา-ศาสต ร์ สมาชิกของสมัชชากล่าวว่า พระศาสนจักรจะต้องเปิดใจกว้าง สำหรับการเสนอพระพักตร์พระเยซูเจ้าในรูปแบบที่ใหม่        และแตกต่างไปบ้างในเอเซีย

สมัชชาเสนอให้การสอนคำสอนอันต่อเนื่องนั้น ออกมาในรูปแบบของ “วิธีที่เรีย กร้องความสนใจ โดยใช้การเล่านิทานเปรียบเทียบและสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งมีให้เห็นอยู่    ทั่วไปในวิธีการสอนของชาวเอเซีย” พระเยซูเจ้าพระองค์เองทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณค่าของการสัมผัสเป็นรายบุคคล อันเป็นเหตุให้ผู้แพร่ธรรมต้องนำเ อา  สภาพของผู้ฟังมาเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อจะได้ป่าวประกาศตามสภาพความก้าวหน้าของผู้ฟัง โดยใช้รูปแบบที่เข้าถึงหัวใจของชาวเอเซีย ท่านได้เสนอภาพพจน์ของพระ  เยซูเจ้า ซึ่งจะเข้าถึงจิตใจและวัฒนธรรมของชาวเอเ ซีย และในขณะเดียวกันก็ต้องซื่อสัตย์ต่อพระคัมภีร์ และธรรมเนียมปฏิบัติของพระศาสนจักร เช่นการเสนอพระเยซูคริสตเจ้า พระอาจารย์ผู้ทรงสอนความปรีชาฉลาด ผู้ทรงบำบัดรักษา ผู้ทรงปลดปล่อย ผู้ทรงเป็นผู้นำในด้านจ ิตวิญญาณ ผู้ทรงบรรลุถึงปรินิพาน พระสหายของผู้ยากจน ชาวสะมาเรีย ผู้ใจพระชุมพาบาลผู้ทรงพระทัยดี พระผู้ทรงนอบน้อม เราอาจะเสนอ พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นประปรีชาญาณของพระเป็นผู้มาประสูติเป็นมนุษย์ และพระ หรรษทานของพระองค์ทรงบันดาลให้ “เมล็ด” พระปรีชาญาณ ซึ่งมีอยู่ในชีวิต ในศาสนา และในประชาชนชาวเอเซียได้ผลิดอกออกผล ในท่ามกลางความทุกข์      ทรมานอันมากมายในเอเซีย เราอาจประกาศว่าพระองค์คือพระผู้ไ ถ่ ผู้ทรงสามารถให้ความหมายในชีวิตของผู้ที่ต้องประสบกับความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมาน  มากมาย ซึ่งอธิบายไม่ได้

ความเชื่อซึ่งพระศาสนจักรมอบให้เป็นของขวัญแก่ลูกหลานชาว เอเซีย ไม่สาม ารถอยู่ในขอบเขตของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง เหตุว่าเป็นสิ่งที่เกินขอบเขตเหล่านี้ และอันที่จริงนับเป็นการท้าทายวัฒนธรรมต่างๆ ให้มุ่งไปสู่ความเข้าใจใหม่ และสำแดงออกในรูปแบบใหม่ๆ ให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน บรรดาผู้ร่วมประชุม         สมัชชาก็สำนึ กถึงความจำเป็นที่พระศาสนจักรในแต่ละท้องถิ่นในเอเซีย ในอันที่จะเสนอรหัสธรรมของพระคริสตเจ้า ตามรูปแบบวัฒนธรรมและแนวความคิดของ     พวกท่าน พวกท่านยังชี้ให้เห็นว่าการปรับความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมในทวีปของพวกท่านนั้น จำเป็นที่จะต้อง ค้นพบพระพักตร์ของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นชาวเอเซีย และสำรวจดูแนวทางวัฒนธรรมของเอเซีย ซึ่งสามารถเข้าถึงรหัสธรรมของพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์ ในอันที่จะนำความรอด ไปทั่วพิภพ บุคคลเช่น ยีโอวานี ดา มอนเตคอร์วีโน มัทเธโอ- ริ ชชี และ โรเบอร์โต เด โนปีลี ที่เข้าถึงทัศคติของประชาชนและวัฒนธรรมของเขา ควรได้รับการเลียนแบบในปัจจุบัน
 
