หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

6. อย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าถูกประจญ

2846คำขอนี้หยั่งลงสู่รากของคำขอก่อนหน้านี้ เพราะว่าบาปของเราเป็นผลของความเห็นพ้องต้องกันกับการประจญ เราขอต่อพระบิดาของเราโปรด "อย่าปล่อยให้" เราแพ้การประจญ การแปลคำกริยาภาษากรีกด้วยถ้อยคำเพียงภาษาอังกฤษ (ไทย) คำเดียวเป็นเรื่องยาก คำกรีกนั้นหมายความว่า"ไม่อนุญาตให้เข้าไปในการผจญ" "อย่าปล่อยให้เราแพ้ต่อการประจญ" (เทียบ มธ.26:41) "ความชั่วไม่อาจทดลองพระเจ้าได้ และพระองค์ไม่ทรงทดลองผู้ใด" (ยก.1:13)   ตรงข้าม ทรงพระประสงค์ปลดปล่อยเราจากสิ่งนั้น เราขอพระองค์อย่าทรงอนุญาตเราใช้ทางเดินที่นำเราไปสู่บาป  เรามีหน้าที่ที่จะรบสู้ "ระหว่างเนื้อหนังและจิตวิญญาณ" การขอนี้วิงวอนพระจิตเจ้าแห่งการแยกแยะสิ่งผิดถูกและความเข้มแข็ง

2847 พระจิตเจ้าทรงนำเราให้รู้จักแยกแยะระหว่างการทดลอง ที่จำเป็นต่อการเจริญของมนุษย์ภายใน และการประจญที่นำไปสู่บาปและความตาย (เทียบ ยก.1:14-15) เรายังต้องแยกแยะระหว่าง"การถูกล่อลวง" และการเห็นพ้องต่อการล่องลวงท้ายสุด การแยกแยะนี้ก็เปิดโปงความหลอกลวงของการประจญ  ซึ่งดูเหมือนว่ามีจุดประสงค์ดี "สวยงาม มีผลงามน่ากิน" (ปฐก.3:6) ขณะที่ในความเป็นจริงนั้น ผลของมันคือความตาย

พระเป็นเจ้าไม่ประสงค์บีบบังคับให้ทำความดี ทรงประสงค์ให้เป็นอิสระ... การล่อลวงมีประโยชน์ นอกเหนือจากพระเจ้า ไม่มีใครทราบสิ่งที่วิญญาณของเราได้รับจากพระเป็นเจ้า เราไม่ทราบแม้แต่ตัวเราเอง แต่การประจญนั้นเปิดเผยสิ่งนี้ เพื่อสอนเราให้รู้จักตัวเราเอง และด้วยวิธีนี้เราพบความน่าสมเพชของเราและเราเป็นหนี้บุญคุณสำหรับสิ่งดีงามต่างๆ ที่การผจญได้เปิดเผยแก่เรา (โอรีเจน)

2848"อย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าถูกประจญ" พัวพันถึงการตัดสินใจ "ทรัยพ์สมบัติของท่านอยู่ที่ใดใจของท่านก็อยู่ที่นั่น... ไม่มีใครเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้" (มธ.6:21-24) "ถ้าเรามีชีวิตเดชะพระจิตเจ้าแล้ว เราจงดำเนินชีวิตตามพระจิตเจ้าด้วย" (กท. 5:25) ในความเห็นพ้องต่อพระจิตเจ้านี้ พระบิดาเจ้าทรงประทานพละกำลังแก่เรา "ท่านทั้งหลายไม่เคยเผชิญกับการทดลองใดๆ ที่เกินกำลังมนุษย์  พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ พระองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้ท่านถูกทดลองเกินกำลังของท่าน แต่เมื่อถูกทดลอง พระองค์จะประทานความสามารถให้ท่านยืนหยัด มั่นคง และหาทางออกได้" (1คร.10:13)

2849 การต่อสู้และชัยชนะนั้นเป็นไปได้อาศัยการภาวนาเท่านั้น  การที่พระเยซูเจ้ามีชัยชนะเหนือการประจญตั้งแต่ต้น  และในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายตอนที่พระองค์เข้าตรีทูต ก็โดยอาศัยการภาวนาของพระองค์ (เทียบ มธ.4:1-11; 26:36-44)  พระคริสตเจ้าทรงรวมเราเป็นหนึ่งเดียวกัน ในคำขอนี้ต่อพระบิดาของเราก็อยู่ที่การต่อสู้ของพระองค์และต่อการเข้าตรีทูตของพระองค์ พระองค์เตือนเราให้มีความผูกพันกับพระองค์ การตื่นเฝ้านั้นเป็น "การเฝ้ารักษาดวงใจ" และพระเยซูเจ้าทรงขอต่อพระบิดาให้ดูแลรักษาเราไว้ในพระนามของพระองค์ (ยน.17:11)  พระจิตเจ้าทรงกระตุ้นการตื่นเฝ้านี้ในตัวเราโดยมิรู้หยุด (เทียบ 1คร.16:13; คส.4:2; 1ธส.5:6; 1ปต.5:8) ที่สุด การขอนี้มีความหมายสัมพันธ์กับการประจญครั้งสุดท้ายแห่งการต่อสู้ของเราบนโลกนี้ มันเรียกร้องให้มีความเพียรทนจนวาระสุดท้าย "นี่แน่ะ เราจะแอบย่องมาเหมือนขโมย ผู้ที่ตื่นเฝ้าอยู่ก็เป็นสุข" (วว.16:15)