หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

บริบทของเอเซีย

เอเซีย แหล่งกำเนิดของพระเยซูเจ้าและของพระศาสนจักร

การมาบังเกิดเป็นมนุษย์แห่งพระบุตรของพระเป็นเจ้า ซึ่งพระศาสนจักรจะเฉลิมฉลองอย่างสง่าในปีปีติมหาการุญ ค.ศ. 2000 นี้ เกิดขึ้นในบริบทของประวัติศาสตร์และ ภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง บริบทนั้นมีอิทธิพลมากในพระประวัติและพระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่ในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์ “ในองค์พระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ พระเป็นเจ้าได้ทรงรับบทบาทที่เหมาะกับธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งรวมไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของประชากรกลุ่มหนึ่งและในดินแดนที่เฉพาะเจาะจง….สถานภาพโดยเฉพาะของแผ่นดินและเขตภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงย่อมแยกไม่ออกจากความจริงแห่งการรับเอาเนื้อหนังเป็นมนุษย์แห่งองค์พระวจนาถ   ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับโลกที่องค์พระผู้ไถ่ “ได้เสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลาง เรา” (ยน.1:14) จึงนับว่าเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะเข้าใจอย่างชัดเจนถึงแผนของพระบิดานิรันดรและความรักอันยิ่งใหญ่ที่ทรงที่มีต่อมนุษย์ทุกคน “เหตุว่าพระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก     จึงได้ประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์เพื่อทุกคนที่มีความ เชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน.3:16)

ในทำนองเดียวกัน พระศาสนจักรก็ได้ดำเนินชีวิตและประกอบพันธกิจในขอบเขตของเวลาและสถานที่อันแท้จริง การสำนึกถึงความเป็นจริงของเอเซียที่แตกต่างและหลากหลายนับว่ามีความสำคัญ หากประชากรของพระเป็นเจ้าในทวีปนี้จะตอบสนองน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าสำหรับพวกเขาในการแพร่พระวรสารแบบใหม่บรรดาสมาชิกของสมัชชาต่างเน้นว่า พันธกิจแห่งความรักและการรับใช้ของพระศาสนจักรในเอเซียนั้นจะต้องมีเป้าหมายสองด้าน ด้านหนึ่งคือการเข้าใจตนเองว่าเป็นกลุ่มสานุศิษย์ของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งรวมตัวกันอยู่รอบบรรดานายชุมพา ส่วนอีกด้านหนึ่งก็คือสภาพความเป็นจริงในด้านสังคม การเมือง ด้านศาสนา วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของเอเซีย สถานภาพของเอเซียได้รับการทบทวนอย่างละเอียดในระหว่างการประชุมสมัชชา โดยบรรดาผู้ที่สัมผัสกับสถานภาพดังกล่าวอยู่เป็นประจำทุกวัน นับเป็นสถานภาพซึ่งหลากหลายในทวีปอันกว้างใหญ่นี้ ต่อไปนี้คือข้อสรุป ของการพิจารณาแห่งบรรดาสมาชิกของสมัชชา

สภาพความเป็นจริงด้านศาสนาและวัฒนธรรม

เอเซียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก   และเป็นที่อาศัยของสองในสามของพลเมือง โลก โดยประเทศจีนและอินเดียมีจำนวนพลเมืองครึ่งหนึ่งของพลเมืองทั้งโลกสิ่งที่น่าสน ใจของทวีปนี้  ก็คือความหลากหลายของพลเมืองซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก วัฒนธรร ม ศาสนา และประเพณีอันเก่าแก่ เราอดมิได้ที่จะรู้สึกประหลาดใจในจำนวนของประชาชน ในเอเซีย ตลอดจนวัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีอันหลากหลายที่มาสานต่อเข้าด้วยกัน   รวมเป็นส่วนใหญ่แห่งประวัติศาสตร์และมรดกของค รอบครัวมนุษย์

เอเซียยังเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาหลักของโลก กล่าวคือ ศาสนายิว คริสตศาส นา ศาสนาอิสลาม และฮินดู  และยังเป็นแหล่งกำเนิดของคำสอนฝ่ายจิตวิญญาณเป็นจำนวนมาก เช่น พุทธศาสนา ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ ลัทธิโซโรอาสเตอร์ ลัทธิแจนเซนิสต์ ซิกห์และลัทธิชินโต คนอีกเป็นจำนวนล้านๆคน ที่นับถือศาสนาของเผ่าต่างๆ โดยมีจารีตแล ะระบบการสอนศาสนา ในขั้นที่แตกต่างกัน พระศาสนจักรให้ความเคารพอย่างลึกซึ้งต่อคำสอนอันเก่าแก่เหล่านี้และพยายามที่จะเสวนาด้วยความจริงใจกับศาสนิกชนเหล่านี้ คุณค่าทางศาสนาที่เขาสั่งสอนรอรับความสมบูรณ์แบบในองค์พระเยซูคริสตเจ้า