การท้าทายของการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม
 
วัฒนธรรมเป็นขอบเขตที่สำคัญมาก ที่แต่ละบุคคลจะได้มีโอกาสมาเผชิญกับพ ระวรสาร วัฒนธรรมคือผลอันสืบเนื่องมาจากชีวิตและกิจการของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งฉันใด บรรดาผู้ที่อยู่ในกลุ่มชนนั้น ก็จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่เขาเจริญชีวิตอยู่ฉันนั้น เมื่อผู้คนและสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมก็ย่อมจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย    วัฒนธร รมได้รับการปรับปรุง บุคคลและสังคมก็จะได้รับการปรับปรุงตามไปด้วย จากมุมมองนี้จึงเห็นได้ชัดเจนว่าเหตุใดการประกาศพระวรสารและการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม จึงเชื่อมโยงกันโดยธรรมชาติอย่างใกล้ชิด พระวรสารและการแพร่ธรรมมิใช่วัฒนธรรมแล ะมิได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม แต่พระอาณาจักรของพระเป็นเจ้ามาจากประชาชนที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง และการเสริมสร้างพระอาณาจักร ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะหยิบยืมมาจากวัฒนธรรมของมนุษย์ ดังนั้น พระ      สันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ทรงกล่าวถึง การแยกพระวรสารออกจาวัฒนธรรมว่า เป็นละครแห่งยุคสมัยของเรา ซึ่งยังผลอันลึกซึ้งไปยังการประกาศพระวรสารและ           วัฒนธรรม

ในการสัมผัสกับวัฒนธรรมต่างๆ ของโลก พระศาสนจักรไม่เพียงแต่จะถ่ายทอ ดความจริงและคุณค่าของพระศาสนจักร และฟื้นฟูวัฒนธรรมมาจากภายในเท่านั้น แต่   พระศาสนจักรยังรับเอาสิ่งที่ดีงาม ซึ่งมีอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ แล้ว นี่คือหนทางที่ผู้แพร่ธรรมจะต้องใช้ในการนำเสนอความเชื่อของคริสตศาสนา และทำให้เป็น          ส่วนหนึ่งแห่งมร ดกวัฒนธรรมของประชาชน ในมุมมองที่กลับกัน วัฒนธรรมต่างๆ เมื่อได้รับการกลั่นกรองและฟื้นฟูแนวพระวรสารแล้ว ก็สามารถแสดงออกซึ่ง       ความเชื่อของคริสตศาสนาได้อย่างแท้จริง “อาศัยการปรับตนให้เข้ากับวัฒนธรรม พระศาสนจักรก็จะเป็นเครื่องหมาย ที่คนสามารถเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น และสามารถ      เป็นเครื่องมือแพร่ธรรมที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การร่วมมือกันกับวัฒนธรรมนับเป็นส่วนหนึ่งแห่งการจาริกของพระศาสนจักรในประวัติศาสตร์ แต่ในปัจจุบันมี     ความเร่งด่วนเป็นพิเศษ ในสถานภาพของเอเซีย ซึ่ง มีประชาชนหลายเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม และพระศาสนจักรถูกมองว่าเป็นของคนต่างชาติ

