หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. ความปรารถนาของพระจิตเจ้า

2541ความไพบูลย์แห่งธรรมบัญญัติและพระหรรษทานเปลี่ยนดวงใจมนุษย์เป็นอิสระจากความโลภและความอิจฉาริษยา ทำให้ดวงใจมนุษย์ปรารถนาองค์ความดีสูงสุด  สอนใจให้ปรารถนาพระจิตเจ้าผู้ทำให้มนุษย์อิ่มใจได้

พระเจ้าแห่งพันธสัญญาได้ทรงตักเตือนมนุษย์เสมอ มิให้ถูกล่อลวงไปในทางเสื่อมเสียโดยสิ่งที่ในตอนแรกดูเหมือนว่า  "น่ากินและน่าดู...มุ่งหมายจะให้เกิดปัญญา" (ปฐก.3:6)

2542ธรรมบัญญัติที่ให้ไว้กับประชาอิสราแอลนั้นไม่เคยเพียงพอที่จะทำให้บรรดาผู้ถือปฏิบัติตามมีความชอบธรรม  ยิ่งกว่านั้นได้กลายเป็นเครื่องมือแห่ง "ตัณหา" (เทียบ รม.7:7) ช่องว่างระหว่างความต้องการและการกระทำไม่สอดคล้องกัน ชี้ให้เห็นถึงการขัดแย้งระหว่างธรรมบัญญัติของพระเจ้าซึ่งเป็น  "กฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า"  และอีกกฎหนึ่ง "ที่ล่ามข้าพเจ้าไว้กับกฎของบาปซึ่งอยู่ในร่างกายของข้าพเจ้า" (รม.7:23)

2543"แต่บัดนี้ ความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้นตามที่หนังสือธรรมบัญญัติ  และประกาศกได้เป็นพยานถึงนั้น  ได้ปรากฏให้เห็นแล้วนอกเหนือธรรมบัญญัติ  ความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้น ซึ่งพระองค์ประทานให้แก่ทุกคนที่มีความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า"  (รม.3:21-22)  จากนั้นผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า  "ก็ตรึงธรรมชาติของตนพร้อมกับกิเลสตัณหาไว้กับไม้กางเขนแล้ว" (กท.5:24) พระจิตเจ้าได้ทรงนำทางพวกเขา  และพวกเขาติดตามความปรารถนาของพระจิตเจ้า  (เทียบ รม.8:14)