หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

มาตรา 9

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระบัญญัติประการที่เก้า

"อย่ามองดูบ้านคนอื่นด้วยอิจฉาอยากได้ อย่ามองดูภรรยาหรือทาส หรือวัว หรือลา หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นของเขาด้วยความอิจฉาอยากได้" (อพย.20:17)

"ใครๆ ที่จ้องดูหญิงด้วยความใคร่ ก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจแล้ว" (มธ.5:28)

2514นักบุญยอห์น แยกแยะความโลภหรือความใคร่ออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ตัณหาทางเนื้อหนังตัณหาทางสายตา และความหยิ่งภูมิใจในชีวิต (เทียบ 1ยน.2:16) ตามธรรมเนียมประเพณีคำสอนคาทอลิก พระบัญญัติประการที่ 9 ห้ามความใคร่ทางเนื้อหนัง พระบัญญัติการประที่ 10 ห้ามความอยากได้ทรัพย์สินของคนอื่น

2515"ตัณหา" ในความหมายตามตัวอักษร หมายถึงรูปแบบความต้องการรุนแรงของมนุษย์ เทววิทยาคริสตชนได้ให้ความหมายเฉพาะแก่คำนี้ คือหมายถึงการเคลื่อนไหวของความอยากได้ทางความรู้สึกซึ่งขัดแย้งกับเหตุผลมนุษย์ นักบุญเปาโล อัครสาวกระบุไว้ว่าเป็นการขัดแย้งของ "เนื้อหนัง" ต่อ "จิตใจ" (เทียบ กท.5:16, 17, 24; อฟ.2:3) ตัณหาเป็นผลที่ตามมาของการไม่เชื่อฟังที่เป็นบาปต้น (เทียบ ปฐก.3:11) มันทำให้มนุษย์ขาดศีลธรรม และถึงแม้ในตัวมันเองยังไม่เป็นบาป แต่ก็ทำให้มนุษย์เอนเอียงที่จะทำบาป (เทียบ สังคายนาแห่งเตรนท์ DS 1515)

2516มนุษย์ซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ มีความตรึงเครียดบางประการในตน มีพัฒนาการต่อสู้กันในด้านความโน้มเอียงระหว่าง "จิตใจ" และ "เนื้อหนัง" แต่อันที่จริง การต่อสู้นั้นเป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาจากบาป เป็นผลที่ตามมาของบาป และในเวลาเดียวกันก็เป็นการยืนยันถึงบาป มันเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ การรบสู้ทางใจในชีวิตประจำวัน

สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้กล่าวในพระสมณสาสน์เรื่องพระจิตเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักรในโลก ข้อ 55 ว่า "สำหรับท่านอัครสาวก (เปาโล) แล้วไม่ได้หมายความว่าให้ดูหมิ่นและตัดสินลงโทษร่างกายว่าใช้ไม่ได้ เพราะร่างกายนั้นเมื่อรวมเข้ากับวิญญาณซึ่งเป็นจิต ก็ประกอบกันขึ้นเป็นธรรมชาติ  มนุษย์และบุคลิกภาพของผู้ที่เป็นคนตรงข้าม  ท่านนักบุญเปาโล อธิบายถึงผลงาน หรือความพร้อมทางใจซึ่งคงที่ ไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมหรือความเลวทราม ไม่ว่าจะดีหรือชั่วจากแง่ของจริยธรรม ซึ่งเป็นผลจากการนอบน้อมเชื่อฟัง (ในกรณีแรก)  หรือในทางตรงข้ามจากการต่อต้าน (ในกรณีสอง) การปฏิบัติงานเพื่อช่วยให้รอดของพระจิต ด้วยเหตุนี้ ท่านอัครสาวกจึงเขียนไว้ว่า ผู้ดำเนินชีวิตตามพระจิต ย่อมปรารถนาในสิ่งซึ่งเป็นของพระจิต" (เทียบ กท.5:25)