เมื่อถึงจุดนี้ เราควรจดจำสิ่งที่กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกในสมัชชา กล่าวคือ พระจิตเจ้า คือพระผู้ทรงเป็นหลักในการที่จะปรับความเชื่อคริสตชน ให้เข้ากับวัฒนธรรมของเอเซีย พระจิตเจ้าพระองค์เดียวกันผู้ทรงนำเราไปสู่ความจริงทั้งสิ้น จะทรงสามารถช่วยให้การเสวนากับคุณค่าทางวัฒน- ธรรมและศาสานาของประชาชาติต่างๆซึ่งพระองค์ประทั บอยู่แล้วเป็นไปได้ เพื่อทรงช่วยให้ชายและหญิงผู้มีความจริงใจ ได้มีกำลังในอันที่จะเอาชนะความชั่ว และความหลอกลวงของเจ้าแห่งความชั่ว และให้ทุกคนได้มีโอกาสในการแบ่งปันรหัสธรรมปัสกา ด้วยวิถีทางซึ่งพระเป็นเจ้าเท่านั้นทรงทราบ การที่พระจิตเจ้าป ระทับอยู่ด้วยนั้นเป็นการช่วยให้การเสวนาเกิดขึ้นในความจริง ด้วยความจริงใจ ด้วยความถ่อมตน และด้วยการให้ความเคารพ “การที่พระศาสนจักรมอบข่าวดีแห่งการไถ่กู้ให้แก่ผู้อื่นนั้น พระศาสนจักรพยายามเข้าใจวัฒนธรรมของ   เขา พระศาสนจักรพยายามเ ข้าใจความคิดจิตใจของผู้ฟัง เข้าใจถึงคุณค่าและขนบธรรมเนียมของเขา ปัญหาและความยากลำบากของเขา ความหวังและความใฝ่ฝัน    ของเขา เมื่อรู้และเข้าใจถึงแง่มุมต่างๆ ของวัฒนธรรมแล้ว พระศาสนจักรจึงจะสามารถเริ่มการเสวนาเรื่องความรอด พระศ าสนจักรจึงจะสามารถเสนอข่าวดีแห่ง       ความรอดด้วยความเคารพอย่างชัดเจนและด้วยความมั่นใจ ให้แก่ทุกคนที่ปรารถนาที่จะรับฟังและตอบสนองอย่างเสรี” ดังนั้น ประชาชนชาวเอเซีย ซึ่งพยายามทำให้   ความเชื่อของคริสตศาสนาเป็นของเขาเองจริงๆ ในฐานะ ที่เป็นชาวเอเซีย จะได้มั่นใจว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงเพียงรับเอาความหวัง ความคาดหวัง ความห่วงใย และ    ความทุกข์ยากของเขา มาเป็นของพระองค์เองเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นจุดที่พระพรแห่งความเชื่อ และพระอานุภาพของพระจิตเจ้า จะเข้าไปในห้วงลึกแห่ง ชีวิตของ     พวกเขาด้วย

เป็นหน้าที่ของบรรดานายชุมพาบาล อาศัยพระพรพิเศษของพวกท่าน ที่จะแน ะแนวในการเสวนาและการเรียนรู้นี้ ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญในด้านความรู้ทั้งทาง   ธรรมและทางโลก ก็จะมีบทบาทที่สำคัญในการปรับข้อความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม แต่ขบวนการนี้จะต้องประกอบด้วยประชากรทั้งสิ้นของพระเป็นเจ้า เหตุว่าชี      วิตของพระศาสนจักรโดยส่วนรวม ต้องสำแดงออกซึ่งความเชื่อที่ประกาศและได้รับการน้อมรับไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องนี้ มีการปฏิบัติกันอย่างถูกต้อง บรรดาผู้ร่วม       ประชุมสมัชชา จึงได้เน้นให้สนใจเป็นพิเศษในเรื่องบางเร ื่อง เช่น การพิจารณาในแง่ของเทววิทยา ในด้านพิธีกรรม และการอบรมพระสงฆ์และนักบวช ครูคำสอน และชีวิตจิตวิญญาณ
 