ประชาชนชาวเอเซียมีความภาคภูมิใจในคุณค่าทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมขอ งพวกเขา เช่นการรักความสงบเงียบและการรำพึงภาวนา ความเรียบง่าย ความกลมเกลียวกัน การไม่ยึดติด ไม่ชอบความรุนแรง มีจิตตารมณ์การทำงานหนัก มีระเบียบวินัย ดำเนินชีวิตอย่างสมถะ กระหายหาความรู้และแสวงหาทางด้านปรัชญา เขาถือว่าควา มเคารพต่อชีวิต  ความเมตตาต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ความใกล้ชิดกับธรรมชาติ การนับถือบิดามารดา ผู้อาวุโสและบรรพบุรุษตลอดจนความสำนึกในการเป็นหมู่คณะในขั้นสู งล้วนเป็นคุณค่าที่น่าเทิดทูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาถือว่าครอบครัวคือแหล่งพลังที่สำคัญ   มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทแน่นกันในกลุ่มด้วยพลังแห่งความรู้สำนึกถึงความเป็ นหนึ่งเดียวกัน ชาวเอเซียมีชื่อเสียงในจิตตารมณ์แห่งความอดกลั้นและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม้ว่าจะมีความตึงเครียดที่ขมขื่นและความแตกแยกที่รุนแรง แต่เราก็ยังกล่าวได้ว่าเอเซียได้แสดงออกซึ่งความสามารถอันน่าประทับใจในการปรับตัวและมีธรรมชาติข องใจที่เปิดกว้างยอมรับผู้อื่น ในท่ามกลางความหลากหลายของศาสนาและวัฒนธรรมยิ่งไปกว่านั้น แม้จะ ได้รับอิทธิพลจากความก้าวหน้าและความคิดที่ไม่ยอมรับความเชื่อทางด้านศาสนาอยู่บ้าง แต่ศาสนาของเอเซียก็ยังแสดงออกซึ่งความมีชีวิตชีวา และสามาร ถฟื้นฟูตัวเอง ได้ดังจะ เห็นได้จากขบวนการฟื้นฟูในกลุ่มศาสนาต่างๆ โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนที่รู้สึกหิวกระหายในคุณค่าฝ่ายจิตอย่างลึกซึ้ง  ดังจะเห็นได้จากขบวนการด้านศาสนาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

ทั้งหมดนี้ย่อมชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจฝ่ายจิต และความเฉลียวฉลาดฝ่ายศีลธรร มที่ฝังอยู่ในจิตวิญญาณของชาวเอเซีย  และนี่คือแก่นที่ใช้เพื่อเสริมสร้าง “ความเป็นชาว เอเซีย” “การเป็นชาวเอเซียนี้” จะพบได้และเห็นชัดขึ้นในจิตตารมณ์ของการเสริมสร้ าง และความกลมเกลียวกันไม่ใช่ด้วยการเผชิญหน้าหรือต่อต้าน ในขอบเขตของการเสริมสร้างและกลมเกลียวกันนี้ พระศาสนจักรสามารถถ่ายทอดพระวรสารด้วยความซื่อสัตย์ต่อธรรมเนียมของพระศาสนจักรและต่อจิตวิญญาณของชาวเอเซีย

สภาพความเป็นจริงด้านเศรษฐกิจและสังคม

เรื่องการพัฒนาด้านเศรษฐกิจนั้นสถานภาพในทวีปเอเซียมีความหลากหลายมา ก และไม่สามารถแยกแยะได้ง่ายนัก บางประเทศมีการพัฒนาในระดับที่สูงมาก บางประ เทศกำลังพัฒนาโดยนโยบายเศรษฐกิจที่มีประสิทธิผล แต่บางประเทศก็ยังอยู่ในส ภาพความยากจนที่น่าสมเพช อันที่จริงแล้วพวกเขาอยูในระดับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ในขบวนการของการพัฒนานั้น วัตถุนิยมและความไม่สนใจเรื่องศาสนา ก็เริ่มเติ บโตขึ้นพร้อม ๆ กันไปโดยเฉพาะในสังคมเมือง  ความคิดเหล่านี้บั่นทอนคุณค่าทางประเพณี  สังคมและศาสนา ทำให้วัฒนธรรมของเอเซียเสี่ยงต่อความหายนะ    ซึ่งไม่สามารถจะคำนวณได้

บรรดาสมาชิกของสมัชชากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่กำลังเกิดขึ้น ในสังคมเอเซีย ตลอดจนข้อดี ข้อเสีย ของการเปลี่ยนแปลงนี้ ในจำนวนนี้ก็มีการกล่าวถึง การอพยพเข้าไปอยู่ในเมือง ปรากฏการณ์ของการรวมตัวกันในเมืองต่าง ๆ ซึ่งมักจะ มีบางเขตที่อยู่ในสภาพที่น่าสลดใจ มีทั้งอาชญากรรมที่เป็นระบบ  การก่อการร้าย การค้าประเวณีและการเอารัดเอาเปรียบส่วนของสังคมที่อ่อนแอกว่า   การอพยพย้ายถิ่นฐาน ถือ เป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นเหตุให้คนเป็นจำนวนล้าน ๆ ต้องอยู่ในสภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและศีลธรรมที่ย่ำแย่ ประชาชนย้ายถิ่นฐานภายในเอเซียและย้ายจากเอเซียไปอยู่ทวีปอื่นด้วยเหตุผลต่างๆ มากมาย เช่น ความยากจน สงคราม ความขัดแย้งท างด้าน เผ่าพันธ์ หรือขาดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การตั้งเขตอุตสาหกรรรมที่ใหญ่โตก็นับว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการอพยพย้ายถิ่นฐานทั้งภายในและภายนอก และสิ่งที่ตามมาก็คือผลของการทำลายคุณค่าและชีวิตครอบครัว มีการกล่าวถึงการสร้างโรงงานนิวเคลี ยร์ โดยมุ่งความสนใจไปในเรื่องการประหยัดและมีสมรรถภาพ โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน และบูรณภาพของสิ่งแวดล้อม

การท่องเที่ยวก็ควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษ แม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นอุตส า-หกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งประกอบด้วยคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมและการศึกษา แต่ ในบางกรณีกลับไปมีอิทธิพลในการทำลายทิวทัศน์ และศีลธรรมตลอดจนธรรมชาติของ หลายประเทศในเอเซียซึ่งแสดงออกในความตกต่ำของเยาวชน สตรีและแม้กระทั่ งเด็กๆ เนื่องจากปัญหาในเรื่องโสเภณี การอภิบาลผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและนักท่องเที่ยว นับว่าลำบากและสลับซับซ้อนโดยเฉพาะในเอเซีย ซึ่งไม่ค่อยจะมีโครงสร้างขั้นพื้นฐา นในด้านนี้ การวางแผนงานอภิบาลในระดับต่าง ๆ  ควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้     ในบริบทนี้ เราไม่ควรหลงลืมผู้อพยพที่มาจากพระศาสนจักรคาทอลิกนิกายตะวันออก ซึ่งต้องการการอภิบาลตามแบบจารีตประเพณีของพวกเขา

 หลายประเทศในเอเซียต้องเผชิญกับความยากลำบากในเรื่องการเจริญเติบโต ของประชากร   ซึ่งมิใช่เป็นแต่เพียงปัญหาด้านประชากรหรือเศรษฐกิจเท่านั้น   และเป็นปัญหาโดยเฉพาะในด้านศีลธรรม เป็นที่แน่ชัดว่าปัญหาประชากรนั้นเชื่อมโยงอย่างใ กล้ชิดกับการพัฒนาบุคคล แต่การแก้ปัญหาในทางที่ผิดนับเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของชีวิตที่ลบเลือนไม่ได้ และนี่คือปัญหาที่ท้าทายพระศาสนจักรในเอเซีย อาจเป็นการสมควรเมื่อมาถึงจุดนี้ ที่จะหวนรำลึกถึงบทบาทการสนับสนุนและส่งเสริมชีวิตของพระศาสนจั กร ด้วยการดูแลทางด้านสุขภาพอนามัย งานสังคมพัฒนา และการศึกษา  เพื่อคุณประโยชน์แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ยากจน จึงสมควรแล้วที่สมัชชาพิเศษเพื่อเอเซียจะได้ก ล่าวสดุดีคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา  ที่พระทรงเรียกไปแล้ว ว่าเป็น  “บุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลก ในการดูแลผู้ที่ยากจนที่สุด ด้วยความรักและปราศจากความเห็นแก่ตัว” ท่านเ ป็นสัญลักษณ์แห่งการบริการเพื่อชีวิต ที่พระศาสนจักรมอบให้แก่เอเซีย ซึ่งตรงข้ามกับพลังมืดมากมายที่กำลังแผลงฤทธิ์อยู่ในสังคม

