หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

มาตรา 1

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บทสรุปพระวรสารทั้งครบ

2761"บทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า (บทข้าแต่พระบิดา) นี้เป็นการสรุปข่าวดีในพระวรสารทั้งครบอย่างแท้จริง" (แตร์ตูเลียน) หลังจากที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบบทอธิษฐานนี้แก่เรา  ก็ทรงเสริมว่า "จงขอเถิดแล้วเขาจะให้แก่ท่าน" (ลก.11:9) ดังนั้น ทุกคนอาจสามารถยกคำภาวนาในสิ่งที่ตนปรารถนาสู่เบื้องบน แต่จะต้องเริ่มต้นด้วยบทภาวนาของพระคริสตเจ้าเสมอ  "เสมือนเป็นคำภาวนาพื้นฐานและจึงเสนอความปรารถนาอื่นๆ" (แตร์ตูเลียน)

1. ศูนย์กลางของพระคัมภีร์

2762หลังจากที่ได้แสดงว่า   เพลงสดุดีเป็นอาหารสำคัญอันดับแรกที่หล่อเลี้ยงการภาวนาของคริสตชน และมาบรรจบกันในคำวอนขอของบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย นักบุญออกัสตินได้กล่าวสรุปว่า

ถ้าตรวจดูทุกถ้อยคำของเนื้อหาคำภาวนา (ในพระคัมภีร์) ข้าพเจ้าคิดว่า คงไม่พบข้อความ ที่ไม่บรรจุและสรุปในบทภาวนาที่พระเยซูเจ้าสอน (น.ออกูสติน PL 33,503)

2763หนังสือพระคัมภีร์ทุกเล่ม (กฎหมาย ประกาศก และเพลงสดุดี)   สมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า (เทียบ ลก.24:44)  พระวรสารคือ "ข่าวดี" นักบุญมัทธิวสรุปการประกาศครั้งแรกในบทเทศน์บนภูเขา อย่างไรก็ดี บทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นศูนย์กลางของการประกาศนี้ เป็นเนื้อเรื่องที่องค์พระผู้เป็นเจ้าสอนการวอนขอแก่เรา

บทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นบทภาวนาที่สมบูรณ์ที่สุด... ในบทภาวนานี้เราไม่ได้วอนขอทุกสิ่งที่เราปรารถนาโดยตรงเท่านั้น  แต่ยังเป็นผลตามมาในสิ่งที่เราควรปรารถนาด้วย ดังนั้น บทภาวนานี้ไม่เพียงแต่สอนให้ขอเท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งสำคัญที่เราปรารถนาด้วย (นักบุญโทมัส)

2764บทเทศน์บนภูเขาเป็นคำสอนแห่งชีวิต "บทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย" เป็นคำภาวนา  ทั้งในบทเทศน์บนภูเขาและบทข้าแต่พระบิดาฯ พระจิตของพระเป็นเจ้าทรงประทานรูปแบบใหม่แก่ความปรารถนาของเรา การเคลื่อนไหวภายในนี้กระตุ้นชีวิตของเรา พระเยซูเจ้าทรงสอนชีวิตใหม่ด้วยวาจาของพระองค์แก่เรา และอบรมให้เราวอนขอโดยผ่านทางคำภาวนา  ความเที่ยงตรงแห่งชีวิตของเราในพระองค์ขึ้นอยู่กับความซื่อตรงในคำภาวนาของเรา