เรื่องที่สำคัญในการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม
 
สมัชชาได้ให้กำลังใจแก่นักเทววิทยา ในบทบาทที่ละเอียดอ่อนของกา รแสวงหาเทววิทยาที่ปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่อง “คริสตศาสตร์” ผู้ร่วมในการ     ประชุมสมัชชากล่าวว่า “การอธิบายโดยใช้เทววิทยานี้ ควรดำเนินไปด้วยความกล้าหาญ โดยซื่อสัตย์ต่อพระคัมภีร์ และคำสอนที่สอนสืบเนื่องต่อกันมาของพ ระศาสนจักร โดยสำนึกถึงความเป็นจริงของการอภิบาล” ข้าพเจ้าเองก็ใคร่จะขอร้องบรรดานักเทววิทยาให้ทำงานด้วยจิตตารมณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันกับบรรดานายชุมพา-บาลและประชาชน เพราะเมื่อทุกคนร่วมมือกันมิใช่แตกแยกกัน ก็ย่อมสะท้อนถึง “ ทิศทางแห่งความเชื่อ” อันถูกต้อง ซึ่งสิ่งนี้เราจะหลงลืมเสียมิได้ การดำเนินงานใน    ด้านเทววิทยานั้น จะต้องแสดงออกซึ่งความเคารพต่อความรู้สึกของคริสตชน เพื่อการค่อยๆ เติบโตในการแสดงออกซึ่งความเชื่อ ในรูปแบบที่ปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม จะไม่เป็ นเหตุให้ประชาชนสับสน หรือเป็นที่สะดุดแก่พวกเขา การปรับความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้น จะต้องสอดคล้องกับพระวรสาร และความเป็นหนึ่งเดียวกับ  ความเชื่อของพระศาสนจักรสากล ทั้งยังต้องสอดคล้องกับคำสอนที่มีมาอย่างต่อเนื่องของพระศาสนจักร โ ดยมีจิตมุ่งหมายที่จะช่วยให้ความเชื่อของประชาชนมั่นคงขึ้น การทดสอบว่าการปรับความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ให้ดูว่าประชาชนอุทิศตนเพื่อความเชื่อ มากขึ้นหรือไม่ เนื่องจากเขาสามารถเข้าใจความ   เชื่อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาศัยมุมมองแห่งวัฒนธรรมของพวกเขา

พิธีกรรม คือแหล่งที่มาและจุดสูงสุดของชีวิตและพันธกิจของคริสต ชน เป็นหนทางที่สำคัญในการแพร่ธรรม โดยเฉพาะในเอเซีย เหตุว่าศาสนิกชนในศาสนาต่างๆ ให้ความสนใจกับการนมัสการ เทศกาลฉลองทางศาสนาและความศรัทธาซึ่งเป็นที่นิยมของชาวบ้าน พิธีกรรมของจารีตตะวันออกไ ด้รับการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมได้    เป็นผลสำเร็จ โดยผ่านการสัมผัสกับวัฒนธรรมรอบด้านมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่พระศาสนจักรที่เพิ่งเริ่มต้น ต้องให้ความมั่นใจว่า พิธีกรรมเป็นแหล่งที่มาแห่งการหล่อเลี้ยงประชาชน ด้วยการใช้สิ่งที่มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ แต่การปรับพิธีกรรมให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้น จำต้องมีอะไรที่มากไป กว่าเพียงการนำเอาวัฒนธรรมท้องถิ่น สัญลักษณ์และจารีตต่างๆ มาใช้เท่านั้น แต่จะต้องมีการพิจารณาถึงค วามรู้สึกนึกคิดที่เปลี่ยนแปลงไป อันสืบเนื่องมาจากความ    นิยมทางโลกมากกว่าทางธรรม และวัฒนธรรมบริโภคนิยม ที่กำลังคุกคามความนิยมชมชอบการนมัสการและภาวนาของเอเซีย และเราจะมองข้ามความต้องการของคนยากจน ผู้ย้ายถิ่นฐาน ผู้ลี้ภัย เยาวช นและสตรีไปไม่ได้ ในการปรับพิธีกรรมให้เข้ากับวัฒนธรรมในเอเซีย

สภาพระสังฆราชของแต่ละประเทศ และแต่ละเขตจำต้องทำงานร่วมกับสมณก ระทรวงว่าด้วยการนมัสการ และระเบียบวินัยเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ ในการเสาะแสวงหาหนทาง อันมีประสิทธิภาพในการหล่อเลี้ยงรูปแบบที่เหมาะสมเกี่ยวกับนมัสการบูชาในบริบทของเอเซีย การร่วมมือด้วยกันนี้สำคัญมาก เหตุว่าพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ แสดงออกแ ละเฉลิมฉลองความเชื่อหนึ่งเดียว ซึ่งทุกคนยอมรับ และเป็นมรดกของพระศาสนจักรโดยส่วนร่วมนั้น ไม่สามารถจะได้รับการตัดสินจากพระศาสนจักรท้องถิ่น    เพียงลำพัง โดยไม่คำนึงถึงพระศาสนจักรสากล