สมาชิกของสมัชชาส่วนหนึ่งเน้นถึงอิทธิพลภายนอกซึ่งถูกนำมา  กระทบกับวัฒ น-ธรรมของเอเซีย การประพฤติตัวในรูปแบบแปลก ๆ ใหม่ๆ อันเป็นผลมาจากการรับจากสื่อมวลชนในทางที่ผิดมากเกินไป ซึ่งมีทั้งการใช้ภาษา เพลง และภาพยนต์ ซึ่งกำลังครอบคลุมทวีปนี้อยู่ เรายอมรับว่าสื่อมวลชนสามารถเป็นพลังนำไปในทางที่ดี แต่เราก็ป ฏิเสธ ไม่ได้ว่าผลกระทบในด้านลบของสื่อเหล่านี้ก็มีมาก ผลที่ดีดูเหมือนว่าจะน้อยลง เนื่องจากสื่อถูกควบคุมและเอาไปใช้โดยผู้ที่มีผลประโยชน์ที่น่าสงสัยทั้งในด้านการเมืองเศรษฐกิจหรือลัทธิความนิยม เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ผลทางด้านลบของสื่อมวลชนและวง การบันเทิง เข้ามาคุกคาม ความเห็นแก่ตัวอันไร้ขอบเขตและวัตถุนิยม “กำลังโจมตีหัวใจของวัฒนธรรมเอเซีย สภาพที่นิยมชมชอบด้านศาสนา ครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวม”นี่คือสถานการณ์ที่ท้าทายพระศาสนจักรและการประกาศพระวรสารของพระศาสนจั กรเป็นอย่างมาก

 สภาพความยากจนที่ยังคงมีอยู่ และการเอารัดเอาเปรียบประชาชนนับเป็นควา มห่วงใยที่เร่งด่วนที่สุดในเอเซียนั้น ยังมีผู้ที่ถูกกดขี่อีกเป็นจำนวนล้านๆ คน เขาถูกบังคับ ให้เป็นผู้ตกขอบของสังคมทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง สมาชิกของสมัชชาได้พิจารณาสถานภาพของสตรีในสังคมเอเซีย ท่านได้ให้ข้อสังเกตุว่า“แม้จะมีกา รปลุกจิตสำนึกให้สตรีรับรู้ถึงศักดิ์ศรีและสิทธิของตน อันเป็นสัญลักษณ์แห่งกาลเวลาที่โดดเด่น แต่ความยากจนและการเอารัดเอาเปรียบสตรีก็ยังเป็นปัญหาที่หนักหน่วงทั่วเอเซีย” จำนวนสตรีที่ไร้การศึกษามีมากกว่าบุรุษ และทารกเพศหญิงมักจะถูกทำแท้งหรือแ ม้กระทั่งถูกฆ่าหลังจากที่เกิดมาแล้ว ยังมีชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ทั่วเอเซียเป็นจำนวนล้านๆ คน ซึ่งมีชีวิตที่ห่างไกลจากประชาชนส่วนใหญ่ในด้านสังคม  วัฒนธรรมและการเมื อง เรารู้สึกมีความเชื่อมั่นมากขึ้น  เมื่อได้ยินบรรดาพระสังฆราชที่มาร่วมประชุมสมัชชาหลายท่านกล่าวว่า ปัญหาเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจในระดับชาติ ในระดับภาค และในระดับนานาชาติ และพระ-ศาสนจักรมีบทบาทอย่างมากในการเผชิญกับปัญหาที่รุนแรงเหล่านี้

บรรดาสมาชิกของสมัชชาให้ข้อสังเกตไว้ว่า     การพิจารณาที่จำต้องทำแบบสรุ ปเกี่ยวกับสภาพสังคมของเอเซียนี้คงจะไม่ครบขบวนการ หากไม่มีการยอมรับการเจริญ เติบโตของสังคมเอเซียหลายแห่ง ซึ่งได้เจริญเติบโตอย่างกว้างไกลในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานี้ ทั้งยังมีแรงงานที่ทรงคุณภาพรุ่นใหม่ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวช าญด้านเทคนิคซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน และจำนวนคนเหล่านี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของการพัฒนาเอเซีย แต่ความก้าวเหล่านี้ยังไม่ค่อยมั่นคงถาวรนัก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจอันกว้างไกลที่เกิดขึ้นแก่หลายประเทศในเอเซีย เมื่อไม่นานมานี้อนา คตของ เอเซียอยู่ที่การร่วมมือกัน ทั้งภายในเอเซีย และกับนานาชาติ ในทวีปอื่น แต่ต้องสร้างอยู่บนฐานของสิ่งที่ประชาชนชาวเอเซียต้องกระทำเองโดยคำนึงถึงการพัฒนาตนเอง

