หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ตอนที่สอง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า"

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย"

2759วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงภาวนาอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เมื่อจบแล้ว สาวกของพระองค์คนหนึ่งทูลว่า "พระอาจารย์เจ้าข้า ช่วยสอนพวกเราให้ภาวนาเถิด เหมือนกับที่ท่านยอห์นสอนศิษย์ของท่าน" (ลก.11:1) องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบบทภาวนาขั้นพื้นฐานของคริสตชนให้แก่บรรดาสาวกและพระศาสนจักรเป็นการตอบคำขอข้อนี้  นักบุญลูกาได้ให้เนื้อหาสั้นๆ  เป็นคำขอห้าประการ (เทียบ ลก.11:2-4) ขณะที่นักบุญมัทธิวให้สำนวนที่พัฒนามากกว่าเป็นคำขอเจ็ดประการ (เทียบ มธ.6:9-13)ธรรมประเพณีทางพิธีกรรมของพระศาสนจักรได้ใช้เนื้อความของนักบุญมัทธิวเสมอว่า

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์

พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ

พระอาณาจักรจงมาถึง

ขอให้ทุกสิ่งเป็นไปตามน้ำพระทัยในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์

ขอประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้

โปรดยกโทษข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้ผู้อื่น

อย่าปล่อยให้ข้าพเจ้าถูกประจญ

แต่โปรดช่วยให้พ้นภัย

2760ตั้งแต่สมัยเริ่มแรก การใช้ทางพิธีกรรมได้สรุปบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยทำนองเพลงสดุดี ต่อมา ในดีดาเค เราพบ "เหตุว่าพระอาณุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์เป็นของพระองค์ ตลอดนิรันดร์" (ดีดาเค 8,2) ธรรมนูญอัครสาวกเพิ่มเติมตอนแรกของเพลงสดุดีว่า "พระอาณาจักร"  และนี่เป็นสูตรที่ใช้จนถึงทุกวันนี้ในบทภาวนาเพื่อคริสตสัมพันธ์   ธรรมประเพณีบิซันไทน์เพิ่มเติมจาก "พระสิริรุ่งโรจน์"   ว่า "พระบิดา พระบุตรและพระจิต"  บทประจำมิสซาพัฒนาคำขอสุดท้าย ในแง่มุมที่ชัดเจน "ขณะที่หวังจะได้รับความสุข"  (ทต.2:13) และรอรับเสด็จพระเยซูคริสตเจ้าพระผู้กอบกู้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย   (บทภาวนาหลัง "บทข้าแต่พระบิดา") และตามด้วยการประกาศของที่ประชุมซึ่งมาจากเพลงสดุดีของธรรมนูญอัครสาวกถ