บรรดาผู้ร่วมประชุมสมัชชา เน้นเป็นพิเศษถึงความสำคัญของพระ-วาจาในพระ คัมภีร์ ในอันที่จะถ่ายทอดสาสน์แห่งความรอดให้แก่ประชาชนชาวเอเซีย เหตุว่าในเ   อเซียคำพูดต่อๆ กันไปนั้น มีความสำคัญมากในอันที่สื่อประสบการณ์ทางด้านศาสนา ดังนั้นจึงควรจัดให้มีระบบการแพร่ธรรมโดยอาศัยพระคัมภีร์ เพื่อให้แน่ใจว่าพระวาจาได้รับ การเผยแพร่ และสมาชิกของพระศาสนจักรในเอเซียได้ใช้มากขึ้น และใช้ด้วยการรำพึงภาวนา ผู้ร่วมประชุมสมัชชาขอร้องให้เรื่องนี้ เป็นพื้นฐานในแพร่     ธรรม การสอนคำสอน การเทศน์ และระบบชีวิตจิต ความพยายามที่จะแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาท้องถิ่น ต้อ งได้รับการสนับสนุนจุนเจือ การอบรมในด้านพระคัมภีร์ ถือว่าเป็นหนทางที่สำคัญในอันที่จะให้การอบรมประชาชนในเรื่องความเชื่อ และเป็นการช่วยให้เขามีความพร้อมในการประกาศพระวรสาร การสอนพระคัมภีร์โดยมุ่งไปสู่การอภิบาล โดยเน้นถึงการนำคำส อนนี้ไปประยุกต์ใช้กับสภาพความเป็นจริงอันหลากหลายของเอเซีย ควรบรรจุเข้าในโปรแกรมการอบรมบรรดาพระสงฆ์ นักบวช     และฆราวาส ควรให้ผู้นับถือศาสนาอื่น ได้รับความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์  พระวาจาของพระเป็นเจ้ามีพลังในอันที่จะจูงใจประชาชน เ หตุว่าอาศัยพระคัมภีร์ พระจิตเจ้าทรงเผยแผนความรอดให้โลกได้รับรู้ นอกจากนั้น วิธีลีลาการบันทึกเหตุการณ์ซึ่งจะพบได้ในพระคัมภีร์หลายตอน คล้ายคลึงกับตำราสอนศาสนาแบบเอเซีย

