หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

5. ความยุติธรรมและการต้องพึ่งพาอาศัยกันท่ามกลางนานาชาติ

2437ในระดับนานาชาติ ความไม่เท่าเทียมกันของแหล่งทรัพยากรและความสามารถทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิด "ช่องว่าง" ระหว่างนานาชาติ (เทียบ ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 14) ด้านหนึ่งมีชาติต่างๆ ซึ่งครอบครองและพัฒนารายได้มากขึ้น   แต่อีกด้านหนึ่งก่อหนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้น

2438สาเหตุหลายประการที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ และการเงินในปัจจุบัน ก่อให้เกิด "ปัญหาสังคมมิติสากล" (ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 9)   จึงต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันท่ามกลางนานาชาติ ซึ่งเป็นการพึ่งพาอาศัยกันทางการเมือง การพึ่งพาอาศัยกันทางการเมือง การพึ่งพาอาศัยกันนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น เมื่อมันเป็นปัญหาที่ทำให้ขาดการป้องกัน "ขบวนการถอยหลัง"   ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางประเทศที่มีความก้าวหน้าน้อยกว่า (เทียบ ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 17.45) แทนที่จะประณาม ถ้าระบบการเงินไม่ขูดรีดดอกเบี้ยเกินควร ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างนานาชาติมีความยุติธรรมและไม่แข่งขันกันสะสมอาวุธ นานาชาติต้องพยายามร่วมกันจัดแหล่งทรัพยากรให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาด้านศีลธรรม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยให้คำจำกัดความใหม่ของความสำคัญ และลำดับคุณค่าที่เป็นพื้นฐาน (การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 28 เทียบ ข้อ35)

2439ชาติต่างๆ ที่ร่ำรวย มีความรับผิดชอบอย่างมากตามหลักศีลธรรมต่อชนชาติซึ่งไม่อาจรับประกันรายได้ในการพัฒนาประเทศของตนโดยลำพัง หรือได้รับการขัดขวางการพัฒนา เพราะผลของเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในประวัติศาสตร์มันเป็นหน้าที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันและเมตตาธรรม และยังเป็นข้อบังคับตามความยุติธรรมถ้าการอยู่ดีกินดีของชนชาติที่ร่ำรวยนั้นมาจากแหล่งทรัพยากร ซึ่งมิได้รับการชำระอย่างยุติธรรม

2440การช่วยเหลือโดยตรงนั้นถือเป็นการตอบสนองที่เหมาะสมต่อความจำเป็นเร่งด่วนพิเศษ อันมีสาเหตุจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ โรคระบาด ฯลฯ   แต่ความช่วยเหลือนี้ไม่เพียงพอที่จะบำบัดความเสียหายร้ายแรงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว หรือจัดหาทางแก้ไขปัญหาระยะยาวแก่ชาติที่ต้องการ จำเป็นต้องปฏิรูปสถาบันทางเศรษฐกิจและการเงินระดับนานาชาติ เพื่อให้พวกเขาสามารถสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์เท่าเทียมกันกับประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า (เทียบ ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 16) มีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประเทศที่ยากจน ซึ่งพยายามพัฒนาและสนับสนุนเขาให้เป็นอิสระ (เทียบ การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 26) หลักการเหล่านี้ต้องนำมาประยุกต์ใช้ในลักษณะพิเศษเป็นต้นงานด้านเกษตรกรรม ชาวนาโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สามถือเป็นมวลชนของผู้ยากไร้จำนวนมาก

2441การพัฒนาที่สมบูรณ์ในสังคมมนุษย์นั้นต้องมีรากฐานในการเจริญงอกงามแห่งความสำนึกถึงพระเจ้า และการรู้จักตนเอง การพัฒนานี้ช่วยเพิ่มปัจจัยทางวัตถุ และนำมาใช้บริการบุคคลและเสรีภาพของเขา การพัฒนานั้นลดความยากจนใหญ่หลวง และลดการหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มันช่วยเพิ่มพูนความเคารพนับถือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเปิดใจไปสู่สิ่งสูงสุด (เทียบ ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 32 การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 51)

2442ไม่ใช่บทบาทของผู้อภิบาลของพระศาสนจักร ที่จะเข้ามาช่วยโดยตรงในการจัดโครงสร้างทางการเมืองและในการจัดองค์การชีวิตสังคม หน้าที่นี้เป็นส่วนของกระแสเรียกฆราวาสคริสตชน ที่จะกระทำด้วยความริเริ่มของตนเอง พร้อมกับเพื่อนร่วมชาติของพวกเขา กิจการทางสังคมนั้นอาจหมายถึงรูปแบบหลากหลายที่เป็นรูปธรรม มันควรมุ่งประโยชน์ส่วนรวมเสมอ และสอดคล้องกับสารของพระวรสารและคำสั่งสอนของพระศาสนจักร มันเป็นบทบาทของฆราวาสที่จะทำให้ "ความเป็นจริงฝ่ายโลกได้มีชีวิตชีวาด้วยพันธะคริสตชน อาศัยพันธะนี้พวกเขาก็แสดงว่าพวกเขาเป็นสักขีพยาน และตัวแทนสันติภาพและความยุติธรรม" (ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 47.6 เทียบ ข้อ 42)