สภาพความเป็นจริงด้านการเมือง

พระศาสนจักรต้องเข้าใจสถานภาพทางการเมืองของแต่ละประเทศ  ที่พยายาม ดำเนินพันธกิจของพระศาสนจักรเองอย่างแท้จริง ปัจจุบันในเอเซียภาพรวมทางการเมืองนับว่าซับซ้อนมาก  เป็นภาพที่แสดงถึงแนวความคิดหลายรูปแบบตั้งแต่รัฐบาลประชาธิป ไตยไปจนถึงรัฐบาลที่ได้รับการปกครองจากอำนาจสวรรค์ เผด็จการทางด้านทหารแล ะอุดมการที่ไม่สนใจในพระเจ้ายังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป    บางประเทศยอมรับศาสนาประจำชาติ เพียงศาสนาเดียว โดยไม่ยอมหรือยอมก็น้อยมาก   ให้มีเสรีภาพในการถือศาสน าแก่ชนกลุ่มน้อยและผู้ที่นับถือศาสนาอื่น บางประเทศแม้จะไม่ถือว่าได้รับอำนาจจากสวรรค์อย่าง เด่นชัด แต่ก็ปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยเยี่ยงประชาชนขั้นสอง โดยไม่สนใจในการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพวกเขา   ในบางแห่งคริสตชนไม่ได้รับอนุญาตให้ป ฏิบัติตามข้อความเชื่อของพวกเขาอย่างเสรีและไม่สามารถประกาศพระเยซูคริสตเจ้าแก่ผู้อื่นได้ เขาถูกเบียดเบียนและขาดสถานภาพในสังคมซึ่งเขามีสิทธิ์ที่จะได้รับ สมาชิก ของสมัชชาระลึกประชาชนชาวจีนเป็นพิเศษและแสดงความหวังว่า      บรรดาพี่น้องคาทอลิกชาวจีนจะสามารถนับถือศาสนาของตนได้อย่างเสรี  และสามารถแสดงออกซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวกับสำนักของนักบุญเปโตร

แม้ว่าจะรู้สึกชื่นชมยินดีกับความก้าวหน้าของหลายประเทศในระบบการปกครอ ง ในรูปแบบต่างๆ แต่บรรดาสมาชิกของสมัชชาก็ขอให้มีความสนใจในเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง ที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในระดับต่างๆ ทั้งทางด้านรัฐและสังคม ประชาชนหมดหนทางที่จะปกป้องตัวเองให้พ้นจากการคดโกงของนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของศาล เจ้า หน้าที่และระบบราชการต่างๆ อีกมากมาย แต่ก็มีความสำนึกมากขึ้นทั่วไปในเอเซีย ถึงความสามารถของประชาชนในอันที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ไร้ความยุติธรรม มีการเรียกร้องให้มีความยุติธรรมในสังคมมากขึ้น มีส่วนในการปกครองและในระบบเศรษฐ กิจมากขึ้น มีความเสมอภาคในการแสวงหาการศึกษาและการมีส่วนอย่างยุติธรรมในทรัพยากรของประเทศ ประชาชนกำลังสำนึกในศักดิ์ศรีและสิทธิของตนมากขึ้น และมีความตั้งมั่นที่จะทำการปกป้องสิทธิเหล่านี้ บรรดาชนเผ่าต่างๆ และผู้เป็นชนกลุ่มน้อยในด้า นสังคมและวัฒนธรรม  ต่างแสวงหาหนทางที่จะเป็นผู้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าในสังคมของพวกเขา พระจิตของพระเป็นเจ้าทรงช่วยเหลือ และพยุงความพยายามของประชาชนที่จะเปลี่ยน แปลงสังคม เพื่อความปรารถนาของมนุษย์ในอันที่จะมีชีวิตอย่างสมบูรณ์จ ะได้รับการตอบสนองตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า (ดู ยน. 10:10)

พระศาสนจักรในเอเซีย : อดีตและปัจจุบัน

ประวัติของพระศาสนจักรในเอเซียนั้น  ยาวนานเท่ากับพระศาสนจักรเอง เหตุว่า ในดินแดนเอเซียนี้เอง  ที่พระเยซูเจ้าทรงประทานพระจิตเจ้าให้เสด็จมาเหนือบรรดาสาวกของพระองค์ และทรงส่งพวกเขาให้ไปประกาศข่าวดีและรวบรวมบรรดากลุ่มผู้มีควา ม เชื่อ ซึ่งแผ่ขยายไปจนสุดปลายแผ่นดิน   “พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” (ยน.20:21 ดู มธ.28:18-20, มก.16:15-18, ลก.24:27 และ ก จ.1:8) บรรดาอัครสาวกปฏิบัติตามพระบัญชาของพระอาจารย์เจ้า   พวกท่านจงไปเทศนาพระวาจา และเริ่มต้นจัดตั้งพระศาสนจักร คงจะมีประโยชน์มาก หากเรารำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่างในประวัติศาสตร์อันน่าประทับใจ และหลากหลายเหล่านี้