อีกมุมมองหนึ่งของการปรับความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม ซึ่งจำต้องนำมาใช้ในอนาคตก็คือ การอบรมผู้ประกาศพระวรสาร ในอดีตการอบรมมักจะใช้ระบบ วิธีการ    และหลักสูตซึ่งนำเข้ามาจากตะวันตก แม้ว่าสมาชิกของสมัชชาจะชมชอบในวิธีการอบรมแบบนี้ แต่พวกท่านก็เห็นว่าการพัฒนาในทางบวก ที่ นำมาใช้ในการอบรม       แพร่ธรรมในช่วงหลังนี้ ให้เข้ากับบริบทวัฒนธรรมของเอเซียนั้นมีมากขึ้น  ควบคู่ไปกับรากฐานอันมั่นคงในการศึกษาพระคัมภีร์และบรรดาปิตาจารย์ บรรดาสามเณรก็ควรเรียนรู้ถึงมรดกทางด้านเทววิท ยา และปรัชญาของพระศาสนจักร ดังที่ข้าพเจ้าได้ขอร้องไว้ในสมณสาสน์ “ความเชื่อและเหตุผล” จากพื้นฐานการเตรียมตัวดัง      กล่าวนี้ พวกเขาก็จะได้รับผลประโยชน์จากการสัมผัสกับขนบธรรมเนียมทางด้านปรัชญา และศาสนาเก่าแก่ของเอเซีย บรรดาผู้ร่วมประชุมสมัชชาเน้นให้อาจารย์         บ้านเณรพยายามเข้าใจ ชีวิตจิตและการอธิษฐานภาวนาที่ใกล้ชิดกับจิตวิญญาณของชาวเอเซีย และให้บรรดาอาจารย์เหล่านี้ หันมาสนใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น เกี่ยวกับการ   แสวงหาชีวิตที่ครบบริบูรณ์มากขึ้นของชาวเอเซีย เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายนี้ จะต้องมีการเน้นว่าจะต้องมีการอบรมอาจารย์ของบ้านเณรอย่างเหมาะสมในเรื่องนี้ สมัชชา  ยังแสดงความห่วงใยเรื่องการอบรมนักบวชชายและหญิง โดยกล่าวอย่างชัดเจนว่า ชีวิตจิตและวิถีชีวิตของผู้ที่ถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า ต้องคำนึงถึง มรดกทางด้าน     ศาสนาและวัฒนธรรมของประชาชนที่เขาใช้ชีวิตร่วมอยู่ด้วย และผู้ที่เขารับใช้โดยแยกแยะให้ถูกต้องว่าสิ่งใดที่สอด-คล้องหรือไม่กับพระวรสาร นอกจากนั้น ในเมื่อ     การปรับพระวรสารให้เข้ากับวัฒนธรรม เป็นเรื่องของประชากรทั้งครบของพระเป็นเ จ้า บทบาทของฆราวาสในเรื่องนี้นับว่าสำคัญมาก ฆราวาสนี่แหละคือผู้ที่ได      รับเรียกให้เปลี่ยนแปลงสังคม ร่วมกับพระสังฆราช พระสงฆ์ และนักบวช โดยใส่ “จิตใจของพระคริสตเจ้า” เข้าไปในความนึกคิด ประเพณี กฎหมาย และโครงสร้าง   ของโลกที่เขาอาศัยอยู่ การปรับพระวรสารให้เข้ากับวัฒนธรรมในทุกระดับสังคมในเอเซีย ย่อมขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการให้การอบรมฆราวาส โดยพระศาสนจักร      ท้องถิ่นเป็นส่วนมาก
 
ชีวิตคริสตชนเป็นการป่าวประกาศ
 
ยิ่งกลุ่มคริสตชนมีรากลึกอยู่ในการสัมผัสกับพระเป็นเจ้า อันสืบเนื่องมาจากควา มเชื่อที่มีชีวิตชีวา เขาก็ยิ่งจะสามารถป่าวประกาศให้ผู้อื่นได้รู้ว่า พระอาณาจักรของ     พระเป็นเจ้าสำเร็จครบบริบูรณ์ในพระเยซูคริสตเจ้าได้อย่างน่าเชื่อถือมากขึ้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้ นได้ก็ย่อมเป็นผลมาจากการรับฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้าอย่างซื่อสัตย์ จากการอธิษฐานและการรำพึงภาวนา จากการเฉลิมฉลองรหัสธรรมของพระคริสตเจ้าในศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะในศีลมหาสนิท และด้วยการเป็นตัวอย่างชีวิตอันเป็นหนึ่ง เดียวอย่างแท้จริ งและความรักที่จริงใจ หัวใจของพระศาสนจักรในแต่ละแห่งจำต้องขึ้นอยู่กับการรำพึงภาวนาถึงพระเยซูคริสตเจ้า พระเป็นเจ้าผู้เสด็จมารับสภาพ     มนุษย์ และพยายามที่จะเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ เนื่องจากพระศาสนจักรสานต่อพระพันธกิจของพระองค์ พันธกิจนี้ก็คือ กิจกรรมที่มีการรำพึงภาวนา และการรำพึง  ภาวนาที่มีกิจกรรม ดังนั้น ธรรมทูตที่มิได้มีประสบการณ์หรือสัมผัสกับพระเป็นเจ้าในการรำพึงภาวนา ก็จะมีอิทธิพลฝ่ายจิตน้อย และประสบความสำเร็จในงาน         ธรรมทูตน้อยมา ก นี่คือประสบการณ์จากชีวิตสงฆ์ของข้าพเจ้าเอง และดังที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ในที่อื่นว่า การที่ข้าพเจ้าได้สัมผัสกับประเพณีฝ่ายจิตเก่าแก่ของศาสนา   อื่น โดยเฉพาะในเอเซีย ได้กระชับความเชื่อมั่นของข้าพเจ้าที่ว่าอนา คตของงานแพร่ธรรม ขึ้นอยู่กับการรำพึงภาวนาเป็นส่วนใหญ่ ในเอเซีย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ     ศาสนาที่ยิ่งใหญ่หลายศาสนา เป็นที่ซึ่งมีบุคคลมากมายและประชาชนหลากหลาย กระหายหาพระผู้เป็นเจ้า พระศาสนจักรได้รับ กระแสเรียก ให้เป็นพระศาสนจักรที่   อธิษฐานภาวนา มีชีวิตจิตอย่างลึกซึ้ง แม้ในขณะที่กำลังทำงานเกี่ยวกับความต้องการที่เร่งรัดของผู้คนและสังคม คริสตชนทุกคนต้องมีชีวิตจิตของผู้แพร่ธรรมชีวิต      แห่งการรำพึงภาวนา

