หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3. การภาวนาของพระศาสนจักร

2767พระพร (ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้) ของพระวาจาของพระเป็นเจ้าและของพระจิตเจ้าซึ่งให้ชีวิตในใจของบรรดาผู้มีความเชื่อ พระศาสนจักรได้รับมาดำเนินชีวิตตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ชุมชนแรกนั้นภาวนาบทภาวนาขององค์พระเป็นเจ้า "วันละสามครั้ง" (ดีดาเค 8,3) แทน "คำอวยพรสิบแปดประการ" ที่ใช้อยู่ในกิจศรัทธาของพวกฮีบรู

2768ตามธรรมประเพณีที่สืบเนื่องมาจากอัครสาวก บทข้าแต่พระบิดาฯ นั้นเป็นสาระสำคัญที่หยั่งรากลึกลงในการภาวนาทางพิธีกรรม

องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนเราให้ภาวนาพร้อมกันเพื่อพี่น้องของเราทุกคน อันที่จริง พระองค์ไม่กล่าวว่า พระบิดา "ของฉัน" ซึ่งสถิตในสวรรค์  แต่พระบิดา "ของข้าพเจ้าทั้งหลาย"  เพื่อให้การภาวนาของเราลอยขึ้นไปจากดวงใจดวงเดียวเท่านั้นเพื่อพระกายทั้งมวลของพระศาสนจักร (น.ยอห์น คริสซอสโตม)

ในทุกธรรมประเพณีทางพิธีกรรม  บทภาวนาข้าแต่พระบิดาเป็นส่วนครบครันของบทสวดตามเวลาหลักของการภาวนาทำวัตร   แต่ลักษณะทางพระศาสนจักรนั้นปรากฏในหลักฐานทั้งมวล โดยเฉพาะในสามศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เริ่มชีวิตคริสตชน

2769ในศีลล้างบาปและในศีลกำลัง การมอบบทภาวนาข้าแต่พระบิดานั้นหมายถึงการเกิดใหม่ไปสู่ชีวิตพระเป็นเจ้า เนื่องจากว่า การภาวนาของคริสตชนเน้นการสนทนากับพระเป็นเจ้าด้วยพระวาจาของพระองค์เอง  ผู้ที่ได้ "เกิดใหม่... โดยพระวาจาของพระเจ้าที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์" (1ปต.1:23) เรียนรู้ที่จะเรียกพระบิดาด้วยพระวาจาที่พระองค์ทรงฟังอยู่เสมอ และบัดนี้พวกเขาก็สามารถทำได้เพราะว่าตราของการเจิมแห่งพระจิตเจ้าได้ประทับไว้ ไม่อาจลบล้างได้ที่ดวงใจของเขา ที่หู ริมฝีปาก และทั้งหมดของความเป็นอยู่ในฐานะบุตร เพราะเหตุนี้ ข้อคิดเห็นของบรรดาปิตาจารย์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายก็ได้กำหนดไว้ให้ผู้เรียนคำสอนและผู้จะรับศีลล้างบาป เมื่อพระศาสนจักรสวดบทภาวนาของพระเป็นเจ้า ก็เป็นประชากร "เกิดใหม่" ที่ภาวนาเสมอและได้รับความเมตตากรุณา (เทียบ 1ปต.2:1-10)

2770ในพิธีบูชามิสซา บทภาวนาข้าแต่พระบิดาปรากฏเป็นการภาวนาของพระศาสนจักรทั้งมวล เปิดเผยความหมายเต็มเปี่ยมและมีประสิทธิผล  กำหนดให้สวดระหว่างบทขอบพระคุณ (ANAPHORA) และภาครับศีลมหาสนิท บทภาวนานี้ในด้านหนึ่งสรุปคำวอนขอและการอ้อนวอนต่างๆ ที่แสดงถึงวิวัฒนาการของบทวอนขอพระจิต และอีกด้านหนึ่งการรับศีลมาหสนิทเป็นงานเลี้ยงที่มาก่อนพระราชัยสวรรค์

2771ในศีลมหาสนิท บทภาวนาข้าแต่พระบิดายังแสดงถึงลักษณะอวสานกาล  ของคำขอต่างๆ นั้นเอง  บทสวดนั้นเป็นบทสวดที่มีแบบของ "ยุคสุดท้าย" ยุคสมัยแห่งความรอดซึ่งได้เริ่มด้วยการระบายพระจิตเจ้าลงมา และซึ่งจะสำเร็จสมบูรณ์ด้วยการเสด็จมาขององค์พระเป็นเจ้า คำขอต่างๆ ต่อพระบิดาของเราที่แตกต่างจากการภาวนาสมัยพันธสัญญาเดิม ดังพื้นฐานบนธรรมล้ำลึกแห่งความรอดที่ได้ทำให้เป็นจริงแล้ว ครั้งหนึ่งและตลอดไปในพระคริสตเจ้าผู้ทรงถูกตรึงกางเขนและกลับเป็นขึ้นมา

2772 จากความเชื่อที่ไม่อาจทำลายได้นี้ ก็หลั่งความหวังออกมา ซึ่งทำให้คำวอนขอทั้งเจ็ดข้อมีชีวิต คำขอเหล่านี้แสดงออกถึงเสียงคร่ำครวญของยุคปัจจุบันนี้ ยุคแห่งความอดทนและการรอคอย "สิ่งที่เราจะเป็นนั้นยังไม่ได้เผยแสดงออกมา" (1ยน. 3:2)  ศีลมหาสนิท และบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายนั้นเป็นการมุ่งไปข้างหน้าสู่การเสด็จมาขององค์พระผู้เป็นเจ้า "จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา"  (1คร.11:26)