พระศาสนจักรแผ่ขยายจากเยรูซาเล็มไปยังอันติโอก ไปถึงโรม    และต่อไปยั งประเทศอื่นๆ จนไปถึงเอธิโอเปียในภาคใต้ ซินเธียในภาคเหนือ และอินเดียในภาคตะวันออก ณ ที่นั้น มีเรื่องเล่าว่านักบุญโทมัส อัครสาวกได้เดินทางไปที่นั่น ในปี ค.ศ. 52 และ ได้ตั้งพระศาสนจักรในภาคใต้ของอินเดีย จิตตารมณ์ธรรมทูตของคริสตชนในภาคตะ วันออกของซีเรีย ในศตวรรษที่สามและสี่นั้นเป็นที่น่าประทับใจมาก คริสตชนที่มีชีวิตจิตสูงของซีเรีย นับเป็นพลังสำคัญในการประกาศพระวรสารในเอเซีย ตั้งแต่ศตวรรษที่สามเป็นต้นมา พวกเขามอบพลังจิตให้แก่พระศาสนจักร โดยเฉพาะในยามที่ถูกเบียดเบีย น เมื่อสิ้นศตวรรษที่สาม อาร์เมเนียเป็นประเทศแรกที่ต้อนรับคริสตศาสนาทั้งประเทศ  และปัจจุบันกำลังเตรียมเฉลิมฉลอง 1700 ปี แห่งการรับศีลล้างบาปของพวกเขา    เ มื่อถึงปลายศตวรรษที่ห้า คำสอนของคริสตศาสนาได้เข้าไปถึงดินแดนอาหรับ แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ รวมทั้งความแตกแยกระหว่างคริสตชน   คำสอนนี้จึงมิได้หยั่งรากลงในจิตใจของประชาชนเหล่านี้

พ่อค้าชาวเปอร์เซียนำข่าวดีไปยังประเทศจีนในศตวรรษที่ห้า   วัดแรกของคริส ตศาสนาได้ก่อสร้างขึ้น   เมื่อต้นศตวรรษที่เจ็ดในช่วงที่ราชวงศ์ถังเรืองอำนาจ      

(ค.ศ.618-907) พระศาสนจักรเจริญเติบโตเป็นเวลาร่วมสองศตวรรษ  การถดถอยของ พระศาสนจักรในประเทศจีนที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และแข็งขันนี้ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเศร้าที่สุดช่วงหนึ่งของประชากรของพระเจ้าในทวีปนี้

ในศตวรรษที่สิบสามมีการประกาศข่าวดีแก่ชาวมองโกล ชาวเตอร์ก และชาวจี นอีกครั้งหนึ่ง แต่คริสตศาสนาเกือบจะสูญหายไปจากดินแดนแถบนี้ เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ ในบรรดาเหตุผลเหล่านี้ก็คือการเติบโตของศาสนาอิสลาม เนื่องจากเป็นภูมิ ภาคที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว  ไม่มีการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น  แต่เหนือสิ่งอื่นใด อาจ เป็นเพราะการขาดความพร้อมที่จะเผชิญกับศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในเอเซีย ในช่วงปลา ย     ศตวรรษที่สิบสี่ จะเห็นว่าพระศาสนจักรในเอเซียมีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก เว้นแต่กลุ่มคริสตชนที่โดดเดี่ยวอยู่ในตอนใต้ของอินเดียพระศาสนจักรในเอเซียต้องรอเวลาของการ แพร่ธรรมครั้งใหม่

ผลงานธรรมทูตของนักบุญฟรันซิส เซเวียร์ การก่อตั้งกระทรวงแพร่ธรรมของพ ระสันตะปาปา  เกรโกรี   ที่ 8   และการวางกฎเกณฑ์ให้ธรรมทูตเคารพวัฒนธรรมท้องถิ่น ล้วนเป็นเหตุให้มีผลในทางบวกมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่สิบหกและสิบเจ็ด ในศตวร รษที่สิบเก้าก็มีการฟื้นฟูกิจกรรมธรรมทูต คณะนักบวชหลายคณะอุทิศตนเพื่องานนี้อย่างเต็มที่ กระทรวงแพร่ธรรมได้รับการปรับปรุงใหม่ มีการเน้นเรื่องการเสริมสร้างพระศาสนจักรท้องถิ่นมากขึ้น

การศึกษาและงานเมตตาสงเคราะห์ได้ทำไปพร้อมๆ กับการ   ประกาศพระวรส าร ผลที่ตามมาก็คือข่าวดีได้ไปถึงคนจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงกลุ่มคนจนและผู้ด้อย โอกาส   บางแห่งยังเข้าถึงปัญญาชนและผู้มีอิทธิพลในสังคม  มีความพยายามให ม่ที่จะปรับข่าวดีให้เข้ากับวัฒนธรรมแม้ว่าจะยังไม่เพียงพอก็ตาม แม้พระศาสนจักรจะได้อยู่ใน เอเซียมาเป็นเวลานาน และมีกิจกรรมมากมาย แต่ในหลายประเทศ พระศาสนจักรยังถูกมองว่าเป็นของต่างด้าวในเอเซีย และบ่อยครั้งประชาชนมักจะคิดว่ามีความเกี่ ยวพันกับอำนาจที่มาล่าอาณานิคม