ในเอเซีย ผู้ที่ยึดมั่นในหลักศาสนาจริงๆจะเป็นที่นับถือของผู้ติดตาม การอธิษฐ านภาวนา การจำศีลอดอาหาร และกิจปฏิบัติในหลักของศาสนาย่อมได้รับการยกย่องอย่างสูง การเสียสละ การไม่ผูกใจกับสิ่งใด ความถ่อมตน ความเรียบง่าย และความเงียบ เหล่านี้ล้วนเป็นที่ยอมรับจากบรรดาผู้ที่นับถือศาสนาต่างๆ ว่ามีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง   ผู้เข้า ประชุมสมัชชามีความกังวลว่า จะมีการแยกแยะระหว่างการอธิษฐานภาวนากับงานพัฒนาบุคคล ท่านจึงเน้นว่า “การทำงานเพื่อความยุติธรรม เมตตาธรรม และ  การแสดงเมตตาจิต ในรูปแบบต่างๆ ล้วนเกี่ยวโยงกับชีวิตแห่งการรำพึงภาวนาอย่างแท้จริง และชีวิ ตจิตนี้เองคือแหล่งที่มาแห่งงานแพร่-ธรรมทั้งหลายแหล่ของเรา ผู้ร่วมประชุมสมัชชาเชื่อมั่นในความสลักสำคัญ ของการเป็นสักขีพยานอย่างแท้จริง ในการแพร่พระวรสารในเอเซีย ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่ได้รับการกระตุ้นและได้รับ  แรงบันดาลใจจากความรัก ที่พระบิดาทรงมีต่อบรรดาบุตรทั้งหลายของพระองค์ ซึ่งสำแดงออกในพระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้าเท่านั้น ที่จะสามารถป่าวประกาศ  ข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้าได้” การป่า วประกาศนี้เป็นพันธกิจที่ต้องการชายหญิงที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะช่วยให้องค์พระผู้ไถ่เป็นที่รู้จักและรัก โดยอาศัยชีวิตของพวกเขา   เราจะจุดไฟได้ก็จากสิ่งที่ลุกเป็นไฟอยู่แล้ว ในทำ นองเดียวกัน การประกาศข่าวดีแห่งความรอดในเอเซียจะสัมฤทธิ์ผล ก็ต่อเมื่อพระสังฆราช พระสงฆ์ และบรรดาผู้     เจริญชีวิตเป็นนักบวช ตลอดจนบรรดาฆราวาส ต่างลุกร้อนไปด้วยไฟแห่งความรักของพระคริสตเจ้า และเปี่ยมด้วยความกระตือรือร้น ที่จะทำให้พร ะองค์เป็นที่รู้จัก   กว้างไกลมากขึ้น เป็นที่รำลึกอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และมีผู้ติดตามอย่างใกล้ชิดเพิ่มมากยิ่งขึ้น คริสตชนที่กล่าวถึงพระคริสตเจ้า จะต้องแสดงออกซึ่งสาสน์ที่เขาป่าวประกาศในชีวิตของเขาเอง

