หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

1. ความไร้ระเบียบของความโลภ

2535ความอยากที่ไวต่อความรู้สึกพาเราไปสู่ความต้องการสิ่งที่สบอารมณ์ที่เราไม่มี ตัวอย่างเช่น เมื่อเราหิวก็มีความต้องการกิน เมื่อเรารู้สึกหนาวเราก็ต้องการได้รับความอบอุ่น ความต้องการเช่นนั้นในตัวมันเองเป็นสิ่งที่ดี แต่บ่อยๆ ไม่คงอยู่ในขอบเขตของเหตุผล และผลักดันเราให้ปรารถนาสิ่งซึ่งไม่ใช่เป็นของเรา และเป็นของคนอื่นอย่างไร้ความยุติธรรม

2536พระบัญญัติประการที่สิบห้ามความโลภ (greed) และความต้องการที่จะเอาทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกเป็นเจ้าของ โดยปราศจากขีดจำกัด พระบัญญัติประการนี้ห้ามความตระหนี่ (avarice) ที่เกิดขึ้นจากความปรารถนาความร่ำรวยและอำนาจที่ติดอยู่ในนั้น ยังห้ามความปรารถนาที่จะกระทำความอยุติธรรม โดยการทำร้ายเพื่อนบ้านเพื่อทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกของเขา

กฎที่ว่า "อย่าโลภ" เป็นเสมือนคำเตือนทั่วไป ซึ่งผลักดันเราให้ยับยั้งความต้องการของเรา และความโลภในสิ่งของของผู้อื่น อันที่จริง มีความกระหายความอยากได้ทุกสิ่งที่ไม่ใช่ของเราซ่อนอยู่ในตัวเรา เป็นความกระหายที่ไม่รู้จักพอ ซึ่งพระคัมภีร์จารึกไว้ว่า "ผู้มีความโลภจะไม่เคยพอใจเงินทองที่ตนมีอยู่" (บสร.5:8 คำสอนโรมัน III,37)

2537ไม่เป็นการละเมิดพระบัญญัติประการนี้ที่จะปรารถนาได้รับสิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นของเพื่อนบ้านโดยมีข้อแม้ว่าสิ่งซึ่งได้มานั้นเป็นไปด้วยวิธีถูกต้อง คำสอนตามประเพณีอ้างอิงถึงอย่างน่าฟังว่า "บรรดาผู้ต่อสู้หนักขึ้นกับความโลภที่เป็นบาป" และบรรดาผู้ซึ่ง "ต้องได้รับการตักเตือนให้ถือตามพระบัญญัติมากขึ้น"ถ
...บรรดาพ่อค้า ผู้ปรารถนาให้สินค้าขาดแคลน และขึ้นราคา ผู้ไม่อดทน ไม่เป็นแค่ซื้อและขายเท่านั้น เพื่อพวกเขาซื้อถูกๆ แต่ขายแพงๆ ผู้หวังว่าคนอื่นต้องจนลง เพื่อกำไรทั้งเวลาขายและซื้อ... นายแพทย์ที่ต้องการให้เชื้อโรคแพร่ขยาย ทนายความผู้กระหายคดีที่สำคัญ และการทดลอง

2538พระบัญญัติประการที่สิบเรียกร้องให้สละความอิจฉา (envy) ออกจากใจมนุษย์ เมื่อประกาศกนาธัน ต้องการกระตุ้นให้กษัตริย์ดาวิดสำนึกผิด ท่านก็ได้เล่าเรื่องชายยากจนเจ้าของแกะตัวเมียเพียงตัวเดียว ซึ่งเขาเลี้ยงเสมือนลูกสาวคนหนึ่งของเขา  และคนมั่งมีคนนั้นซึ่งแม้มีสัตว์เลี้ยงจำนวนมาก ก็อิจฉาชายยากจนคนนั้นและจบลงด้วยการขโมยแกะตัวนั้นมาได้ (เทียบ 2 ซมอ.12:1-4)   ความอิจฉาริษยาอาจนำไปสู่อาชญากรรมที่เลวหนักลงไปอีก (เทียบ ปฐก.4:3-7 ; 1พกษ21:1-29)  เป็นเพราะอิจฉาริษยาของปีศาจ ความตายจึงเข้ามาสู่โลก (เทียบ ปชญ.2:24)

นักบุญยอห์น คริสโซสโตม กล่าวว่า เราทำสงครามต่อกัน  และความอิจฉาริษยาทำให้เราใช้อาวุธต่อกัน...ถ้าทุกคนยังคงยืนกรานที่จะทำให้พระกายของพระคริสตเจ้า ไม่สงบแล้ว   ก็จะสิ้นสุดที่ไหนกัน? เรามีหน้าที่สร้างพระศาสนจักร... เรากล่าวว่าเป็นสมาชิกแห่งกายเดียวกันแต่เราก็ฆ่ากันเยี่ยงสัตว์ป่า  (บทเทศน์ 2 คร. 27:3-4 : PG 61,588)

2539ความอิจฉาริษยาเป็นบาปต้น รวมถึงความเสียใจเมื่อเห็นทรัพย์สมบัติของคนอื่นและไม่มีการยับยั้งความต้องการที่จะให้ได้เป็นเจ้าของ  แม้อย่างอยุติธรรม เมื่อต้องการทำร้ายเพื่อนบ้าน ความอิจฉาริษยาก็กลายเป็นบาปหนักถ
นักบุญออกัสติน แลเห็น "ความอิจฉาเป็นบาปที่โหดร้าย"  "ความเกลียดชัง  การนินทา  การกล่าวร้าย  ความชื่นชมยินดีที่เกิดจากความอัปโชคของเพื่อนบ้าน และความไม่พอใจที่เห็นคนอื่นโชคดีนั้น เกิดจากความอิจฉาริษยา" (เทียบ คำสอนชาวบ้าน 4,8: PL 40,315-316)

2540ความอิจฉาริษยาเป็นตัวแทนรูปแบบความเศร้าโศกแบบหนึ่ง และดังนั้นจึงเป็นการปฏิเสธเมตตาธรรม ผู้รับศีลล้างบาปจะต่อสู้กับความอิจฉาริษยาโดยความปรารถนาดี  ความอิจฉาริษยาบ่อยๆ มีสาเหตุมาจากความหยิ่งจองหอง ชาวคริสต์ควรฝึกตนที่จะดำเนินชีวิตสุภาพนอบน้อม

นักบุญยอห์น คริสโซสโตมกล่าวว่า "ท่านอยากเห็นพระเจ้าทรงพระสิริโดยพวกท่านหรือ จงชื่นชมยินดีในความก้าวหน้าของพี่น้องของท่าน  และพระเจ้าก็จะได้รับเกียรติ พระเจ้าจะได้รับการสรรเสริญ เพราะผู้รับใช้ของพระองค์สามารถปราบความอิจฉาโดยชื่นชมในคุณความดีของผู้อื่น (บทเทศน์ โรม 71,5: PG 60,448)