นี่คือสภาพความเป็นจริงก่อนสภาพระสังคายนาวาติกันที่สอง แต่ขอบคุณที่สภาสั งคายนาฯ    ได้กระตุ้นให้เกิดความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับพันธกิจซึ่งควบคู่ไปกับความหวังอันยิ่งใหญ่  แผนความรอดอันครอบจักรวาลของพระเป็นเจ้า สภาพความเป็นธรรมทูต ของพระศาสนจักร และภาระหน้าที่ของสมาชิกทุกคนของพระศาสนจักรในการแพร่ธรรม ได้รับการเน้นเป็นพิเศษในเอกสาร  ที่เกี่ยวกับการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร คือ “สู่นานาชาติ” (Ad Gentes) เอกสารนี้เป็นกรอบความรับผิดชอบใหม่ของพระศาสนจัก ร ในระหว่างการประชุมสมัชชาพิเศษครั้งนี้ บรรดาสมาชิกต่างก็เป็นสักขีพยานถึงการเติบโตของพระศาสนจักร ในกลุ่มชนต่าง  ๆ ทั่วทวีป พวกท่านยังได้ขอให้มีการแพร่ธรรมมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะโอกาสใหม่ที่จะประกาศพระวรสารในแถบไซบีเรีย และ ประเทศใน แถบเอเซียกลาง ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราช เช่น คาซักสถาน  อูสเบคิสถาน เคอริกสถาน ทาจีคิสขาน และเทอร์กเมนิสถาน

ในการสำรวจกลุ่มคาทอลิกในเอเซีย เราได้พบว่ามีความแตกต่างที่น่าชื่นชมมา กมาย เนื่องมาจากต้นกำเนิดและการพัฒนาทางด้านประวัติศาสตร์ของพวกเขา และธรรม เนียมประเพณีด้านชีวิตจิตและจารีตพิธีกรรมต่างๆ แต่ทุกคนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในการประกาศ ข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้า อาศัยการเป็นสักขีพยานเยี่ยงคริสตชน กิจเม ตตาต่างๆ และความเป็นหนึ่งเดียวกันฉันเพื่อนมนุษย์ ในขณะที่พระศาสนจักรบางแห่งดำเนินกิจการได้ในสันติ และอย่างมีเสรีภาพ แต่บางแห่งก็ยังต้องเผชิญกับความรุนแรงและการ เผชิญหน้ากันหรือมีความรู้สึกว่ากลุ่มอื่นกำลังคุกคามพวกเขา ด้วยเหตุผลทาง ด้านศาสนาหรือด้วยเหตุอื่นๆ ในโลกแห่งความแตกต่างมากมายทางด้านวัฒนธรรมในเอเซีย พระศาสนจักรต้องเผชิญกับการท้าทายหลายด้าน ทั้งในด้านปรัชญา เทววิทยา และการอภิบาล ภารกิจต่างๆ เหล่านี้ยิ่งลำบากมากขึ้น เนื่องจากพระศาสนจักรเป็นชนกลุ่ม น้อย เว้นแต่ในประเทศฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียว ที่พลเมืองส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก

แต่ไม่ว่าในกรณีใด พระศาสนจักรในเอเซียก็ยังอยู่ในท่ามกลางประชาชนที่แสด งออกซึ่งการแสวงหาพระเป็นเจ้า พระศาสนจักรทราบว่าการแสวงหานี้  จะได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ ก็เพียงในองค์พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นข่าวดีของพระเป็นเจ้าสำหรับชนทุกชาติเท่านั้น บรรดาสมาชิกของสมัชชาปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะให้สมณสาสน์ หลังการประชุมสมัชชาครั้งนี้ ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการแสวงหานี้ และสนับสนุนให้พระศาสนจักรในเอเซีย ประกาศอย่างแข็งขัน ทั้งด้วยวาจาและกิจการว่าพระเยซูคริสตเจ้าคือองค์พระผู้ไถ่