ในเรื่องนี้ เราควรให้ความสนใจกับกรณีพิเศษในบริบทของเอเซีย พระศาสนจักรยอมรับว่า สักขีพยานที่เงียบด้วยชีวิต ยังเป็นหนทางเดียวที่จะประกาศพระอาณาจักร ของพระเป็นเจ้าในที่หลายแห่งในเอเซีย  ในสถานการณ์ดังกล่าวมีีการถูกสั่งห้ามมิให้ประกาศอย่างชัดแจ้ง และไม่มีเสรีภาพในการถือศาส นา หรือไม่ก็มีการกำหนดกฎ เกณฑ์อย่างเป็นระบบในเรื่องนี้ พระศาสนจักรจงใจดำเนินชีวิตการเป็นสักขีพยานในทำนองนี้ โดยมองดูว่า เป็น “แบกกางเขนขึ้น” (ดู ลก.9:23) ในเวลาเดียวกันก็ขอ     ร้องและเรียกร้องรัฐบาลให้ยอมรับเสรีภ าพในการนับถือศาสนา ว่าเป็นพื้นฐานขอสิทธิมนุษยชน เราควรนำเอาคำกล่าวของสภาพระสังคายนาวาติกันที่ 2 มากล่าวที่นี่ว่า “มนุษย์มีสิทธิได้รับเสรีภาพในการถือศาสนา เสรีภาพดังกล่าวก็คือ ทุกคนต้องพ้นจากการถูกบีบบังคับโดยบุคคลหรือโดยกลุ่มทางสังค ม หรืออำนาจใดๆ ของมนุษย์ที่  บังคับให้กระทำสิ่งที่ขัดแย้งต่อมโนธรรมของเขา ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ไม่ถูกกีดขวางในการกระทำตามมโนธรรมของเขา ไม่ว่าเป็นการส่วนตัวหรือในที่สาธารณะ คนเดียวหรือร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่ภายในขอบเขตที่เหมาะสม” ใ นบางประเทศในเอเซียยังมิได้มีการยอมรับในหลักการณ์ แต่ยังมิได้นำไปปฏิบัติ

เป็นที่ปรากฏแล้วว่า การป่าวประกาศพระเยซูคริสตเจ้าในเอเซียนั้น ยังมีปัญห าในหลายแง่หลายมุม ทั้งในด้านเนื้อหาและวิธีการ บรรดาผู้ร่วมประชุมสมัชชาตระหนักดีถึงวิธีการที่ถูกต้องหลายรูปแบบในการประกาศพระเยซูเจ้า โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องยึดมั่นในข้อความเชื่อทุกประการในการนำวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ และในการแบ่งปันควา มเชื่อที่ประชุมสมัชชาในข้อสังเกตว่า  “การแพร่พระวรสารในยุคปัจจุบันเป็นความจริงที่มีทั้งคุณค่าและเปี่ยมด้วยชีวิตจิตใจ มีแง่มุมและส่วนประกอบหลาย         ประการ เช่น การเป็นสักขีพยาน การเสวนา การป่าวประกาศ การสอนคำสอน การกลับใจ ศีลล้างบาป และ การเข้าร่วมกับคริสตชนของแต่ละวัด การก่อร่างสร้างตัวของพระศาสนจักร การปรับความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม และพัฒนาคนทั้งครบ บางเรื่องก็ควบคู่กันไป บางเรื่องก็ต้องกระทำเป็นขั้นเป็นตอน ในขบวนการประกาศพระ   วรสารทั้งหมด” แต่ในการแพร่ธรรม ทั้งหลายแหล่จะต้องประกาศ ความจริงทุกประการของพระเยซูคริสตเจ้า การเน้นบางแง่บางมุมแห่งรหัสธรรมอันหยั่งไม่ถึงของพระเยซูเจ้านั้น นับว่าถูกต้องและมีความจำเป็นด้วย เพื่อค่อยๆ แนะนำพระคริสตเจ้าให้แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่ต้องมีการเสนอข้อความเชื่อทั้งครบในที่สุด เมื่อบุคคลนั้นๆ รับความเชื่อ ความเชื่อของเขาจะต้องอยู่บนฐานของความเข้าใจอันมั่นคงในพระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้า ดังที่พระศาสนจักรประกาศในทุกแ ห่งและทุกเวลาว่า พระเจ้าของทุกสิ่ง “ทรงเป็นเช่นเดิม เมื่อวานนี้ วันนี้ และตลอดไป” (ฮบ.13:8)