พระจิตของพระเป็นเจ้า ผู้ประทับอยู่ในประวัติศาสตร์ของเอเซีย พระองค์ยังทรง นำทางพวกเขาอยู่ สิ่งที่ดีงามด้านบวกที่พบได้ในพระ-ศาสนจักรท้องถิ่น ที่ได้รับการเน้น ในการประชุมสมัชชาทำให้เรามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า“รุ่งอรุณใหม่แห่งชีวิตคริสตช นกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว” เหตุผลหลักแห่งความหวังนี้ก็คือ จำนวนฆราวาสที่ได้รับการอบรมอย่างดี มีความร้อนรนและเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า มีจำนวนเพิ่มขึ้น พวกเขาสำนึกถึงกร ะ แสเรียกพิเศษของเขาในสังคมของแต่ละวัดมากยิ่งขึ้น ในจำนวนนี้ เราขอกล่าวถึงและชมเชยบรรดาครูคำสอนฆราวาสเป็นพิเศษ ขบวนการแพร่ธรรมและกลุ่มพรพิเศษต่างๆ นับว่าเป็นพระพรของพระจิตเจ้า  ที่นำชีวิตใหม่และความร้อนรน มาสู่การอบรมฆรา วาสชายและหญิง ครอบครัว และเยาวชน สมาคมและขบวนการของพระศาสนจักร ที่อุทิศตน ในการเผยแพร่ศักดิ์ศรีของมนุษย์และความยุติธรรม ทำให้คำสอนแห่งพระวรสารที่ว่าเรา เป็นบุตรบุญธรรมของพระเป็นเจ้า (ดู รม.8:15-16) เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเอื้อมถึง ได้

แต่ในขณะเดียวกันยังมีพระศาสนจักรที่อยู่ในสภาพที่ลำบากมาก “ที่กำลังประส บกับความยากลำบากในการปฏิบัติตามความเชื่อของพวกเขา” บรรดาสมาชิกของสมัชชา ได้รับความประทับใจมาก เมื่อได้ยินการรายงานถึงการเป็นสักขีพยานที่กล้าหาญ ความซื่อสัตย์ที่ไม่หวั่นไหว   ตลอดจนการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศจีน และความเพียรพยายามของพระศาสนจักรในเกาหลีใต้ ที่จะช่วยประชากรในเกาหลีเหนือ พระศาสนจักรคาทอลิกที่ถ่อมตนแต่มั่นคงในประเทศเวียตนาม การถูกตัดขาดให้อยู่โดดเดี่ยวของคริสตชนในประเทศลาวและพม่า   อีกทั้งความย ากลำบาก ในการเจริญชีวิตในประเทศที่ประชาชนส่วนมากเป็นอิสลามิกชน การประชุมสมัชชาได้ ให้ความสนใจพิเศษถึงสถานภาพของพระศาสนจักรในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์แล ะในเยรูซาเล็มนครศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนับเป็น   “หัวใจของคริสตศาสนา” เมืองซึ่งเป็นที่รักใคร่ของบรรดาลูกหลานของอับราฮัม สมาชิกสมัชชาแสดงความเชื่อมั่นว่าสันติภาพในดินแ ดนแถบนั้นและ แม้กระทั่งในโลก ขึ้นอยู่ไม่ใช่น้อยกับสันติภาพและการคืนดีกัน ซึ่งเยรูซาเล็มไม่ได้ประสบพบเห็นมาเป็นเวลาช้านาน

ข้าพเจ้าไม่สามารถจะจบการสำรวจสถานภาพของพระศาสนจักรในเอเซียได้โด ยมิได้กล่าวถึงบรรดานักบุญและมรณสักขีของเอเซีย ทั้งผู้ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการหรือบรรดาผู้ที่พระเป็นเจ้าเท่านั้นทรงทราบดี ตัวอย่างของท่านเหล่านี้เป็นท่อธารแห่ง “ความร่ำรวยฝ่ายจิตวิญญาณ และเป็นหนทางแห่งการเผยแพร่พระวรสารที่สำคัญ ยิ่ง”    พวกท่านกล่าวอย่างเงียบๆแต่อย่างมีพลัง ถึงความสลักสำคัญของชีวิตศักดิ์สิทธิ์และความพร้อมที่จะมอบชีวิตของท่านเพื่อเห็นแก่พระวรสาร พวกท่านคือครูและผู้ปกป้อง ท่านเป็นความรุ่งเรืองของพระศาสนจักรในเอเซีย ในพันธกิจการประกาศพระวรสาร ข้าพเจ้าขอร่วมกับพระศาสนจักรทั้งหมด วอนขอพระเป็นเจ้าได้ทรงส่งคนงานจำนวนมาก ขึ้น ผู้อุทิศตนจริงๆ ให้มาเก็บเกี่ยวด้านจิตวิญญาณ ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าสรรพพร้อมแล้วและมีจำนวนมาก (ดู มธ.9:37-38) บัดนี้ ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ในสมณสาสน์  “ พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่” ว่า “พระเป็นเจ้าทรงเปิดจิตใจมนุษย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความพร้อมมากขึ้น สำหรับการหว่านพระวรสาร” ข้าพเจ้าเห็นว่า วิสัยทัศน์และสภาพอันเอื้ออำนวยนี้ กำลังเป็นจริงขึ้นในเ อเซีย อันเป็นสถานที่ที่พระเยซูเจ้าได้ทรงบังเกิด และคริสตศาสนาได้เริ่มต้น